เรซูเม่ เป็นปราการด่านแรกที่จะทำให้คุณมีโอกาสได้งานซักงานหนึ่ง เพราะ HR จะเลือกคุณมา สัมภาษณ์งาน หรือไม่ย่อมดูจากเรซูเม่ของคุณอันดับแรก แต่อย่าลืมว่า HR จะต้องรับเรซูเม่มากมายขนาดไหนก่อนที่จะคัดเลือกให้เหลือคนเพียงจำนวนหนึ่งเพื่อเรียกมาสัมภาษณ์งาน เพราะฉะนั้นการมีเรซูเม่ดีย่อมมีชัยไปกว่าครึ่ง มากำจัดจุดอ่อนของเรซูเม่ด้วย 10 เรื่อง ที่คุณไม่ควรเขียนลงไป ถ้าอยากได้งานในยุค 2020
1. ไม่ควรใส่จุดมุ่งหมายของการสมัครงาน
เพราะการที่คุณมาสมัครงานตำแหน่งนี้ ใคร ๆ ก็รู้ว่าคุณมีจุดมุ่งหมายอยากได้งานนี้ ไม่จำเป็นต้องไปเน้นย้ำให้เปลืองพื้นที่ในเรซูเม่ของคุณอีก เว้นเสียแต่ว่าคุณต้องการเปลี่ยนสายงาน อาจจะอนุโลมให้เขียนได้ แต่ขอให้เขียนสั้น ๆ เน้นใจความสำคัญพอนะ
2. ข้อมูลส่วนตัวเกินเบอร์
ไม่จำเป็นต้องบอก HR ให้รู้ว่าคุณนับถือศาสนาอะไร เวลาว่างชอบทำอะไร งานอดิเรกร้อยแปดอย่างของคุณมีอะไรบ้าง เพราะเรื่องพวกนี้เอาเก็บไว้ไปเล่าให้ฟังตอนสัมภาษณ์ก็ได้ หรือถ้าเป็นงานอดิเรกที่เกี่ยวข้องกับงานที่คุณกำลังสมัครอยู่ แนะนำให้เอาไปเขียนใน จดหมายสมัครงาน (Cover Letter) จะดูโปรกว่า เก็บพื้นที่อันมีค่าบนหน้าเรซูเม่ของคุณไว้ใส่ ประสบการณ์ทำงาน ดีกว่า
3. ที่อยู่แบบจัดเต็ม พร้อมเบอร์โทรศัพท์ที่มีมากกว่า 1 เบอร์
ยุคนี้ใคร ๆ ก็ติดต่อกันทางออนไลน์กันหมดแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นเลยที่คุณจะต้องใส่ที่อยู่บ้านแบบจัดเต็ม ทั้งบ้านเลขที่ไปจนถึงรหัสไปรษณีย์ ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเองด้วยนะ และอีกอย่างที่ไม่ควรใส่ลงในเรซูเม่อย่างยิ่งก็คือเบอร์โทรศัพท์ที่มากกว่า 1 เบอร์ของคุณ เพราะมันจะทำให้ HR สับสนว่าควรจะติดต่อคุณได้ที่เบอร์ไหนดี
4. ชื่ออีเมล์สุดเก๋
อีเมล์ประเภท [email protected] หรือ [email protected] ถึงมันจะบ่งบอกตัวตนของคุณขนาดไหน ก็ไม่ควรใช้ใส่ในเรซูเม่มากที่สุด เรากำลังเข้าไปอยู่ในโลกของการทำงานที่จำเป็นต้องมีความจริงจัง และเป็นมืออาชีพ เพราะฉะนั้นเปลี่ยนอีเมล์ของคุณให้เป็นทางการดีกว่า
5. จัดรูปแบบเรซู่เม่ผิด ชีวิตเปลี่ยน
ไม่ควรใช้ขนาดตัวหนังสือที่เล็กเกินไป เพื่ออัดแน่นข้อมูลการทำงานของคุณจนทำให้เรซูเม่มีแต่ตัวหนังสือ รวมไปถึงการใช้ฟ้อนต์ตัวหนังสือที่หลากหลาย และการเล่นท่ายาก ดีไซน์เรซูเม่สุดล้ำจนทำให้เวียนหัว อย่าลืมว่า HR ต้องดูเรซูเม่เป็นร้อยๆฉบับ จริงอยู่ที่การดีไซน์จะทำให้เรซูเม่ของคุณโดดเด่น แต่ถ้ามันเยอะจนอ่านคุณสมบัติไม่รู้เรื่อง และไม่สบายตาเอาซะเลย ก็อาจจะเป็นความผิดพลาดที่ทำให้คุณไม่ได้งานก็ได้
6. คำโกหกเพื่อให้เรซูเม่โดดเด่น
