แนะนำคณะธุรกิจการบิน คณะยอดนิยม เรียนจบแล้วทำงานอะไรได้บ้าง?

แนะนำคณะธุรกิจการบิน คณะยอดนิยม เรียนจบแล้วทำงานอะไรได้บ้าง?
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 11 October, 2024
Share

Key Takeaway

  • คณะธุรกิจการบิน เป็นหลักสูตรการเรียนที่เหมาะสำหรับคนที่ชอบทำงานด้านการบริการ พบปะกับผู้คน จะมีการเรียนตั้งแต่พื้นฐานวิชาชีพ ไปจนถึงวิชาขั้นสูงก่อนทำงานจริงเลย 
  • คณะธุรกิจการบิน มีสาขาการจัดการธุรกิจการบิน สาขาการจัดการเทคโนโลยีการบิน สาขาการจัดการขนส่งสินค้าทางอากาศ สาขาการจัดการท่าอากาศยาน สาขาการจัดการจราจรทางอากาศ และสาขานักบินพาณิชย์
  • คณะธุรกิจการบิน จบมาแล้ว สามารถทำงานได้หลากหลาย เช่น นักบินพาณิชย์ พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน พนักงานบริการผู้โดยสารบนภาคพื้น พนักงานบริการฝ่ายบัตรโดยสาร หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพาณิชย์สินค้า เป็นต้น

ใครอยากมาเรียนคณะธุรกิจการบิน ต้องรู้ไว้ก่อน เพื่อสานฝันให้เป็นจริง! มาทำความรู้จักกับคณะธุรกิจการบิน ว่าเส้นทางการเรียนของคณะนี้ จะต้องเรียนเกี่ยวกับอะไร มีสาขาอะไรบ้างที่น่าสนใจ แล้วจบธุรกิจการบินมาแล้วสามารถไปทำงานอะไรได้บ้าง บทความนี้มีคำตอบ!

คณะธุรกิจการบิน คืออะไร

คณะธุรกิจการบิน คืออะไร

คณะธุรกิจการบิน เป็นหลักสูตรการเรียนที่เหมาะสำหรับคนที่ชอบทำงานด้านการบริการ พบปะกับผู้คน เพราะการเรียนการสอนธุรกิจการบิน จะเน้นในเรื่องของการบริการเป็นหลัก เมื่อจบมา ก็ทำงานบริการในอุตสาหกรรมการบิน เช่น พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน งานคลังสินค้า หรืองานส่วนต่างๆ ของสายการบิน  

สำหรับคณะธุรกิจการบินนั้นมีค่าเทอมอยู่ที่ประมาณ 310,000 บาท เป็นค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 4 ปี (8 ภาคการศึกษา) หรือคิดเป็นค่าเล่าเรียนต่อเทอมโดยเฉลี่ยประมาณ 38,750 บาท 

ประสบการณ์ 4 ปีในคณะธุรกิจการบิน ต้องเรียนอะไรบ้าง?

ประสบการณ์ 4 ปีในคณะธุรกิจการบิน ต้องเรียนอะไรบ้าง?

คณะธุรกิจการบินใน 4 ปีนี้ จะต้องเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง มาดูกันเลย

ปี 1 เรียนพื้นฐานวิชาชีพ จะเป็นการเรียนพื้นฐานเกี่ยวกับวิชาชีพธุรกิจการบิน อย่างเช่น การจัดการ การบริการ เศรษฐศาสตร์ การสื่อสาร ภาษาอังกฤษ รวมถึงพื้นฐานของการใช้ชีวิต และมีออกไปดูงานนอกสถานที่บ้าง

ปี 2 เรียนวิชาด้านการจัดการและบริการ จะเป็นการเรียนด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบิน ความรู้วิชาชีพ และวิชาเสริม เช่น คณิตศาสตร์ และความรู้ทั่วไปในด้านการจัดการ 

ปี 3 เรียนวิชาด้านการบินและเริ่มฝึกงาน จะเป็นการเรียนเกี่ยวกับความรู้ทางวิชาชีพในด้านการบิน เช่น การรักษาความปลอดภัยภายในสนามบิน หรือการจัดการขนส่งสินค้าทางเครื่องบิน และยังมีการฝึกงาน ซึ่งในชั้นปี 3 จะมีการฝึกงานที่เกี่ยวข้องกับการเรียนคณะธุรกิจการบิน

