Key Takeaway
วิทยาการคอมพิวเตอร์ อีกหนึ่งคณะสาขาที่ตอบโจทย์มากในยุคที่ทุกอย่างขับเคลื่อนไปด้วยความรู้ทางดิจิทัล และยังเป็นอีกหนึ่งในคณะเกี่ยวกับคอมหรือไอทีสำหรับคนที่ชื่นชอบเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยเฉพาะในด้านซอฟต์แวร์เป็นหลักอีกด้วย เรียกได้ว่าวิทยาการคอมพิวเตอร์ทำงานอะไรก็ได้เกือบทุกสาย
เพราะปัจจุบันนี้ทุกธุรกิจ ทุกองค์กร ทุกอุตสาหกรรมต้องนำเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาจัดการระบบดำเนินการต่างๆ กันมากมาย ใครที่กำลังสนใจคณะสาขานี้ต้องขอแนะนำข้อมูลว่าจบมาสามารถทำอาชีพอะไรได้บ้างในอนาคต บทความนี้ได้รวบรวมคำตอบไว้ให้แล้ว
วิทยาการคอมพิวเตอร์ คือคณะที่เรียนเกี่ยวกับด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ นวัตกรรม และการเขียนโปรแกรม ไปจนถึงการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อจัดการฐานข้อมูล หรือการจัดการปัญหาภายในองค์กรและธุรกิจด้วยซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้ลดข้อผิดพลาดและลดขั้นตอนการทำงานซ้ำซ้อนลงได้มากที่สุด
ดังนั้น สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์จึงเป็นที่ต้องการของตลาดงานอย่างมาก หากใครที่อยากเรียนคณะเกี่ยวกับคอมหรือสนใจชื่นชอบในการเขียนโปรแกรม การแก้ปัญหาโดยใช้เทคโนโลยีซอฟต์แวร์ แนะนำคณะนี้เป็นทางเลือกที่ดีอย่างแน่นอน จบมามีงานรองรับได้หลากหลายสาย หลากหลายรูปแบบองค์กร
คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นการเรียนหลักสูตร 4 ปี โดยในแต่ละชั้นปีก็จะมีเนื้อหาการเรียนที่แตกต่างกันไป ซึ่งมีพื้นฐานและเนื้อหาการเรียนที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ โปรแกรม ซอฟต์แวร์ และการจัดการแก้ไขปัญหาด้วยเทคโนโลยีต่างๆ อธิบายภาพรวมการเรียนของชั้นปีที่ 1 ถึงชั้นปีที่ 4 ได้ดังนี้
เนื้อหาการเรียนวิทยาการคอมพิวเตอร์ชั้นปีที่ 1 จะเป็นการทบทวนพื้นฐานและเจาะเนื้อหาเชิงลึกของวิชาสามัญที่จำเป็นในการต่อยอดใช้กับเนื้อหาการเรียนชั้นปีต่อไปได้จริง เช่น
เนื้อหาการเรียนวิทยาการคอมพิวเตอร์ชั้นปีที่ 2 จะเป็นการปูพื้นฐานวิชาเฉพาะที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และการประยุกต์ใช้ โดยเรียนถึงโครงสร้างข้อมูลต่างๆ เช่น
ส่วนในชั้นปีที่ 2 เทอม 2 จะได้เลือกสาขาที่สนใจเพื่อไปเจาะลึกต่อยอดความรู้ในเรื่องนั้นเพื่อไปเรียนในชั้นปีถัดไป
เนื้อหาการเรียนวิทยาการคอมพิวเตอร์ชั้นปีที่ 3 จะได้เจาะลึกเนื้อหาของสายเรียนที่เลือกไว้ในตอนชั้นปีที่ 2 เทอม 2 โดยสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์แบ่งเป็นหลากหลายหมวดหมู่ หลากหลายแขนง ขึ้นอยู่กับแนวทางที่ถนัดหรือเส้นทางที่นักศึกษาต้องการใช้ต่อยอดการทำงานในอนาคตว่าจะเลือกเรียนด้านไหนแบบเจาะลึก เช่น
สำหรับชั้นปีที่ 3 นี้ หลายๆ มหาวิทยาลัยจะเริ่มให้นักศึกษาหาที่ฝึกงานกับบริษัทหรือองค์กรต่างๆ เพื่อการนำความรู้ไปใช้งานจริง
เนื้อหาการเรียนวิทยาการคอมพิวเตอร์ชั้นปีที่ 4 จะเป็นชั้นปีที่เลือกว่าต้องการเรียนสหกิจ หรือเรียนพร้อมฝึกงานตลอดปีการศึกษา หรือต้องการเรียนแบบทำโปรเจคจบ โดยใช้ความรู้เฉพาะทาง ความรู้พื้นฐาน และความรู้ในการเรียนมาทั้ง 3 ชั้นปีเพื่อต่อยอดสร้างเป็นตัวโปรเจคจบหรือทำงานจริงกับองค์กร
คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์กลายเป็นหนึ่งในภาควิชาที่สำคัญต่อการทำงานในอนาคต และเป็นความรู้ที่จำเป็นอย่างมากสำหรับการทำงานในองค์กรต่างๆ ดังนั้น หลายมหาวิทยาลัยในประเทศไทยจึงมีการนำหลักสูตรของสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์มาเป็นทางเลือกสำหรับนักเรียน นักศึกษาที่ชื่นชอบในการเขียนโปรแกรม ชื่นชอบในคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี โดยเฉพาะด้านซอฟต์แวร์และการแก้ไขปัญหาโดยใช้โปรแกรมประยุกต์เข้ามาช่วยทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นคณะที่แตกต่างจากวิศวกรรมศาสตร์สาขาคอมพิวเตอร์อย่างชัดเจน ส่วนมหาวิทยาลัยที่โด่งดังของไทยและมีชื่อเสียงอย่างมากเกี่ยวกับหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์นี้ ได้แก่
สายงานที่รองรับคณะวิทยาการคอมพิวเตอร์มีเยอะและหลากหลายเส้นทาง หลากหลายประเภทองค์กรให้เลือก รวมถึงฐานเงินเดือนเริ่มต้นที่ค่อนข้างสูง แถมยังเป็นสาขาที่มีโอกาสเติบโตด้านอาชีพค่อนข้างรวดเร็ว เพราะการวัดผลลัพธ์ของสายงาน สำหรับวิทยาการคอมพิวเตอร์จะมีเกณฑ์การประเมินอย่างชัดเจน และมีตำแหน่งหน้าที่ระบุไว้ครบ สำหรับแนวทางสายอาชีพหลังเรียนจบวิทยาการคอมพิวเตอร์สามารถทำงานอะไรได้บ้าง ต้องมาดูกัน ดังนี้
อาชีพ Data Scientist คือผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลเพื่อนำมาตรวจสอบก่อนนำไปวิเคราะห์หาผลลัพธ์หรือแนวโน้มจากข้อมูลนั้นอย่างมีประสิทธิภาพ นำข้อมูลที่จัดเรียงเรียบร้อยแล้วไปใช้งานได้จริง โดยประโยชน์ของข้อมูลที่อาชีพ Data Scientist หรือนักวิทยาการข้อมูลวิเคราะห์ออกมา จะมีผลดีอย่างมากต่อการพยากรณ์การตลาด หรือมองปัญหาและโอกาสของธุรกิจต่างๆ อย่างแม่นยำ พร้อมรับมือหรือปรับตัวในยุคของการแข่งขันสูงแบบนี้ได้อย่างรวดเร็ว
หนึ่งในอาชีพยอดฮิตของสายไอที คืออาชีพ Programmer (โปรแกรมเมอร์) มีหน้าที่ในการเขียนโปรแกรม พัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อช่วยดูแลระบบ แก้ไขข้อผิดพลาดในการดำเนินการภายในองค์กรได้มากที่สุด รวมถึงการสร้างโปรแกรมหรือสร้างระบบขึ้นมาให้กับลูกค้าเพื่อช่วยดำเนินธุรกิจและองค์กรต่อไปได้ โดยลดขั้นตอนการทำงานของพนักงานลง และลดความผิดพลาดที่จะเกิดจาก Human Error ให้ได้มากที่สุด
อาชีพนักพัฒนาซอฟต์แวร์ หรือ Software Developer มีหน้าที่ในการสร้างระบบจากโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ทั้งบนสมาร์ตโฟน และคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ลูกค้าได้รับการแก้ไขปัญหาหรือเพิ่มประสิทธิภาพสำหรับธุรกิจและองค์กรในเวลาที่รวดเร็วมากที่สุด เป็นอาชีพที่ต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมประยุกต์ค่อนข้างกว้าง ต้องอัปเดตความรู้ตามเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลาเพื่อการเลือกใช้งานซอฟต์แวร์ได้อย่างเหมาะสมกับการแก้ปัญหามากที่สุด
อาชีพนักวิเคราะห์ระบบ หรือ System Analyst มีหน้าที่ในการวิเคราะห์ข้อมูลขององค์กรจากปัญหาต่างๆ มาสู่แนวทางการแก้ไข และการจัดการบุคลากร กระบวนการทำงาน ฐานข้อมูล และการประมวลผล การสื่อสารทั้งหมดโดยใช้เทคโนโลยีที่องค์กรมีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด หรือเลือกใช้โปรแกรมประยุกต์ที่มีอยู่เข้ามาช่วยจัดการปัญหาภายในองค์กรให้เกิดข้อผิดพลาดน้อยมากที่สุด นอกจากนี้ ยังเป็นอาชีพที่สามารถรับหน้าที่ในการทดสอบระบบ ทดสอบโปรแกรมต่างๆ ให้กับหน่วยงาน เพื่อประเมินคุณภาพ ตรวจสอบและสรุปรายการปัญหาไปยังนักพัฒนาซอฟต์แวร์ต่อไป
