โลกยุคปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและไม่หยุดนิ่ง เนื่องด้วยผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจและสังคมทั่วโลก รวมถึงการเติบโตอย่างแทบไม่อาจคาดเดาของวงการเทคโนโลยีและดิจิทัล ส่งผลให้ธุรกิจเกิดใหม่หรือ สตาร์ทอัป (Startup) มากมายเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปในเวลาไม่นาน เพื่อให้สตาร์ทอัปของคุณมีโอกาสอยู่รอดและเติบโต อาจถึงเวลาแล้วที่จะต้องปรับตัวให้เป็น “Lean Startup”
Lean Startupเป็นแนวคิดการพัฒนาสตาร์ทอัปที่คิดค้นขึ้นโดย อีริก รีส (Eric Ries) ผู้ร่วมก่อตั้ง IMVU แพลตฟอร์มโซเชียลเน็ตเวิร์กโลกเสมือนจริง 3 มิติ โดยนำแนวคิดเรื่องการจัดการการผลิตแบบ “ Lean ” ของโตโยต้า (Toyota) ซึ่งเน้นการลดทอนรายละเอียดที่ไม่จำเป็น และให้ความสำคัญกับการสร้างคุณค่าของสินค้าหรือแบรนด์เป็นหลัก มาประยุกต์เข้ากับการบริหารจัดการสตาร์ทอัป
สำหรับรีส แนวคิดการพัฒนาธุรกิจแบบเดิม ๆ ที่เริ่มต้นจากการสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการขึ้นมาก่อน แล้วค่อยตามหากลุ่มลูกค้าเป้าหมาย (Potential customer) ภายหลัง เป็นวิธีการที่ไม่เอื้อต่อการเติบโตอย่างยั่งยืนของสตาร์ทอัป เพราะมักทำให้สูญเสียทรัพยากรและเวลาโดยไม่จำเป็น รวมถึงได้รับผลตอบแทนไม่คุ้มกับที่เสียไป นำไปสู่การล้มเลิกกิจการในที่สุด
Lean Startup คือแนวคิดที่มาเพื่อหักล้างวิธีการดั้งเดิมข้างต้น โดยเปลี่ยนโฟกัสไปยังการทำความเข้าใจผู้บริโภค เริ่มต้นจากการสำรวจกลุ่มลูกค้าเป้าหมายว่าต้องการอะไร มี Pain point หรือปัญหาใดบ้างที่อยากแก้ไข จากนั้นจึงรวบรวมข้อมูลเป็นไอเดียพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ตอบโจทย์ลูกค้าอย่างแท้จริง และไม่ใช้ทรัพยากรที่มี ไม่ว่าจะเงินทุน แรงงาน หรือเวลา
หลักการสำคัญ มีอยู่ด้วยกัน 5 ประการ ได้แก่
โดยผู้ประกอบการควรนำ 3 ขั้นตอนดังกล่าวมาวนลูปใช้เรื่อย ๆ เพื่อให้มีการปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการอย่างต่อเนื่อง เหมาะสมต่อเหตุการณ์แวดล้อมและความต้องการของลูกค้าในช่วงเวลานั้น ๆ ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจสตาร์ทอัปอยู่รอดและพร้อมดำเนินการต่อไปได้ทุกสถานการณ์
ปัจจุบัน มีผู้ประกอบการหลายรายทั่วโลกนำหลักการนี้ไปใช้ และพัฒนาต่อเนื่องจนกลายเป็นแบรนด์ที่ยั่งยืนและมีแนวทางของตัวเองชัดเจน ตัวอย่างแบรนด์หรือบริษัทที่ประสบความสำเร็จจากการนำหลักการนี้ไปใช้ เช่น IMVU ของอีริก รีส ผู้คิดค้นหลักการนี้เอง, Dropbox, Wealthfront, Grockit, Votizen, Aardvark หรือแม้กระทั่งแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียชื่อดังอย่าง Facebook ก็มีแนวทางปรับปรุงและพัฒนาที่สอดคล้องกับหลักการนี้อย่างต่อเนื่อง
กล่าวโดยสรุปคือ หลักการนี้คือการทำธุรกิจแบบ “น้อยแต่มาก” เริ่มจากการสร้างอย่างน้อย ๆ เท่าที่จำเป็น ตามด้วยการปรับปรุงและพัฒนาทีละน้อย ๆ เฉพาะเท่าที่จำเป็น แต่ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นโมเดลธุรกิจที่เหมาะสำหรับผู้ประกอบการที่มีต้นทุนน้อย แต่ไม่หยุดที่จะเรียนรู้ ทั้งเรียนรู้จากประสบการณ์และข้อผิดพลาด และเรียนรู้จากโลกรอบด้านที่ไม่เคยหยุดหมุน เปรียบเทียบได้กับคนที่อยากมี “หุ่นลีน” ก็ต้องรับประทานอาหารเฉพาะที่มีสารอาหารอันจำเป็นต่อร่างกาย รับประทานในปริมาณที่เหมาะสม และขวนขวายหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอนั่นเอง
ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b8%aa%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%aa%e0%b8%94%e0%b8%b4%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9e%e0%b8%99%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99-start-up/
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/pain-point-%e0%b8%9b%e0%b8%b1%e0%b8%8d%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%98%e0%b8%b8%e0%b8%a3%e0%b8%81%e0%b8%b4%e0%b8%88/
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/root-cause-analysis/
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/design-thinking/
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b8%aa%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%a7%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%98%e0%b8%99%e0%b9%8c/
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/chat-bot-%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b9%89%e0%b8%95%e0%b8%ad%e0%b8%9a%e0%b9%82%e0%b8%88%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b9%8c%e0%b8%98%e0%b8%b8%e0%b8%a3%e0%b8%81%e0%b8%b4%e0%b8%88/