Business Analyst (BA) คืออะไร หนึ่งในสายงานด้านไอทีที่กำลังมาแรงทุกองค์กร

Business Analyst (BA) คืออะไร หนึ่งในสายงานด้านไอทีที่กำลังมาแรงทุกองค์กร
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

งานด้านไอที ยังเป็นคงเป็นสายงานที่ฮอตฮิตสุดในตลาดแรงงาน เรียกได้ว่าเป็นที่ต้องการสูงในหลาย ๆ องค์กร ทั้งฝั่งภาครัฐและเอกชน ซึ่งจริง ๆ แล้วงานด้านนี้ประกอบไปด้วยส่วนงานต่าง ๆ ไม่ใช่แค่นักเขียนโปรแกรม Software Developer หรือนักเขียนโปรแกรมบนเว็บไซต์ Web Programmer เพียงเท่านั้น

วันนี้ JobsDB จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ นั่นก็คือ “นักวิเคราะห์ธุรกิจ Business Analyst” หรือที่บางคนเรียกติดปากว่า BA ที่นอกจากต้องมีความเชี่ยวชาญด้านการ เขียนโค้ด แล้ว BA ทำหน้าที่อะไร และต้องมีทักษะอะไรบ้าง มาทำความเข้าใจไปพร้อมกัน

ตำแหน่ง BA คืออะไร

BA หรือ Business Analyst มีชื่อเรียกแบบแปลไทยว่า นักวิเคราะห์ธุรกิจ ด้วยความที่เป็นอาชีพใหม่ทางฝั่งไอที หลายคนอาจจะฟังชื่อตำแหน่งแล้วยังไม่เข้าใจอยู่ดี ว่าจริง ๆ แล้วหน้าที่รับผิดชอบหลักทำอะไรกันแน่

หน้าที่หลักของ BA คือวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าหรือผู้ใช้งานระบบในทุกแพลตฟอร์ม ทั้งจากแอปพลิเคชันและเว็บไซต์ ซึ่งต้องมีความละเอียดและแม่นยำในด้านข้อมูล เพื่อนำไปใช้พัฒนาประสิทธิภาพงานได้ถูกต้อง ทำให้ BA จะต้องพูดคุยเพื่อสอบถามลูกค้าอยู่บ่อย ๆ สัมภาษณ์คนใช้งานระบบ รวมทั้งต้องทำตัวเป็นผู้ใช้งานจริง เข้าไปลองใช้งานเองทีละขั้นตอนและดูว่าส่วนไหนต้องปรับปรุง ส่วนไหนพัฒนาต่อได้ แล้วนำสิ่งที่ได้ไปคุยกับคนในทีม หรือส่งต่อข้อมูลที่ได้ไปยังฝ่ายต่าง ๆ ให้แก้ไขนั่นเอง

จะเห็นได้ว่างานของ BA เป็นเหมือนตัวกลางระหว่างลูกค้าและทีม คือต้องมีทั้งความเข้าใจผลิตภัณฑ์ มีทักษะการสื่อสารที่ดี เพื่อนำเอาคำแนะนำต่าง ๆ ส่งต่อไปยังทีมได้ถูกต้อง นอกจากนี้ต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเขียนโค้ดด้วย รวมทั้งการวางแผนและกำหนดระยะเวลาในการดำเนินงาน

Business Analyst มีหน้าที่ทำอะไรบ้าง

บอกเล่าภาพรวมการทำงานของ Business Analyst กันไปแล้ว ทีนี้มาลงรายละเอียดกันดีกว่าว่าในเนื้องานเป็นอย่างไร เพื่อช่วยให้คนที่กำลังลังเลตัดสินใจได้ง่ายก่อนลงสนามทำงานในตำแหน่ง BA จริง ๆ

  • BA จะมีส่วนช่วยในการทำแพลตฟอร์ม/ผลิตภัณฑ์ตั้งแต่พัฒนาแผนงาน ไปจนถึงติดตามผลการใช้งาน ว่าผู้ใช้งานมีประสบการณ์ใช้เป็นอย่างไร ส่วนไหนต้องปรับปรุง
  • BA จำทำหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูล พร้อมประเมินผลิตภัณฑ์ของบริษัททุกขั้นตอน หาจุดอ่อนจุดแข็ง พร้อมนำคำแนะนำที่ได้ไปแก้ไขหรือสื่อสารในองค์กร เพื่อพัฒนาและปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น
  • นำเสนอข้อมูลที่ได้จากลูกค้า ส่งต่อความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ไปยังทีมต่าง ๆ รวมถึงช่วยกำหนดกรอบระยะเวลาในการทำงาน
  • นอกจากนี้ BA ยังต้องค้นคว้าและดูว่าเทรนด์ของผลิตภัณฑ์ของบริษัทกำลังโตไปในทิศทางไหน ลูกค้าหรือคู่แข่งเป็นอย่างไร โดยเฉพาะเรื่องเทคโนโลยีที่นำมาใช้ จะได้นำสิ่งนั้นมาทำให้องค์กรทันสมัยกว่าเดิม
  • ทำงานร่วมกับหลายทีมในองค์กร โดยเฉพาะนักเขียนโปรแกรม เพราะต้องคอยกำหนดแผนงานในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ได้รับคำแนะนำมา เพื่อนำไปปรับปรุงให้ตรงกับความต้องการขององค์กรหรือลูกค้ามากที่สุด
  • ทำงานร่วมกับฝั่งผู้ใช้งานจริงและเจ้าของแพลตฟอร์ม (ลูกค้า) บางครั้งต้องมีการสัมภาษณ์ เพื่อเอาประสบการณ์จริงมาปรับปรุง
  • จัดการอบรมหรือสนับสนุนให้กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในงาน เพื่อการใช้งานระบบหรือข้อมูลอื่น ๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผลิตภัณฑ์หรือสินค้าขององค์กร

