Key Takeaway
ใครที่ใฝ่ฝันอยากเป็นหมอฟัน มาทางนี้เลย! บทความนี้จะพาไปสำรวจเกี่ยวกับการเรียนในคณะทันตแพทย์ ว่าคณะทันตแพทย์มีที่ไหนบ้าง มีสาขาอะไรบ้าง ต้องเรียนเกี่ยวกับอะไร ค่าเทอมทันตะประมาณเท่าไร และอาชีพที่รองรับ ซึ่งไม่ใช่แค่การเป็นทันตแพทย์เท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายเส้นทางอาชีพที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากคณะนี้! จะมีอะไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบ
คณะทันตแพทย์เป็นสาขาวิชาที่เน้นการศึกษา และฝึกฝนทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปาก และฟันอย่างครอบคลุม ซึ่งจะได้รับความรู้ด้านทันตกรรม รวมถึงการวินิจฉัย การรักษา และการป้องกันโรคในช่องปาก เช่น ฟันผุ โรคเหงือก และโรคที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพช่องปากต่างๆ นอกจากนี้ นักศึกษายังต้องฝึกฝนทักษะการปฏิบัติจริงอีกด้วย
สำหรับค่าเทอมของคณะทันตแพทยศาสตร์นั้น จะแตกต่างกันไปตามแต่ละมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ ในการเรียนแต่ละชั้นปีของแต่ละมหาวิทยาลัย ก็จะแตกต่างกันอีกเช่นกัน ซึ่งในมหาวิทยาลัยของรัฐ ค่าเทอมเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 20,000-50,000 บาทต่อเทอม ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัย
สำหรับใครที่อยากรู้ว่าการเรียนในคณะทันตแพทย์ 6 ปีนั้นเป็นอย่างไร หัวข้อนี้จะพาไปทำความเข้าใจการเรียนตลอดระยะเวลาการศึกษาว่าคณะทันตแพทยศาสตร์มีวิชาอะไรบ้าง ดังนี้
หากกำลังสนใจเรียนคณะทันตแพทยศาสตร์ แต่กำลังสงสัยว่าในคณะทันตแพทย์มีสาขาอะไรบ้าง เพราะแน่นอนว่าคณะนี้ไม่ได้มีแค่การเรียนรู้เกี่ยวกับการรักษาฟันเพียงอย่างเดียว เพราะยังมีสาขา และเนื้อหาที่หลากหลาย ที่เปิดโอกาสให้ได้สำรวจความสนใจในหลายด้าน แต่จะมีสาขาอะไรบ้าง ลองมาหาคำตอบกัน!
สาขาทันตกรรมทั่วไป เน้นการดูแลรักษา และป้องกันปัญหาสุขภาพในช่องปากอย่างครบวงจร ด้วยการเรียนรู้เกี่ยวกับการวินิจฉัย และรักษาโรคต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาเทคนิคการดูแลสุขอนามัยในช่องปาก การสื่อสารกับผู้ป่วย และวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เช่น สรีรวิทยา และกายวิภาคศาสตร์ เป็นต้น
สาขาปริทันตวิทยา เป็นสาขาย่อยของทันตแพทยศาสตร์ ที่เน้นการดูแลรักษาเหงือก และเนื้อเยื่อรอบฟัน โดยเฉพาะโรคปริทันต์ ที่สามารถนำไปสู่การสูญเสียฟันได้ หากไม่ได้รับการรักษา ในสาขานี้จะได้เรียนรู้การวินิจฉัย และรักษาโรคเหงือก รวมถึงการทำความสะอาดช่องปาก และการขูดหินปูน เป็นต้น
สาขาทันตกรรมหัตถการ เน้นการพัฒนาทักษะในการดำเนินการทางทันตกรรม เช่น การอุดฟัน ถอนฟัน รักษาคลองรากฟัน และทำฟันปลอม จะได้เรียนรู้การใช้เครื่องมือ เทคนิคการวินิจฉัย และกระบวนการรักษาที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วย และการสื่อสาร เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างราบรื่น
สาขาทันตกรรมประดิษฐ์ เป็นสาขาที่เน้นการออกแบบ และสร้างอุปกรณ์ทันตกรรม ที่ใช้ในการฟื้นฟู และปรับปรุงสุขภาพช่องปาก เพื่อทดแทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป เช่น ฟันปลอม และการทำครอบฟัน โดยในสาขานี้จะได้เรียนเกี่ยวกับวัสดุศาสตร์ การออกแบบทางเทคนิค และการสร้างอุปกรณ์ที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วย
