คณะนิเทศศาสตร์ จากนักศึกษานิเทศฯ ก้าวสู่เส้นทางอาชีพในวงการสื่อ

คณะนิเทศศาสตร์ จากนักศึกษานิเทศฯ ก้าวสู่เส้นทางอาชีพในวงการสื่อ
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 23 September, 2024
Share

Key Takeaway

  • การเปลี่ยนแปลงของสังคมในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้มีผลต่อด้านนิเทศศาสตร์ ที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนให้มีรูปแบบการเรียนที่เน้นในเรื่องดิจิทัล 
  • คณะนิเทศศาสตร์ เป็นคณะที่เกี่ยวกับการผลิตสื่อ และการสื่อสารที่ครอบคลุม ดังนั้น ถ้าอยากเรียนนิเทศศาสตร์ จะต้องมีทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์
  • สำหรับผู้ที่เรียนจบคณะนิเทศศาสตร์ สามารถก้าวหน้าในอาชีพได้ โดยการประกอบอาชีพเกี่ยวกับสื่อสารมวลชน ได้ทั้งในภาครัฐ หรือภาคเอกชน และการประกอบอาชีพอิสระ
  • เรียนคณะนิเทศศาสตร์ จบไปแล้ว ไม่ต้องกังวลเลยว่าจะไม่มีงานทำ เพราะคณะนี้ สามารถประกอบอาชีพได้หลายประเภท 

คณะนิเทศศาสตร์ คณะในฝันของหลายๆ คน บทความนี้จะพาไปเจาะลึกกับเส้นทางการเรียนของคณะนิเทศศาสตร์ ว่าต้องเรียนเกี่ยวกับอะไร มีสาขาอะไรบ้างที่น่าสนใจ แล้วจบนิเทศศาสตร์ ต้องทำงานอะไร ควรเริ่มต้นจากธุรกิจของตัวเอง หรือวงการสื่อ เลือกแบบไหนดีกว่ากัน?

นิเทศศาสตร์ในสังคมปัจจุบัน

นิเทศศาสตร์ในสังคมปัจจุบัน

การเปลี่ยนแปลงของสังคมในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้พฤติกรรมการรับสื่อของผู้บริโภคเปลี่ยนตามไปด้วย โดยสื่อต่างๆ ได้มีการนำเสนอเป็นแบบ Anytime, Real-time และ Anywhere การรับข่าวสารจากสื่อดิจิทัลจึงมีมากขึ้น ทำให้มีผลต่อด้านนิเทศศาสตร์ ที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนให้มีรูปแบบการเรียนที่เน้นในเรื่องดิจิทัล 

รวมถึงเสริมทักษะต่างๆ ให้ผู้เรียนได้มีความรู้ ความสามารถในการผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ และส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถรอบด้าน ทั้งการผลิตสื่อ การตัดต่อ ที่จะนำไปสู่การโปรโมต การนำเสนอ และทำการตลาดได้ และเพื่อให้มีนักนิเทศศาสตร์มืออาชีพ 

ในการเรียนนิเทศศาสตร์ในยุคปัจจุบันนั้น จะต้องสร้างประสบการณ์ และทักษะให้กับผู้เรียน เพื่อที่จะให้ผู้เรียนได้นำไปต่อยอดในการผลิตสื่อ ให้มีความน่าสนใจ และมีคุณภาพที่สุด รวมถึงผู้เรียนนั้น สามารถเลือกเข้าไปอยู่ในวงการสื่อต่างๆ หรือสามารถสร้างสรรค์ผลงานอิสระของตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คณะนิเทศศาสตร์ สอนอะไรบ้าง

ขอบเขตของการศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ มีวิชาพื้นฐานที่จะต้องศึกษา ดังนี้