ทักษะความสามารถที่จำเป็นต่อสายงาน BA มีอะไรบ้าง

ความรับผิดชอบและภาระงานของ Business Analyst ส่วนใหญ่แล้วเป็นเรื่องของการแก้ปัญหา และทำหน้าที่เชื่อมความเข้าใจที่ถูกต้องระหว่างลูกค้า องค์กร และคนในทีม ดังนั้นจึงต้องมีทักษะ ดังต่อไปนี้

ทักษะเฉพาะด้านไอทีหรือ Technical skills

ทำงานเกี่ยวกับไอที ความรู้เรื่องเทคโนโลยี การเขียนโค้ดขั้นพื้นฐานจำเป็นต้องมี รู้ว่าแต่ละขั้นตอนมีกระบวนการอะไรบ้าง ใช้เวลาพัฒนานานเท่าไร ข้อดีข้อเสียต้องทราบ ไม่ต้องถึงขั้นเทคนิค แต่ควรจะตอบคำถามพื้นฐานในสิ่งที่ลูกค้าถามได้

ทักษะการวิเคราะห์หรือ Analytical skills

คิด วิเคราะห์ แยกแยะข้อมูล เป็นทักษะที่ BA ที่ดีต้องมี ด้วยความรับผิดชอบหลักที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมาก ต้องแยกได้ว่า ข้อมูลส่วนนี้นำไปต่อยอดอะไรได้ หรือจะแก้ไขอย่างไร

ทักษะการแก้ปัญหาหรือ Problem-solving skills

ทักษะการแก้ปัญหา เรียกได้ว่าเป็นทักษะหลักของ Business Analyst เลยก็ว่าได้ ซึ่งปัญหาที่ว่าคือปัญหาของลูกค้าที่มีต่อองค์กร ปัญหาเกี่ยวกับตัวสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ ปัญหาระหว่างการทำงานที่ต้องเจอความต้องการที่เปลี่ยนไปอยู่เรื่อย ๆ รวมถึงปัญหาในองค์กรเอง

ทักษะการสื่อสารหรือ Communication skills

การสื่อสารที่ดีจะนำมาซึ่งความเข้าใจที่ตรงกัน ดังนั้นทักษะนี้จึงมีความสำคัญกับงานของ BA อย่างมาก เพราะต้องพูดคุยกับคนจากหลากหลายฝ่าย ทั้งลูกค้า เพื่อนในทีม ทีมอื่น ๆ ที่ต้องประสานงานด้วย นอกจากนี้ ทักษะการเจรจาต่อรองหรือ Negotiation skill ก็สำคัญไม่แพ้กัน

ความเข้าใจในโลกธุรกิจหรือ Commercial awareness

ถือเป็นทักษะที่เป็นส่วนประกอบจำเป็นสำหรับงานในตำแหน่ง BA เนื่องจากตำแหน่งนี้ต้องทำงานเพื่อการพัฒนาสินค้าหรือบริการ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญขององค์กร การเข้าในในโลกธุรกิจจึงช่วยทำให้ BA ทำงานได้อย่างตรงเป้าหมายมากขึ้น เช่น เข้าใจอุตสาหกรรมที่ทำอยู่ เข้าใจช่องทางตลาดที่สินค้าจะวางจำหน่าย ฯลฯ

Hard skill ที่สำคัญต่อตำแหน่ง BA

  • ใช้ Microsoft Excel
  • ใช้ Tableau, QlikView หรือ Power BI ได้
  • เขียน ภาษาโปรแกรม เพื่อจัดการด้านข้อมูล เช่น SQL, Python, R ฯลฯ
  • ทักษะการค้นคว้าข้อมูลหรือ Research skills เพื่อทำความเข้าใจโปรเจกต์ หาโอกาสและความเป็นไปได้ในการพัฒนาโปรเจกต์

