ในหัวข้อการบรรยายเรื่อง “จิตวิทยาของนักบริหาร” โดย ศ.ดร.นพ.วิทยา นาควัชระ ได้อธิบายความหมายไว้ว่า “จิต” ของผู้บริหารเป็นสิ่งที่ผูกพันหรือสัมผัสกับจิตของผู้ที่เกี่ยวข้องในการทำงานร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน ลูกค้า หรือแม้แต่นายจ้าง ซึ่งจิตของคนนั้นสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่หยุดนิ่ง เพราะฉะนั้นการรู้จักที่จะ “นำจิตด้านที่ดี” ของผู้บริหารไปกระตุ้นพนักงานในหน่วยงาน หรือบริษัทของตนให้รู้สึกความเป็นหนึ่งเดียวกันที่พนักงานสามารถสัมผัสมันได้ แต่หากการแสดงจิตของผู้บริหารไปในทางที่ไม่ดี จะทำให้คนอื่นๆ ออกมาต่อต้านและทำในสิ่งที่ตรงกันข้ามทันที
การที่จะปรับและระดับทิศทางของ “จิต” ของผู้บริหารได้นั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เพราะผู้บริหารนั้นก็เป็นคนที่มักจะมีอคติเข้าข้างตัวเอง ชินต่อการเป็นผู้รับ (Taker) ชอบสั่งการ แสดงอำนาจ ทำให้จนเป็นนิสัยที่เคยชิน จึงทำให้เกิดอุปสรรค์ในการบริหารมากมาย
Brand นั้นหมายถึงสิ่งที่เป็นจุดเด่นของสินค้านั้นๆ และ Brand ของผู้บริหารก็เช่นกัน ดังนั้นการที่จะสร้าง Brand ของผู้บริหารขึ้นมาได้นั้นควรที่จะมี “จิต” ด้านที่ดีเพื่อปกครองพนักงานและทำให้พนักงานเกิดความเข้าใจเมื่อพูดถึงผู้บริหารคนนี้ว่ามีนิสัยอย่างไร เพราะฉะนั้นลักษณะการสร้าง Brand กับพื้นฐานการศึกษาของผู้บริหารก็มีส่วนสำคัญในพฤติกรรมการปกครองของผู้บริหารว่าจะออกมาเป็นเหมือนกัน เพราะฐานการศึกษาแต่ละประเภทนั้นมีความแต่ต่างกัน เช่น พวกเรียนวิทยาศาสตร์มักจะเป็นพวกที่ใช้เหตุใช้ผล ยอมหักไม่ยอมงอ เป็นคนตรงๆ แต่อีกพวกที่เรียนด้านสังคมศาสตร์มา หรือการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ก็จะบริหารแบบแฝงการประชาสัมพันธ์ตัวเองเข้าไปเต็มที่ ใช้รูปลักษณ์ หน้าตา ภาษาพูดที่เฉียบคม ทำให้คนหลงเชื่อ และสามารถทำคะแนนได้มากมาย แต่สุดท้ายของผู้บริหารก็ไม่มีอะไร แลดูเหมือนเป็นพระเอกลิเก หน้าหล่อ พูดเพราะ เปิดงาน – ปิดงาน ไปวันๆ