Key Takeaway
หนึ่งในคณะยอดนิยม ที่เป็นการปูพื้นฐานสู่เป้าหมายด้านอาชีพการงานของใครหลายๆ คน ต้องยกให้กับคณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งมีสาขาที่หลากหลาย มีแผนการเรียนที่ชัดเจน พร้อมให้ต่อยอดสู่อาชีพได้มากมาย ในบทความนี้จะพาไปสำรวจเส้นทางการเรียนของคณะวิศวกรรมศาสตร์ว่ามีกี่สาขา เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง พร้อมเจาะลึกเส้นทางอาชีพวิศวกร บอกอาชีพที่รองรับของคนเรียนจบวิศวกรรมศาสตร์ กับโอกาสสู่ผู้จัดการโครงการที่เชี่ยวชาญ
ในยุคที่เทคโนโลยี และนวัตกรรมเข้ามามีบทบาททุกแวดวงมากขึ้น ตั้งแต่การอำนวยความสะดวกสบายในชีวิตประจำวัน แวดวงการทำธุรกิจ และอุตสาหกรรม การแก้ไขปัญหาต่างๆ ด้วยเครื่องมือ และเทคโนโลยีได้อย่างตรงจุด หรือแม้แต่การมีส่วนช่วยในการพัฒนาประเทศ ก็ต้องพึ่งพาบทบาทของเทคโนโลยี และนวัตกรรมด้วยเช่นกัน
เพราะฉะนั้น เบื้องหลังผู้สร้าง ผู้ออกแบบ ผู้พัฒนา และดูแลเครื่องมือเหล่านี้ ก็ต้องยกให้กับทีมวิศวกรที่มีความรู้เฉพาะทางจากการเรียนวิศวกรรมศาสตร์ในสาขานั้นๆ เพื่อมาช่วยพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ และแก้ไขทุกปัญหารอบตัวเราอย่างที่เห็นกันทุกวันนี้
เพราะฉะนั้น ใครที่สนใจการศึกษาเกี่ยวกับวิศวกรรมศาสตร์ สามารถเริ่มต้นหาแนวทางให้กับตัวเอง เพื่อการวางแผนเป้าหมายสู่การต่อยอดใช้ประกอบอาชีพการงานได้ว่า ควรเริ่มเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์สาขาไหนดี เลือกเรียนมหาวิทยาลัยที่ไหน ที่เปิดโอกาส และมีแผนการสอนที่ตอบโจทย์กับวิชาชีพในอนาคตมากที่สุด เพราะคณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นหนึ่งในภาควิชาที่ยังคงใช้หางาน และพัฒนาทักษะตามยุคสมัยได้เรื่อยๆ
ไปดูกันว่า เนื้อหาการเรียนการสอนโดยรวมของคณะวิศวกรรมศาสตร์แต่ละชั้นปี ในทุกสาขาจะต้องเจอเนื้อหาพื้นฐานการเรียนแบบไหน
คณะวิศวกรรมศาสตร์มีสาขาหลักๆ อยู่ 10 สาขา และได้รับความนิยมสูง มีตลาดงานที่พร้อมรองรับอยู่ตลอดมาดูกันว่าวิศวะมีสาขาอะไรบ้างที่น่าสนใจแล้วเรียนเกี่ยวกับอะไร ใช้ประกอบอาชีพด้านไหน
วิศวะสาขาไฟฟ้า จะต้องมีความรู้พื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ และฟิสิกส์แน่น เพราะตัวเรียนจะเป็นเกี่ยวกับทฤษฎีไฟฟ้า การต่อวงจร ความรู้ด้านกระแส และการคำนวณวัตต์ หรือการคำนวณเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าต่างๆ พร้อมการประยุกต์ใช้
มีหลักสูตรการเรียน 4 ปี ส่วนอาชีพ หรือตำแหน่งงานสำหรับสาขาไฟฟ้า เช่น วิศวกรนักออกแบบระบบวงจรไฟฟ้า หัวหน้าดูแลระบบการควบคุม และการติดตั้งเดินวงจรไฟฟ้าของอาคาร หรือ Sale Engineer เป็นต้น