ปี 4 เรียนวิชาขั้นสูงก่อนทำงานจริง จะมีวิชาเรียนที่ไม่เยอะ แต่วิชาเรียนนั้นจะเป็นวิชาขั้นสูง อย่างเช่น วิชาพฤติกรรมของผู้โดยสาร กลยุทธ์การจัดการสายการบิน และการทำงานวิจัยที่สนใจ

มัดรวม! 6 สาขา คณะธุรกิจการบิน ที่น่าสนใจ

มัดรวม! 6 สาขา คณะธุรกิจการบิน ที่น่าสนใจ

อยากเรียนคณะการบิน แต่ไม่รู้จะไปสายไหนดี มาดูกันว่าคณะธุรกิจการบิน มีสายการเรียนไหนที่น่าสนใจบ้าง

1. สาขาการจัดการธุรกิจการบิน

สาขาการจัดการธุรกิจการบิน เป็นสาขาที่เรียนเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการบิน และธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การบริการภาคพื้นในท่าอากาศยาน การบริการผู้โดยสารบนเครื่องบิน การบริการอาหาร การบริการด้านการขนส่งสินค้า และความปลอดภัยในการบิน รวมทั้งธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบิน

2. สาขาการจัดการเทคโนโลยีการบิน

สาขาการจัดการเทคโนโลยีการบิน เป็นสาขาที่เน้นเรียนในเรื่องที่เกี่ยวกับการปฏิบัติการ การบริหารจัดการเทคโนโลยีด้านการบิน และการวางแผน 

3. สาขาการจัดการขนส่งสินค้าทางอากาศ

สาขาการจัดการขนส่งสินค้าทางอากาศ จะเรียนเกี่ยวกับการบริหารจัดการ และทักษะการปฏิบัติงานด้านการขนส่งสินค้าทางอากาศ

4. สาขาการจัดการท่าอากาศยาน

สาขาการจัดการท่าอากาศยาน จะเรียนเกี่ยวกับด้านการบริหาร และการจัดการในท่าอากาศยาน รวมไปถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ สำหรับการบริหารจัดการเทคนิคในการปฏิบัติงาน ที่สามารถปฏิบัติงาน หรือเป็นผู้บริหารในท่าอากาศยานต่างๆ ได้

5. สาขาการจัดการจราจรทางอากาศ

สาขาการจัดการจราจรทางอากาศ สาขานี้จะเรียนเกี่ยวกับการบริหาร และการจัดการทางจราจรทางอากาศ หากจบไปแล้ว สามารถปฏิบัติงานเป็นผู้ควบคุมการจราจรทางอากาศได้

6. สาขานักบินพาณิชย์

สาขานักบินพาณิชย์ สาขานี้จะเรียนเพื่อเป็นนักบินที่มีคุณภาพตามมาตรฐานของสากล เพื่อนำความรู้ไปประกอบอาชีพนักบินพาณิชย์ของสายการบินนานาชาติ

อยากเรียนคณะธุรกิจการบิน เลือกเรียนที่ไหนดี?

อยากเรียนคณะธุรกิจการบิน เลือกเรียนที่ไหนดี?

เรียนการบินที่ไหนดี มีที่ไหนน่าสนใจบ้าง? มาดูกันเลย

  • มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • มหาวิทยาลัยนครพนม
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ จังหวัดชลบุรี
  • มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  • มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  • มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น 
  • มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • มหาวิทยาลัยรังสิต
  • มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
  • มหาวิทยาลัยหอการค้า
  • มหาวิทยาลัยอีสเทิร์น
  • เอเชียมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • สถาบันพัฒนาบุคลากรการบิน (APDI)

คณะธุรกิจการบิน กับอาชีพที่รองรับ

คณะการบิน หากเรียนจบไปแล้ว จะมีอาชีพที่น่าสนใจ รองรับสำหรับคณะการบิน ดังนี้

นักบินพาณิชย์

นักบินพาณิชย์ ทำหน้าที่นำบินยานพาหนะการบิน เพื่อขนส่งสินค้า หรือผู้โดยสาร ซึ่งนักบินพาณิชย์ มักจะทำงานโดยไม่มีตารางงานที่แน่นอน และอาจจะมีหน้าที่อื่นๆ เช่น ทำหน้าที่วางแผนตารางการบิน การซ่อมแซมบำรุงเครื่องบิน หรือโหลดกระเป๋าสัมภาระด้วยตัวเอง 

