A-Z คำศัพท์ในการทำงานที่น่าจดจำ(1)

Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

ตั้งแต่เข้าสู่โลกของ การทำงาน เราได้ยินคำศัพท์ใหม่ ๆ เกี่ยวกับการทำงานมากมาย บางคำได้ยินจนคุ้นเคย บางคำได้ยินบ่อย ๆ แต่ไม่รู้ว่าภาษาไทยใช้อย่างไร วันนี้เรามาทำความรู้จักกับคำศัพท์ในการทำงานที่น่าสนใจตั้งแต่ A-Z กันดีกว่า

  • Absence Rate อัตราการขาดงาน

เป็นตัวเลขสถิติ ที่แสดงอัตราการขาดงานหรือเวลาที่สูญเสียไปเนื่องจากการขาดงานต่อการทำงานในระยะเวลาหนึ่ง คำนวณได้ดังนี้

อัตราการขาดงาน = จำนวนวันขาดงาน (ต่อเดือน)/จำนวนวันทำงาน + จำนวนวันขาดงาน

  • Blue Collar Workers คนงานหรือกรรมกร

คนงานประเภทที่ทำงานด้วยมือหรือใช้กำลังกายในการทำงาน คนงานประเภทนี้มักทำงานนอกสำนักงาน เช่น ทำงาน กลางแจ้งหรือภายในโรงงานที่ทำการผลิต การเก็บรักษา ทำงานกับเครื่องมือ เครื่องจักร

  • Bonus โบนัสหรือเงินรางวัลพิเศษ

เป็นเงินเพิ่มพิเศษที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างนอกเหนือจากเงินเดือน รายได้ประจำหรือค่าจ้างตามปกติ ในประเทศไทย คำ ว่า “โบนัส” มักหมายถึง เงินเพิ่มรายปี (year-end bonus) รายหกเดือน สี่เดือนหรือสามเดือน แล้วแต่นายจ้างจะกำหนดหรือตกลงกับลูกจ้าง ส่วนจำนวนเงินที่จ่ายนั้นขึ้นอยู่กับฐานะ ผลกำไรและนโยบายของสถานประกอบการกับความสามารถ และความขยันขันแข็งของลูกจ้าง แต่ในต่างประเทศบางแห่ง อาจหมายความรวมถึงค่าตอบแทนพิเศษ (Premium Pay) ที่จ่ายให้กับการทำงานในเวลาวิกาล การทำงานในวันหยุด การทำล่วงเวลา และการทำงานที่เสี่ยงอันตรายด้วย

  • Cost of Living ค่าครองชีพ

จำนวนเงินที่แต่ละบุคคลต้องจ่ายเพื่อการดำรงชีวิตหรือคงไว้ซึ่งมาตรฐานการครองชีพ

  • Discrimination การเลือกปฏิบัติ

การที่นายจ้างไม่มีความเสมอภาคในการปฏิบัติต่อลูกจ้าง และขาดความเป็นธรรม เช่น การแบ่งแยกพวกพ้อง สถาบัน เชื้อชาติ ศาสนา ฐานะ เพศ สีผิว และแนวทางความคิด ซึ่งจะเป็นผลกระทบต่อความก้าวหน้าหรือฐานะในการทำงานของลูกจ้าง

  • Earnings รายได้จากการทำงาน

ค่าจ้างและค่าตอบแทนอื่นๆ ที่ลูกจ้างได้รับทั้งหมด เนื่องจากการทำงาน นอกเหนือจากค่าจ้าง อาจเป็นผลพลอยได้จากการทำงานหรือผลประโยชน์พิเศษ โบนัส ค่าธรรมเนียม ค่าล่วงเวลา ฯลฯ เหล่านี้นับเป็นรายได้ที่ลูกจ้างได้รับเนื่องจากการทำงาน

  • Employment Contract สัญญาการจ้างงาน

ข้อผูกพันหรือสัญญาที่ทำขึ้น เมื่อมีการตกลงจ้างงานกันระหว่างนายจ้าง-ลูกจ้าง โดยทั่วไปจะเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร ระบุรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับสภาพการจ้าง เช่น ค่าจ้าง ชั่วโมงทำงาน วันหยุดประจำสัปดาห์ ฯลฯ