สาขาทันตกรรมจัดฟัน เป็นสาขาที่เน้นการวินิจฉัย และรักษาปัญหาการเรียงตัวของฟัน และขากรรไกร เพื่อปรับปรุงทั้งฟังก์ชันการกัด และความสวยงามของช่องปาก ซึ่งในสาขานี้ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์รูปแบบการจัดฟัน การใช้เครื่องมือจัดฟัน เช่น เหล็กจัดฟัน และอุปกรณ์ดัดฟัน รวมถึงการออกแบบแผนการรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล
สาขาทันตสาธารณสุข เป็นสาขาที่เน้นการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก และป้องกันโรคในระดับชุมชน โดยมีเป้าหมายในการลดปัญหาสุขภาพช่องปากในประชากรทั่วไป โดยในสาขานี้ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์สถานการณ์สุขภาพ การพัฒนา และดำเนินการโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ เป็นต้น
สาขาศัลยศาสตร์ช่องปาก และแม็กซิลโลเฟเชียล เป็นสาขาที่เน้นการวินิจฉัย และรักษาโรค หรือการบาดเจ็บ ที่เกิดขึ้นในช่องปาก และขากรรไกร ในสาขานี้จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับเทคนิคการผ่าตัด การดูแลผู้ป่วยหลังการผ่าตัด รวมถึงการวิเคราะห์ภาพรังสี และการวินิจฉัยโรคที่เกี่ยวข้องนั่นเอง
ในสาขานี้จะได้เรียนรู้เทคนิคการรักษา เช่น การทำรากฟันเทียม การบำบัดฟันที่มีการติดเชื้อ และการประเมินสภาพฟัน เพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสม โดยสาขาวิทยาเอ็นโดดอนต์ เป็นสาขาที่เน้นการวินิจฉัย และรักษาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับโพรงประสาทฟัน และเนื้อเยื่อรอบฟัน โดยเฉพาะการรักษารากฟันนั่นเอง
สาขาวิทยาการวินิจฉัยโรคช่องปาก เป็นสาขาที่เน้นการตรวจสอบ และวินิจฉัยโรคที่เกิดขึ้นในช่องปาก รวมถึงปัญหาที่เกี่ยวข้องกับฟัน เหงือก และเนื้อเยื่ออ่อนในช่องปาก ดังนั้น ในสาขานี้จะได้เรียนรู้เทคนิคการวินิจฉัย เช่น การใช้รังสีเอกซ์ การตรวจสอบทางคลินิก และการวิเคราะห์ตัวอย่างเนื้อเยื่อ เพื่อระบุลักษณะของโรค นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาเกี่ยวกับการประเมินสภาพช่องปากโดยรวมอีกด้วย
ในสาขานี้จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการตรวจฟัน การวินิจฉัยโรคในเด็ก เทคนิคการรักษาฟัน เช่น การอุดฟัน การเคลือบฟัน และการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากที่เหมาะสมกับเด็ก ตั้งแต่ทารกจนจนถึงวัยรุ่น โดยมีเป้าหมายในการส่งเสริมสุขภาพฟัน และป้องกันปัญหาสุขภาพช่องปากที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
หากมีความฝันที่จะเป็นทันตแพทย์ และกำลังมองหามหาวิทยาลัย ที่เหมาะสมสำหรับเส้นทางอาชีพนี้ ไปดูมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนคณะทันตแพทย์ในประเทศไทยกัน คณะทันตแพทย์มีที่ไหนบ้าง ไปดู
คนที่สนใจเข้าเรียนคณะทันตแพทย์ อาจจะมีข้อสงสัยว่า เมื่อจบไปแล้วจะทำงานอะไรได้บ้าง ที่นอกจากทันตแพทย์ที่รักษาฟัน ซึ่งแน่นอนว่ายังมีอาชีพอื่นๆ อีกมากมายที่น่าสนใจ ดังนี้
ทันตแพทย์เป็นอาชีพที่เน้นการดูแลรักษาสุขภาพช่องปาก โดยทันตแพทย์สามารถทำงานในหลากหลายหน่วยงาน เช่น โรงพยาบาลรัฐ และเอกชน คลินิกทันตกรรม อนามัยในชุมชน และหน่วยงานของกระทรวงต่างๆ นอกจากนี้ ยังสามารถเปิดคลินิกส่วนตัวของตัวเองได้อีกด้วย
ทันตแพทย์ที่ทำงานในโรงพยาบาลรัฐจะมีเงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 30,000-40,000 บาท ในขณะที่คลินิกเอกชนเริ่มที่ 40,000-60,000 บาท และโรงพยาบาลเอกชนอยู่ที่ประมาณ 50,000-80,000 บาท โดยเงินเดือนจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น สถานที่ทำงาน ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง รวมถึงค่าล่วงเวลา ค่าเวร หรือเปอร์เซ็นต์จากการรักษาที่ทำได้อีกด้วย
