หากพูดถึงงานไอที ถ้าฟังเผินๆ บางคนมักนึกถึงงานที่เกี่ยวกับการซ่อมคอมพิวเตอร์ หรือแผนกที่คอยดูแลความเรียบร้อยเรื่องระบบคอมพิวเตอร์ในบริษัท แต่จริงๆ แล้วสายงานไอทีนั้น บอกเลยว่ามีหลายอย่างให้ทำมากกว่าที่คุณคิด แถมในปัจจุบันยังถือเป็นอีกหนึ่งสายงานที่เป็นที่ต้องการของตลาดงานเป็นอย่างมาก มาดูกันว่ามีตำแหน่งงานไอทีไหนที่น่าสนใจบ้าง
เนื่องจากในปัจจุบันถือเป็นยุคแห่งเทคโนโลยีอย่างแท้จริง หลายบริษัทต่างก็ให้ความสำคัญกับเทรนด์แห่งโลกดิจิทัลกันทั้งนั้น เพราะถือว่าเรื่องของเทคโนโลยีคือส่วนหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนให้ธุรกิจเดินหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยตำแหน่งงานไอทีที่เป็นต้องการของนายจ้าง มีดังนี้
เริ่มต้นด้วยตำแหน่งที่ทำหน้าที่ในการจัดการข้อมูลทั้งหมดของระบบ ไล่ตั้งแต่การระบุชนิดของข้อมูล การวางโครงสร้างของระบบ ไม่ว่าจะเป็นระบบหลังบ้าน และดูแลการใช้งานระบบหน้าบ้าน นอกจากนี้ยังต้องทำหน้าที่ในการจัดระเบียบข้อมูลต่างๆ ให้เข้าที่เข้าทาง สามารถนำไปใช้งานต่อได้ โดยจะเป็นการประสานงานกับตำแหน่ง Data Scientist
ซึ่งถือเป็นตำแหน่งงานที่อาศัยทักษะหลายๆ ด้านเข้าไว้ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นระบบ ETL, การดูแลข้อมูลทั้งในเชิงโครงสร้างและสถิติ, การดึงข้อมูลออนไลน์ หรือการดึงข้อมูลแบบเรียลไทม์ รวมไปถึงการปรับข้อมูลที่ได้รับจาก Data Scientist นำไปต่อยอดในการสร้างแอปพลิเคชันต่ออีกด้วย
ตำแหน่งนี้เปรียบเสมือนเป็นนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล หรือผู้เชี่ยวชาญที่ทำหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลต่างๆ อย่าง Big Data มาวิเคราะห์ผ่านการใช้เทคนิคขั้นสูง เพื่อหาข้อมูลเชิงลึกต่างๆ ก่อนจะนำมาต่อยอดในการสร้างโมเดล เพื่อหารูปแบบของข้อมูล รวมถึงการหาความน่าจะเป็นที่อาจเกิดขึ้น โดยจะมีการนำข้อมูลที่ได้หรือผลลัพธ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นไปใช้เพื่อพัฒนาธุรกิจต่อไป
โดยทักษะที่จำเป็นของตำแหน่งนี้คือ ความรู้ด้านคณิตศาสตร์และสถิติเชิงลึก เช่น Algebra, Probability และ Calculus เพื่อการใช้ทำความเข้าใจเรื่องข้อมูลและการตีความผลลัพธ์ของข้อมูล อีกทั้งยังต้องมีความรู้ในการใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น Data Mining การทำ Machine Learning รวมถึงความเข้าใจโปรแกรมฐานข้อมูล เช่น SQL Server, Oracle และ SAP ปิดท้ายด้วยความสามารถในด้านการเขียนโปรแกรม
Data Analyst คือ นักวิเคราะห์ข้อมูลที่ทำหน้าที่ในการนำข้อมูลขนาดใหญ่ของลูกค้า หรือ Big Data มาวิเคราะห์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์หาข้อมูลธุรกิจเชิงลึก ก่อนจะนำมาทำเป็นรายงานเพื่อประกอบการตัดสินใจ และการวางแผนกลยุทธ์ให้ตอบโจทย์เป้าหมายที่วางไว้ให้สำเร็จ
คนที่เป็น Data Analyst ต้องมีความเข้าใจทางด้านธุรกิจอยู่บ้าง เนื่องจากต้องเจอกับข้อมูล ความต้องการของลูกค้า และโจทย์ต่างๆ ที่ท้าทายอยู่ตลอดเวลา ซึ่งทักษะที่ควรมีติดตัวก็เช่น ความรู้ด้านสถิติ ความสามารถในการแสดงข้อมูลที่มีความซับซ้อนให้เข้าใจได้ง่าย ความเข้าใจในเรื่องของฐานข้อมูล รวมถึงทักษะในการใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น MS Excel, MS Access หรือ SQL การเขียนโค้ด เป็นต้น