เป็นสาขาที่ต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับวิชาฟิสิกส์ทุกด้าน และพื้นฐานวิชาเคมี จะเรียนเกี่ยวกับกลศาสตร์ด้านพลังงาน และการออกแบบเครื่องจักรกลไกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความรู้ในการสร้าง และออกแบบระบบไฮดรอลิก การทำหุ่นยนต์ การออกแบบกลไกเครื่องจักรระบบอุตสาหกรรม เป็นต้น
มีหลักสูตรการเรียน 4 ปี ส่วนอาชีพ หรือตำแหน่งงานสำหรับสาขาเครื่องกล เช่น วิศวกรรมเครื่องกลเฉพาะด้านยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ดูแลไลน์เครื่องจักรอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้า โรงพลังงานต่างๆ หรือวิศวกรรมสายซ่อมบำรุงเครื่องจักรในองค์กร และนิคม เป็นต้น
การเรียนสาขาโยธา จะเป็นความรู้ และความสนใจพิเศษ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างพื้นที่ และการสำรวจพื้นที่ ลงปฏิบัติงานภาคสนาม จะได้เรียนเรื่องการวางแผนระบบสาธารณูปโภคต่างๆ และการเลือกใช้ทรัพยากร วัสดุต่างๆ ของงบประมาณกลางให้คุ้มค่า และเหมาะสม เป็นสายที่มุ่งเน้นการพัฒนาประเทศอย่างมาก
มีหลักสูตรการเรียน 4 ปี ส่วนอาชีพ หรือตำแหน่งงานสำหรับสาขาโยธา เช่น วิศวกรภาคสนาม วิศวกรออกแบบโครงสร้างพื้นที่ เป็นต้น
สายไอที ต้องอย่าพลาดกับสาขาคอมพิวเตอร์ เป็นหนึ่งในสาขายอดฮิตอย่างมากของยุคนี้ ความรู้พื้นฐาน และเชิงลึกที่จะต้องใช้เรียนสาขานี้แน่ๆ คือ คณิตศาสตร์ และการคำนวณ เพื่อใช้ในการออกแบบระบบทุกอย่าง จะได้เรียนเกี่ยวกับการสร้าง และการออกแบบระบบทุกอย่างของคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะเบื้องหลังระบบปฏิบัติการ ทั้งตัว Hardware และ Software อย่างครบวงจร พร้อมเน้นทฤษฎี
มีหลักสูตรการเรียน 4 ปี ส่วนอาชีพ หรือตำแหน่งงานสำหรับสาขาคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมเมอร์ วิศวกรระบบ นักพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ และดูแลโครงสร้างเครือข่ายภายในองค์กร เป็นต้น
การเรียนของสาขายานยนต์เป็นที่รู้จักไม่ค่อยเยอะมาก แต่เป็นอีกหนึ่งสาขาที่มีความต้องการในตลาดงานสูง จะเรียนเกี่ยวกับการผลิต และการออกแบบชิ้นส่วนของยานยนต์ การประกอบชิ้นส่วนอะไหล่ต่างๆ การพัฒนา และดัดแปลงระบบยานยนต์ และเครื่องจักร
มีหลักสูตรการเรียน 4 ปี ส่วนอาชีพ หรือตำแหน่งงานสำหรับสาขายานยนต์ เช่น วิศวกรออกแบบยานยนต์ วิศวกรควบคุมดูแลไลน์ผลิตยานยนต์ เป็นต้น
ความรู้พื้นฐานที่จะได้ใช้ต่อยอดในสาขาเคมี คือ วิชาเคมีเชิงลึก และพื้นฐานของฟิสิกส์ กับชีวะร่วมด้วย เพื่อนำความรู้ไปต่อยอดใช้เกี่ยวกับตัวเรียนของสาขาเคมี อย่างเรื่องการควบคุมกระบวนการทางเคมี และการประยุกต์พลังงานทางเคมีให้เข้ากับชีวเคมี และสิ่งแวดล้อมได้
จะได้เรียนเกี่ยวกับการพัฒนา และการควบคุมทุกกระบวนการของอุตสาหกรรมเคมี ทั้งด้านการผลิตแบบกายภาพ และการผลิตทางเคมี โดยให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์
