หลายคนอาจยังไม่เคยได้ยินคำว่า Gig Economy สักเท่าไหร่ แต่คำว่า Gig (กิ๊ก) อาจเป็นคำที่ใครหลายคนคุ้นหูมากกว่า ซึ่งจริง ๆ แล้ว คำนี้สามารถแปลความหมายออกมาได้หลายรูปแบบเลยทีเดียว ในแง่ของธุรกิจ คำนี้เป็นคำที่ใช้เรียกระบบเศรษฐกิจ ที่ประกอบไปด้วยการทำงานแบบชั่วคราว ที่จบเป็นครั้ง ๆ หรือเรียกสั้น ๆ ว่าการทำงานแบบ Gig ของเหล่า Gig workers นั่นเอง ยกตัวอย่างงานที่สามารถเห็นได้ชัด อย่างเช่น งานพาร์ทไทม์ งานฟรีแลนซ์ หรืองานที่เกี่ยวกับการแชร์สินค้า และบริการผ่านแพลตฟอร์มทางออนไลน์ต่าง ๆ เช่น Grab, Uber, Airbnb เป็นต้น ซึ่งระบบการทำงานแบบนี้ จะอาศัยการพัฒนาของอินเทอร์เน็ต และเทคโนโลยี เพื่อให้ Gig Economyเติบโตขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
Gig Economy
ต้องยอมรับว่า โควิด-19 ได้เข้ามาเปลี่ยนวิถีชีวิตของใครหลาย ๆ ไปอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องทำงาน ที่ในช่วงเวลาหนึ่งเราทุกคนต้องทำงาน Work From Home จนทำให้เกิดปรากฏการณ์ใหญ่ ๆ ในตลาดงานตามมา เช่น การที่บริษัทหลายแห่งเริ่มเล็งเห็นแล้วว่าการให้พนักงาน Work From Home จะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า หรือตัวพนักงานเริ่มคุ้นเคยกับการทำงานที่บ้าน หรือที่อื่น ๆ (Work From Anywhere) ที่ทำให้ได้อิสระในด้านเวลา และเหลือเวลาไปใช้ชีวิตมากขึ้นโดยที่งานก็ไม่เสีย ยิ่งไปกว่านั้นพนักงานประจำหลายคน ยังเปลี่ยนใจหันหลังให้การทำงานประจำที่มั่นคงในบริษัท เปลี่ยนมากเป็นการทำงานแบบ Gig Economy ที่เน้นความอิสระและสร้างความยืดหยุ่นในการทำงานมากขึ้น
ทำความรู้จัก Gig Economy
ระบบเศรษฐกิจที่ถูกขับเคลื่อนด้วยการทำงานในลักษณะชั่วคราว ที่ไม่ได้มีการจ้างงานพนักงานประจำและจ่ายเงินเดือนตามที่ตกลงไว้ตอนสิ้นเดือน แต่เป็นการจ้างเงินค่าจ้างตามปริมาณงานและค่าจ้างที่ได้ตกลงกันไว้เป็นงาน ๆ ไป โดยเมื่อจบสัญญาที่ตกลงกันไว้ตั้งแต่แรก ก็จะไม่ข้อผูกมัดใด ๆ เกี่ยวพันกันอีกระหว่างคู่สัญญา ซึ่งคนที่ทำงานแบบนี้จะถูกเรียกว่า Gig Worker
จะเห็นได้ว่าการทำงานในระบบของ Gig Economy จะมีความคล้ายคลึงกับการทำงานระบบ Freelance ที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี แต่ความเป็นจริงแล้วก็จะมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง โดยสามารถอธิบายได้สั้น ๆ ให้เข้าใจง่ายได้ดังนี้
ชาวฟรีแลนซ์ หรือ Freelancer คือ คนทำงานที่เหมือนเป็นบริษัทขนาดย่อยที่ดูแลตัวเอง เป็นทั้งผู้บริหารและเป็นพนักงานในคน ๆ เดียว เพราะต้องตั้งราคาค่างานเอง คิดแผนการตลาดเพื่อโปรโมตตัวเอง หรือขายงานให้ได้ด้วยตัวเอง ดีลงาน คุยกับลูกค้าเอง เลยไปจนถึงการทำบัญชีและดูแลสัญญาต่าง ๆ ด้วยตัวเอง เรียกได้ว่าการเป็น ฟรีแลนซ์ สามารถเลือกรับงานและทำงานได้อย่างเป็นอิสระด้วยตัวเอง
แต่งานของ Gig Worker คือ การรับงานแบบที่มีคนคอยดูแลให้ส่วนหนึ่ง เช่น จะมีผู้ว่าจ้างหรือบริษัทเอเจนซีทำหน้าที่หางานมาแมชท์ให้กับคนทำงานแบบ Gig Worker โดนที่คนกลางเหล่านี้จะดูแลตั้งแต่เรื่องสัญญาว่าจ้าง ตกลงราคางาน ช่วยทำตลาดโปรโมตผู้รับจ้าง เลยไปจนถึงการทำบัญชีและอื่น ๆ เรียกได้ว่า Gig Worker ส่วนใหญ่มีหน้าที่เพียงแค่รับงานและทำงานให้เสร็จตามที่ตกลงกันไว้เท่านั้น
เพื่อเป็นการทำให้ทุกคนได้เห็นภาพของ Gig Economy และ Gig Worker ได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น เราจะยกตัวอย่างธุรกิจที่มีลักษณะเป็น Gig Economy ให้ดูกัน
Line Man จัดว่าเป็นอีกหนึ่งบริษัทที่ทำงานภายใต้แนวคิดของ Gig Economy
บริษัท Line Man เป็นผู้สร้างแพลตฟอร์มกลาง ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลาง คอยวางแผนและวางระบบให้ผู้ที่ต้องการใช้บริการ อย่างคนที่ต้องการสั่งอาหาร และผู้ให้บริการ อย่าง ร้านค้าร้านอาหาร และ Rider ผู้จัดส่งอาหารได้มาเจอกัน และให้บริการเป็นครั้ง ๆ ไป
