จะเป็นหัวหน้าที่ดีต้องสตรองแค่ไหน? เพราะขึ้นชื่อว่าเป็นหัวหน้าแล้ว ย่อมได้รับการคาดหวังว่าจะนำพาองค์กรให้เจริญก้าวหน้าได้ พร้อมๆ กับ การดูแลพนักงาน หลายชีวิต ตำแหน่งหัวหน้าที่มาพร้อมกับภาระหนักอึ้งเอาการ แต่ในความเป็นจริงบางคนอาจได้เป็น หัวหน้าตั้งแต่อายุยังน้อย ยังไม่มีประสบการณ์มากพอใน การบริหารงานและบุคคล เพราะฉะนั้นลองสำรวจตัวเองว่าเป็นหัวหน้าที่ดี หรือเป็นหัวหน้ายอดแย่กันแน่ จะได้ปรับปรุงตัวแล้วเลิกพฤติกรรมแบบนี้เสียที
หัวหน้าบางคนมีคุณสมบัติดีเลิศทั้งการศึกษาและการทำงาน แต่กลับขาดภาวะผู้นำ ไม่กล้าตัดสินใจ บริหารงานไม่เด็ดขาด กล้าๆ กลัวๆ มีบุคคลิกไม่มั่นใจ แล้วแบบนี้จะเป็นแบบอย่างในการทำงานให้ลูกน้องได้อย่างไร แต่ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ เริ่มต้นจากการเชื่อมั่น ศักยภาพ ของตัวเองและลูกน้อง ไม่หยุดที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จากเด็กรุ่นหลังหรือผู้ที่อาวุโสกว่า มีการวางแผนงานล่วงหน้าที่ชัดเจน และไม่หยุดนำเสนอไอเดียใหม่ๆ ตลอดเวลา
อย่าหลงระเริงกับอำนาจที่มีอยู่ ใช้ตำแหน่งบังคับให้อื่นคนทำตามใจตัวเองหรือใช้อำนาจเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว จะทำให้ลูกน้องกดดัน ทำงานด้วยความหวาดกลัว ถ้าอยากให้ลูกน้องเคารพจากใจจริง ก็ควรฏิบัติกับพวกเขาด้วยความเคารพเช่นกัน เอาใจเขามาใส่ใจเรา ไม่มีอีโก้ถือตัวเหนือกว่าผู้อื่น หัวหน้าที่ดีควรส่งเสริมทีม คอยให้กำลังใจและให้คำปรึกษาได้ แบบนี้ถึงจะได้ใจลูกน้องจริงๆ
การมี วุฒิภาวะทางอารมณ์ เป็นคุณสมบัติของคนทำงานทุกคน โดยเฉพาะคนที่เป็นหัวหน้า ควรควบคุมอารมณ์ให้ได้ ไม่ใช้อารมณ์นำเหตุผล ยิ่งอยู่ในตำแหน่งสูงๆ ก็ควรระมัดระวังในการวางตัว เพราะไม่มีลูกน้องคนไหนอยากเป็นที่รองรับอารมณ์ จริงอยู่ว่ามนุษย์เรามีอารมณ์รัก โลภ โกรธ หลง ด้วยกันทั้งนั้น แต่เมื่อถูกทักท้วง ควรอดทนอดกลั้น หยุดคิดสักนิด ไม่พูดจาโต้ตอบแบบหยาบคาย หรือวีนเหวี่ยงโดยไม่มีเหตุผล
หัวหน้าลำเอียง เล่นพรรคเล่นพวก เข้าข้างลูกน้องคนสนิทตลอดเวลา ทำผิดก็แก้ตัวให้ ตรงกันข้ามถ้าไม่ปลื้มลูกน้องคนไหนก็ไม่สนใจจะให้คำปรึกษา หรือโยนงานเล็กๆ แบบปิดทองหลังพระให้รับผิดชอบ แบบนี้เรียกว่าสองมาตรฐานชัดๆ จนทำให้ลูกน้องเกิดอคติกับหัวหน้าไปตลอด เพราะฉะนั้นคุณควรแยกเรื่องส่วนตัวกับการทำงานให้ได้ ไม่ให้ท้ายลูกน้องคนใดคนหนึ่งจนเกินงาม ปฏิบัติกับทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน
ไม่ว่าผลงานจะได้รับคำชมหรือคำติ คนมักจะพุ่งเป้ามาที่หัวหน้าก่อนเสมอ เพราะเป็นตำแหน่งที่มีอำนาจการตัดสินใจสูงสุดในทีม เพราะฉะนั้นทุกครั้งที่ผลงานได้รับการชื่นชม ต้องให้เครดิตกับลูกน้องเสมอ อย่ารับไว้เป็นผลงานของตัวเองคนเดียว ในทางกลับกันเมื่อเกิดข้อผิดพลาด ก็ไม่ควรโยนความผิดให้คนอื่น และไม่รู้สึกอายที่จะขอโทษ ในกรณีที่ลูกน้องทำผิด สามารถตักเตือนได้แต่ไม่ควรซ้ำเติม ต้องรู้จักให้โอกาสคน แนะนำให้ลูกน้องเรียนรู้จากข้อผิดพลาดและหาวิธีการแก้ไขปัญหา
นี่มันปี 2020 แล้ว คนเป็นหัวหน้าต้องมี วิสัยทัศน์ กว้างไกล ตามยุคสมัยให้ทัน คอยเปิดรับสิ่งใหม่ๆ ตลอด ทั้งความรู้ในการทำงานและมุมมองการใช้ชีวิต คงไม่มีใครอยากทำงานร่วมกับคนโลกแคบ ที่จำกัดความคิดอยู่ในกรอบของตัวเองโดยไม่ฟังใคร ในบางองค์กรที่มีพนักงานหลายเจเนอเรชั่น หัวหน้าต้องเปิดใจยอมรับความแตกต่างทางความคิดและรูปแบบการทำงานให้ได้
แล้วคุณล่ะเป็นหัวหน้าแบบไหน? ถ้าอยากเป็นหัวหน้าที่มีความเป็นผู้นำ ได้รับการยอมรับจากลูกน้อง ลองนึกถึงตอนที่คุณยังเป็นลูกน้อง คุณเคารพหัวหน้าแบบไหน ก็ควรจะปฏิบัติตัวให้น่าเคารพแบบนั้นเช่นกัน เมื่อรู้ว่าเรามีข้อเสียตรงไหนก็รีบแก้ไขให้เร็วที่สุด ส่วนใครที่กำลังจะก้าวขึ้นมาเป็นหัวหน้า หรืออยากเติบโตในสายอาชีพของตัวเอง สามารถค้นหาตำแหน่งงานระดับสูงและมั่นคงผ่านแอปพลิเคชั่น jobsDB ได้เลย
ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android