มีหลักสูตรการเรียน 4 ปี ส่วนอาชีพ หรือตำแหน่งงานสำหรับสาขาเคมี เช่น วิศวกรควบคุมการผลิตของอุตสาหกรรมด้านเคมี หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ นักวิจัย และพัฒนาสูตรเกี่ยวกับเคมี นักวิชาการด้านการทดลอง เป็นต้น
การเรียนของสาขาโลจิตติกส์ จะได้เรียนเกี่ยวกับการออกแบบ และการควบคุมด้านกระบวนการขนส่งเคลื่อนย้าย และการจัดเก็บสินค้า บริการ ทุกกระบวนการเกี่ยวกับระบบอุปสงค์ และอุปทานของการซื้อขายในด้านธุรกิจร่วมกับภาควิศวกรรม รวมถึงการเรียนเกี่ยวกับการจัดการคลังสินค้า การเพิ่ม และลดจำนวนสินค้าคงคลัง และการบริหารจัดการทรัพยากรให้คุ้มทุนมากที่สุด
มีหลักสูตรการเรียน 4 ปี ส่วนอาชีพ หรือตำแหน่งงานสำหรับสาขาโลจิสติกส์ เช่น ผู้ประกอบการ นักวางแผนระบบ และบริการโลจิสติกส์โดยเฉพาะ นักบริการจัดการคลังสินค้า อาจารย์สาขาโลจิสติกส์ นักวิจัยด้านการขนส่ง และระบบห่วงโซ่อุปทาน เป็นต้น
สาขาปิโตรเลียมต้องใช้ความรู้พื้นฐาน และความรู้เชิงลึกของหลายวิชามาก เพราะสาขานี้เรียนเกี่ยวกับการขุดเจาะไฮโดรคาร์บอน ทุกอย่างที่เกี่ยวกับด้านพลังงานก๊าซ และน้ำมัน ส่วนใหญ่การเรียนจะเน้นภาคปฏิบัติดูหน้างานจริงมากกว่า แต่ก็เป็นสาขาที่ทำงานบนความเสี่ยงสูงมาก เพราะต้องมีความรอบคอบ และใช้ทักษะความสามารถ ทักษะความรู้เฉพาะด้านสูง ทำให้เงินเดือนเยอะมากด้วยเช่นกัน
มีหลักสูตรการเรียน 4 ปี ส่วนอาชีพ หรือตำแหน่งงานสำหรับสาขาปิโตรเลียม เช่น วิศวกรปิโตรเลียม นักขุดเจาะน้ำมัน และก๊าซภาคสนาม นักออกแบบ และวางแผนทีมปิโตรเลียม เป็นต้น
ในสาขาสิ่งแวดล้อม จะได้ลงพื้นที่ค่อนข้างบ่อย เพราะต้องเรียนเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีไปใช้จัดการ แก้ไขปัญหาทางธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น หรือเตรียมรับมือกับแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นได้ รวมถึงการปรับปรุงพัฒนาระบบการจัดการของเสีย ที่ถูกปล่อยทิ้งในธรรมชาติ เพื่อบำบัดฟื้นฟูให้กลับมาสภาพดีขึ้น
มีหลักสูตรการเรียน 4 ปี ส่วนอาชีพ หรือตำแหน่งงานสำหรับสาขาสิ่งแวดล้อม เช่น วิศวกรควบคุมระบบการบำบัดน้ำเสีย และมลพิษ ผู้ตรวจประเมินมลพิษในท้องที่ นักวิจัยสิ่งแวดล้อม นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
การเรียนของหลักสูตรอุตสาหการ จะได้รู้ครอบคลุมในระบบโรงงานอุตสาหกรรม ตั้งแต่กระบวนการผลิต กระบวนการทำงานของเครื่องจักร กระบวนการจัดเก็บสินค้า และไลน์ผลิต การบริการจัดการระบบ และการส่งออกสินค้า รวมถึงการเรียนเกี่ยวกับวิธีการทำงาน การควบคุมดูแลจัดการเครื่องจักรแต่ละไลน์ การผลิตให้ได้ประสิทธิภาพที่ดีที่สุดต่อองค์กร หรือนิคมนั้น
