Data is the New Goldเป็นประโยคที่สามารถอธิบายการทำธุรกิจในยุคดิจิตอลได้ดีที่สุดประโยคหนึ่ง จากแต่ก่อนที่การตัดสินใจในเรื่องธุรกิจแต่ละครั้งมักจะอาศัยความรู้ความชำนาญประสบการณ์ของผู้บริหารเป็นหลัก แต่วันนี้เมื่อข้อมูลเข้ามามีบทบาทสำคัญที่ช่วยทั้งการตัดสินใจ
การวางแผน และการทำให้บรรลุเป้าหมาย ไม่ใช่แค่ในโลกธุรกิจ แต่ยังรวมไปถึงด้านอื่น ๆ ในสังคม ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง การแพทย์ และด้านอื่น ๆ อีกมากมาย ทำให้ Big Data กลายมาเป็นองค์ความรู้สำคัญและช่วยสร้างอาชีพแห่งศตวรรษที่ 21 ขึ้นมามากมาย หนึ่งในนั้นก็คือ Data Analyst สายงานซึ่งถือเป็นหนี่งใน Key Position ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จขององค์กรมากมาย
Data Analyst (DA) หรือ นักวิเคราะห์ข้อมูล คือคนที่นำข้อมูลขนาดใหญ่ของลูกค้า (Big Data) มาวิเคราะห์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น การวิเคราะห์หาข้อมูลธุรกิจเชิงลึก (Business Insight) และนำมาจัดทำเป็นรายงาน (Business Report) เพื่อนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจ หาคำตอบ และการวางแผนกลยุทธ์ (Strategy) ให้ตอบโจทย์เพื่อทำเป้าหมายที่วางไว้ให้สำเร็จ
โดย Data Analyst เป็นงานที่ต้องอาศัยสัญชาตญาณทางธุรกิจ (Business Sense) ค่อนข้างมาก เพราะต้องเจอกับข้อมูล ความต้องการและโจทย์ที่หลากหลายอยู่ตลอดเวลา
Data Entry คือ ขั้นตอนการแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่พร้อมใช้งาน เพราะหลายครั้งที่ข้อมูล Big Data ที่ได้รับมาเป็นข้อมูลที่ไม่ได้มีระบบระเบียบ บวกกับปริมาณข้อมูลที่มีอยู่อย่างมหาศาล ทำให้ Data Analyst ไม่สามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์ต่อได้ทันที
ทำให้ต้องมีกระบวนการทำให้ข้อมูลสะอาดพร้อมใช้งาน ซึ่งเรียกว่า Data Wrangling, Data Transformation, Data Cleaning
Analytic / Data Mining คือ ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลจาก Big Data เพื่อหาความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ซ่อนอยู่ หรือเพื่อจำแนกแบ่งประเภทข้อมูล หารูปแบบและเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
Reporting / Data Visualization คือ การรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ทำมาแล้ว ด้วยภาษาที่สามารถสื่อสารให้ลูกค้าหรือผู้มีอำนาจตัดสินใจเข้าใจข้อมูลที่ซับซ้อนได้ง่าย เรียกได้ว่ามองเห็นแล้วสามารถทำความเข้าใจได้เลย ไม่ต้องมานั่งอ่านข้อมูลประกอบเพื่อใช้ทำความเข้าใจรายงานข้อมูลอีกที อาจใช้วิธี Data Visualization ที่นำเสนอข้อมูลผ่านการแผนภาพหรือ Dashboard เพื่อให้การทำงานของทีมที่ต้องเอาข้อมูลไปใช้ในขั้นตอนต่อไปทำได้อย่างรวดเร็ว ไม่เสียเวลา
Support คือ หน้าที่สนับสนุนการทำงานของฝ่ายอื่น ๆ ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ตรงตามความต้องการ (Criteria) ที่ฝ่ายอื่น ๆ ให้โจทย์มา
Data Management คือ การจัดการและจัดเก็บข้อมูลที่มีอยู่ให้เป็นระเบียบ เพื่อเวลาที่ต้องใช้ข้อมูลพวกนี้ขึ้นมาจะได้ค้นหาได้ง่าย และสามารถนำมาใช้ทำงานต่อได้ทันที