  • เงินเดือนเริ่มต้น: 200,000 - 350,000 บาท

พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน

พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน เป็นอาชีพที่มีหน้าที่ในการดูแลรักษาความปลอดภัยบนเครื่องบินเป็นหลัก หน้าที่รองลงมาคือช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสารบนเครื่องบิน เช่น การจัดแจงที่นั่งให้กับผู้โดยสาร เสิร์ฟอาหาร และเครื่องดื่ม คอยดูแล ให้ความช่วยเหลือผู้โดยสาร ทำหน้าที่ระหว่างบิน จนกว่าจะถึงจุดหมายปลายทาง 

  • เงินเดือนเริ่มต้น: 50,000 - 80,000 บาท

พนักงานบริการผู้โดยสารภาคพื้น

พนักงานบริการผู้โดยสารภาคพื้น เป็นอาชีพที่ทำหน้าที่ต้อนรับ และดูแลอำนวยความสะดวกให้กับผู้โดยสาร ตั้งแต่ที่เข้ามาใช้บริการของสายการบิน ทั้งการ Check-in การตรวจรับ Boarding Pass หรือสัมภาระ จนถึงการนำส่งผู้โดยสารขึ้นเครื่อง เป็นต้น

  • เงินเดือนเริ่มต้น: 17,000 - 20,000 บาท

พนักงานฝ่ายบัตรโดยสารและการสำรองที่นั่ง

พนักงานฝ่ายบัตรโดยสาร และการสำรองที่นั่ง ทำหน้าที่จำหน่ายบัตรโดยสารให้แก่ผู้โดยสาร โดยจะจำหน่ายบัตรโดยสารเครื่องบินทุกประเภท และให้บริการหลังการขายกับลูกค้า เช่น การเปลี่ยนวันเดินทาง การเปลี่ยนตั๋ว เป็นต้น 

  • เงินเดือนเริ่มต้น: 15,000 - 30,000 บาท ขึ้นอยู่กับประสบการณ์การทำงาน วุฒิการศึกษา ทักษะภาษา ขนาด และประเภทบริษัทที่สังกัด เช่น สายการบิน ตัวแทนจำหน่ายตั๋ว บริษัทท่องเที่ยว เป็นต้น

เจ้าหน้าที่ฝ่ายการพาณิชย์สินค้าและไปรษณียภัณฑ์

เจ้าหน้าที่ฝ่ายการพาณิชย์สินค้า และไปรษณียภัณฑ์ เป็นอาชีพที่ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ชายมากกว่า เพราะต้องใช้ทั้งแรงงาน และเครื่องจักร โดยมีหน้าที่จัดเรียงสินค้าภายในคลัง และแบ่งประเภทของสินค้าตามหมวดหมู่ 

  • เงินเดือนเริ่มต้น: 15,000 - 35,000 บาท โดยขึ้นอยู่กับประสบการณ์การทำงาน วุฒิการศึกษา ขนาด และประเภทบริษัทที่สังกัดด้วย

สรุป

คณะธุรกิจการบิน เป็นคณะที่เหมาะสำหรับคนที่ชอบทำงานด้านการบริการ พบปะกับผู้คน ซึ่งผู้เรียนจะต้องเรียนตั้งแต่พื้นฐานวิชาชีพ ไปจนถึงวิชาขั้นสูงก่อนทำงานจริง เพื่อนำความรู้ และทักษะที่ได้ ไปประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

เมื่อจบไปแล้ว ไม่ต้องกังวลเลยว่าจะไม่มีงานทำ ลองมาหางานธุรกิจการบิน ที่ Jobsdb ที่ครบครันทุกเรื่องการหางาน มีอาชีพที่น่าสนใจมากมาย เว็บไซต์ยังใช้งานง่าย สามารถระบุประเภทงานที่ต้องการทำได้ตามความต้องการได้เลย! 

More from this category: งานแรก

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่าผู้สมัครค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอะไรใน Jobsdb? สำรวจคำค้นหาที่ได้รับความนิยมเพื่ออัพเดทเทรนด์ใหม่เสมอ

สำรวจหัวข้อที่เกี่ยวข้อง

เลือกสิ่งที่สนใจเพื่อเรียกดูอาชีพที่เกี่ยวข้อง

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
ท่านได้ยอมรับคำประกาศเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล และนโยบายความเป็นส่วนตัวเพื่อให้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน หากท่านมีอายุต่ำกว่า 20 ปี ท่านได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง เพื่อยินยอมให้ Jobsdb และบริษัทในเครือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ท่านสามารถยกเลิกได้ทุกเวลา