Key Takeaway
เชื่อว่าหลายๆ คน ไม่มากก็น้อยต่างก็เคยมีความฝันอยากเป็นนักบิน ใครสนใจเกี่ยวกับเครื่องบินและพร้อมมุ่งสู่การพัฒนาตัวเองไปอีกระดับ บทความนี้จะพาไปกันดูว่าสาขายอดฮิตอย่างวิศวะการบินต้องเรียนอะไร มีที่ไหนบ้าง จบไปทำงานอะไร และเงินเดือนเท่าไร
วิศวกรรมการบินหรือวิศวะอากาศยาน (Aeronautical Engineering) เป็นสาขาที่มุ่งเน้นการศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบ พัฒนา และดูแลรักษาอากาศยานประเภทต่างๆ โดยครอบคลุมความรู้ ทั้งด้านการออกแบบโครงสร้าง เครื่องยนต์ ระบบไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และระบบนำร่องการสื่อสาร รวมถึงการซ่อมบำรุงและการจัดการด้านความปลอดภัยทางการบิน
ค่าเทอมสำหรับสาขาวิศวะการบินในประเทศไทยจะต่างกันไปตามแต่ละสถาบัน โดยจะเริ่มต้นที่ 18,000 - 60,000 บาทต่อเทอม
วิศวะการบิน เป็นหลักสูตร 4 ปี ที่มีการเรียนการสอนครอบคลุมตั้งแต่พื้นฐานวิศวกรรม ไปจนถึงความรู้เฉพาะทาง ดังนี้
นอกจากนี้นักศึกษายังต้องพัฒนาทักษะเสริมที่สำคัญ เช่น ภาษาอังกฤษ การใช้ซอฟต์แวร์เฉพาะทาง และการทำงานเป็นทีม รวมถึงเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรต่างๆ เช่น การดูงาน การฝึกอบรม และการเข้าร่วมสัมมนาด้านการบิน เป็นต้น
คนที่เหมาะกับการเรียนสาขาวิศวะการบิน ควรมีความสนใจและความถนัดในหลายด้าน โดยเฉพาะความหลงใหลในเรื่องเครื่องบินและระบบการบินต่างๆ รวมถึงมีความสนใจในการศึกษาโครงสร้างและการสร้างอุปกรณ์การบิน ตลอดจนเรื่องเครื่องกลและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
นอกจากนี้นักศึกษาจะต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญ ได้แก่ ความกล้าที่จะเผชิญความท้าทาย มีไหวพริบดี สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี มีความรับผิดชอบ และความละเอียดรอบคอบสูง ทั้งนี้พื้นฐานทางวิชาการที่จำเป็นที่ต้องมีคือความถนัดในวิชาคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และมีทักษะภาษาอังกฤษที่ดี เนื่องจากเป็นพื้นฐานสำคัญในการศึกษาและการทำงานในสายอาชีพนี้
เหตุผลที่ควรเลือกเรียนสาขาวิศวะการบินมีดังนี้
สาขาวิศวกรรมการบิน และอวกาศในประเทศไทย มีที่ไหนเปิดสอนบ้าง? ไปดูกัน!
สำหรับอาชีพที่สามารถรองรับได้หลังจากจบวิศวะการบินมาแล้ว มีตัวอย่างดังนี้
วิศวกรการบิน มีบทบาทสำคัญในการดูแลและพัฒนาเทคโนโลยีการบินและอวกาศ โดยรับผิดชอบตั้งแต่การออกแบบ วิเคราะห์ และควบคุมโครงสร้างของอุปกรณ์ ที่เกี่ยวข้องกับการบิน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องบิน ขีปนาวุธ ยานอวกาศ และดาวเทียม งานของวิศวกรการบิน ครอบคลุมตั้งแต่การเลือกวัสดุที่เหมาะสม การวางแผนกระบวนการผลิต การพัฒนาระบบขับเคลื่อน การวางแผนการสร้างเครื่องบิน ตลอดจนการดูแลระบบเทคโนโลยีของอากาศยาน รวมถึงการทดสอบ และซ่อมบำรุงอุปกรณ์ต่างๆ
โดยรับผิดชอบในการสื่อสารกับนักบิน เพื่อแจ้งข้อมูลสภาพอากาศ เส้นทางการบิน และสถานการณ์ต่างๆ เจ้าหน้าที่จราจรทางอากาศ (Air Traffic Controller) ทำหน้าที่ควบคุมและจัดการการจราจรทางอากาศ เพื่อให้การขึ้น-ลงของเครื่องบิน และการเดินทางในอากาศเป็นไปอย่างปลอดภัย โดยการจัดลำดับการขึ้น-ลงของเครื่องบิน การกำหนดระดับความสูงในการบิน และการประสานงานระหว่างสนามบินต่างๆ
อีกทั้งยังต้องติดตามและตรวจสอบข้อมูลการบินผ่านระบบเรดาร์และอุปกรณ์ควบคุมการจราจรทางอากาศ เพื่อป้องกันการชนกันของเครื่องบินและรักษาระยะห่างที่ปลอดภัย ตลอดจนต้องสามารถตัดสินใจและแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ
วิศวกรโลจิสติกส์ด้านการบิน เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนและจัดการระบบขนส่งทางอากาศทั้งหมด โดยทำหน้าที่บริหารจัดการการขนส่งสินค้าและสัมภาระทางอากาศ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ตั้งแต่การวางแผนเส้นทางการขนส่ง การจัดการคลังสินค้าในสนามบิน การควบคุมการขนถ่ายสัมภาระ และสินค้า การจัดตารางเที่ยวบินขนส่ง ตลอดจนการประสานงานระหว่างสายการบิน ผู้ส่งสินค้า และผู้รับสินค้า
ทำหน้าที่ดูแลระบบการจัดเก็บและกระจายสินค้าทางอากาศ ควบคุมต้นทุนการขนส่งและแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการขนส่ง โดยต้องทำงานร่วมกับทีมงานหลายฝ่าย ทั้งพนักงานภาคพื้น เจ้าหน้าที่คลังสินค้า และทีมปฏิบัติการการบิน เพื่อให้การขนส่งสินค้าทางอากาศเป็นไปอย่างราบรื่น ปลอดภัย และตรงตามเวลาที่กำหนด
