Key Takeaway
คนอื่นอาจจะไม่ได้รู้จักคุณอย่างถ่องแท้ แต่บางครั้งคุณก็ไม่ได้รู้จักตัวเองมากพอเช่นกัน เพราะฉะนั้น จึงเกิดเทรนด์การทดสอบ MBTI หรือ Myers-Briggs Type Indicator ขึ้นมานั่นเอง โดยจะมีแบบทดสอบให้เราตอบคำถาม เพื่อที่ระบบจะได้ประมวลจากคำตอบนั้นๆ แล้วออกมาเป็นผลลัพธ์ ที่มีตัวอักษร 4 ตัว แล้วแบ่งไปตามบุคลิกภาพที่แบ่งออกไปได้มากถึง 16 รูปแบบเลยทีเดียว
การทดสอบบุคลิกภาพด้วยวิธีนี้ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน และถือว่าเป็นเทรนด์ที่ฮอตฮิตกันมาอย่างต่อเนื่อง เพราะหลายๆ คนไม่เข้าใจในตัวเองได้มากพอที่จะพาตัวเองพัฒนาไปสู่อีกขั้นของชีวิต โดยเฉพาะในเรื่องการทำงาน ที่มีคนไม่น้อยเลยที่ยังไม่มีความฝัน ไม่มีเป้าหมายในการทำอาชีพไหนเลย ดังนั้น หากใครทดสอบ MBTI เรียบร้อย แล้วผลลัพธ์ออกมาเป็น INFP ลองมาดูนิสัยของคนกลุ่มนี้กัน ว่าเหมาะกับอาชีพแบบไหน เพื่อเป็นแนวทางในการตามหาความฝันในการประกอบอาชีพ
ภาพรวมของคนกลุ่ม INFP จะมีบุคลิกภาพชัดเจน จึงเป็นบุคลิกภาพที่หายาก คือการเป็นคนเข้าอกเข้าใจผู้อื่นอยู่เสมอ ซื่อสัตย์ คิดอย่างรอบคอบ มีความคิดสร้างสรรค์ และมีจินตนาการสูง เป็นคนที่มีนิสัยไม่ชอบเปิดเผยตัวเอง ชอบอยู่กับตัวเอง แต่ก็คอยสังเกตคนอื่นอยู่เสมอ และจะชอบอยู่เงียบๆ แล้วคอยสนับสนุนคนอื่น ด้วยความหวังที่จะให้คนอื่นมีความสุข และเชื่อมั่นในคุณค่าของตัวเองอยู่เสมอ
แน่นอนว่าคนเรามีนิสัยไม่เหมือนกัน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคนที่แตกต่างกันจะสานสัมพันธ์ที่ดีกันไม่ได้ หากคุณมีนิสัยที่แตกต่างกับคนกลุ่มนี้ แต่ก็ยังอยากจะสานสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบเพื่อน คนรัก หรือความสัมพันธ์รูปแบบไหนก็ตาม ก็มีเรื่องที่ควรจะระวังไว้ด้วยเช่นกัน
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าคนกลุ่มนี้มีอารมณ์อ่อนไหวง่ายมาก ดังนั้น จึงควรระวังเรื่องคำพูด และการแสดงออกให้มาก เพราะคนกลุ่ม INFP ชอบเห็นใจคนอื่นมากกว่าตัวเอง และพร้อมที่จะใส่ใจทุกการกระทำของทุกคน รวมถึงยังไม่แสดงออกให้เห็นอีกด้วยว่ารู้สึกอย่างไร
นอกจากนี้ ควรเคารพในทุกการตัดสินใจ แม้การตัดสินใจในครั้งนั้นจะดูเป็นไปไม่ได้ และอยู่ในอุดมคติมากเกินไป แต่ถ้าหากความคิดมันมากเกินไปจนไม่อยู่กับความจริงแล้ว ก็อาจจะต้องเตือนด้วยดีๆ พยายามอย่าพูดจาทำร้ายจิตใจกันเกินไป
ทฤษฎี Cognitive Function เป็นทฤษฎีที่ถูกคิดค้นโดย Carl Jung นักจิตวิทยาชื่อดัง ซึ่งทฤษฎีนี้คือการทำงานของความคิด เป็นกระบวนการที่สมองใช้ในการคิด ตั้งแต่การรับข้อมูล การเรียนรู้ การจดจำ การประมวลผล ไปจนถึงการการใช้เหตุผลในการตัดสินใจ
