วิธีนั่งสมาธิที่ถูกต้อง ประโยชน์ต่อการฝึกจิตให้สงบ และพลิกชีวิตให้ดีขึ้น

วิธีนั่งสมาธิที่ถูกต้อง ประโยชน์ต่อการฝึกจิตให้สงบ และพลิกชีวิตให้ดีขึ้น
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 11 October, 2024
Share

Key Takeaway

  • การนั่งสมาธิช่วยให้จิตใจสงบ มีสติอยู่กับปัจจุบัน ช่วยเปลี่ยนมุมมองไปในทางบวกมากขึ้น รับมือกับความเครียดได้ ฝึกจิตให้แข็งแกร่ง อดทน และเสริมสร้างจินตนาการกับความคิดสร้างสรรค์
  • การนั่งสมาธิมีหลายรูปแบบ เช่น การจดจ่อ การใช้จินตนาการ การเคลื่อนไหวร่างกาย สวดมนต์ หรือการเจริญเมตตา เลือกให้เหมาะกับตัวเองเพื่อช่วยให้จิตใจสงบมากขึ้น
  • การนั่งสมาธิให้เกิดประโยชน์ ควรเลือกสถานที่เหมาะสม ตั้งเป้าหมาย นั่งในท่าสบาย กำหนดลมหายใจสม่ำเสมอ มีสติรับรู้ความคิด อย่าคิดลบกับตัวเอง ยอมรับความจริงและปล่อยวาง

ความคิดแย่ๆ เป็นสิ่งที่ควบคุมยาก โดยเฉพาะกับคนที่มีนิสัยอ่อนไหวแต่ไม่ได้แปลว่าจะควบคุมไม่ได้เลย จากการให้สัมภาษณ์ของนักธุรกิจระดับโลกอย่างบิล เกตส์ (Bill Gates) ที่เผยว่าเคล็ดลับความสำเร็จของเขา คือการหมั่นนั่งสมาธิเป็นประจำ เพื่อสร้างความสงบทางจิตใจ หากใครเครียดจากงาน ลองนั่งสมาธิดูเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพและการใช้ชีวิตราบรื่นมากขึ้น

การนั่งสมาธิให้ประโยชน์มากกว่าที่คิด ใครที่กำลังจิตใจฟุ้งซ่าน ลองนั่งสมาธิสัก 5-10 นาที เพราะประโยชน์ของการนั่งสมาธิไม่ได้ช่วยแค่การทำสมาธิเท่านั้น แต่ยังเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อชีวิตได้เลย มาดูวิธีนั่งสมาธิที่ถูกต้องได้ในบทความนี้กัน!

ประโยชน์ของการนั่งสมาธิ ที่มีมากกว่าที่คิด

ประโยชน์ของการนั่งสมาธิ ที่มีมากกว่าที่คิด

อย่างที่เขาว่า ‘ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว’ หากจิตใจไม่สงบ สุขภาพก็จะแย่ตามไปด้วย มาดูกันว่าการฝึกจิตใจให้สงบด้วยการนั่งสมาธิให้ประโยชน์อย่างไร 

  • ช่วยให้มีสมาธิ มีสติอยู่กับปัจจุบัน ตระหนักรู้เรื่องที่หาทางออกไม่ได้
  • ช่วยเปิดมุมมองใหม่ ทำให้สามารถรับมือกับความเครียดได้ดี
  • ช่วยให้ขจัดความคิดด้านลบ เปลี่ยนมุมมองชีวิตให้เป็นไปในทางบวกมากขึ้น
  • ช่วยให้จิตใจสงบ สมองปลอดโปร่ง มีสมาธิกับเรื่องสำคัญมากขึ้น
  • ช่วยฝึกจิตให้แข็งแกร่ง อดทนต่อความยากลำบากได้มากขึ้น
  • ช่วยส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ให้มากขึ้นไปอีก
ฝึกนั่งสมาธิแบบไหนดี ให้เหมาะกับตัวเอง

ฝึกนั่งสมาธิแบบไหนดี ให้เหมาะกับตัวเอง

เพื่อให้การนั่งสมาธิมีประสิทธิภาพ จึงควรเลือกวิธีให้เหมาะสมกับตัวเอง การนั่งสมาธิมีหลายรูปแบบ แต่ละรูปแบบมีวิธีที่ต่างกัน แต่มีผลลัพธ์เดียวกัน คือช่วยให้จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ดีและช่วยให้จิตใจสงบ มาเลือกวิธีนั่งสมาธิให้เหมาะกับตัวเองกัน ดังนี้

1. นั่งสมาธิแบบจดจ่อ

การนั่งสมาธิแบบจดจ่อ คือการเพ่งสมาธิไปที่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เหมาะสำหรับคนที่กำลังฟุ้งซ่านและไม่สามารถจดจ่อได้ เป็นการเน้นใช้สัมผัสทั้ง 5 เพื่อช่วยให้ทำสมาธิได้ดีขึ้น เช่น การนับลูกประคำไปเรื่อยๆ การเพ่งมองเปลวเทียน หรือการฟังเสียง เช่น เสียงกริ่งเบาๆ เสียงกลอง หรือเสียงระฆัง เป็นต้น 