ผู้พัฒนาเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันที่มีหน้าที่รับผิดชอบในส่วนของการพัฒนาแพลตฟอร์มที่ต้องสื่อสารกับผู้ใช้งาน ซึ่งเป็นส่วนที่ผู้ใช้งานมองเห็นและสามารถสื่อสารได้โดยตรงกับระบบ รวมไปถึงการควบคุมดูแลหน้าตาของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน ให้มีหน้าตาที่สวยงามและสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามสิ่งที่ได้ออกแบบไว้
ทักษะหลักๆ ที่ต้องมีติดตัวคือเรื่องการเขียนโค้ดด้วยภาษา Programming เช่น HTML, CSS หรือ JavaScript เป็นต้น รวมไปถึงความสามารถในการใช้ Front End Frameworks, Front End Libraries และอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากนี้ยังต้องเป็นคนที่มีความรู้พื้นฐานด้าน Business และ Product เพื่อช่วยให้เข้าใจบริบทการทำงานได้ดีขึ้น
ผู้พัฒนาเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันที่มีความรับผิดชอบในเรื่องของระบบหลังบ้าน ทำหน้าที่ในการสร้าง ควบคุม ดูแลระบบที่ทำงานภายในเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน เช่น การเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล การจัดการกับข้อมูลผู้ใช้ การสร้างฟังก์ชันการทำงานต่างๆ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันได้อย่างไม่มีปัญหา ตรงตามที่ได้ออกแบบไว้
แน่นอนว่าทักษะหลักๆ ที่ควรมีก็คือเรื่องของการเขียนโค้ดเช่นกัน ผ่านภาษา Programming ที่ต้องใช้ อาทิ C#, Golang, JavaScript, Java, Ruby, Python หรือ PHP เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องมีความรู้ด้าน Database ด้านการจัดการ Server มีความรู้เกี่ยวกับ API รวมไปถึงทักษะเฉพาะอื่นๆ อีกมากมาย ส่วน Soft Skill ที่ต้องมีก็ต้องเป็นคนที่มีความรู้พื้นฐานด้าน Business และ Product เพื่อช่วยให้เข้าใจบริบทการทำงานได้ดีขึ้น เช่นเดียวกับ Front-End Developer
นักพัฒนาเว็บไซต์ที่ต้องอาศัยทักษะในการช่วยพัฒนาทั้งในส่วนของ Front End และ Back End แต่จริงๆ แล้วคนที่ทำงานตำแหน่งนี้ อาจจะไม่จำเป็นต้องเก่งในด้านการพัฒนาทั้ง Front End และ Back End แต่ต้องมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ เนื่องจากต้องทำหน้าที่ในการดูภาพรวมของทั้งหมด และเชื่อมต่อทั้งหน้าบ้านกับหลังบ้านเข้าด้วยกัน ซึ่งถือเป็นส่วนที่สำคัญเช่นกัน เพราะเปรียบเสมือนคนกลางที่จะช่วยพัฒนาหรือประสานให้ทั้งหน้าบ้านและหลังบ้านทำงานร่วมกันได้อย่างไม่ติดขัด
ทักษะที่จำเป็น Full Stack Developer เช่น ภาษา Programming อย่าง Ruby, PHP หรือ Python ต้องมีความรู้ด้าน HTML, CSS และ JavaScript มีความถนัดและเชี่ยวชาญด้าน Front End Framework เช่น ReactJS หรือ Angular มีความเชี่ยวชาญด้าน Version Control เช่น Git รวมไปถึงควรมีเข้าใจในภาพรวมของโครงสร้างการออกแบบและความปลอดภัยของเว็บไซต์
