หลักทฤษฎีการออกแบบ ไม่ว่าจะเรียนที่ไหนทฤษฎีที่ใช้ก็มาจากคนเดียวกัน ที่ได้รับการยอมรับไปทั่วโลก ผ่านยุคผ่านสมัย ข้ามเวลาจากอดีตถึงปัจจุบัน และยาวนานต่อไปสู่อนาคต
นักออกแบบแต่ละคน นำทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ต่างกันออกไป เกิดเป็นเทคนิควิธีเฉพาะตัว ของใครของมัน การได้แลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์ซึ่งกันและกันระหว่างนักออกแบบนั้น ทำให้ฝีมือของนักออกแบบได้รับการพัฒนาอยู่เสมอ ซึ่งหมายถึงความก้าวหน้าของวงการการออกแบบนั่นเอง
วันนี้มีข้อคิด และเทคนิคดีๆ สำหรับนักออกแบบมาเล่าให้ฟัง
- หาไอเดีย เมื่อได้รับมอบหมายงานชิ้นหนึ่ง สิ่งแรกที่ฉันจะทำคือ อ่านมันและขีดเส้นใต้วลีที่สำคัญ วาดรูปเล็กๆ ประกอบลงไปเพื่อหาเอกลักษณ์หรือหาประเด็นของเนื้อหาของมัน
- ใช้สมุดสเก็ต โดยปกติแล้วฉันจะเขียนไอเดียหรือวางแผนในสมุด A4 ที่ฉันนำติดไว้ด้วยตลอดเวลา ทุกไอเดียจะอยู่ในนั้นและไอเดียเหล่านั้น ก็จะถูกนำมาใช้
- คิดด้วยปากกาและกระดาษเป็นอย่างแรก แล้วถึงใช้คอมพิวเตอร์จะช่วยให้งานมีน้ำหนักมากขึ้น
- เข้ารวมอภิปรายปัญหา ถ้ามีเพื่อนเป็นนักออกแบบ เป็นเรื่องที่ดีเลยทีเดียว ให้ลองพูดคุยหรือถกปัญหาเกี่ยวกับงานศิลปะดู จะทำให้ไอเดียโลดแล่นมากขึ้น
- หนีห่างจากหน้าคอม สิ่งที่เลวร้ายที่สุดคือการนั่งอยู่หน้ากระดาษวาดภาพเปล่าๆ บนหน้าจอ เดินออกไปจากเก้าอี้และใช้เวลาสักสิบนาทีสูดอากาศสดชื่น
- อาบน้ำ ไอเดียดีๆ มักจะออกมาพร้อมกับฝักบัวเสมอ
- หมั่นเข้าเว็บบ้าง อย่าเพียงแต่ดูงานของคนอื่น คุณควรรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมหรือก้าวให้ทันทางด้านซอฟแวร์ อย่าทำตัวล้าหลังเหมือนที่นักออกแบบคนอื่นทำกัน และอย่าทำเพียงแค่ตามกระแส
- ทำให้ง่ายเข้าไว้ ทำงานให้ง่ายเข้าไว้ และไม่ซับซ้อน
- บันทึกสิ่งที่ทำ ถ้าใช้ Photoshop บ่อยๆ จำเป็นมากที่ต้องบันทึกสิ่งที่เราทำไว้ ซึ่งทำให้ประหยัดเวลาได้มากเลยทีเดียว
- เชฟแล้วก็เซฟ เซฟ เชฟงานเสมอทุกครั้งที่กำลังทำถ้าเป็นไปได้
- ถูกต้องตั้งแต่ครั้งแรก การเจอปัญหากับลูกค้าที่ไม่แน่นอนเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ สำหรับนักออกแบบเว็บต้องค่อนข้างมีความแน่นอนทางด้านกระบวนการ ถึงแม้ว่างานนั้นจะลำบากแค่ไหน คุณต้องทำงานให้ถูกตั้งแต่ครั้งแรกแล้วคุณจะมั่นใจได้ว่าจะได้รับงานจากลูกค้าคนเดิม
- ฝึกไว้ให้สมบูรณ์แบบ งานที่มากก็ต้องใช้เวลากับโปรแกรมมาก มันจะทำให้คุณเร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพ มากขึ้น คุณไม่ได้เพียงเรียนรู้จากสิ่งที่ผิดพลาดแต่มันจะช่วยให้งานมีคุณภาพมากขึ้น
- ซื้อ RAM เพิ่มให้มากที่สุดถ้าเป็นไปได้ เพราะการทำงานต้องใช้แรมจำนวนมาก ตั้งแต่งานเล็กจนถึงงานช้าง
- ฝึกใช้ GRADIENTS ใน PHOTOSHOP
- แยก Layer ให้เยอะ เกิดความผิดพลาดจะได้แก้ง่ายๆ
- ปรับ Opacity ให้น้อยลง และเพิ่ม Gaussian Blur แล้วรวมเข้าด้วย Clipping Mask ใน Illustrator จะได้ airbrush ที่ใน PHOTOSHOP ทำไม่ได้
- อย่าใช้ GRADIENTS สีดำไล่ไปสีเขียวใน flash เพราะมันดูน่าเกลียด
- ตรวจสอบงานว่าถูกต้อง หากคิดว่า งานได้เสร็จสมบูรณ์แล้ว ให้ถอยหลังกลับไปดูจนกว่าคุณจะรู้สึกขยาด ตรวจทุกความละเอียดของมัน บางครั้งเวลาก็ทำให้บางสิ่งเสร็จสมบูรณ์เอง แล้วจะเห็นข้อผิดพลาดของงานแล้วจะกลับไปแก้อีกครั้ง
- ลองให้คนอื่นดูงานของเราเพราะบางทีสายตาของเขาอาจจะเห็นได้ละเอียดกว่าเรา
- กลับไปดูสิ่งที่เราจดไว้กับสิ่งที่เราคิด ตรวจว่าเราพบอะไรอยู่ในงานที่สำเร็จ
- การเตรียมพร้อม เรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องที่จะใช้งานและพยายามเรียนรู้สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับคุณและงานของคุณ แน่ใจว่างานคุณจะไม่เสียหาย
- Design history ฉันไม่เคยประสบปัญหาอะไรทั้งนั้น แต่มีสิ่งหนึ่งที่ฉันทำอยู่เสมอคือการ back up ไฟล์ไว้ เก็บไอเดียต้นฉบับของคุณไว้ เพราะคุณอาจจะต้องใช้มัน บางทีคนเราก็อาจจะเปลี่ยนใจได้ง่ายๆ พอๆ กับเปลี่ยนกลับมาใช้อันเดิม
- เวลาทำงานกับลูกค้า ให้เราอยู่เหนือความคิด คือเวลาขายงานต้องทำให้ลูกค้ายอมรับให้ได้
- เมื่อทำงานกับลูกค้าใหม่ๆ ต้องเปลี่ยนมุมมองของตัวเองหรือว่าเปลี่ยนไปสู่สิ่งที่เกี่ยวข้องในสิ่งที่ทำ
- เวลาจะตอบโจทย์อะไรสักอย่างให้คำนึงถึงโจทย์นั้น แล้วต้องตอบให้ตรงประเด็น
นี่ก็เป็นวิธีการทำงานสไตล์หนึ่ง ที่นำมาแบ่งปันสู่นักออกแบบได้เลือกใช้ หรือปรับใช้ตามสไตล์ที่เป็นตัวเองมากที่สุด
ที่มา : www.artgazine.com