Key Takeaway
เชื่อว่าหลายๆ คนอาจจะยังไม่รู้จักตัวเองมากพอ จึงเกิดการทดสอบ MBTI หรือเครื่องมือวิเคราะห์บุคลิกภาพ ที่จะมาเป็นเข็มทิศ เพื่อนำพาเราไปสู่เส้นทางที่ถูกต้องและเหมาะสม โดยเฉพาะการเลือกอาชีพที่ใช่ เพราะการทำอะไรที่เราถนัด จะยิ่งช่วยให้เราทำมันได้ดีขึ้นและมีแรงจูงใจมากขึ้นด้วย
มาทำความรู้จักบุคลิกภาพแบบ ESFP หรือ ESFP Personality อีกหนึ่งบุคลิกภาพของ MBTI ที่โดดเด่นในเรื่องความสนุกสนาน เป็นนัก Entertain ที่มักจะมอบพลังงานให้กับผู้อื่นเสมอ แล้วบุคลิกภาพแบบ ESFP คืออะไร เหมาะกับอาชีพแบบไหน มาติดตามพร้อมกันได้ในบทความนี้เลย!
บุคลิกภาพแบบ ESFP มักให้ความสำคัญกับปัจจุบัน และไม่ชอบอยู่เฉยๆ จึงหาอะไรทำอยู่เสมอ เรียกได้ว่ามีพลังงานมากมายเหลือล้นเลยทีเดียว โดยจุดแข็ง หรือจุดอ่อนของชาว ESFP มีดังนี้
ใครอยากทำความรู้จักชาว ESFP ไม่ต้องกังวลเลยว่าจะโดนเมิน เพราะชาว ESFP เป็นมิตรกับทุกคนและเข้าถึงง่าย ชอบทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับคนอื่น มีพลังงานในการใช้ชีวิตอยู่เสมอ รวมถึงยังมักสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวตลอดเวลา โดยเฉพาะสิ่งที่เกี่ยวกับผู้คน
ถ้าอยากสานสัมพันธ์กับชาว ESFP ไปนานๆ ควรพูดตรงๆ และอธิบายสิ่งต่างๆ ด้วยการยกตัวอย่างให้เห็นภาพ เพราะคนกลุ่มนี้ไม่ค่อยชอบอะไรที่เป็นทฤษฎีที่เข้าใจยากและซับซ้อน หรืออะไรที่ห่างไกลจากความเป็นจริง พยายามอย่าเป็นทางการมากเกินไป และพยายามสร้างความประหลาดใจให้คนกลุ่มนี้ด้วยการพาไปหาประสบการณ์ใหม่ๆ เพราะชาว ESFP ชอบเรื่องเซอร์ไพรส์สุดๆ
ตามทฤษฎีของ Carl Jung มีการกำหนดบุคลิกภาพให้ชาว ESFP มี Cognitive Function ดังนี้
เนื่องจากชาว ESFP เป็นคนร่าเริง เข้าถึงง่าย และชอบใช้เวลาร่วมกับคนอื่นๆ การปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานจึงเป็นเรื่องง่าย ช่วยให้การทำงานเป็นทีมมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะทุกคนในทีมสบายใจและเต็มใจที่จะทำงานด้วย หากคนกลุ่มนี้ได้เป็นผู้นำ จะยิ่งทำให้ทีมมีประสิทธิภาพมากขึ้นไปอีก เพราะชาว ESFP มักให้ความสำคัญกับคนในทีม ไม่เคร่งเครียดเกินไป และคอยให้การสนับสนุนคนอื่นๆ อยู่เสมอ
ชาว ESFP เป็นคนทำงานได้ละเอียด รอบคอบ ชอบจดจ่อ ไม่ค่อยถนัดงานที่เกี่ยวกับทฤษฎีที่จับต้องไม่ได้ แต่ชอบงานที่สามารถลงมือทำได้เลย มีความสามารถในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี แต่บางครั้งก็แบกรับภาระงานมากเกินไปจนจัดการไม่ไหว และไม่ค่อยวางแผนก่อนทำ เน้นเอาความรู้สึกเป็นหลักและทำอย่างไม่ลังเล
เมื่อได้รู้บุคลิกภาพของกลุ่ม ESFP กันแล้ว มาดูอาชีพที่เหมาะสมกับคนกลุ่มนี้กันดีกว่า
นักการตลาด คือผู้ที่วางแผนการทำการตลาด มีหน้าที่หลักในการหาข้อมูลคู่แข่งมาวิเคราะห์ เพื่อสร้างกลยุทธ์ทางธุรกิจ ซึ่งจะช่วยให้แบรนด์เป็นที่รู้จักและเพิ่มยอดขาย รวมถึงการติดตามผลลัพธ์ เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาปรับปรุงปัญหาที่เกิดขึ้นและพัฒนากลยุทธ์ให้ดีขึ้น