  • Exit Interview การสัมภาษณ์ผู้ลาออก

การที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลพบปะพูดคุยกับ ลูกจ้างผู้ลาออกจากงานเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของการลาออก ตลอดจนความคิดเห็นของลูกจ้างที่มีต่อสภาพการจ้างงาน นโยบายและการบริหารงานของสถานประกอบการ เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาปรับปรุงการบริหารงานและลดการเข้าออกงาน ตลอดจนการสร้างความสัมพันธ์อันดีและความรู้สึกที่ดีของลูกจ้างที่จะออกจาก งานไป ในบางกรณีการสัมภาษณ์อาจมีผลทำให้ลูกจ้างเปลี่ยนใจไม่ออกจากงาน เมื่อฝ่ายบุคคลสามารถแก้ปัญหาให้ได้ เช่น อาจให้ย้ายไปทำงานแผนกอื่น ถ้าการลาออกนั้นมีสาเหตุเนื่องมาจากความขัดแย้งกับผู้ร่วมงานหรือไม่ชอบและ ไม่ถนัดในงานที่ได้รับมอบหมาย

  • Fire ไล่ออก

การที่นายจ้างไล่ลูกจ้างออกจากงานหรือไม่ยอมให้ลูกจ้างทำงานต่อ

  • Green Hands มือใหม่

ลูกจ้างที่เป็นคนใหม่สำหรับงานหรืออาชีพ ซึ่งไม่มีประสบการณ์ในการทำงานนั้น ๆ มาก่อน

  • Headwork งานใช้ความคิด

งานซึ่งต้องใช้ความคิดและสติปัญญามากกว่ากำลังกาย

  • Incentive Wage ค่าจ้างจูงใจ

การให้ค่าจ้างเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนของผลผลิตที่ลูกจ้างทำได้เกินมาตรฐานที่กำหนด

  • Jack of All Trades ผู้รู้อย่างเป็ด

บุคคลที่สามารถทำงานได้หลายประเภท แต่ไม่มีความชำนาญในงานใดงานหนึ่งโดยเฉพาะ

  • Labour Turnover การเข้า-ออกงาน

อัตราการเข้า-ออกงาน ในระยะเวลาหนึ่งคิดเป็นร้อยละตามอัตราส่วนของจำนวนคนทำงานหรือออกจากงานกับ จำนวนเฉลี่ยของคนทำงานทั้งหมดในระยะเวลาเดียวกัน โดยทั่วไปมักจะคำนวณอัตราการออกจากงานโดยสมัครใจมากกว่าอัตราการเข้าทำงาน เนื่องจากอัตราการออกจากงานเป็นเครื่องบ่งชี้อย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึง ประสิทธิภาพในการบริหารของสถานประกอบการ ตลอดจนความมั่นคงหรือความอยู่รอดของสถานประกอบการนั้นด้วย

  • ศัพท์ในการทำงาน Layoff การปลดออก

การที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานเนื่องจาก สาเหตุบางประการซึ่งมิใช่ความผิดของลูกจ้าง เช่น การขาดแคลนวัตถุดิบ ภาวการตลาด ภาวการขาดทุน ผลผลิตล้นตลาด ฯลฯ ในอดีตคำว่า Layoff หมายถึง การที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานเป็นการชั่วคราวโดยมีกำหนดระยะเวลาหรือไม่ มีกำหนดก็ได้ ทั้งนี้ลูกจ้างยังคงมีสถานภาพเดิมเมื่อกลับเข้ามาทำงานอีก

ที่มา : กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

A-Z คำศัพท์ในการทำงานที่น่าจดจำ(2)

สิทธิและหน้าที่ของลูกจ้างและนายจ้างตาม พรบ.คุ้มครองแรงงานปี 2541 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

สิทธิและหน้าที่ของลูกจ้างและนายจ้างตาม พรบ.คุ้มครองแรงงานปี 2541 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (ตอนที่ 2)

More from this category: การพัฒนาด้านอาชีพ

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่าผู้สมัครค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอะไรใน Jobsdb? สำรวจคำค้นหาที่ได้รับความนิยมเพื่ออัพเดทเทรนด์ใหม่เสมอ

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
ท่านได้ยอมรับคำประกาศเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล และนโยบายความเป็นส่วนตัวเพื่อให้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน หากท่านมีอายุต่ำกว่า 20 ปี ท่านได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง เพื่อยินยอมให้ Jobsdb และบริษัทในเครือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ท่านสามารถยกเลิกได้ทุกเวลา