  • พื้นฐานของการสื่อสารมวลชน เป็นการศึกษาเกี่ยวกับสื่อสารมวลชนเบื้องต้น และสื่อทุกแขนง อย่างเช่น สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อสมัยใหม่ โดยเรียนรู้ตั้งแต่วิวัฒนาการของสื่อต่างๆ และจรรยาบรรณของนักสื่อสารมวลชน
  • คอมพิวเตอร์ประยุกต์ เพื่อให้ผู้เรียนมีพื้นฐานในการใช้คอมพิวเตอร์ และนำความรู้ไปประยุกต์ในการทำงานด้านนิเทศศาสตร์ได้ เช่น การสร้างภาพเคลื่อนไหว การออกแบบเว็บไซต์ การออกแบบงานมัลติมีเดีย
  • เทคโนโลยีสารสนเทศ การศึกษาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ก็เพื่อให้ผู้เรียนนิเทศศาสตร์ ได้รู้แนวคิด กระบวนการการนำเทคโนโลยีไปใช้ 
  • วิชาทัศนสาร เป็นวิชาที่เน้นให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการสื่อสารด้วยภาพ เพื่อให้ผู้เรียนได้มีความสามารถในการถ่ายทอดผ่านทางภาพ รวมไปถึงการเรียนรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบศิลป์ และการนำไปประยุกต์ใช้
  • การถ่ายภาพเพื่อการสื่อสาร เป็นการศึกษาการถ่ายภาพเบื้องต้น การจัดองค์ประกอบของภาพถ่าย การแต่งรูป รวมไปถึงการทำงานของกล้อง และอุปกรณ์ต่างๆ
  • ภาษาเพื่อการสื่อสาร จะให้ผู้เรียนได้เข้าใจวิธีการสื่อสาร ที่จะสื่อความหมายไปยังผู้รับสารได้อย่างถูกต้อง หรือการให้ข้อมูลข่าวสาร ข้อเท็จจริงต่างๆ รวมถึงการศึกษาภาษาสร้างสรรค์ หรือเพื่อโน้มน้าวใจ และได้เรียนรู้การอ่าน การเขียน และการวิเคราะห์ต่างๆ
  • สถิติพื้นฐาน การเรียนนิเทศศาสตร์ จะมีเรื่องธุรกิจเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้น วิชาสถิติพื้นฐาน จึงเป็นอีกวิชาสำคัญ เพราะการเรียนวิชานี้ ผู้เรียนสามารถนำความรู้มาใช้ในด้านธุรกิจได้ เช่น ความต้องการของผู้บริโภค 
  • การประชาสัมพันธ์ เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับแนวคิดต่างๆ การสื่อสาร กระบวนการ ความสำคัญของการประชาสัมพันธ์ รวมไปถึงความรับผิดชอบในงานประชาสัมพันธ์
  • การสื่อข่าวและการเขียนข่าว จะศึกษาในเรื่องขององค์ประกอบ และความหมายของข่าว เทคนิคในการสื่อสาร การเขียนข่าว และจริยธรรมของนักข่าว
เรียนคณะนิเทศศาสตร์ สาขาไหนดี?

เรียนคณะนิเทศศาสตร์ สาขาไหนดี?

คณะนิเทศศาสตร์ มีสาขามากมาย เพราะต้องเรียนเกี่ยวกับการสื่อสารหลายรูปแบบ มาดูตัวอย่างของสาขาที่น่าสนใจในคณะนิเทศศาสตร์กันเลย! 

1. สาขาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ 

สาขาวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ จะเรียนเกี่ยวกับการผลิตรายการ ทั้งทางวิทยุ และโทรทัศน์ การเขียนบทพูดในรายการ การควบคุมการถ่ายทำ การตัดต่อ การโฆษณา การใช้เสียง และการกระจายเสียง เรียนจบสาขานี้ สามารถประกอบอาชีพผู้ประกาศข่าว นักประชาสัมพันธ์ นักเขียน นักโฆษณา พิธีกร ผู้กำกับรายการทางโทรทัศน์ นักจัดรายการทางวิทยุ และเจ้าหน้าที่ในสถานีวิทยุได้

2. สาขาการประชาสัมพันธ์

คณะนิเทศศาสตร์ สาขาการประชาสัมพันธ์ จะเรียนเกี่ยวกับการวางแผนในการสื่อสาร การเขียนเพื่อประชาสัมพันธ์ กลยุทธ์ในการสื่อสาร เรียนจบสาขานี้ สามารถประกอบอาชีพนักการตลาด นักสื่อสารองค์กร นักโฆษณา นักออกแบบสื่อ นักข่าว พิธีกร และครีเอทีฟได้

3. สาขาโฆษณา 

สาขาโฆษณา จะเรียนเกี่ยวกับการตลาด การสื่อสาร การสร้างงานโฆษณา การวางแผนการใช้สื่อโฆษณา เรียนจบสาขานี้ สามารถประกอบอาชีพผู้เขียนบท นักสร้างสรรค์โฆษณา ผู้บริหารงานลูกค้า ผู้วางแผนสื่อโฆษณา ผู้วางแผนกลยุทธ์ได้

