ใครจะคิดว่า การฟัง มีความสำคัญกว่าที่คิด เพราะว่าการฟัง สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดี เติมความสุข และเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการทำงานได้ การฟังยังช่วยสานสัมพันธ์ สร้างความไว้วางใจ และทัศนคติเชิงบวก ด้วยการฟังอย่างเข้าอกเข้าใจ ซึ่งการฟังถือเป็นทักษะในการสื่อสารที่สำคัญ โดยที่การฟังอย่างลึกซึ้ง Deep listening จะเป็นตัวช่วยในการสื่อสารให้สัมฤทธิ์ผลได้ดีที่สุด
Deep listeningใช้ใจฟัง
การฟังอย่างลึกซึ้ง หรือ Deep Listening เป็นการฟังที่ผู้ฟังต้องตั้งใจฟัง ใส่ใจฟัง และเข้าใจในเรื่องที่ฟัง เป็นการฟังโดยเอาตัวออกห่าง ฟังด้วยใจที่เป็นกลาง ไม่ไปตัดสินใจแทนผู้เล่า ฟังอย่างลึกซึ้งจนเข้าใจถึงอารมณ์ ความรู้สึกและความต้องการของผู้เล่า จับประเด็นสำคัญ และทบทวนเรื่องราวได้
ทักษะการฟังอย่างลึกซึ้งนั้นต้องฝึกฝน ต้องมีสติ ( Mindfulness ) ต้องฝึกฝนสติอย่างต่อเนื่อง การฟังอย่างลึกซึ้งไม่ใช่แค่ฟังเสียง แต่ต้องฟังภาษาร่างกาย ซึ่งเป็นเสียงที่ไม่มีคำพูดด้วย
เป็นนักฟังที่ดีทำอย่างไร
การจะเป็นผู้ฟังที่ดี สามารถฟังอย่างลึกซึ้งได้นั้นต้องอาศัยการเรียนรู้และฝึกฝน เพราะทักษะการฟังอย่างลึกซึ้งนี้มีประโยชน์ทั้งในแง่ของการทำงาน และประโยชน์ในชีวิตประจำวัน โดยนักฟังที่ดีควรมีลักษณะต่อไปนี้
ถ้าไม่สบตาผู้พูดขณะเขากำลังเล่าเรื่อง นอกจากเสียมารยาทแล้ว ยังเป็นนักฟังที่แย่อีกด้วย ควรหยุดทำกิจกรรมอื่น ๆ เช่น เล่นโทรศัพท์มือถือ หรือสนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัวมากเกินไป ฉะนั้นนักฟังที่ดีควรต้องโฟกัสผู้พูด และสบตาเสมอ ไม่ใช่จ้องหน้า หรือจ้องตาเขม็ง แบบนั้นอาจยิ่งทำให้ผู้พูดรู้สึกเกร็ง และไม่กล้าที่จะพูดสิ่งที่อยู่ในใจ
ใส่ใจกับเรื่องที่ผู้เล่ากำลังเล่าอยู่ในขณะนั้น อย่าเอาใจออกห่างไปคิดเรื่องเรื่องอื่น หรือพยายามคิดอคติ ทำใจให้เป็นกลางด้วยการใส่ใจฟัง ไม่ไปขัดจังหวะ หรือแสดงความคิดเห็น จนกว่าผู้เล่าจะเล่าจบ หรือถามความคิดเห็น
ฟังว่าผู้เล่าต้องการจะสื่ออะไร เล่าถึงประเด็นใด อยากให้เราในฐานะผู้ฟังเข้าใจอะไรเขา พยายามนึกภาพตามให้ออก อย่าเพิ่งคิดถึงหนทางแก้ปัญหาแต่ให้โฟกัสเรื่องราวที่อยู่ตรงหน้าก่อน เพราะผู้เล่าบางคนอาจแค่ต้องการระบายความในใจ หรือต้องการแค่ใครสักคนมารับฟัง แต่ไม่ได้ต้องการคนมาแก้ปัญหา หรือต้องการความช่วยเหลือใด ๆ
เมื่อผู้เล่าเปิดโอกาสให้ถาม ให้ถามเพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน คิดพิจารณาคำถามให้ดีก่อนที่จะถามออกไป อย่าถามออกนอกประเด็นเรื่องที่สนทนา เพื่อเป็นการตรวจสอบว่าเรื่องที่กำลังรับฟัง เป็นเรื่องเดียวกัน
การฟังอย่างลึกซึ้ง ต้องฝึกฝน และทำให้เกิดเป็นนิสัย เพราะจะมีผลดีในการดำเนินชีวิตและการทำงาน คุณจะไม่ใช่คนผิวเผิน แต่การเป็นผู้ฟังแบบ ลึกซึ้งจะช่วยให้คุณกลายเป็นคนรอบคอบ มีสติ คิดพิจารณาอย่างมีเหตุผล ซึ่งสามารถฝึกฝนได้ ดังนี้
ใจน่ะพร้อมอยู่แล้ว แต่ร่างกายก็ต้องพร้อมด้วย ควรพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ กินอาหารให้ครบ 5 มื้อ ทำร่างกายให้แข็งแรง อย่าให้ร่างกายหรือจิตใจเหนื่อยล้า เพราะจะมีผลต่อการตั้งใจฟัง
พร้อมเปิดใจรับฟัง ด้วยประสาทสัมผัสทุกส่วนในร่างกาย ทั้งหู ตา จมูก ปาก เพราะผู้เล่าสามารถรับรู้ได้ถึงความใส่ใจของเรา
ความอยากรู้อยากเห็นจะช่วยให้เรารับฟังอย่างไม่มีอคติ เราสามารถถามเพิ่ม เพื่อให้ผู้พูดได้อธิบายเพิ่มเติม และทำความเข้าใจกับเรื่องราวได้
ด้วยการสบตา ภาษากาย เช่น โบกมือ สั่นมือ สั่นหัว เขย่าขา หรือจะเป็นน้ำเสียง เช่น เศร้าสร้อย แดกดัน โมโหโกรธา รวมไปถึงระดับภาษาที่ใช้เล่า การแสดงออกทางสีหน้าต่าง ๆ ของผู้พูด
แม้ว่าในบทสนทนานั้น เราอยากแสดงความคิดเห็นออกไปในทันที แต่ก็ควรรอให้ผู้พูดเล่าเรื่องให้จบก่อน แล้วค่อยขอพูดแทรก เพราะจะถือเป็นการไม่ให้เกียรติผู้พูด
จะเห็นว่าการฝึกฟังอย่างลึกซึ้ง เปลี่ยนเราให้กลายเป็นนักฟังมืออาชีพ มีความสำคัญและไม่ได้ปฏิบัติกันได้ง่าย ๆ แต่ต้องอาศัยการฝึกฝน หากคุณมีทักษะในด้านนี้แล้ว ยิ่งจะช่วยให้การทำงานของคุณมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ค้นหางานที่ตรงใจได้ที่แอปพลิเคชัน JobsDB ดาวน์โหลดติดเครื่องไว้เลย
ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9d%e0%b8%b6%e0%b8%81%e0%b8%aa%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b8%98%e0%b8%b4-mindfulness/
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/mindfulness-%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%b5%e0%b8%aa%e0%b8%a3%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%aa%e0%b8%b8%e0%b8%82/
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b8%aa%e0%b8%a3%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%87-growth-mindset-%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b9%89%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b8%a1%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%84/
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/fixed-mindset/