เจาะลึกเส้นทางอาชีพสถาปนิก จากจุดเริ่มต้นหลังเรียนจบคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สู่การก้าวขึ้นเป็นผู้นำโครงการ พร้อมเผยทักษะที่จำเป็น เพื่อเป็นแนวทางสำหรับคนที่สนใจ
วิชาชีพสถาปัตยกรรมมีความสำคัญตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สังเกตได้จากสิ่งปลูกสร้างทั้งตึก อาคาร บ้านเรือนที่อยู่อาศัย ล้วนผ่านการออกแบบจากสถาปัตยกรรม ที่ออกแบบให้สวยงามสอดคล้องกับยุคสมัย ออกแบบสอดคล้องกับภูมิประเทศ และสภาพแวดล้อมโดยรอบ
หากเจาะลึกถึงภาพรวมของการศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ถือว่าเป็นคณะที่มาแรงและมีคนสนใจที่อยากจะศึกษาต่อมาก เพราะคณะสถาปัตยกรรม ยังมีสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้ได้เลือกเรียนตามความต้องการ อีกทั้งเส้นทางอาชีพในวงการสถาปัตยกรรม ยังคงเป็นที่ต้องการมากทีเดียว
เพราะอย่าลืมว่า ไม่ว่าคุณจะสร้างสิ่งปลูกสร้างอะไร รูปแบบไหน ตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ที่มีโครงสร้างซับซ้อน ล้วนก็ต้องอาศัยทักษะและความชำนาญในวิชาชีพอย่างสถาปัตยกรรมสำหรับการออกแบบ
นิยามของสถาปัตยกรรมศาสตร์ เป็นศาสตร์การเรียนรู้ที่เชื่อมโยงเนื้อหาด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ศิลปะ สังคมและวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน โดยมีขอบเขตการศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบด้านต่างๆ ที่สอดคล้องกับสาขาและเนื้อหาที่เรียน และออกแบบให้เข้ากับยุคสมัยด้วยแนวคิดสมัยใหม่ หรือออกแบบจากแนวคิดรากฐานเดิมที่มีอยู่
ถึงวิชาสถาปัตย์จะเป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดการออกแบบ แต่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ก็ยังแตกต่างกับคณะอื่น หรือสาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สถาปัตย์เรียนเกี่ยวกับการออกแบบสิ่งปลูกสร้าง แต่คณะดิจิทัลมีเดีย คณะดิจิทัลอาร์ต เรียนเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ผลงานสื่อดิจิทัลสมัยใหม่ หรือคณะศิลปะและการออกแบบ เรียนเกี่ยวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์หรือการสร้างสรรค์ชิ้นงานในแบบของตนเอง
ปัจจุบันคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มี 6 สาขาวิชาหลักๆ ใครที่กำลังคิดว่าอยากเรียนสถาปัตย์ที่ไหนดี ก็ไปดูกันว่าสถาปัตย์แต่ละสาขามีเนื้อหาการเรียนอะไรบ้าง? รวมถึงแนวทางอาชีพหลังจากจบการศึกษา ดังนี้
เป็นสาขาหลักของคณะสถาปัตยกรรม เรียนเกี่ยวกับการออกแบบสถาปัตยกรรมโครงสร้างอาคารหรือบ้านเรือนเป็นหลัก ทั้งรูปแบบและวิธีการก่อสร้าง การเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม รวมถึงความรู้เกี่ยวกับวิศวกรรม ใช้