4. สาขาวารสาร 

สาขาวารสาร จะเรียนเกี่ยวกับการเรียบเรียงข้อมูล การเขียน การนำเสนอข้อมูล ถ้าหากใครชอบการสื่อสารผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ แนะนำให้เรียนสาขานี้ในคณะนิเทศศาสตร์เลย เรียนจบสาขานี้ สามารถประกอบอาชีพ นักข่าว ผู้เขียนบทโฆษณา นักเขียนบทความต่างๆ และบรรณาธิการหนังสือได้

5. สาขาสื่อสารมวลชน

สาขาสื่อสารมวลชน จะเรียนเกี่ยวกับการตลาด การเขียนบทโฆษณา การเขียนข่าว การประชาสัมพันธ์ ซึ่งจะศึกษาเกี่ยวกับภาพรวมของนิเทศ โดยไม่ได้เน้นไปทางด้านใดด้านหนึ่ง เรียนจบสาขานี้ สามารถประกอบอาชีพ นักพิสูจน์อักษร ช่างภาพ นักเขียนบท นักประชาสัมพันธ์ กองบรรณาธิการ นักข่าว และนักจัดรายการได้

6. สาขาศิลปะการแสดง

สาขาศิลปะการแสดง จะเรียนผสมผสานระหว่างการสื่อสารกับศิลปะการแสดงทางวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน ซึ่งมีทั้งการกำกับการแสดง การเต้น การเขียนบท การแสดงต่างๆ และการออกแบบเพื่อการแสดง เรียนจบสาขานี้ สามารถประกอบอาชีพนักเขียนบทละคร นักออกแบบท่าเต้น ผู้กำกับละครเวที ครูสอนการแสดง และนักแสดงได้

7. สาขาสื่อสารการตลาด 

คณะนิเทศศาสตร์ สาขาสื่อสารการตลาด จะเรียนเกี่ยวกับการกำหนดกลยุทธ์ การวิเคราะห์ตลาด การสื่อสารการตลาด และการสร้างแบรนด์ เรียนจบสาขานี้ สามารถประกอบอาชีพนักโฆษณา นักการตลาด และนักประชาสัมพันธ์ได้

8. สาขาวาทนิเทศ

คณะนิเทศศาสตร์ สาขาวาทนิเทศ จะเรียนครอบคลุมของการสื่อสารทั้งหมด ทั้งการเขียน การพูด การเจรจา การนำเสนอ เพื่อที่จะให้ผู้เรียนมีประสิทธิภาพในการสื่อสาร สามารถใช้ภาษาในการโน้มน้าวใจได้ เรียนจบสาขานี้ สามารถประกอบอาชีพนักเขียน นักสื่อสารมวลชน นักข่าว และนักพูดได้

9. สาขาผลิตอีเวนต์

สาขาผลิตอีเวนต์ จะเรียนเกี่ยวกับกลยุทธ์การวางแผน การออกแบบผลงาน เช่น การจัดนิทรรศการ การจัดงานประชุม การเขียนบทสำหรับงานอีเวนต์ เรียนจบสาขานี้ สามารถประกอบอาชีพครีเอทีฟ ผู้ออกแบบกราฟิก ผู้กำกับการแสดง หรือการโชว์ และผู้ควบคุมการผลิตอีเวนต์ได้

10. สาขาสื่อดิจิทัล

คณะนิเทศศาสตร์ สาขาสื่อดิจิทัล จะเรียนเกี่ยวกับการสร้าง Animation การสร้างภาพยนตร์ การถ่ายภาพ การออกแบบสื่อต่างๆ ที่ใช้ในโลกออนไลน์ เป็นการเรียนผสมผสานระหว่างการตลาด การสื่อสาร และการออกแบบ เรียนจบสาขานี้ สามารถประกอบอาชีพนักตัดต่อวิดีโอ นักการตลาด นักออกแบบเว็บไซต์ นักออกแบบภาพเคลื่อนไหว และนักออกแบบกราฟิกได้

ทักษะที่ต้องมี ถ้าอยากเรียนนิเทศศาสตร์

คณะนิเทศศาสตร์ เป็นคณะที่เกี่ยวกับการผลิตสื่อ และการสื่อสารที่ครอบคลุม ดังนั้น ถ้าอยากเรียนนิเทศศาสตร์ จะต้องมีทักษะ ดังนี้

  • ความสนใจเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ: การมีความสนใจอยากเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หรือการแสวงหาความรู้ ที่ไม่รู้มาก่อนจะนำไปสู่การพัฒนาตัวเองให้เก่งมากยิ่งขึ้น
  • ความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบ: การมีความคิดสร้างสรรค์ และการออกแบบผลงานในมุมมองใหม่ๆ สามารถนำมาต่อยอดการผลิตสื่อในรูปแบบของตัวเอง ให้มีความน่าสนใจ และดึงดูดผู้บริโภคได้
  • การวิจัยและวิเคราะห์: การวิจัย และการวิเคราะห์เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการเรียนคณะนิเทศศาสตร์ซึ่งผู้เรียนควรมีความสามารถในการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อทำความเข้าใจในกลุ่มเป้าหมาย และวางแผนกลยุทธ์ในการสื่อสาร
  • ความมีมนุษยสัมพันธ์: การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี จะช่วยให้ทำงานกับผู้อื่นได้อย่างราบรื่น ซึ่งคณะนิเทศศาสตร์ จะเน้นในเรื่องของการทำงานเป็นทีม การมีความสามัคคี เพื่อให้การทำงานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
  • ความสามารถในการปรับตัว: การปรับตัวนั้น จะช่วยให้มีทักษะการทำงานร่วมกันที่ดีเยี่ยม และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการเรียนคณะนี้
  • การเขียนและสื่อสาร: การจะทำให้การเขียน และการสื่อสารมีประสิทธิภาพได้นั้น จะต้องมีความรัดกุม ชัดเจน มีความน่าสนใจ และมีความสร้างสรรค์ 
เส้นทางอาชีพหลังจบจากคณะนิเทศศาสตร์

เส้นทางอาชีพหลังจบจากคณะนิเทศศาสตร์

คณะนิเทศศาสตร์ จบไปแล้ว ไม่ต้องกังวลเลยว่าจะไม่มีงานทำ เพราะคณะนี้ สามารถประกอบอาชีพได้หลายประเภท ลองมาดูตัวอย่างเส้นทางอาชีพหลังจบคณะนิเทศศาสตร์ ว่าทำงานอะไรได้บ้าง

1. โปรดิวเซอร์

โปรดิวเซอร์เป็นอาชีพที่ทำหน้าที่ควบคุมดูแล ประสานงาน อย่างเช่น งานอีเวนต์ งานถ่ายโฆษณา ลักษณะการทำงานจะเน้นในเรื่องของการวางแผน คิดไอเดียต่างๆ เหมาะสำหรับผู้ที่มีความกล้าคิด กล้าทำ และกล้าตัดสินใจ อาชีพโปรดิวเซอร์ มีเงินเดือนเริ่มตั้งแต่ 25,000 ถึง 45,000 บาท 

2. คอนเทนต์ครีเอเตอร์

คอนเทนต์ครีเอเตอร์ เป็นอาชีพที่คิดค้นเนื้อหาที่สร้างสรรค์ เพื่อให้ความรู้แก่ผู้คนผ่านทางช่องทางต่างๆ มีลักษณะงานที่ต้องสร้างผลงานให้มีความสนใจ คอนเทนต์ครีเอเตอร์มีหลายประเภท ได้แก่ ด้านการเขียน ด้านรูปภาพ และด้านวิดีโอ 

เหมาะสำหรับผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะด้านการค้นคว้า การใช้เครื่องมือการสร้างคอนเทนต์ และมีทักษะในการใช้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ อาชีพคอนเทนต์ครีเอเตอร์ มีเงินเดือนเริ่มตั้งแต่ 15,000 ถึง 35,000 บาท 

3. ครีเอทีฟโฆษณา

เรียนจบคณะนิเทศศาสตร์ สามารถทำงานเป็นครีเอทีฟโฆษณาได้ เป็นอาชีพที่สร้างสรรค์โฆษณา ทั้งโฆษณาทางทีวี สื่อสิ่งพิมพ์ และวิดีโอออนไลน์ มีลักษณะงานที่ต้องคิดไอเดียให้ตรงกับการตลาดของลูกค้า เหมาะสำหรับผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ และมีความรับผิดชอบสูง อาชีพครีเอทีฟโฆษณา มีเงินเดือนเริ่มตั้งแต่ 25,000 ถึง 45,000 บาท  

4. ผู้กำกับภาพ

เรียนจบคณะนิเทศศาสตร์ สามารถทำงานเป็นผู้กำกับภาพได้ ซึ่งเป็นอาชีพที่เกี่ยวกับกล้อง โดยมีหน้าที่ในการจัดการไฟ การเคลื่อนไหว และองค์ประกอบของภาพ มีลักษณะงานที่ต้องเข้าใจในบทภาพยนตร์ มีเทคนิคทางภาพยนตร์ และมีการตัดสินใจในเรื่ององค์ประกอบทางภาพยนตร์ และการเคลื่อนกล้อง 