พนักงานภาคพื้น (Ground Staff) เป็นบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสนามบิน โดยมีหน้าที่ให้บริการและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสาร ตั้งแต่การเช็คอิน การตรวจสอบเอกสารการเดินทาง การจัดการสัมภาระ การนำผู้โดยสารขึ้นเครื่อง ตลอดจนการดูแลผู้โดยสารที่ต้องการความช่วยเหลือ
รวมทั้งยังต้องประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ในสนามบิน เช่น แผนกตรวจคนเข้าเมือง ศุลกากร และฝ่ายความปลอดภัย รวมถึงการให้ข้อมูลเที่ยวบิน การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า การจัดการกรณีเที่ยวบินล่าช้า หรือยกเลิก และการดูแลความเรียบร้อยทั่วไปภายในบริเวณสนามบิน โดยต้องรักษามาตรฐานการบริการที่ดี มีความสุภาพ อดทน และสามารถทำงานภายใต้ความกดดันได้ดี รวมทั้งต้องมีทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษที่ดี เพื่อบริการผู้โดยสารชาวต่างชาติ
พนักงานอำนวยการบิน (Flight Operations Officer หรือ Flight Dispatcher) มีหน้าที่รับผิดชอบในการวางแผนและควบคุมการปฏิบัติการบิน ให้เป็นไปอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ โดยทำงานร่วมกับนักบินในการวางแผนเส้นทางบิน คำนวณน้ำหนักบรรทุก ประเมินสภาพอากาศ และวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการบิน เช่น ปริมาณเชื้อเพลิง เส้นทางสำรอง และข้อจำกัดต่างๆ
นอกจากนี้ยังต้องติดตามสถานการณ์การบินตลอดเที่ยวบิน ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น หอบังคับการบิน ฝ่ายการบิน และฝ่ายบริการภาคพื้น รวมถึงแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างเที่ยวบิน เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ เหตุฉุกเฉิน หรือการเปลี่ยนแปลงกำหนดการบิน โดยต้องตัดสินใจภายใต้กฎระเบียบด้านความปลอดภัย และมาตรฐานการบินสากล
สาขาวิศวะการบิน มีแนวโน้มการเติบโตมากขึ้นในอนาคต เนื่องจากการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของอุตสาหกรรมการบินทั่วโลก ทั้งการเพิ่มขึ้นของสายการบินต้นทุนต่ำ การพัฒนาสนามบินใหม่ และการขยายตัวของศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานในภูมิภาค นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น อากาศยานไร้คนขับ เครื่องบินพลังงานไฟฟ้า การใช้ AI ในระบบการบิน และการใช้เทคโนโลยี 3D Printing ในการผลิตชิ้นส่วน
รวมถึงการให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่ยั่งยืน เช่น การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพ และการออกแบบเครื่องบินที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สำหรับผู้ที่สนใจในสาขานี้จำเป็นต้องพัฒนาทักษะที่สำคัญ เช่น ความรู้ด้านดิจิทัลและ AI การจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ และทักษะการสื่อสารระหว่างประเทศ เพื่อรองรับความท้าทายในอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันสูง และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
วิศวกรรมการบิน เป็นสาขาที่เน้นการศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบ พัฒนา และดูแลรักษาอากาศยาน โดยครอบคลุมความรู้ทั้งด้านโครงสร้าง เครื่องยนต์ ระบบไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และระบบการสื่อสาร คนที่เหมาะจะเรียนในสาขานี้ ควรมีความสนใจและหลงใหลในเรื่องเครื่องบิน ระบบการบิน และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง มีพื้นฐานที่ดีในวิชาคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ รวมถึงมีทักษะภาษาอังกฤษที่ดี
นอกจากนี้ยังต้องมีความกล้าเผชิญความท้าทาย มีไหวพริบ และความละเอียดรอบคอบสูง ผู้ที่จบการศึกษาในสาขานี้สามารถประกอบอาชีพได้หลากหลาย เช่น วิศวกรการบิน เจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศ วิศวกรโลจิสติกส์ด้านการบิน พนักงานภาคพื้น หรือผู้อำนวยการการบิน
เรียนจบวิศวะการบินแล้ว มาหางานกันได้ใน Jobsdb เว็บไซต์ที่โดดเด่นด้วยฟีเจอร์การหางานแบบครบครัน ไม่ว่าจะเป็นตามทำเลที่ต้องการ ตำแหน่งที่ใช่ เงินเดือนที่ชอบ ที่สามารถเปรียบเทียบเงินเดือนได้ตามต้องการ
หรือสามารถเข้าไปดูบทความอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ career-advice/category/first-job