ระยะเวลาเรียน 4 ปี จะได้วุฒิ ว.ท.บ. (วิทยาศาสตรบัณฑิต) และ 5 ปี จะได้วุฒิ สถ.บ. (สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต) ซึ่งโอกาสในการประกอบวิชาชีพของสาขานี้ คือ งานสถาปนิก
สาขาภูมิสถาปัตย์ คือ สาขาสถาปัตยกรรม ที่เรียนเกี่ยวกับการวางแผน ออกแบบสภาพแวดล้อมของอาคารและธรรมชาติโดยรอบทั้งหมดให้มีความสมดุลกัน โดยคำนึงถึงความสวยงามและพื้นที่ใช้สอยเป็นหลัก ซึ่งจะเห็นได้จากการแบบสวนสาธารณะ สวนสัตว์ หรือสวนตามอาคารต่างๆ
ใช้ระยะเวลาเรียน 5 ปี และสามารถประกอบอาชีพออกแบบภูมิทัศน์ เช่น ออกแบบสวนตามอาคาร บ้านพักอาศัย ออกแบบสวนสัตว์ หรืออควาเรียม
สาขาสถาปัตยกรรมภายใน หรือที่เรียกกันว่า ออกแบบภายใน เรียนเกี่ยวกับการออกแบบพื้นที่ภายในอาคารเป็นหลัก เน้นการจัดการพื้นที่ว่างภายในอาคารให้เกิดประโยชน์ใช้สอยสูงสุด โดยเลือกใช้หรือออกแบบเฟอร์นิเจอร์ให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมที่มีอยู่
ส่วนใหญ่ใช้เวลาเรียน 5 ปี ยกเว้นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่จะใช้เวลาเรียน 4 ปี หากเรียนจบแล้วสามารถประกอบวิชาชีพเกี่ยวกับออกแบบตกแต่งภายใน หรือมัณฑนากร ให้คำปรึกษาด้านการออกแบบ ผู้รับเหมางานตกแต่งภายใน
สาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง เรียนตั้งแต่การออกแบบ การวางแผนเกี่ยวกับการจัดระเบียบภูมิทัศน์ของบ้านเมือง สำหรับวางผังพัฒนาเมืองให้เหมาะสมกับการบริหารจัดการ อีกทั้งต้องวางผังเมืองให้เหมาะสมเพื่อป้องกันภัยพิบัติและอื่นๆ ที่จะทำให้เมืองเสียงหาย รวมถึงต้องอนุรักษ์และพัฒนาฟื้นฟูเมืองเก่าไปพร้อมกัน
ใช้เวลาเรียนทั้งหมด 5 ปี และโอกาสในการประกอบวิชาชีพ คือ สถาปนิกผังเมือง นักจัดสรรที่ดิน นักวิชาการผังเมือง นักวางผังนิคมอุตสาหกรรม
สาขาสถาปัตยกรรมไทย ป็นสาขาที่เรียนเกี่ยวกับการออกแบบสถาปัตยกรรมไทยเป็นหลัก ตั้งแต่การศึกษาประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ วัฒนธรรม และโครงสร้างอาคารบ้านเรือนของคนไทยแต่ละยุคสมัย เพื่อนำองค์ความรู้มาใช้ในการออกแบบสถาปัตยกรรมไทยให้เหมาะสม
เรียนด้วยกันทั้งหมด 5 ปี สาขานี้สามารถสอบใบประกอบวิชาชีพสถาปนิกได้อีกด้วย จึงสามารถประกอบอาชีพ สถาปนิกสำหรับออกแบบอาคาร บ้าน เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมไทย หรือสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ได้อย่างดี
สาขาออกแบบอุตสาหกรรม หรือ ศิลปอุตสาหกรรม เป็น 1 ในสาขาของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่เรียนเกี่ยวกับการออกแบบชิ้นงานหรือผลิตภัณฑ์ให้ ดูน่าดึงดูด มีความน่าสนใจ และเหมาะสมกับการใช้งาน เช่น ออกแบบสิ่งทอ ออกแบบเฟอร์นิเจอร์ หรือออกแบบผลิตภัณฑ์ สาขานี้เรียนทั้งหมด 4 ปี และการประกอบวิชาชีพได้หลากหลาย เช่น นักออกแบบเฟอร์นิเจอร์ นักออกแบบผลิตภัณฑ์ นักออกแบบลายผ้า นักออกแบบกราฟิก เป็นต้น
อยากเรียนสถาปัตยกรรมศาสตร์ต้องเตรียมตัวให้พร้อม กับ 4 ทักษะสำคัญที่ต้องมี