2. นั่งสมาธิโดยใช้จินตนาการ 

การนั่งสมาธิโดยใช้จินตนาการ คือการจินตนาการถึงเหตุการณ์ที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลายและปลอดภัย อาจจะเป็นการนึกถึงคนที่รู้สึกสบายใจด้วย เหมาะสำหรับคนที่มีจินตนาการสูงและคิดมากเป็นประจำ ลองเปลี่ยนมาคิดเรื่องที่ทำให้มีความสุขจะยิ่งทำให้จิตใจสงบมากยิ่งขึ้น

3. นั่งสมาธิด้วยการเคลื่อนไหว 

การนั่งสมาธิไม่จำเป็นต้องนั่งนิ่งๆ สำหรับบางคนอาจจะไม่ชอบการนั่งอยู่เฉยๆ หรือเป็นคนสมาธิสั้นที่ไม่สามารถนั่งสมาธิอยู่กับที่นานๆ ได้ ลองฝึกทำสมาธิผ่านการเคลื่อนไหว เช่น การเล่นโยคะ การเดินจงกรม เดินในสวนธรรมชาติที่สวยงาม หรือการบริหารกาย-จิตด้วยการออกกำลังกายแบบซี่กงหรือไทชิ เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างกายและจิต เป็นต้น

4. นั่งสมาธิด้วยการสวดมนต์

สำหรับพุทธศาสนิกชนบางกลุ่ม อาจจะชอบการทำสมาธิด้วยการสวดมนต์ควบคู่กับการนั่งสมาธิ เพราะเปล่งเสียงออกมาซ้ำๆ เป็นการช่วยทำสมาธิได้ดีเลย อีกทั้งบทสวดแต่ละบท ยังเป็นคำสอนที่ช่วยให้ผู้สวดเกิดการตระหนักรู้และทำจิตใจให้สงบได้ดี โดยควรเลือกเป็นบทสวดที่เหมาะกับตัวเอง เพื่อให้ทำสมาธิได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้น อาจเป็นคำ วลีสั้นๆ หรือประโยคยาวๆ ตามแต่สะดวก 

5. นั่งสมาธิด้วยการเจริญเมตตาภาวนา

การนั่งสมาธิด้วยการเจริญเมตตาภาวนา คล้ายกับการนั่งสมาธิแล้วสวดมนต์ไปด้วยแต่ต่างกันที่การเน้นฝึกจิตให้มีความเมตตา เห็นใจผู้อื่นมากขึ้น เป็นการฝึกให้สามารถยอมรับความจริงและความเปลี่ยนแปลงได้ อาจจะสวดบทแผ่เมตตาช่วยให้จิตใจเต็มไปด้วยความรักและปรารถนาดี สามารถอวยพรให้กับคนสำคัญ ทั้งครอบครัว เพื่อน หรือคนรักได้  

วิธีนั่งสมาธิที่ถูกต้อง ให้เกิดประโยชน์

วิธีนั่งสมาธิที่ถูกต้อง ให้เกิดประโยชน์

ถ้าต้องการให้การนั่งสมาธิเกิดประโยชน์สูงสุด จำเป็นต้องรู้วิธีนั่งที่ถูกต้อง ไปดูวิธีนั่งสมาธิที่ถูกต้องที่มือใหม่ทำตามได้ง่ายๆ ดังนี้

  1. เลือกสถานที่นั่งสมาธิที่เงียบสงบ ไม่มีเสียงรบกวน ควรเลือกที่ที่ตัวเองรู้สึกว่าผ่อนคลายมากที่สุด 
  2. ตั้งเป้าหมายการทำสมาธิ อาจจะเริ่มต้นประมาณ 5-10 นาทีก่อน แล้วค่อยเพิ่มเวลาให้นานขึ้น
  3. นั่งในท่าที่รู้สึกสบายที่สุด ไม่จำเป็นต้องนั่งขัดสมาธิ อาจจะนั่งบนเก้าอี้ นั่งเอนตัว หรือเดินก็ได้
  4. เริ่มต้นด้วยการกำหนดลมหายใจเข้า-ออก ให้สม่ำเสมอ 
  5. มีสติแล้วรับรู้ความคิดขณะทำสมาธิเสมอ แต่ต้องจดจ่อกับลมหายใจ
  6. เมื่อรับรู้ความคิดแล้ว อย่าหมกมุ่นแล้วคิดลบกับตัวเอง พยายามสังเกตและยอมรับว่ามันสามารถเกิดขึ้นได้ เพื่อให้ปล่อยวางได้ในที่สุด
  7. ค่อยๆ กลับสู่ภาวะปกติ หากหลับตาอยู่ค่อยๆ ลืมตาขึ้น สงบนิ่ง แล้วสำรวจสิ่งที่เกิดขึ้น ทั้งอารมณ์และความคิด ก่อนเข้าสู่การใช้ชีวิตต่อไป 
 เทคนิคการทำสมาธิ ที่ทำได้ในชีวิตประจำวัน