คนที่อยากเป็นนักการตลาดควรเป็นคนที่หมั่นหาความรู้อยู่เสมอ และสามารถวิเคราะห์ข้อมูลออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังต้องเป็นคนที่เข้ากับคนอื่นง่าย เพราะต้องติดต่อประสานงานกับคนอื่นอยู่บ่อยๆ และควรจบระดับปริญญาตรีในสาขาการตลาด การสื่อสาร การโฆษณา หรือสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือถ้าใครไม่ได้จบด้านนี้มา แต่ได้เรียนเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตลาดดิจิทัล การใช้สื่อโซเชียลมีเดีย ก็ก้าวเข้าสู่อาชีพนักการตลาดได้เช่นกัน
นักพัฒนาเว็บไซต์ คือผู้เชี่ยวชาญด้านการเขียนโค้ดเพื่อสร้างฐานข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐานของเว็บไซต์ รวมถึงยังมีหน้าที่พัฒนาระบบและดูแลโครงสร้างของเว็บไซต์เพื่อให้เหมาะสมต่อผู้ใช้งานมากที่สุด นอกจากนี้ คนที่อยากเป็นนักพัฒนาเว็บยังต้องมีทักษะด้านการสื่อสารและการจัดการด้วย เพราะต้องทำงานร่วมกับแผนกอื่นๆ อยู่ตลอดเวลา
ใครอยากเป็นนักพัฒนาเว็บไซต์ควรจบการศึกษาปริญญาตรี สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง หากใครที่ศึกษาด้วยตัวเองเกี่ยวกับการเขียนโค้ดและมีความรู้พื้นฐานในการสร้างระบบต่างๆ ก็สามารถเป็นนักพัฒนาเว็บไซต์ได้เช่นกัน
พนักงานขาย คือคนที่มีหน้าที่เสนอขายสินค้าและบริการให้กับลูกค้า โดยต้องคอยรับฟังความต้องการของลูกค้าเพื่อนำเสนอสินค้าที่เหมาะสมที่สุด ทั้งนี้การเป็นพนักงานขายต้องมีความรู้ในสินค้าหรือบริการอย่างละเอียด คนที่อยากเป็นพนักงานขาย จึงควรเป็นคนที่ชอบหาความรู้ใหม่ๆ มีมนุษยสัมพันธ์ดี มีทักษะด้านการสื่อสาร และเข้าใจความต้องการของลูกค้าได้อย่างลึกซึ้ง
คนที่อยากเป็นพนักงานขายต้องเรียนจบมัธยมศึกษาเป็นอย่างน้อย โดยอาชีพนี้จะเน้นการนำประสบการณ์มาใช้ทำงานมากกว่าความรู้ที่เรียนมา นอกจากความรู้ในผลิตภัณฑ์แล้ว ยังควรเป็นคนมีอัธยาศัยดี รอบรู้ รู้จักแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
อาชีพนักร้อง คือผู้ที่จะสื่อสารผ่านเสียงเพลง เพื่อส่งความรู้สึกไปยังผู้ฟัง สำหรับคนที่อยากเป็นนักร้อง ไม่จำเป็นต้องมีวุฒิการศึกษาเป็นพิเศษ แต่ถ้าเรียนจบคณะที่เกี่ยวข้อง เช่น คณะดุริยางคศิลป์ คณะนิเทศ หรือคณะอื่นๆ ที่เกี่ยวกับดนตรี ก็ช่วยให้พัฒนาทักษะการร้องเพลงและเข้าใจศาสตร์ของดนตรีมากขึ้น
อาชีพนักแสดง คือผู้ที่ทำหน้าที่การแสดงบทบาทและบุคลิกของตัวละครที่ได้รับมอบหมาย หน้าที่หลักของนักแสดงคือการเข้าใจในตัวละครอย่างลึกซึ้ง ทั้งนิสัย ท่าทาง และวิถีชีวิตในแต่ละวัน แน่นอนว่าต้องเป็นคนที่มีทักษะการสังเกตและการควบคุมอารมณ์เป็นอย่างดี เพื่อให้การแสดงออกมามีประสิทธิภาพและสมจริง คนที่อยากเป็นนักแสดงอาจต้องเรียนจบจากโรงเรียนการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
ชาว ESFP ชอบเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ มองโลกตามความเป็นจริง ปรับตัวได้เร็ว มีพลังงานสูง ชอบหาประสบการณ์ใหม่ๆ และไม่ชอบความซ้ำซาก มักเก็บรายละเอียดของคนรอบตัวเพื่อทำความเข้าใจความรู้สึก จึงทำให้สามารถเข้ากับคนอื่นๆ ได้ดี
แต่คนกลุ่มนี้เป็นคนไม่ชอบวางแผน เก่งในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เหมาะกับอาชีพที่ต้องประสานงานหรือใช้ทักษะด้านการสื่อสาร เช่น นักการตลาด นักพัฒนาเว็บไซต์ พนักงานขาย นักร้อง หรือนักแสดง เป็นต้น
ค้นหางานที่ใช่และตรงใจผ่าน JobsDB ด้วยฟีเจอร์หางานตามตำแหน่ง และเปรียบเทียบเงินเดือน เพื่อให้คุณได้งานที่เหมาะสม และสอดคล้องกับไลฟ์สไตล์มากที่สุด