อาจารย์สอนคณะทันตแพทย์ เป็นอาชีพที่มีหน้าที่หลักในการถ่ายทอดความรู้ และทักษะด้านทันตแพทยศาสตร์ให้กับนักศึกษา โดยจะเป็นบุคคลที่สอนวิชาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาสุขภาพช่องปาก เช่น สรีรวิทยา การวินิจฉัย และเทคนิคการทำฟัน นอกจากนี้ อาจารย์ยังมีบทบาทในการวิจัย และพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ในด้านทันตแพทย์อีกด้วย
อาจารย์สอนในคณะทันตแพทย์มีเงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 30,000-40,000 บาท แต่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามคุณสมบัติของผู้สอน เช่น วุฒิการศึกษา หากอาจารย์มีวุฒิสูงกว่าปริญญาตรี เช่น ปริญญาโท หรือปริญญาเอก เงินเดือนก็จะสูงขึ้นตามลำดับนั่นเอง
อาชีพจำหน่ายเครื่องมือทันตแพทย์ เกี่ยวข้องกับการขาย และจัดจำหน่ายอุปกรณ์ที่ใช้ในการรักษา และดูแลสุขภาพช่องปาก เช่น เครื่องมืออุดฟัน และเครื่องมือผ่าตัดในช่องปาก ผู้จำหน่ายต้องมีความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ รวมถึงความต้องการของตลาด และลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น ทันตแพทย์ และคลินิก เป็นต้น
อาชีพจำหน่ายเครื่องมือทันตแพทย์มีเงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 15,000-25,000 บาท โดยเงินเดือนจะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ วุฒิการศึกษา และขนาดของบริษัทที่สังกัดด้วย นอกจากนี้ ยังมีค่าคอมมิชชั่นเพิ่มเติมอีกประมาณ 100,000-200,000 บาทตามยอดขายที่สามารถขายได้ ทั้งในส่วนของรายบุคคล และทีม
นักวิจัยเกี่ยวกับโรคในช่องปาก เป็นผู้ที่ศึกษาวิจัย และพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ ในช่องปาก เช่น ฟันผุ โรคเหงือก และมะเร็งในช่องปาก โดยมุ่งเน้นการค้นหาแนวทางการป้องกัน วินิจฉัย และการรักษาที่มีประสิทธิภาพ โดยจะทำงานร่วมกับแพทย์ และนักวิทยาศาสตร์ในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ผล และตีพิมพ์ผลงานวิจัย
นักวิจัยเกี่ยวกับโรคในช่องปากที่มีวุฒิปริญญาโท จะมีเงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 25,000-35,000 บาท ส่วนผู้ที่มีวุฒิปริญญาเอกจะเริ่มที่ 35,000-50,000 บาท โดยเงินเดือนขึ้นอยู่กับวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน แหล่งทุนวิจัย และสถาบันที่สังกัดด้วย
คณะทันตแพทย์ไม่เพียงแต่มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับการรักษาฟัน และช่องปาก แต่ยังเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้สำรวจสาขาเฉพาะทางที่หลากหลาย เช่น ทันตกรรมทั่วไป ทันตกรรมจัดฟัน และทันตกรรมประดิษฐ์ ทำให้ผู้สำเร็จการศึกษาไม่จำเป็นต้องทำงานในฐานะทันตแพทย์เพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถเลือกประกอบอาชีพในด้านอื่นๆ เช่น อาจารย์ นักวิจัย หรือผู้จำหน่ายเครื่องมือทันตแพทย์ได้อีกด้วย
การหางานที่เกี่ยวข้องกับสาขานี้อาจเป็นเรื่องท้าทาย แต่การใช้แพลตฟอร์มอย่าง Jobsdb จะช่วยให้ได้ค้นหางานที่เหมาะสมได้ง่ายขึ้น ด้วยฟีเจอร์การค้นหางานที่ครอบคลุม และการกรองตำแหน่งงานตามความสนใจ และความเชี่ยวชาญของคุณ ทำให้การหางานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และตรงจุดมากยิ่งขึ้น!