ข้อนี้สำคัญมาก ๆ คุณไม่ควรโกหกเกี่ยวกับความสามารถของคุณเอง การที่คุณเขียนโม้ไปว่าคุณเก่งอย่างงั้น ทำงานมาตั้งแต่สากกะเบือยันเรือรบ ทั้ง ๆ ที่เพิ่ง จบการศึกษา จะทำให้ HR สงสัยเอาได้ เพราะ 42% ของ HR มักจะตั้งธงว่าผู้สมัครมักจะมีแนวโน้มที่จะโม้เกินจริงในเรซูเม่ และถ้าเขาไม่จับได้ในห้องสัมภาษณ์ แทนที่จะได้งาน คงจะได้กลับไปแก้เรซูเม่ให้เป็นไปตามความจริงก่อนแน่นอน
7. ใช้ภาษาผิด
การเขียนเรซูเม่ที่ผิดหลักไวยากรณ์แบบที่ให้อภัยไม่ได้เลย การสะกดคำผิด หรือการใช้คำที่เฟี้ยวฟ้าวเกินกว่าจะรับได้ เป็นข้อผิดพลาดที่ไม่ควรเกิดขึ้นทั้งสิ้น เพราะมันจะทำให้คุณดูเป็นคนไม่ใส่ใจ และไม่เป็นมืออาชีพเอาซะเลย
8. ใส่ชื่อเจ้านายเก่า
ไม่มีความจำเป็นใดๆที่จะใส่ชื่อเจ้านายเก่าลงไปในเรซูเม่ของคุณ ยกเว้นแต่ว่า เจ้านายเก่าของคุณเป็นบุคคลสำคัญที่รู้จักกันในวงกว้าง และมีความน่าเคารพนับถึง น่าประทับใจจริง ๆ
9. ประสบการณ์ทำงานที่เกินกว่า 15 ปี
ถ้าคุณเป็นคนที่ทำงานมาแล้วมากกว่า 20 ปี ไม่ควรใส่ประสบการณ์การทำงานที่เกินกว่า 15 ปีล่าสุดของคุณ เช่น กิจกรรมที่ทำสมัยเรียนมหาลัย หรือรางวัลที่ได้สมัยมัธยม ให้คุณเขียนประสบการณ์ทำงานที่โดดเด่นในช่วง 15 ปีล่าสุดนี้ก็พอ
10. เหตุผลในการลาออก และ เงินเดือน ที่เก่า
ไม่ควรเขียนอธิบายเหตุผลในการลาออกในเรซูเม่ แม้บางคนจะคิดว่านี่อาจจะทำให้มีโอกาสได้งานมากขึ้น ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิด รวมถึงอัตราเงินเดือนเก่าของคุณ ก็ไม่ควรระบุในเรซูเม่เช่นกัน เพราะ 2 อย่างนี้นายจ้างหรือ HR มักจะถามตอนสัมภาษณ์อยู่แล้ว เก็บไว้เล่าตอนนั้นจะดีกว่า
รู้แล้วก็อย่าลืมเอาไปปรับใช้กับเรซูเม่ของคุณเพื่อเพิ่มโอกาสการได้งานให้มากขึ้นกว่าเดิม ถ้าปรับแก้เรซูเม่จนเพอร์เฟ็คแล้ว สามารถนำมาฝากในเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชั่นของ jobsDB แหล่งรวมงานที่มากที่สุดแห่งนึงของประเทศไทย ค้นหางานใหม่ที่ใช่ ในเงินเดือนที่คุณต้องการผ่านแอปพลิเคชั่น jobsDB ได้เลย
ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android
คอร์สเรียนออนไลน์ ที่เกิดจากการจับมือกันระหว่าง JobsDB และ FutureLearn ภายใต้ชื่อแคมเปญ "ยกระดับความรู้ ก้าวสู่งานที่ใช่" ให้คุณปลดล็อกศักยภาพ กับคอร์สฟรี!ที่จะอัพตัวคุณให้ก้าวล้ำนำใครในทุกเกมการแข่งขันกับเรา พันธมิตรด้านการหางานที่ดีที่สุดของคุณ และ FutureLearn ผู้ให้บริการคอร์สออนไลน์จากประเทศอังกฤษที่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ไร้พรมแดนที่ดำเนินการมานานกว่า 9 ปี ด้วยการเรียนรู้และพัฒนาทักษะใหม่ ๆ ทั้งด้าน Emerging Skills และ Transferrable Skills ที่สามารถนำไป reskill หรือ upskill ใช้ในชีวิตการทำงานปัจจุบันได้