อีกหนึ่งอาชีพที่กำลังมาแรง และเป็นที่ต้องการของตลาดงานสายไอทีค่อนข้างมากตอนนี้กับนักออกแบบหน้าต่างการใช้งาน หรือ UX/UI Design มีหน้าที่ในการออกแบบหน้าต่างโปรแกรม แอปพลิเคชัน เว็บไซต์ และระบบต่างๆ ให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าใจระบบและขั้นตอนการทำงานที่ง่ายที่สุด และออกแบบความสวยงาม ความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจขององค์กร ต้องออกแบบให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าและง่ายต่อมุมมองของผู้ใช้งาน หรือที่เรียกกันว่าหน้าต่าง User Interface และ User Experience ใครที่เป็นสายคอมพิวเตอร์กราฟิกและการออกแบบต้องอย่าพลาด
อาชีพนักออกแบบเว็บไซต์ หรือ Web Designer มีหน้าที่ในการออกแบบหน้าต่างการใช้งานของเว็บไซต์ลูกค้าให้มีความสวยงาม เหมาะสมกับภาพลักษณ์ของแบรนด์ธุรกิจ และใช้งานง่ายต่อทั้งมุมของผู้ใช้งานทั่วไปและมุมของเจ้าของธุรกิจด้วยเช่นกัน
สำหรับอาชีพ Web Designer มีตั้งแต่การออกแบบหน้าตาการใช้งานเว็บไซต์ ไปจนถึงการออกแบบระบบการทำงานของเว็บไซต์ทั้งหมด ขึ้นอยู่กับสายงานที่เลือกทำต่อยอดต่อไปได้ หรือนักออกแบบเว็บไซต์ที่ครอบคลุมทุกด้านตั้งแต่การออกแบบโครงสร้างการทำงานของเว็บไซต์ การออกแบบหน้าตาการใช้งานให้สวยงามและใช้งาน ไปจนถึง การเริ่มต้นสร้างและพัฒนาเว็บไซต์จากโปรแกรมประยุกต์ก็ทำได้เช่นกัน โดยไม่ต้องยุ่งวุ่นวายกับการเขียนโปรแกรมหรือเขียนโค้ดเหมือนกับสายโปรแกรมเมอร์
วิทยาการคอมพิวเตอร์ เป็นคณะที่เรียนจบมาแล้วหางานได้ง่ายมาก โดยเฉพาะสายงานที่องค์กรใหญ่ๆ ประกาศรับสมัครบนแพลตฟอร์มจัดหางานอย่าง JobsDB ที่คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์สามารถเลือกดูงานที่ชอบและถนัดตามหมวดหมู่ได้ง่ายมาก
เว็บไซต์ JobsDB มีการออกแบบการใช้งานระบบให้ง่ายต่อทั้งผู้หางาน และองค์กรที่มองหาคนทำงาน โดยใช้ระบบตัวกรองเลือกตำแหน่ง พื้นที่ของที่ทำงาน เรตเงินเดือน หรือพิมพ์หาจากคีย์เวิร์ดที่สนใจก็ได้เช่นกัน เป็นเว็บจัดหางานที่เหมาะกับทุกสายอาชีพ ทุกสายงาน และทุกเพศ ทุกวัย ที่สนใจดูตลาดงานในแต่ละช่วง รับรองว่าได้งานที่ตรงใจ เลือกงานได้หลากหลายในเรตเงินเดือนและรายละเอียดหน้าที่การทำงานที่เหมาะสม ไม่ถูกเอาเปรียบอย่างแน่นอน
วิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นภาควิชาที่เรียนแล้วมีตลาดงานรองรับอย่างแน่นอน เพราะยุคนี้เป็นยุคที่องค์กรและธุรกิจมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้งานเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ กันเยอะมาก ดังนั้น คนที่มีความรู้เกี่ยวกับระบบเทคโนโลยี ซอฟต์แวร์ และการประยุกต์ใช้อย่างคณะเกี่ยวกับคอมหรือสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์จึงมีตำแหน่งงานให้เลือกทำเยอะมาก
หากใครเป็นสายนี้อยู่แล้วหรือเป็นคนที่ต้องการหางานในองค์กรใหญ่ เชื่อถือได้ มีประเภทงานรวบรวมมาให้เลือกเยอะที่สุด และเข้ายื่นสมัครโดยตรงกับบริษัทได้ตลอดทุกที่ ทุกเวลา ขอแนะนำเว็บไซต์เพื่อการหางานที่ใหญ่อันดับ 1 ของไทยอย่าง JobsDB ไม่ว่าจะเป็นผู้สมัครงาน หรือองค์กรบริษัทที่กำลังมองหาคนเข้ามาทำงานด้วย สามารถเลือกความต้องการให้เหมาะสมกันได้ทั้งสองฝ่ายผ่านเว็บไซต์ตัวกลางในการประกาศงานอย่าง JobsDB ได้เลย