Cognitive Function ประกอบไปด้วยฟังก์ชันหลัก (Dominant Function) ฟังก์ชันผู้ช่วย (Auxiliary Function) ฟังก์ชันลำดับสาม (Tertiary Function) และฟังก์ชันด้อย (Inferior Function) โดยแต่ละบุคลิกภาพของ MBTI จะมีฟังก์ชัน Cognitive Function ที่แตกต่างกันไป แต่ของคนกลุ่ม INFP จะประกอบไปด้วยองค์ประกอบสำคัญ ดังนี้
คนกลุ่ม INFP จะมีลักษณะนิสัยที่เฉพาะตัว ซึ่งแต่ละด้านก็มีประโยชน์ในสถานการณ์การทำงานด้วย มาดูกันว่าบุคลิกภาพของคนกลุ่ม INFP มีนิสัยการทำงานอย่างไร
คนกลุ่ม INFP มีความเป็นผู้นำที่ใจกว้าง ไม่ยึดติดในกฎเกณฑ์ เห็นแก่คนอื่น รับฟังคนอื่นอยู่เสมอ ทำให้คนกลุ่มนี้มีความสามารถในการเจรจา และให้คำแนะนำผู้อื่น
นักสังคมสงเคราะห์ เป็นอาชีพที่มีหน้าที่ช่วยเหลือกลุ่มคนที่อยู่ในสถานการณ์ยากลำบาก ให้การสนับสนุน ชี้แนะแนวทางการใช้ชีวิต ให้โอกาสสำหรับเด็กด้อยโอกาสให้ได้เรียนหนังสือ ผู้ป่วยที่ไม่มีปัจจัยมากพอจะไปรักษาตัว นักสังคมสงเคราะห์จะมาช่วยอำนวยความสะดวกให้คนกลุ่มนี้ได้มีโอกาสเหมือนกับคนอื่นๆ ในสังคม
INFP ที่สนใจจะทำอาชีพนี้ ไม่ว่าจะเรียนจบอะไรมาก็สามารถทำงานนี้ได้ หากมีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น และใจกว้างมากพอที่จะดูแลคนอื่นที่ไม่ใช่คนในครอบครัว แต่ทางที่ดีควรเรียนสายสังคมมาก่อน เพราะสายงานนี้จำเป็นต้องทำความเข้าใจในความเป็นมนุษย์มากพอสมควร การเรียนสายสังคมที่จะพาเราไปสู่แนวคิดใหม่ๆ ย่อมเป็นทางเลือกที่ดี
นักเขียน เป็นอาชีพสำหรับผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการใช้ภาษา หรือผู้ที่ชอบถ่ายทอดความคิดผ่านการเขียน จำเป็นต้องมีความคิดสร้างสรรค์มากพอที่จะเขียนเนื้อหาใหม่ๆ และมีความใส่ใจในรายละเอียดปลีกย่อยที่ใครหลายคนไม่ทันสังเกต จึงไม่จำเป็นต้องจบอะไรมาเป็นพิเศษก็สามารถทำงานด้านนี้ได้ แต่ทางที่ดีก็ควรมีความเข้าใจในการใช้ภาษามากพอสมควร และต้องมีคลังศัพท์ในหัวมากพอที่จะนำบรรยายเนื้อหายาวๆ ไม่ให้น่าเบื่อ หาก INFP อยากเป็นนักเขียน อาจจะลองเรียนคณะอักษร คณะศิลปศาสตร์ เป็นต้น
สำหรับอาชีพนักเขียน ไม่จำเป็นต้องเขียนหนังสือเพียงเท่านั้น แต่ยังมีนักเขียนหลายประเภท เช่น นักเขียนเพื่อทำการตลาด นักเขียนเพื่อการโฆษณา นักเขียนนิยายออนไลน์ เป็นต้น