UX Designer หรือ User Experience Designer เป็นตำแหน่งที่ต้องหาข้อมูล ผสานกับการทำความเข้าใจความต้องการของผู้ใช้งาน ก่อนจะนำมาต่อยอดเป็นไอเดียในการสร้างสรรค์หรือออกแบบสินค้าและบริการให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด โดยหน้าที่หลักๆ ก็คือทำการค้นคว้า ออกแบบ ทดสอบ และประเมินผลสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้งาน แล้วต่อด้วยการออกแบบชิ้นงาน เพื่อนำมาประยุกต์กับการออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ (User Experience) เช่น Design Thinking, Design Sprint และ Lean UX
ทักษะที่ต้องมี ได้แก่ การพัฒนา Customer Journey การทำ User Flow การร่างภาพต้นแบบ (Wireframe) การสร้างต้นแบบ (Prototype) และการทดสอบกับผู้ใช้ (Testing) นอกจากนี้ยังต้องมีความรู้ในหลักการออกแบบต่างๆ เช่น องค์ประกอบศิลป์ การออกแบบ UI สำหรับเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน
สำหรับตำแหน่งนี้หลายบริษัทอาจเรียกต่างกัน เช่น Quality Assurance Engineer หรือ Quality Engineer ซึ่งจะทำหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพของซอฟต์แวร์ที่ผลิตขึ้นโดยโปรแกรมเมอร์หรือนักพัฒนาซอฟต์แวร์ ผ่านการเทสต์ระบบต่างๆ ผสานการตรวจสอบหาข้อบกพร่องหรือข้อผิดพลาดในซอฟต์แวร์นั้นๆ ก่อนที่จะส่งมอบชิ้นงานให้แก่ลูกค้าต่อไป หากพบเจอปัญหาหรือจุดบกพร่องก็สามารถแก้ไขได้ทันที ก่อนที่งานจะถึงมือลูกค้า
โดย Software Tester ต้องมีความรู้พื้นฐานของการเทสต์ระบบซอฟต์แวร์ต่างๆ มีความรู้เรื่องของวงจรของการเทสต์ระบบซอฟต์แวร์ สามารถอ่านสถิติได้อย่างแม่นยำ รวมไปถึงความสามารถในการใช้เครื่องมือต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการเทสต์
คนที่คอยควบคุมแผนงาน ดูแล และพัฒนา Product หรือผลิตภัณฑ์ดิจิทัลให้ตรงตามแผนหรือ Roadmap ที่วางไว้ พร้อมจัดลำดับความสำคัญของงานในทีม Scrum กำหนดขอบเขตของงาน และบริหารจัดการให้โปรเจ็กต์เสร็จสมบูรณ์ ผ่านการวางเป้าหมาย การดำเนินงาน ปิดท้ายด้วยการตรวจสอบว่าสิ่งไหนที่สามารถตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าได้ดีที่สุด
โดยทักษะที่ Product Owner ต้องมี ได้แก่ ทักษะด้านดิจิทัล ทักษะด้านไอที ทักษะด้านการสื่อสาร รวมไปถึงความรู้เบื้องต้นด้านธุรกิจ เพราะต้องเป็นคนคอยพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เติบโต ประสบความสำเร็จ และพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น
เมื่อเราเข้าสู่โลกดิจิทัลอย่างแท้จริง เรื่องของเทคโนโลยีจึงถือว่ามีบทบาทอย่างมากในยุคนี้ นี่จึงทำให้ทุกธุรกิจให้ความสนใจเรื่องนี้กันเป็นอย่างมาก จึงทำให้สายงานไอทีในปัจจุบันไม่ได้มีแค่การซ่อมคอมพิวเตอร์เหมือนอย่างในอดีต แต่กลับมีอีกหลายตำแหน่งในคนที่สนใจได้แสดงความสามารถและต่อยอดในสายอาชีพอย่างมากมาย ใครที่สนใจงานด้านนี้ บอกเลยว่าอนาคตสดใสแน่นอน
งานไอทีสุดฮอต จากหลายบริษัทชั้นนำพร้อมรอเสิร์ฟทุกคนอยู่แล้ว เข้ามาตำแหน่งที่ใช่ บริษัทที่ชอบได้เลยใน JobsDB มีให้บริการแล้ววันนี้ทั้งในเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน