เป็นหลักการง่าย ๆ 8 ข้อ ที่สามารถเป็นแนวทางในการจัดทำระบบได้เป็นอย่างดี มีดังนี้
1. องค์กรที่มุ่งเน้นลูกค้า (Customer-Focused Organization)
เป็นหลักการที่ใช้การจัดจุดให้ได้ว่า อะไรคือ Customer Needs & Expectation และสามารถตอบสนองในจุดที่ลูกค้าต้องการให้ดีที่สุด ให้ได้ตามที่ลูกค้าต้องการ หรือทำให้ดีกว่า และตอบสนองกับFeedbackของ ลูกค้า ให้ดีที่สุด เช่นการร้องเรียน เคลม เป็นต้น ลูกค้าเป็นผู้ที่ถูกต้องเสมอ หรืออาจจะเรียกได้ว่าลูกค้าคือพระเจ้าก็ไม่แปลก
2.ภาวะผู้นำ (Leadership)
เป็นความสามารถของผู้นำที่สามารถชักนำ โน้มน้าวให้คนคล้อยตามได้ มีเป้าหมายที่ชัดเจน และสามารถนำคนให้ปฏิบัติกิจกรรมใดๆ ให้ลุล่วงเป้าหมายนั้นอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยที่คนที่มีภาวะผู้นำนั้นไม่จะเป็นต้องมีตำแหน่งผู้บริหารเลยก็ได้
3.การมีส่วนร่วมของพนักงาน (Involvement of People)
หากมีผู้บริหารที่ดี แต่พนักงานนั้นไม่ขานรับซึ่งจะทำให้งานนั้นจะไม่มีทางบรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการได้ เพราะคนที่จะเป็นผู้ลงมือทำระบบนั้นก็คือตัวพนักงานเอง และต้องใช้ความร่วมมือกันอย่างแข็งขันทั่วทั้งองค์กรเสียด้วย
4.วิถีเชิงกระบวนการ (Process Approach)
หมายถึง ให้มอง งาน / กระบวนการ / กิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์ หรือเป็นกระบวนการสนับสนุน การบวนการ หรือกิจกรรมต่างๆ ให้มองเป็นรูปแบบของกระบวนการที่แต่ละ Process จะมีทั้งปัจจัยเข้า และปัจจัยออก หรือผล
5.วิถีเชิงระบบในการจัดการ (System Approach to Management)
หลังจากที่เราได้ Process ในการทำงานแล้วให้เรานำ Process มาเรียงกันก็จะได้เป็นระบบ (System) จากนั้นจะเป็นไปตามลำดับแลการมีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ซึ่งกันและกัน ซึ่งก็คือ Output ของ Process หนึ่ง จะไปเป็น Input ของอีก Process ที่ต่อๆ กันไปเรื่อยๆ แต่ถ้าหากมี Output ที่เลวของกระบวนการใดกระบวนการหนึ่ง ก็จะไปเป็น Input ที่เลวของอีกกระบวนการถัดไปอีกด้วย แล้ว System ก็จะกลายเป็น System ที่เลวด้วย
6.การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continual Improvement)
การที่ องค์กร หรือหน่วยงานสามารถที่จะปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายได้ นั่นคือสิ่งที่เยี่ยมยอดแล้ว แต่จริงๆ แล้วมันยังไม่พอ เพราะองค์กรหรือหน่วยงานนั้นจะต้องทำให้ดีขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง
7.การใช้ข้อเท็จจริงในการตัดสินใจ (Factual Approach to Decision Making)
การที่ผู้บริหารใช้ความรู้สึกในการบริหาร รวมถึงลางสังหรณ์, การคาดเดาอย่างไม่มีหลักการ ปราศจากข้อมูล หรือข้อเท็จจริงในการสนับสนุน นั้นเป็นสิ่งที่อันตรายอย่างยิ่ง เพราะการตัดสินใจของผู้บริหารในแต่ละครั้ง ต้องมีข้อมูล และข้อเท็จจริงสนับสนุน ซึ่งข้อมูลก็ได้จากการเก็บและนำมาวิเคราะห์ทางสถิติ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการตัดสินใจของผู้บริหาร จะทำให้มีความผิดพลาดน้อยกว่าใช้ความรู้สึกส่วนตัว
8.ความสัมพันธ์กับผู้ส่งมอบโดยการได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน (Mutually Beneficial Supplier Relationships)
บางท่านคงเคยได้ยินวลีว่า “Win-Win Situation” ซึ่งมีความหมายว่าการมีปฏิสัมพันธ์กันในเรื่องใดๆ ก็ตาม ทุกฝ่ายจะเป็นฝ่ายชนะหมด ไม่มีใครแพ้ ซึ่งแปลความแล้วก็คือได้รับผลประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย ถ้าเป็นทางด้านการค้าก็หมายถึง การได้รับประโยชน์ และแฮ๊ปปี้กันทุกฝ่ายทั้งองค์กร และผู้ส่งมอบ นั่นคือองค์กรจะหวังให้ผู้ส่งมอบ ส่งวัตถุดิบที่ดีมาให้ก็ต้องมีการดูแลใส่ใจ อาจมีการฝึกฝนอบรม ให้การสนับสนุนในเรื่องต่างๆ ไม่ใช่ออเดอร์แล้วรอรับมอบอย่างเดียว
ที่มา : www.siamhrm.com
เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