อาชีพสัตวแพทย์มีหน้าที่ดูแลรักษาสัตว์ทุกประเภท เป็นอาชีพที่ต้องใช้ความพยายามเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากการเรียนที่หนักหนาแล้ว ยังต้องเป็นคนที่ไม่เกลียด หรือกลัวสัตว์ด้วย จึงควรเป็นคนที่มีความเห็นอกเห็นใจอยู่พอสมควร และที่สำคัญคือต้องจบคณะสัตวแพทย์มาด้วย เพื่อเป็นการการันตีว่าจะมีความสามารถมากพอที่จะดูแลชีวิตอื่น
นักจิตวิทยา เป็นอาชีพที่ช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของตัวเองมากขึ้น เพื่อเป้าหมายในการพัฒนาความเป็นอยู่ในชีวิตให้ดีขึ้น เพราะสุขภาพจิตใจเป็นส่วนสำคัญต่อการมองโลก หากสุขภาพจิตไม่ดี การใช้ชีวิตในประจำวันก็แย่ลงตามไปด้วย INFP ที่อยากเป็นนักจิตวิทยาจึงจำเป็นต้องเป็นคนเข้าใจอกเข้าใจผู้อื่น มองโลกในมุมกว้าง พร้อมที่จะรับฟังความกังวลใจของผู้อื่น
ถ้าอยากเป็นนักจิตวิทยา จำเป็นต้องจบปริญญาตรีสาขาจิตวิทยา หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง เพราะการจะเป็นนักจิตวิทยาได้ จำเป็นต้องเรียนรู้ไปถึงศาสตร์แห่งพฤติกรรมมนุษย์ จำเป็นต้องวิเคราะห์ให้ได้ว่าต้องแก้ไขสถานการณ์นั้นๆ อย่างไร
นักกายภาพบำบัด เป็นอาชีพที่ต้องช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวจากอาการบาดเจ็บ ที่อาจจะมาจากโรค หรือจากการผ่าตัด จึงจำเป็นต้องคอยสังเกตพฤติกรรมการเคลื่อนไหวอยู่เสมอ เพื่อคิดหาวิธีลดความเจ็บปวด และป้องกันความเสี่ยงอื่นๆ อาจจะใช้เทคนิคการบำบัดด้วยมือ หรืออาศัยอุปกรณ์ช่วยเหลือ เพื่อให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่ดีขึ้น
นักกายภาพบำบัดจำเป็นต้องเรียนจบปริญญาในสาขาที่เกี่ยวข้อง เพราะต้องมีใบอนุญาตในการดูแลผู้ป่วยด้วย ประกอบกับต้องมีความรักในการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างแท้จริง เพื่อประสิทธิภาพในการรักษานั่นเอง
คนกลุ่มที่มีบุคลิกแบบ INFP มักมีนิสัยที่เห็นอกเห็นใจผู้อื่นอยู่เสมอ ไม่ยึดติดในกฎเกณฑ์ มีความคิดสร้างสรรค์ และมีจุดยืนของตัวเองอย่างชัดเจน มีแนวคิดที่พร้อมจะทำให้โลกน่าอยู่มากขึ้น อีกทั้งยังมีความเป็นผู้นำ ปรับตัวได้เร็วในที่ทำงาน จึงเหมาะกับอาชีพที่มีหน้าที่ช่วยเหลือ และให้คำปรึกษาผู้อื่น อย่างอาชีพนักจิตวิทยา นักกายภาพบำบัด สัตวแพทย์ นักสังคมสงเคราะห์ หรือนักเขียน
หากคุณมีบุคลภาพตามแบบ INFP แล้วอยากหางานที่เหมาะสมกับตัวเอง ลองหาใน JobsDB ครบครันทุกเรื่องการหางาน ไม่ว่าคุณจะมีความฝันอยากทำอาชีพอะไร ที่นี่เปิดโอกาสให้คุณได้สำรวจอาชีพ พร้อมเปรียบเทียบเงินเดือน แถมเว็บไซต์ยังใช้งานง่าย สามารถระบุประเภทงานที่ต้องการทำได้ตามความต้องการ แค่ไม่กี่ขั้นตอนก็ช่วยให้คุณได้งานที่อยากทำแล้ว