มีความคิดสร้างสรรค์ และถ่ายทอดแนวคิด ให้อยู่ในรูปแบบภาพวาด ภาพเขียน หรือโครงสร้างแบบแปลน เพื่อให้ผู้อื่นได้เข้าใจ เพราะแต่ละคนจะมีระดับความเข้าใจเกี่ยวกับงานสถาปัตยกรรมแตกต่างกันออกไป หากเรามีทักษะนี้ไม่ว่าจะเป็นการเรียนหรือการทำงาน ก็จะสามารถทำให้ผู้อื่นมองเห็นภาพงานสถาปัตยกรรมที่ออกแบบได้ชัดเจนมากขึ้น
เข้าใจการเขียนแบบทั้ง 2D 3D เข้าใจหลักการวาดเพื่อแสดงมิติของอาคาร รวมถึงถนัดการใช้โปรแกรมเขียนแบบ เช่น AutoCAD, Sketchup และ BIM (Building Information Modeling) หากมีทักษะและความเข้าใจ ก็จะทำให้ง่ายต่อการเรียนรู้หรือการทำงานออกแบบ ช่วยให้จินตนาการได้คร่าวๆ ว่า พื้นที่ตรงนี้ควรมีเฟอร์นิเจอร์อะไรบ้าง ควรวางเสา ประตู หน้าต่าง ในทิศทางไหนถึงจะเหมาะสม
เข้าใจเกี่ยวกับคุณสมบัติของวัสดุก่อสร้างว่าเหมาะกับโครงสร้างแบบไหนเพื่อเลือกใช้ได้เหมาะสม และการใช้เทคโนโลยีต่างๆ ให้เหมาะสมกับการทำงาน โดยทักษะนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์กับการเรียนหรือการทำงานในอนาคตได้ เพราะจะช่วยให้เราเลือกวัสดุ อุปกรณ์ที่เหมาะสมกับการออกแบบ ตอบโจทย์การใช้งาน รวมถึงการใช้เทคโนโลยีการก่อสร้างเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
การบริการจัดการเป็นทักษะที่ทุกคนควรต้องมี เพราะทักษะนี้จะช่วยให้การทำงานและการจัดการเป็นไปอย่างราบรื่น เช่น การจัดการงบประมาณ ระยะเวลา รวมถึงขั้นตอนการทำงาน แน่นอนว่าทักษะนี้เป็นประโยชน์ต่อการเรียนและการทำงานได้อย่างมาก เพราะจะช่วยให้เราบริหารและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างเหมาะสม
โลกของการทำงาน ผู้ที่เรียนจบจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ไม่จำเป็นต้องทำงานสถาปนิกเสมอไป แต่คณะนี้สามารถต่อยอดทำงานได้หลากหลายตามความถนัดของตน ซึ่งสายงานเกี่ยวกับสถาปัตย์ สามารถแบ่งเป็น 6 เส้นทางอาชีพ ได้แก่
สถาปนิก คือ ผู้มีหน้าที่วางแผน ออกแบบบ้านให้มีความสวยงาม มีพื้นที่และประโยชน์ใช้สอยตรงความต้องการของเจ้าของบ้าน โดยออกแบบให้สอดคล้องภูมิประเทศ ภูมิอากาศ กฎหมาย และสภาพแวดล้อมโดยรอบ
ลักษณะการทำงานสถาปนิก คือ การออกแบบบ้าน ให้คำปรึกษากับเจ้าของบ้านตลอดการทำงาน และการติดต่อประสานงานและทำงานร่วมกับกับผู้รับเหมา วิศวกร หรือคนอื่นๆ ในสายงานที่เกี่ยวข้อง
อาชีพสถาปนิกเหมาะกับคนที่เรียนสาขาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ ชอบการออกแบบ ชอบการวางแผน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี มีเงินเดือนเฉลี่ย 25,000-50,000 บาท/เดือน (ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความสามารถ)
นักออกแบบภายในหรือมัณฑนากร คือผู้มีหน้าที่ออกแบบงานตกแต่งภายในบ้านและที่อยู่อาศัย มีลักษณะการทำงาน คือ การให้คำแนะนำเรื่องของตกแต่งต่างๆ ทั้งการกำหนดโทนสี เลือกเฟอร์นิเจอร์ หรืออุปกรณ์ภายในห้องต่างๆ ให้เหมาะสมและตอบโจทย์กับสไตล์ของบ้าน
