Key Takeaway
เส้นทางสู่การเป็นหมออาจดูท้าทาย และเต็มไปด้วยการเตรียมตัวที่เข้มข้น แล้วเราต้องรู้อะไรบ้างก่อนก้าวเข้าสู่คณะแพทยศาสตร์? บทความนี้จะพาไปทำความรู้จักกับคณะแพทยศาสตร์ว่ามีการเรียนการสอนอย่างไร ต้องเรียนวิชาอะไรบ้าง และมีกี่สาขาเฉพาะทางที่น่าสนใจ รวมถึงเมื่อจบมาแล้ว สามารถทำงานอะไรได้บ้าง ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันเลย!
คณะแพทยศาสตร์ เป็นสถาบันการศึกษาที่ผลิตแพทย์ เพื่อให้มีความรู้ และทักษะในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วย โดยหลักสูตรการเรียนการสอน จะเน้นทั้งภาคทฤษฎี และการฝึกปฏิบัติในโรงพยาบาล
ค่าเทอมแพทย์ และค่าเทอมแพทย์อินเตอร์ จะแตกต่างกันไปตามสถาบัน และโครงการที่เลือกเรียน โดยปกติจะอยู่ที่ประมาณ 50,000-200,000 บาทต่อปี ขึ้นอยู่กับการเป็นนักศึกษาในประเทศ หรือโครงการพิเศษอื่นๆ เช่น โครงการแพทย์นานาชาติ เป็นต้น
เส้นทางการเรียนแพทย์ เป็นการเดินทางที่ต้องใช้ความมุ่งมั่น และความพยายามสูง โดยแต่ละปีการศึกษาในคณะแพทยศาสตร์ จะมีการเรียนการสอนที่แตกต่างกันไป เพื่อเตรียมความพร้อมให้ได้เป็นแพทย์ที่มีความรู้ และทักษะครบถ้วน เรามาดูกันว่าแต่ละปีต้องเรียนอะไรบ้าง!
ในคณะแพทย์มีหลายสาขาวิชาเฉพาะทาง ที่นักศึกษาแพทย์สามารถเลือกเรียน และฝึกฝน เพื่อเชี่ยวชาญในการรักษาผู้ป่วยในด้านต่างๆ แต่ละสาขามีความเฉพาะเจาะจง และเน้นการรักษาในโรค และระบบร่างกายที่แตกต่างกัน เรามาทำความรู้จักแต่ละสาขากันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง และเรียนเกี่ยวกับอะไร
สาขาอายุรศาสตร์ เป็นสาขาที่เน้นการวินิจฉัย และรักษาโรคภายในของผู้ใหญ่ เช่น โรคหัวใจ โรคปอด และโรคเบาหวาน นักศึกษาแพทย์จะได้เรียนรู้วิธีการตรวจวินิจฉัยโรค การใช้ยา และการติดตามผลการรักษาในระยะยาว
สาขาศัลยศาสตร์เป็นสาขาที่เกี่ยวข้องกับการผ่าตัดรักษาโรคต่างๆ ทั้งโรคเฉพาะทาง และโรคทั่วไป นักศึกษาแพทย์จะได้เรียนรู้ทักษะการผ่าตัด การดูแลผู้ป่วยก่อน และหลังการผ่าตัด รวมถึงการจัดการภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
สาขากุมารเวชศาสตร์ เน้นการดูแล และรักษาโรคในเด็ก ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยรุ่น นักศึกษาแพทย์จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเจริญเติบโต และพัฒนาการของเด็ก การรักษาโรคที่พบในวัยเด็ก รวมถึงการให้คำแนะนำในการดูแลเด็ก เพื่อส่งเสริมสุขภาพที่ดี
สาขาจักษุวิทยา เป็นสาขาที่ศึกษาเกี่ยวกับโรค และความผิดปกติของดวงตา เช่น ต้อกระจก ต้อหิน และปัญหาการมองเห็น นักศึกษาแพทย์จะได้เรียนรู้วิธีการตรวจวินิจฉัยโรคทางตา การผ่าตัด และการใช้เลเซอร์รักษาโรคตา
สาขาออร์โธปิดิกส์ เน้นการวินิจฉัย และรักษาโรค หรือการบาดเจ็บของกระดูก ข้อต่อ และกล้ามเนื้อ เช่น กระดูกหัก ข้ออักเสบ และการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา นักศึกษาแพทย์จะได้ฝึกทักษะการผ่าตัด การจัดกระดูก และการทำกายภาพบำบัด
สาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน จะเกี่ยวข้องกับการดูแล และรักษาผู้ป่วยฉุกเฉิน ที่ต้องการการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน เช่น ภาวะหัวใจหยุดเต้น อุบัติเหตุ และการบาดเจ็บรุนแรง นักศึกษาแพทย์จะได้เรียนรู้การประเมินผู้ป่วยอย่างรวดเร็ว การทำ CPR และการใช้เครื่องมือช่วยชีวิตในสถานการณ์ฉุกเฉินด้วย
สาขาสูติศาสตร์ และนรีเวชวิทยา เน้นการดูแลสุขภาพของสตรี ตั้งแต่การตั้งครรภ์ การคลอดบุตร การดูแลหลังคลอด และการรักษาโรคเฉพาะทางของผู้หญิง เช่น โรคของมดลูก และรังไข่ นักศึกษาแพทย์จะได้ฝึกการทำคลอด และการผ่าตัดทางนรีเวช
สาขาวิสัญญีวิทยา เกี่ยวข้องกับการให้ยาชา และการดูแลผู้ป่วยระหว่างการผ่าตัด นักศึกษาแพทย์จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเลือก และการให้ยาสลบ การควบคุมความเจ็บปวด และการดูแลผู้ป่วยในช่วงฟื้นตัวหลังการผ่าตัด
สาขาตา หู คอ จมูก จะศึกษาการรักษาโรค และความผิดปกติในระบบทางเดินหายใจส่วนต้น เช่น โรคไซนัสอักเสบ โรคหู และปัญหาการได้ยิน นักศึกษาแพทย์จะได้เรียนรู้วิธีการตรวจ และการรักษาโรคในหู คอ และจมูก รวมถึงการผ่าตัดเฉพาะทางในบริเวณนี้
สาขาระบบทางเดินปัสสาวะ จะเน้นการรักษาโรคในระบบทางเดินปัสสาวะของทั้งชาย และหญิง เช่น นิ่วในไต การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ และปัญหาต่อมลูกหมาก นักศึกษาแพทย์จะได้เรียนรู้การตรวจวินิจฉัย การรักษาโดยไม่ผ่าตัด และการผ่าตัด
สาขานิติเวชศาสตร์ เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบ และวิเคราะห์สาเหตุการเสียชีวิต หรือบาดเจ็บ ที่เกิดจากอาชญากรรม และอุบัติเหตุ นักศึกษาแพทย์จะได้เรียนรู้การผ่าศพ การตรวจสอบหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ และการเขียนรายงานทางการแพทย์
สาขาจิตเวชศาสตร์ เน้นการรักษาโรคทางจิต และพฤติกรรม เช่น โรคซึมเศร้า วิตกกังวล และโรคจิตเภท นักศึกษาแพทย์จะได้เรียนรู้การซักประวัติ และการให้คำปรึกษาผู้ป่วย การใช้ยา และการบำบัดทางจิตวิทยา
สาขารังสีวิทยา ศึกษาการวินิจฉัย และรักษาโรคโดยใช้รังสี เช่น การใช้เอกซเรย์ CT สแกน และ MRI นักศึกษาแพทย์จะได้เรียนรู้การวิเคราะห์ภาพทางรังสี การใช้เครื่องมือในการตรวจวินิจฉัย และการรักษาโรคด้วยรังสีรักษา
การเรียนแพทยศาสตร์ เป็นหนึ่งในสาขาวิชาที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากมีส่วนในการพัฒนาสุขภาพ และชีวิตของประชาชน ในประเทศไทยมีโรงเรียนแพทย์ และมหาวิทยาลัยที่มีคณะแพทย์ที่เปิดสอน เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม ดังนี้
นักศึกษาแพทย์ที่จบการศึกษาไปแล้ว สามารถเลือกประกอบอาชีพได้หลากหลาย ทั้งการเป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาล การทำวิจัยทางการแพทย์ การเป็นอาจารย์ในสถาบันการศึกษา หรือแม้แต่การทำงานในภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์ แต่ละอาชีพมีหน้าที่ และความรับผิดชอบที่แตกต่างกันไป รวมถึงเงินเดือน และค่าตอบแทนที่ขึ้นอยู่กับตำแหน่ง และประสบการณ์
แพทย์ เป็นอาชีพที่ทำหน้าที่วินิจฉัย และรักษาผู้ป่วยทั้งทางร่างกาย และจิตใจ แพทย์อาจทำงานในโรงพยาบาลรัฐ หรือเอกชน คลินิก หรือเปิดคลินิกส่วนตัว นอกจากนี้ ยังสามารถเลือกเชี่ยวชาญในสาขาเฉพาะทางต่างๆ เช่น อายุรศาสตร์ ศัลยศาสตร์ หรือจิตเวชศาสตร์ เป็นต้น
เงินเดือนเริ่มต้นของแพทย์อยู่ที่ประมาณ 30,000-50,000 บาทต่อเดือน ขึ้นอยู่กับสถาบันที่สังกัด หากทำงานในโรงพยาบาลรัฐ อาจมีค่าตำแหน่ง ค่าผ่านใบประกอบวิชาชีพ ค่าล่วงเวลา และค่าเข้าเวร ซึ่งสามารถเพิ่มได้ถึง 70,000-100,000 บาท หรือมากกว่านั้น หากเป็นแพทย์เฉพาะทาง หรือทำงานในโรงพยาบาลเอกชน
นักวิจัยทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ทำการวิจัย และพัฒนาเกี่ยวกับโรค การรักษา หรือยาใหม่ๆ เพื่อพัฒนาวิทยาการทางการแพทย์ อาจทำงานในสถาบันวิจัย โรงพยาบาล หรือบริษัทเภสัชกรรม นักวิจัยต้องมีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล และการออกแบบการทดลองที่มีประสิทธิภาพ
เงินเดือนเริ่มต้นของนักวิจัยทางการแพทย์อยู่ที่ประมาณ 30,000-50,000 บาทต่อเดือน โดยขึ้นอยู่กับสถาบัน และแหล่งทุนวิจัย อาจมีค่าตอบแทนเพิ่มเติมจากการตีพิมพ์ผลงานวิจัย หรือการเข้าร่วมโครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุน
อาจารย์ในคณะแพทยศาสตร์ ทำหน้าที่สอน และถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักศึกษาแพทย์ ทั้งภาคทฤษฎี และการฝึกปฏิบัติ นอกจากนี้ ยังมีการทำงานวิจัย เพื่อพัฒนาวิทยาการทางการแพทย์ และอาจมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางวิชาการต่างๆ เช่น การประชุมสัมมนา และการเขียนตำรา
เงินเดือนเริ่มต้นของอาจารย์สอนในคณะแพทย์อยู่ที่ประมาณ 30,000-40,000 บาทต่อเดือน ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัย และตำแหน่งทางวิชาการ เช่น อาจารย์ผู้ช่วย รองศาสตราจารย์ หรือศาสตราจารย์ และอาจมีค่าตอบแทนเพิ่มเติมจากการทำวิจัย หรือการสอนพิเศษ
ตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์แพทย์ ทำหน้าที่นำเสนอ และจำหน่ายอุปกรณ์การแพทย์ เช่น เครื่องมือผ่าตัด เครื่องตรวจวินิจฉัย และอุปกรณ์ทางการแพทย์อื่นๆ ให้กับโรงพยาบาล คลินิก หรือสถานพยาบาล ตัวแทนจำหน่ายต้องมีความรู้เกี่ยวกับสินค้า และทักษะการขาย รวมถึงการให้คำแนะนำในการใช้งานอุปกรณ์
เงินเดือนเริ่มต้นของตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์แพทย์อยู่ที่ประมาณ 20,000-30,000 บาทต่อเดือน โดยส่วนใหญ่จะได้รับค่าคอมมิชชั่นตามยอดขาย ซึ่งสามารถเพิ่มรายได้ให้สูงขึ้นได้อีกหลายเท่า
ตัวแทนจำหน่ายยา ทำหน้าที่นำเสนอ และจำหน่ายยาต่างๆ ให้กับโรงพยาบาล คลินิก และร้านขายยา ตัวแทนจำหน่ายยาต้องมีความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยาแต่ละประเภท รวมถึงความสามารถในการสื่อสาร และการเจรจาทางธุรกิจ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า
เงินเดือนเริ่มต้นของตัวแทนจำหน่ายยาอยู่ที่ประมาณ 20,000-35,000 บาทต่อเดือน และมักจะมีค่าคอมมิชชั่นจากยอดขายรวมด้วย ซึ่งสามารถทำให้รายได้รวมต่อเดือนไม่ต่ำกว่า 50,000-70,000 บาท ขึ้นอยู่กับความสามารถ และยอดขายที่ทำได้ด้วย
การเรียนในคณะแพทยศาสตร์มีหลากหลายสาขาให้เลือกเรียน ตั้งแต่การรักษาโรคทั่วไป การผ่าตัด ไปจนถึงการดูแลสุขภาพของเด็ก และสตรี ซึ่งแต่ละสาขา มีเนื้อหาการเรียนการสอน และทักษะที่ต้องฝึกฝนต่างกันไป นักศึกษาแพทย์ที่จบมาแล้ว สามารถเลือกประกอบอาชีพได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาล นักวิจัย อาจารย์สอน หรือตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์ และยา
ซึ่งแต่ละอาชีพมีรายได้ และค่าตอบแทนที่แตกต่างกัน การหางานในสายงานแพทย์ผ่านแพลตฟอร์มที่เชื่อถือได้อย่าง Jobsdb ช่วยให้คุณเข้าถึงตำแหน่งงานที่หลากหลาย มีข้อมูลรายละเอียดครบถ้วน และสามารถสมัครงานได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ตรงตามความต้องการของคุณ