มีหลักสูตรการเรียน 4 ปี ส่วนอาชีพ หรือตำแหน่งงานสำหรับสาขาอุตสาหการ เช่น วิศวกรโรงงาน ผู้ดูแลไลน์การผลิตของอุตสาหกรรม นักออกแบบระบบไลน์การผลิตของอุตสาหกรรม เป็นต้น
แนะนำทักษะที่ต้องมี ถ้าอยากเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ในแต่ละสาขา มีดังนี้
ใครที่จบคณะวิศวกรรมศาสตร์สาขาไหนมาก็ตาม รับรองได้ว่าเป็นหนึ่งในคณะที่ไม่มีวันตกงานอย่างแน่นอน เพราะเป็นคณะที่ได้เรียนเกี่ยวกับความรู้เฉพาะทางในเชิงลึก และได้รู้พื้นฐานการทำงานโดยรวม ที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใหญ่ๆ ระดับอุตสาหกรรมขึ้นไป ขอแนะนำตัวอย่างเส้นทางอาชีพหลังจบวิศวกรรมศาสตร์ว่ามีอะไรรองรับบ้าง ดังนี้
อาชีพวิศวกรโครงสร้าง จะทำหน้าที่ในการออกแบบโครงสร้างอาคาร วิเคราะห์จุดที่ต้องปรับปรุง การประเมินคุณภาพวัสดุสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ทุกอย่าง หรือจะเป็นการออกแบบ และพัฒนาโครงสร้างของระบบเครื่องจักรกล ก็เป็นหน้าที่ของอาชีพนี้ด้วยเช่นกัน
เงินเดือนขึ้นอยู่กับสายงานที่เลือกว่าจะทำงานในรูปแบบขององค์กร หรืออุตสาหกรรมประเภทไหน เป็นอาชีพที่ต้องออกแบบ และวิเคราะห์โครงสร้างต่างๆ เพื่อให้มีความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานมากที่สุด เงินเดือนจะเริ่มต้นประมาณ 35,000 บาทขึ้นไป
อาชีพวิศวกรคอมพิวเตอร์ จะต้องออกแบบระบบทั้งด้านฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ ให้ตรงกับปัญหาที่ต้องแก้ไขภายในองค์กรนั้นๆ ดูแลระบบข้อมูลหลังบ้านให้มีความปลอดภัยสูงสุด โดยขั้นตอนการทำงาน และหน้าที่หลักของวิศวกรคอมพิวเตอร์ จะทำการวิจัยข้อมูล วิเคราะห์ปัญหา และออกแบบระบบ พร้อมดำเนินการบำรุงรักษาทุกปัญหาด้านไอที ให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ หรือการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ การออกแบบ และผลิตระบบต่างๆ ขึ้นมา เพื่อแก้ไขปัญหาขององค์กร เงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 20,000 - 30,000 บาท
อาชีพวิศวกรอุตสาหการ จะต้องปรับปรุง และพัฒนาโครงสร้างภายในอุตสาหกรรม ทั้งภาพรวม และในส่วนของการดูแลไลน์การทำงานต่างๆ ให้มีความราบรื่น และเกิดปัญหาขัดข้องน้อยมากที่สุด พร้อมการประเมินการทำงานของระบบที่ออกแบบวางแผนมาร่วมกับพนักงานภายในอุตสาหกรรมนั้น ว่าเป็นโครงสร้างที่ได้ผลลัพธ์มีประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้นหรือไม่ เงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 31,000 บาท
อาชีพวิศวกรเครื่องกล จะดูแลความเรียบร้อยของการทำงานเครื่องจักรกลภายในโรงงาน ให้เกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุด พร้อมเข้าซ่อมแซมบำรุงรักษาทันที ที่เกิดปัญหาในไลน์การทำงานส่วนต่างๆ ของอุตสาหกรรมนั้น รวมถึงต้องออกแบบส่วนการดำเนินงานของไลน์อุตสาหกรรมต่างๆ อย่างเหมาะสมกับเครื่องจักรกล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานมากขึ้น เงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 35,000 บาท