อาชีพนักออกแบบภายในเหมาะกับคนที่เรียนสาขาสถาปัตยกรรมภายใน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เป็นคนละเอียดรอบคอบ มีความคิดสร้างสรรค์ เป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร มีเงินเดือนเฉลี่ย 25,000-38,000 บาท/เดือน (ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความสามารถ)
ภูมิสถาปนิก คือ ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบและการจัดกับพื้นที่ภายนอกบ้าน ภายนอกอาคาร ตั้งแต่พื้นที่ขนาดเล็กจนถึงพื้นที่ขนาดใหญ่ และครอบคลุมไปถึงการออกแบบสวนสาธารณะ หรือพื้นที่สีเขียวอื่นๆ
รูปแบบการทำงานของภูมิสถาปนิก คือ สำรวจสภาพโดยรอบของพื้นที่ ตั้งแต่ผิวดิน ต้นไม้ การระบายน้ำ และสิ่งแวดล้อมต่างๆ เพื่อวางแผน วางแปลน เขียนแบบ และควบคุมตกแต่งพื้นที่โดยรอบให้เหมาะสมกับพื้นที่นั้นๆ
อาชีพภูมิสถาปนิกเหมาะกับคนที่เรียนสถาปัตยกรรมสาขาภูมิสถาปัตย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ ช่างจินตนาการ ชอบและรักในธรรมชาติ มีเงินเดือนเฉลี่ย 17,500-19,250 บาท/เดือน และ 18,510-20,370 บาท/เดือน (ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความสามารถ)
นักวางผังเมือง คือ ผู้ออกแบบผังเมืองและวางผังเมือง รวมถึงดูแลเรื่องสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ เพื่อให้เมืองมีความเหมาะสมกับผู้อยู่อาศัย ซึ่งมีลักษณะงาน ที่ทำหน้าออกแบบ ควบคุมภาพรวมของโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่
เช่น คอนโดมิเนียม ตึกอาคาร หรือสวนสาธารณะ เพื่อไม่ให้กระทบต่อผังเมือง รวมถึงทำหน้าที่ประสานงาน และรับเรื่องร้องเรียน จากชุมชนโดยรอบของพื้นที่โครงการพัฒนา
อาชีพนักวางผังเมืองเหมาะกับคนที่เรียนสาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มีความสามารถในการค้นคว้า รวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ และมีทักษะวิเคราะห์สิ่งต่างๆ เป็นอย่างดี มีเงินเดือนเฉลี่ย 17,500-19,250 บาท/เดือน (ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความสามารถ)
ที่ปรึกษาด้านการออกแบบและก่อสร้าง คือผู้ที่มีหน้าที่คอยดูแล ควบคุมงานก่อนสร้าง พร้อมประสานงานกับทุกฝ่ายตั้งแต่เจ้าของโครงการ รวมถึงคนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้งานก่อสร้างเป็นไปอย่างราบรื่นตามแบบแผนที่วางไว้
อีกทั้งยังมีรูปแบบการทำงาน ที่ต้องคอยตรวจสอบรายการประกอบแบบก่อสร้างให้ตรงตามที่ออกแบบ ตรวจสอบวัสดุก่อสร้างเพื่อให้ได้มาตรฐาน และตรวจสอบขั้นตอนการทำงานให้ตรงตามขั้นตอนที่วางไว้
อาชีพที่ปรึกษาด้านการออกแบบและก่อสร้างในประเทศไทย เหมาะกับคนที่เรียนจบจากสาขาที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรม อีกทั้งอาชีพนักวางผังเมืองที่มีวุฒิการศึกษาปริญญาตรีขึ้นไป