โอกาสและความก้าวหน้าในสายงาน BA

Business Analyst เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่มีความจำเป็นในทุกธุรกิจ โดยเฉพาะงานด้านเทคโนโลยี เป็นอาชีพที่ช่วยให้กระบวนการทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น คอยแก้ปัญหา และนำข้อมูลที่มีมาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ของบริษัท ได้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน ด้วยความรับผิดชอบที่ชัดเจนบวกกับความต้องการในตลาดแรงงานที่เพิ่มมากขึ้น สายงานนี้จึงมีความก้าวหน้าค่อนข้างสูง ยิ่งมีความเชี่ยวชาญในตัวงานมากเท่าไร ยิ่งมีโอกาสเติบโตได้ไว แบ่งได้คร่าว ๆ ดังต่อไปนี้

  • นักวิเคราะห์ธุรกิจระดับผู้เชี่ยวชาญ Expert Business Analyst
  • นักวิเคราะห์ธุรกิจระดับผู้จัดการ Business Analysis Manager
  • ผู้จัดการโครงการ Project Manager
  • ผู้ดูแลความสัมพันธ์ลูกค้าผู้ประกอบการ Relationship Manager
  • นักพัฒนาธุรกิจสถาปัตยกรรม Business Architect
  • นักวิเคราะห์ข้อมูลภัยคุกคาม Subject Matter Expert

คำถามเกี่ยวกับตำแหน่งงาน Business Analyst

ปิดท้ายกับการตอบคำถามที่หลาย ๆ คนน่าจะอยากทราบว่า ถ้ามีแค่ใจแต่ไม่เคยทำงานเป็น BA มาก่อน ย้ายสายมาจะลำบากไหม หรือเรียนอะไรมาถึงทำอาชีพนี้ได้ JobsDB มีคำตอบ

ไม่มีประสบการณ์ สามารถเริ่มทำในตำแหน่ง Business Analyst หรือ BA ได้หรือไม่

ประสบการณ์สำคัญก็จริง แต่ไม่ได้สำคัญไปกว่าทักษะและความรู้พื้นฐานที่ต้องมี โดยเฉพาะเกี่ยวกับการใช้ภาษาโปรแกรม การจัดการข้อมูล การทำวิจัย และ Soft Skill อื่น ๆ ตำแหน่งงาน BA จำเป็นต้องเข้าใจข้อมูล รวมถึงเข้าใจการทำงานของทีมอื่น ๆ ในองค์กร นอกจากนี้ทักษะการแก้ปัญหาต้องดี วิเคราะห์ข้อมูลได้ยอดเยี่ยม ทักษะการสื่อสารต้องเก่ง หากมีพื้นฐานและทักษะเหล่านี้ ก็สามารถ สมัครงาน BA ได้

ตำแหน่ง Business Analyst ต้องจบคณะอะไร

ความที่สายงานนี้ใช้ความรู้และทักษะจากหลาย ๆ ด้าน ไม่ได้เป็นอาชีพที่ต้องรู้ทางใดทางหนึ่งเฉพาะ คณะที่จบมาแล้วเป็น Business Analyst (BA) ได้จึงค่อนข้างหลากหลาย ตั้งแต่บัญชี เศรษฐศาสตร์ บริหารธุรกิจ การจัดการ เทคโนโลยีสารสนเทศ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ไปจนถึงวิทยาการคอมพิวเตอร์ อยู่ที่ว่าองค์ความรู้ที่มีตอบโจทย์สิ่งที่บริษัทนั้นต้องการไหม

ใครที่กำลังอยากเปลี่ยนสายงานแล้วมองว่า Business Analyst น่าจะตอบโจทย์ อย่าลังเลและปล่อยให้เวลาเดินผ่านไป สามารถเพิ่มทักษะ ความรู้ต่าง ๆ หรือ UpSkill ไปกับ JobsDB ได้

หากเติมเต็มทักษะและจัดเต็มด้านความรู้แล้ว อย่าลืมเข้ามา อัปเดตเรซูเม่ เพื่อพบกับโอกาสดี ๆ มากมาย จากองค์กรชั้นนำของไทย ได้แล้ววันนี้ที่ JobsDB แพลตฟอร์มหางานชั้นนำในไทย งานดี..อะไรก็ดี

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android JobsDB Mobile App

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า

More from this category: เรื่องเล่าธุรกิจ

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่าผู้สมัครค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอะไรใน Jobsdb? สำรวจคำค้นหาที่ได้รับความนิยมเพื่ออัพเดทเทรนด์ใหม่เสมอ

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
ท่านได้ยอมรับคำประกาศเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล และนโยบายความเป็นส่วนตัวเพื่อให้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน หากท่านมีอายุต่ำกว่า 20 ปี ท่านได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง เพื่อยินยอมให้ Jobsdb และบริษัทในเครือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ท่านสามารถยกเลิกได้ทุกเวลา