รวมถึงการจัดแสง เหมาะสำหรับผู้ที่มีความรู้ทางด้านภาพยนตร์ มีความรับผิดชอบ มีทักษะความเป็นผู้นำ และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี อาชีพผู้กำกับภาพมีเงินเดือนเริ่มตั้งแต่ 100,000 ถึง 600,000 บาท ต่อภาพยนตร์ 1 เรื่อง

5. นักสื่อสารองค์กร

นักสื่อสารองค์กร เป็นอาชีพที่เกี่ยวกับการสร้างภาพลักษณ์ให้กับองค์กร มีลักษณะงานที่ต้องวางแผนในการสื่อสาร และดูแลภาพลักษณ์ขององค์กร ให้มีชื่อเสียงที่ดี เหมาะสำหรับผู้ที่มีความรับผิดชอบ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และชอบการวางแผน อาชีพนักสื่อสารองค์กรมีเงินเดือนเริ่มตั้งแต่ 20,000 ถึง 25,000 บาท   

6. นักตัดต่อวิดีโอ

นักตัดต่อวิดีโอ เป็นอาชีพที่เกี่ยวกับการนำวิดีโอมาเรียงลำดับ หรือใส่เอฟเฟคต่างๆ ประสานงานกับโปรดิวเซอร์  มีลักษณะงานที่ต้องแก้ไข หรือปรับแต่งวิดีโอ อย่างเช่น การใส่ข้อความ หรือการใส่เสียงเพลง เหมาะสำหรับผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ และรับฟังความต้องการของลูกค้า อาชีพนักตัดต่อวิดีโอมีเงินเดือนเริ่มตั้งแต่ 15,000 ถึง 30,000 บาท   

7. นักออกแบบมัลติมีเดียและภาพเคลื่อนไหว

เรียนจบคณะนิเทศศาสตร์ สามารถทำงานเป็นนักออกแบบมัลติมีเดีย และภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นอาชีพที่เกี่ยวกับการออกแบบ สร้างสรรค์ภาพเคลื่อนไหว การ์ตูน เพื่อใช้ในโทรทัศน์ หรือภาพยนตร์ต่างๆ มีลักษณะงานที่เกี่ยวกับการวาดตัวละคร หรือตัวการ์ตูน และกำหนดการเคลื่อนไหวของตัวการ์ตูน เหมาะสำหรับผู้ที่มีความแม่นยำ มีความคิดสร้างสรรค์ ตั้งใจ และอดทน มีเงินเดือนเริ่มตั้งแต่ 23,000 ถึง 41,000 บาท    

สรุป 

คณะนิเทศศาสตร์ เป็นคณะที่เกี่ยวกับการผลิตสื่อ และการสื่อสารที่ครอบคลุม ซึ่งผู้เรียนจะต้องนำความรู้ และทักษะไปต่อยอดในการผลิตสื่อ ให้มีความน่าสนใจ และมีคุณภาพที่สุด เรียนคณะนิเทศศาสตร์ จบไปแล้ว ไม่ต้องกังวลเลยว่าจะไม่มีงานทำ เพราะคณะนี้ สามารถประกอบอาชีพได้หลายประเภท และหาอาชีพต่างๆ ได้จาก JobsDB ที่ครบครันทุกเรื่องการหางาน เปิดโอกาสให้ทุกคนได้สำรวจอาชีพ แถมเว็บไซต์ยังใช้งานง่าย ระบุประเภทงานที่ต้องการทำได้ตามความต้องการ เพียงไม่กี่ขั้นตอนก็ช่วยให้ได้งานที่อยากทำแน่นอน

More from this category: งานแรก

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่าผู้สมัครค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอะไรใน Jobsdb? สำรวจคำค้นหาที่ได้รับความนิยมเพื่ออัพเดทเทรนด์ใหม่เสมอ

สำรวจหัวข้อที่เกี่ยวข้อง

เลือกสิ่งที่สนใจเพื่อเรียกดูอาชีพที่เกี่ยวข้อง

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
ท่านได้ยอมรับคำประกาศเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล และนโยบายความเป็นส่วนตัวเพื่อให้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน หากท่านมีอายุต่ำกว่า 20 ปี ท่านได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง เพื่อยินยอมให้ Jobsdb และบริษัทในเครือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ท่านสามารถยกเลิกได้ทุกเวลา