อาชีพวิศวกรฝ่ายวางแผนการผลิต จะดูแลตั้งแต่ต้นสายของอุตสาหกรรม คือ การวางแผน การออกแบบ การเลือกสรร การติดตั้ง และการดูแล พร้อมบำรุงรักษาเครื่องจักรกลของส่วนงานต่างๆ ว่าต้องวางระบบอย่างไร ทำงานส่วนไหนก่อน ไปยังส่วนไหนต่อไป เพื่อให้คุ้มค่ากับเงินลงทุนขององค์กร และลดขั้นตอนการทำงานได้มากที่สุด รวมถึงต้องดูแลเรื่องความปลอดภัยในระบบการทำงานของไลน์การออกแบบที่วางไว้ด้วยเช่นกัน เงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 38,000 บาท
อาชีพวิศวกรสิ่งแวดล้อม จะใช้ความรู้ด้านเทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ มาประยุกต์ใช้ในการช่วยแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม และการบำบัดจัดการมลพิษ มลภาวะต่างๆ ให้มีสภาพแวดล้อมของพื้นที่ที่ดีขึ้น รวมถึงหน้าที่ในการควบคุมมลพิษของอุตสาหกรรมให้เป็นพลังงานสะอาดมากที่สุด และไม่ผิดกฎหมายในการดำเนินการทางด้านอุตสาหกรรม เงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 30,000 บาท
อาชีพวิศวกรยานยนต์ มีหน้าที่ในการออกแบบ และวิเคราะห์การทำงานของกลไกเครื่องจักรกล สร้างผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ของเครื่องจักร และยานยนต์ รวมถึงการดูแล วางแผน และบริหารระยะเวลา จำนวนสินค้าของไลน์การผลิตด้านยานยนต์ให้เหมาะสมกับใบออเดอร์ พร้อมตรวจประเมินคุณภาพของชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์ และเครื่องจักรกลต่างๆ ว่าผ่านคุณภาพตามมาตรฐานหรือไม่ เงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 30,000 บาท
สายงานที่ได้รับความนิยมสูงมากที่สุด และเป็นที่ต้องการของตลาดงานทุกแวดวง ทั้งองค์กรธุรกิจใหญ่ หรืออุตสาหกรรมโรงงานก็ตาม ต้องยกให้กับอาชีพวิศวกร ซึ่งคนที่จะเป็นวิศวกรในแต่ละด้านได้ ต้องเรียนจบคณะวิศวกรรมศาสตร์ของสาขาต่างๆ ที่ต้องการประกอบอาชีพต่อ เพื่อรับรองความชำนาญในเรื่องทักษะความรู้ความสามารถเฉพาะทางแต่ละด้านโดยตรง
รับรองได้ว่าเรียนวิศวะสาขาไหนก็ไม่ตกงาน และยังเป็นอาชีพที่มีความก้าวหน้า เติบโตด้านอาชีพการทำงานได้รวดเร็ว โดยไม่ต้องใช้อายุงานนานหลายปี วัดผลงานโดยตรง และวัดการเติบโตของสายงานผ่านการประเมินมาตรฐานการทำงานของวิศวกรได้โดยตรง จึงเป็นอาชีพที่มีความต้องการสูง เติบโตไว
หากใครต้องการหางานวิศวกร หรือศึกษาข้อมูล หน้าที่ การทำงาน เงินเดือนต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาต่อ หรือพัฒนาทักษะของตัวเอง สามารถเข้าดูที่ JobsDB ได้เลย มีบริการครบเครื่องเรื่องการจ้างงาน และตลาดงานที่ใหญ่ที่สุด