Imposter Syndrome โรคคิดว่าตัวเองไม่เก่ง รักษาอย่างไรดี

Imposter Syndrome โรคคิดว่าตัวเองไม่เก่ง รักษาอย่างไรดี
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

ปัจจุบัน มนุษย์เงินเดือนต้องประสบกับ โรคที่มากับการทำงาน มากมาย ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งแวดล้อม การเลี้ยงดู ความเครียด ความกดดันจากการทำงาน เทคโนโลยีดิจิทัล  JobsDB พาคุณมารู้จักกับ Imposter Syndrome โรคคิดว่าตัวเองไม่เก่ง รักษาอย่างไรดี โรคคิดว่าตัวเองไม่เก่ง ที่มักเกิดกับคนเก่ง

Imposter syndrome คืออะไร?

เป็นอาการและความรู้สึกชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเรา คือรู้สึกว่าตัวเองไม่ดีพอ ไม่มีความสามารถมากพอ ที่เราทำงานหรือเรื่องต่าง ๆ ออกมาสำเร็จได้ เพราะมีคนช่วย หรือมีโชคช่วยแต่เพียงเท่านั้น ไม่ได้เกิดจากความสามารถของเราเองแต่อย่างใด โดยจากงานวิจัยพบว่า คนทั่วไปกว่า 70% ก็มีอาการที่รู้สึกว่าตัวเองไม่เก่งพอ อยู่บ่อยครั้งในชีวิต

คำนี้เกิดขึ้นในปี 1970 โดยนักจิตวิทยา Suzanne Imes และ Pauline Rose Clance ได้กล่าวไว้ว่า หากเมื่อใดก็ตามที่คุณเกิดสงสัยในตัวเอง มีคำถามกับตัวเอง ไม่อาจยินดียินร้ายกับความสำเร็จของตัวเองได้ แสดงว่าคุณมีอาการของโรครู้สึกตัวเองไม่ดีพออยู่

ลักษณะอาการของคนที่รู้สึกว่าตัวเองไม่ดีพอ

คนที่รู้สึกว่าตัวเองไม่ดีพอ มักมีลักษณะ Perfectionist สูง รวมอยู่ด้วย มักเกิดในคนที่ประสบความสำเร็จในระดับสูง เด็กเรียนเก่ง นักวิชาการ สายงานครีเอทีฟ รวมถึงคนที่เปลี่ยนงานบ่อย มีความลังเลไม่เชื่อในความสามารถของตัวเอง และมักย้ำคิดย้ำทำบ่อย ๆ กดดันตัวเองในทุกเรื่อง แม้จะสร้างผลงานที่ดีแล้ว ก็ยังคิดว่าไม่เพียงพอ ยังดีได้กว่านี้อีก เป็นคนรอบรู้เรื่องราวรอบตัว เรียนรู้ไว และเร็ว และชอบทำอะไรเองตัวคนเดียว ไม่ชอบพึ่งพาใคร เพราะอยากจะพิสูจน์ตัวเอง

โรครู้สึกว่าตัวเองไม่ดีพอ รักษาได้

อาการรู้สึกว่าตัวเองไม่ดีพอ เป็นอาการกึ่ง ๆ ทางจิตที่เราสามารถปรับและแก้ไข อย่างค่อยเป็นค่อยไปด้วยตัวเองได้ ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

  • อย่าเก็บกดความรู้สึกนี้ไว้คนเดียว

เมื่อมีอาการ ให้มองหาเพื่อนก่อนเลย เพื่อแชร์ความรู้สึกที่เรามี หรือหาคนให้คำปรึกษาแนะนำ อย่าอยู่แต่กับตัวเองมากเกินไป ออกไปพบเจอผู้คนภายนอกบ้าง

  • ลดอีโก้ลง

เพราะคนที่มีอาการ บางคนอาจมีอีโก้สูง และเป็นลักษณะของ One man show ทำอะไรด้วยตัวเอง ไม่ชอบขอความช่วยเหลือ ขณะเดียวกันก็ไม่ชอบช่วยเหลือใคร ลองแบ่งปันด้วยการให้ความช่วยเหลือ จากนั้นผู้คนจะชื่นชมคุณจากใจจริงของพวกเขา

  • ปรับ Mindset ใหม่ ไม่ใช่คนเก่งแต่ก็ทำงานได้

จงมั่นใจในความสามารถและศักยภาพที่เรามี ว่าเราสามารถทำงานนั้นได้จริง ๆ แล้วจากนั้นค่อย ๆ เรียนรู้และลงมือทำ หากรู้สึกว่าหนักหนาระหว่างกำลังทำงานนั้น ให้ขอความช่วยเหลือ อย่าแบกรับไว้คนเดียว

  • ปรึกษาแพทย์

หากสุดท้ายแล้วไม่สามารถปรับทัศนคติหรือเปลี่ยนความคิดตัวเองและหายจากอาการนี้ได้ อาจต้องให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญช่วยหาหนทางแก้ไข ก่อนที่อาการจะแย่ลง แล้วนำไปสู่การเป็นโรคซึมเศร้าต่อไป

อย่าไปปล่อยให้งาน เพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน หรือสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน กดดันคุณมากจนเกินไป หากไม่สามารถปรับที่คนอื่นหรือปัจจัยแวดล้อมได้ ก็ปรับที่ตัวเราเอง มองหางานใหม่ที่กดดันน้อยลง มีเวลาพักผ่อนของตัวเองมากขึ้นก็จะช่วยให้คุณห่างไกลจากอาการ Imposter syndrome ได้ มองหางานใหม่ที่ตรงใจ โหลดแอปพลิเคชัน JobsDB ไว้เลย

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

JobsDB Mobile App

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/5-โรคมนุษย์เงินเดือน/

More from this category: ความอยู่ดีมีสุขในที่ทำงาน

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่าผู้สมัครค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอะไรใน Jobsdb? สำรวจคำค้นหาที่ได้รับความนิยมเพื่ออัพเดทเทรนด์ใหม่เสมอ

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
ท่านได้ยอมรับคำประกาศเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล และนโยบายความเป็นส่วนตัวเพื่อให้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน หากท่านมีอายุต่ำกว่า 20 ปี ท่านได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง เพื่อยินยอมให้ Jobsdb และบริษัทในเครือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ท่านสามารถยกเลิกได้ทุกเวลา