มีเงินเดือนเฉลี่ย 75,400-173,900 บาท/เดือน ขึ้นไป (ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความสามารถ) และที่ปรึกษาต่างประเทศ วุฒิการศึกษาปริญญาตรีขึ้นไป มีเงินเดือนเฉลี่ย 300,000-600,000 บาท/เดือน (ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความสามารถ)
ผู้ประกอบการธุรกิจออกแบบและก่อสร้าง หรือผู้รับเหมาก่อสร้าง คือ บุคคลหรือบริษัทที่ได้รับการว่าจ้างจากเจ้าของงาน เจ้าของโครงการ เพื่อควบคุม ดูแลรับผิดชอบโครงการก่อสร้าง เช่น บ้าน อาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ตามที่ได้ตกลงไว้ โดยลักษณะการทำงานของผู้รับเหมา จะเป็นคนจัดการการก่อสร้างตั้งแต่วางแผนงาน ออกแบบ หาแรงงาน หาวัสดุก่อสร้าง ตลอดจนควบคุมการก่อสร้างให้เสร็จตามเอกสารสัญญา
อาชีพผู้ประกอบการธุรกิจออกแบบและก่อสร้างหรือผู้รับเหมา เหมาะกับคนที่เรียนคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และทำงานเกี่ยวกับสถาปนิก หรืองานตกแต่งภายใน มีทักษะการออกแบบ เขียนแบบ และมีความรู้เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรมเป็นอย่างดี มีเงินเดือนเฉลี่ย 100,000 บาท/เดือน (ขึ้นอยู่กับโครงการที่รับผิดชอบและประสบการณ์)
มาดูความก้าวหน้าในอาชีพของผู้ที่เรียนจบจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ว่ามีอะไรน่าสนใจกันบ้าง
สำหรับคนที่กำลังมองหาที่ฝึกงานเกี่ยวกับภาควิชาสถาปัตย์ หรือคนที่เรียนจบแล้ว ที่กำลังมองหางานที่ใช่ แต่หาจนท้อก็ยังไม่เจองานที่ถูกใจสักที เพราะตัวช่วยในการหางานไม่ตอบโจทย์ เลยทำให้ท้อและหมดหวังกับการหางาน
แต่หากได้ลองหางานกับ JobsDB ก็บอกได้ว่า เป็นเว็บไซต์หางาน ที่รวบรวบรวมงานจากบริษัทชั้นนำหลากหลาย ช่วยให้คุณสามารถหางานเกี่ยวกับสถาปนิกได้มากมาย อีกทั้งมีเครื่องมือค้นหางานที่ทันสมัย สามารถหางานตามหมวดหมู่ที่ต้องการได้ง่าย ทั้งตำแหน่ง พื้นที่ของที่ทำงาน เรตเงินเดือน ที่ช่วยตอบโจทย์ทุกความต้องการในการหางานของคุณ
แม้ว่าในปัจจุบันจะมีเครื่องมืออำนวยความสะดวกต่างๆ มาช่วยในการออกแบบ แต่งานสถาปนิกหรืองานที่เกี่ยวข้องกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ก็ยังเป็นงานที่เป็นที่ต้องการของตลาดเสมอ เพราะเป็นงานที่ต้องใช้องค์ความรู้หลายด้านๆ เพื่อให้ผลงานออกตรงความต้องได้มากที่สุด จึงทำให้แนวโน้มและอนาคตของวิชาชีพสถาปัตยกรรมในประเทศไทยนั้นเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ตามความต้องการของผู้คนที่ต้องการความเป็นมืออาชีพในการทำงาน
และไม่ว่าคุณจะเป็น First Jobber หรือคนที่มีแพลนจะย้ายสายงานเร็วๆ นี้ โดยเฉพาะคนที่มองหางานที่เกี่ยวข้องกับวงการสถาปัตยกรรม สามารถหางานเกี่ยวกับสถาปนิก หรืออีกหลากหลายวงการ ซึ่งคุณสามารถเลือกได้ตามความถนัดได้ใน JobsDB ได้เลย