Math / Statistics – องค์ความรู้เรื่องสถิติ และตัวเลขเป็นทักษะพื้นที่ที่คนทำงานเกี่ยวกับข้อมูลขนาดใหญ่ต้องรู้ แม้ว่าไม่ได้มีความจำเป็นต้องเข้าใจในส่วนที่เป็นทฤษฎีมาก แต่ Data Analyst ต้องเข้าใจ Data Analysis เบื้องต้นได้เป็นอย่างดี เช่น การหา Growth การหา Metrics ที่มีคุณภาพเพื่อเอาไปรายงานใน Insight หรือแสดงใน Dashboard ซึ่งจะทำให้สามารถแสดงนัยยะสำคัญของข้อมูลได้อย่างถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนตัดสินใจเรื่องอื่น ๆ ต่อไป
Data Visualization – การแสดงข้อมูลที่มีความซับซ้อนให้เข้าใจได้ง่าย เป็นอีกหนึ่งทักษะจำเป็นที่ Data Analyst ต้องมี และนอกจากการทำสไลด์ใน PowerPoint เพื่อรายงานแล้ว DA ต้องสามารถทำ Automated Dashboard ที่สามารถอัพเดตข้อมูลให้ลูกค้าได้เช็กตัวเลขได้แบบ Realtime ตอบสนองโลกธุรกิจยุคดิจิทัลที่ต้องอาศัยความรวดเร็ว
Business Domain Expertise หรือ ความเข้าใจธรรมชาติธุรกิจของลูกค้า - เพราะ Data Analyst ต้องเจอโจทย์ธุรกิจที่หลากหลาย และยังต้องสามารถทำตาม Requirement หรือความต้องการของลูกค้าหรือแผนกอื่นที่ต้องการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ต่อให้ได้ ทำให้ DA ต้อมีความเข้าใจธุรกิจของลูกค้าเป็นพิเศษ เพื่อจะได้รู้ว่าต้องหาอะไรจาก Big Data ที่มีอยู่และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลให้ได้คำตอบที่ตรงจุดและเกิดประโยชน์สูงสุด
Database – Data Analyst มีความจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจใน Database หรือฐานข้อมูล ซึ่งเป็นที่จัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ ที่ใช้พื้นที่มาก สามารถที่จะวางแผน Infrastructure เบื้องต้นเพื่อให้สามารถรองรับปริมาณข้อมูลจำนวนมหาศาลของฐานข้อมูลได้อย่างเพียงพอ และรองรับจำนวนข้อมูลที่อาจเพิ่มมากขึ้นในอนาคตด้วย พร้อมทั้งความเข้าใจข้อมูลแบบต่าง ๆ (Data Structure) เพื่อจะได้นำมาวิเคราะห์ต่อได้อย่างถูกต้อง หรือหากมีข้อมูลตรงไหนตกลงขาดหายไป ได้จะวางแผนเพื่อเก็บข้อมูลในส่วนนี้เพิ่มขึ้นมาได้
Data Tools – ทักษะความรู้ความเข้าใจในการใช้เครื่องมือที่ใช้จัดการกับข้อมูล ซึ่งเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับ DA มีดังนี้
เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ใครที่กำลังสนใจงานด้าน Data Analyst อยู่ ชอบในลักษณะงานและรู้สึกว่าตัวเองพอจะมีสกิลที่จำเป็น หรือสนใจที่จะเรียนรู้พัฒนาทักษะที่ Data Analyst ต้องมี ก็สามารถหาเรียนเพิ่มเติมได้เลย เพราะเดี๋ยวนี้มีทั้งที่เป็นคอร์สระยะสั้น หรือจะเป็นระดับปริญญาที่เรียนอย่างจริงจังไปเลยก็ได้ เพราะสายงานนี้เป็นอีกหนึ่งสายงานที่เป็นที่ต้องการของตลาดงานอย่างมาก และยังมีฐานเงินเดือนในระดับสูง แถม Career Path ก็น่าสนใจ มีโอกาสเติบโตไปได้อีกเรื่อย ๆ เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่น่าสนใจอันดับต้น ๆ ของโลกยุคดิจิทัลเลยก็ว่าได้
ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android
เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/big-data-analyst/
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/data-analyst/