คนที่เปิดร้านอาหารในแอปพลิเคชั่น Line Man คือ กลุ่มผู้ให้บริการที่ลงขายอาหาร ผ่านการจัดการและระบบของ Line Man เพื่อให้สามารถสร้างยอดขายได้มายิ่งขึ้น โดยไม่ต้องมีข้อผูกมัดระยะยาว หรือได้เงินเดือนจากคนสั่งอาหาร และต้องจ่ายค่าบริการการจัดการให้กับ Line Man เป็นครั้ง ๆ ไป
Rider ผู้ส่งอาหาร คือ คนอีกกลุ่มหนึ่งที่เป็นผู้ให้บริการ จัดส่งอาหารจากร้านอาหารที่เปิดใน Line Man ไปถึงมือผู้สั่งอาหารในออเดอร์นั้น ๆ โดยได้รับเงินค่าจ้างหลังจากหักค่าบริการเป็นครั้ง ๆ ไปจาก Line Man โดยไม่มีข้อผูกมัดเรื่องเวลาการทำงาน อยากรับออเดอร์ตอนไหนก็สามารถทำได้ตามสะดวก
คนที่สั่งอาหาร คือ ผู้ใช้บริการ ที่สามารถเรียกสั่งอาหารตามที่ต้องการผ่านแอปพลิเคชั่น Line Man
จะเห็นได้ว่า Gig Economy เป็นการร่วมมือกันเพื่อให้ทุกฝ่ายได้รับผลประโยชน์ ที่มาพร้อมกับความยืดหยุ่นทั้งเรื่องเวลาการทำงาน ค่าแรง และแบ่งเบาภาระในการจัดการ เพื่อจะได้ไปโฟกัสกับงานที่แต่ละถนัดที่จะทำจริง ๆ
Gig Economy จึงเป็นเทรนด์ใหม่มาแรงของแรงงานในตลาดตอนนี้ จากการวิเคราะห์ข้อมูลของ Mastercard พบว่า Gig Economy ทั่วโลกจะเติบโตจากราว ๆ 204,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2018 และเพิ่มขึ้นเป็น 455,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2023 โดยมีอัตราการเติบโตต่อปีแบบทบต้น (CAGR) 17.4%
นอกจากตัวอย่างจากบริษัทสตาร์ทอัปอย่าง Line Man ที่ยกมาให้ดูกันแล้ว บริษัทใหญ่ ๆ เองก็นิยมจ้างทีมงาน Outsource เข้ามาทำงานในโปรเจคที่ต้องอาศัยคนที่เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นจริง ๆ หรือแม้แต่งานบางงานที่บริษัทเล็งเห็นว่า ถ้าจ้างทีมข้างนอกทำจะช่วยให้ประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่ายมากกว่าการจ้างพนักงานประจำ เพราะการจ้างทีมข้างนอกบริษัทสามารถคำนวนต้นทุนที่ได้เสียไปได้อย่างแน่นอนมากกว่า และเมื่อจบโปรเจคแล้วก็ไม่จำเป็นต้องจ้างต่อ แต่ถ้ามีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาโปรเจคใหม่ ๆ ก็สามารถจ้างทีมข้างนอกกลับเข้ามาทำงานได้เป็นครั้ง ๆ ไป
ในมุมมองของแรงงานในตลาดงานเอง หลายคนก็ชอบที่จะผันตัวเองมาเป็น Gig Worker กันมากขึ้น เพราะนอกจากจะบริหารเวลาการทำงานได้แล้ว ยังสามารถเลือกรับงานที่อยากทำได้ด้วย รับงานได้เท่าที่ต้องการ ทำมาได้เงินมาก เลยทำให้การทำงานแบบ Gig Economy เป็นอีกหนึ่งเทรนด์ที่น่าจับตามอง หากคุณยังไม่คุ้นเคยกับการทำงานแบบนี้ ไม่ว่าคุณจะเป็นบริษัทที่ต้องการจ้าง Gig Worker หรือ ชาวฟรีแลนซ์ที่เริ่มเหนื่อยกับการบริหารตัวเองทุกอย่าง และอยากผันตัวมาเป็น Gig Worker กับเขาบ้าง ก็สามารถพัฒนาปรับปรุงตัวเองได้เลย เพราะตลาดงานของ Gig Economy ยังคงมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่องในระยะหลายปีต่อจากนี้
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังมองหางานแบบ Gig Economy หรือ เป็นบริษัทที่อยากได้ Gig Worker มาร่วมงานด้วย ลองฝากเรซูเม่ของคุณไว้ที่แอปพลิเคชั่น JobsDB แอปที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางหางานให้กับทั้งคนที่อยากได้งานและนายจ้างที่ต้องการจ้างงานได้มาเจอกัน ผ่านระบบที่ใช้งานง่ายและมีฟังก์ชันครบวงจรสะดวกทั้งการค้นหางาน ค้นหาแรงงานให้ตรงกับใจคุณ
ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/remote-working-%e0%b8%a2%e0%b8%b8%e0%b8%84%e0%b9%82%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%94/
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/flexible-working/
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b9%80%e0%b8%88%e0%b8%b2%e0%b8%b010%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b8%99%e0%b8%94%e0%b9%8c%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b8%84%e0%b9%82%e0%b8%99%e0%b9%82%e0%b8%a5%e0%b8%a2%e0%b8%b52021/