ในองค์กรหนึ่ง ๆ ประกอบไปด้วย พนักงาน ที่มีบุคลิกแตกต่างกัน มีความสามารถและทักษะที่แตกต่างกัน เพื่อเติมเต็มทุกส่วน งาน อย่างเหมาะสม แต่แทบจะทุกองค์กรก็มักจะเจอ พนักงาน ที่มีพฤติกรรมไม่พึงปรารถนาอยู่หลายประเภทเช่นกัน จากบล็อก entrepreneur ได้ทำ infographic ข้อสังเกตเกี่ยวกับ 13 พฤติกรรมของพนักงานที่ไม่ส่งเสริมความก้าวหน้าของ องค์กร ที่นายจ้างควรจับตาและจัดการโดยเร็ว เพื่อไม่ให้คนเหล่านี้ฉุดองค์กรของคุณให้ตกต่ำแทนที่จะเติบโตและก้าวหน้า
- ลูกช่างบ่น– พนักงานที่เอาแต่บ่นไปเสียทุกเรื่อง ไม่มีอะไรดีพอสักอย่าง
- แก้ตัวตลอด– พนักงานที่ไม่รับผิดชอบต่อการกระทำของตน และมักจะมีข้อแก้ตัวตลอดเวลา
- ขาดความกระตือรือร้น– พนักงานที่ไม่ตื่นเต้นเวลามีโปรเจ็กต์ใหม่ ๆ ไม่คิดว่ามันเป็นสิ่งท้าทายและน่าลอง
- ไม่ช่วยเหลือคนอื่น– พนักงานที่ชอบพูดว่า “ไม่ใช่หน้าที่ของฉัน” และไม่คิดจะ ทำงาน อะไรนอกเหนือไปจากที่ทำอยู่
- ซุบซิบนินทา– พนักงานที่ชอบตั้งแก๊งเมาท์เรื่องชาวบ้าน บั่นทอนกำลังใจในการทำงานและพลังของคนอื่น ๆ ในทีม
- โกหก– พนักงานที่โกหก เป็นอันตรายต่อองค์กรอย่างยิ่ง คนเช่นนี้องค์กรไหน ๆ ก็ไม่อยากได้มาร่วมงาน
- รู้ดีไปหมด– พนักงานที่ทำตัวเก่งไปเสียทุกอย่าง รู้ดีไปหมดทุกเรื่องไม่ว่าใครจะพูดอะไร
- ชอบอยู่คนเดียว– พนักงานที่ชอบเก็บตัว ไม่สุงสิงกับคนอื่น มักล้มเหลวเวลาต้องทำงานเป็นทีม
- ไม่รับผิดชอบ– พนักงานที่ ทำงาน ไม่เสร็จตามเวลา ไม่รักษาสัญญาตามที่รับปากไว้
- ไม่ริเริ่ม– พนักงานที่ไม่ริเริ่มอะไรด้วยตนเอง รอทำตามที่คนอื่นบอกอย่างเดียว
- ไม่ถามคำถาม– พนักงานที่ไม่เคยมีคำถาม และไม่เคยสงสัยอะไรในชีวิต
- ไม่พัฒนาตนเอง– พนักงานที่ไม่เคยใฝ่หาความรู้เพิ่มเติม พอใจแล้วกับสิ่งที่เป็นอยู่ ไม่อยาก พัฒนาตัวเอง
- ขาดสมาธิ– พนักงานที่ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถโฟกัสกับงานของตนเองได้ วอกแวกตลอด ถูกดึงดูดความสนใจได้ง่าย
หากในองค์กรของคุณมีพนักงานที่มีพฤติกรรมเช่นนี้อยู่แล้วล่ะก็ ควรหาโอกาสพูดคุยถึงที่มาที่ไปว่าทำไมเขาถึงทำพฤติกรรมเช่นนี้ เพื่อหาแก้ไขได้อย่างรวดเร็วและตรงจุด
ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android
คว้างานที่ใช่ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า
เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
เรื่องแปลกที่ไม่ควรเกิดขึ้นในการบริหารทรัพยากรบุคคล
กระตุ้นพนักงานด้วยการทำเป็นตัวอย่าง