เทคนิคการทำสมาธิ ที่ทำได้ในชีวิตประจำวัน

นอกจากการนั่งสมาธิแล้ว ยังสามารถฝึกการใช้ชีวิตประจำวันให้กลายเป็นการทำสมาธิได้ เพื่อให้มีสติและสมาธิอยู่ตลอดเวลา เทคนิคการทำสมาธิในชีวิตประจำวัน มีดังนี้

พยายามฝึกหายใจลึกๆ

การฝึกลมหายใจเป็นส่วนสำคัญของการทำสมาธิ ควรฝึกการกำหนดลมหายใจในชีวิตประจำวัน เพื่อทำให้อารมณ์มั่นคงได้ โดยเฉพาะในสถานการณ์ตึงเครียดจากงาน หากสามารถควบคุมอารมณ์ได้ จะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

เปลี่ยนพฤติกรรมเดิมๆ ให้เป็นการเจริญสติ

ฝึกให้พฤติกรรมปกติที่ทำอยู่ทุกวันให้กลายเป็นการทำสมาธิไปในตัว เช่น สถานการณ์ที่ต้องเดินจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ปกติที่เดินไปแบบไม่คิดอะไร บางครั้งก็ใจลอยหรืออาจจะคิดมากหลายเรื่อง ลองเปลี่ยนมาฝึกกำหนดลมหายใจและมีสติทุกย่างก้าว เพราะทุกการกระทำที่ออกมาจากคนที่มีสติ ย่อมผ่านการไตร่ตรองมาอย่างดีแล้ว ไม่ส่งผลร้ายต่อตัวเองและต่อคนอื่นด้วย

พยายามอย่าใช้ชีวิตแบบเร่งรีบ

เมื่อไม่มีสติ มักตื่นตระหนก และเมื่อตื่นตระหนกยิ่งทำให้สถานการณ์แย่ลงกว่าเดิม หากเผชิญอยู่กับความเคร่งเครียดหรือมีปัญหา อย่าบังคับให้ตัวเองเร่งรีบจัดการ พยายามใจเย็น ค่อยๆ สูดลมหายใจ เพราะการเร่งรีบทำอะไรโดยไม่คิดให้รอบคอบก่อน อาจนำมาซึ่งผลเสียร้ายแรง

ออกไปสูดอากาศทำสมาธิบ้าง

การอยู่ในสถานที่อุดอู้สามารถทำให้ไม่มีสมาธิและรู้สึกจิตใจห่อเหี่ยว โดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศที่นั่งทำงานอยู่ตลอดเวลา ลองเปลี่ยนบรรยากาศโดยการเดินสูดอากาศข้างนอกหรือพาตัวเองไปโดนแดดบ้าง เพื่อหลีกหนีจากสภาพแวดล้อมที่วุ่นวาย ซึ่งอาจเพิ่มสมาธิ มีสติ ขจัดความเครียด หรือทำให้หัวแล่นขึ้นมาได้ 

สรุป

เรื่องเครียดเป็นอะไรที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่การนั่งสมาธิช่วยให้จิตใจสงบ มีสติ และมีสมาธิมากขึ้น ทำให้ปล่อยวางความเครียดและยอมรับความเป็นจริง การดำเนินชีวิตด้วยสติทำให้จัดการปัญหาได้ดีขึ้น การนั่งสมาธิจึงสามารถส่งผลดีต่อหน้าที่การงานและความสำเร็จในชีวิต 

เมื่อนั่งสมาธิทำจิตใจให้สงบแล้ว แต่ยังทำใจรักงานที่ทำอยู่ไม่ได้ ถึงเวลาเตรียมตัวหางานใหม่ ให้ JobsDB เป็นตัวเลือกในการค้นหางานที่เหมาะสม ด้วยฟีเจอร์ช่วยหางานได้ตามโลเคชั่นที่กำหนดและการเปรียบเทียบเงินเดือน เพื่อให้ค้นหางานที่ชอบและเงินเดือนที่ใช่มากที่สุด

More from this category: ความอยู่ดีมีสุขในที่ทำงาน

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่าผู้สมัครค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอะไรใน Jobsdb? สำรวจคำค้นหาที่ได้รับความนิยมเพื่ออัพเดทเทรนด์ใหม่เสมอ

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
ท่านได้ยอมรับคำประกาศเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล และนโยบายความเป็นส่วนตัวเพื่อให้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน หากท่านมีอายุต่ำกว่า 20 ปี ท่านได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง เพื่อยินยอมให้ Jobsdb และบริษัทในเครือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ท่านสามารถยกเลิกได้ทุกเวลา