ทักษะที่ควรมีก่อนสมัครงานผู้จัดการ 2022

ทักษะที่ควรมีก่อนสมัครงานผู้จัดการ 2022
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

ในโลกของการทำงาน ทุกคนล้วนตั้งเป้าหมายไว้ให้ตัวเองกันทั้งนั้น โดย 1 ในเป้าหมายที่มนุษยืเงินเดือนระดับเริ่มต้นทุกคนใฝ่ฝันนั่นก็คือการขยับเลื่อนตำแหน่งก้าวขึ้นสู่การเป็นหัวหน้า หรือการเป็นผู้จัดการนั่นเอง แน่นอนว่าการเป็นผู้จัดการ ระดับเลเวลในหน้าที่การงานก็ย่อมต่างจากพนักงานทั่วไปอยู่แล้ว ทั้งในเรื่องของความรับผิดชอบของงานที่เพิ่มมากขึ้น ไปจนถึงการบริหารงานด้านอื่นๆ ที่ต้องเรียนรู้อีกมากมาย ทั้งเรื่องคน เรื่องวิสัยทัศน์ หรือเรื่องๆ อื่นที่จะตามมา ดังนั้นมาดูกันดีกว่า ว่าทักษะสำคัญอะไรบ้างที่ผู้จัดการยุค 2022 ควรต้องมีติดตัวไว้

12 ทักษะที่ผู้จัดการยุค 2022 ควรมี

บางคนเมื่อสั่งสมประสบการณ์มาแล้วสักระยะ ก็ย่อมอยากหาก้าวหน้าในอาชีพให้กับตัวเอง ครั้นจะทำงานอยู่ที่เก่า ผู้จัดการคนเก่าก็ยังอยู่ โอกาสในการเลื่อนตำแหน่งก็ยากตามไปด้วย จึงมีคนจำนวนน้อยที่ตัดสินใจเปิดโอกาสให้กับตัวเองในการลองสมัครงานผู้จัดการ ณ ที่ใหม่ แต่ไม่ว่าจะได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้จัดการในออฟฟิศเดิม หรือการไปสมัครงานผู้จัดการในที่ทำงานใหม่ ก็ย่อมล้วนต้องการทักษะเดียวกันแทบทั้งสิ้น

1. ทักษะการสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดี

เมื่อคุณได้ก้าวขึ้นเป็นผู้จัดการ ย่อมต้องถือเป็นตัวแทนของทีมในการติดต่อกับแผนกอื่นๆ ดังนั้นทักษะการสร้างความสัมพันธ์ถือเป็นสิ่งแรกที่จำเป็น เพื่อการดีลงานที่ไหลลื่นและไม่ให้เกิดปัญหากับทีมอื่น เพราะหากมีคนมาช่วยเหลือแล้วกลับได้การรับตอบที่ไม่ดีจากคุณ ทีมอื่นก็อาจจะนำไปเม้าท์ต่อกันได้

ทั้งนี้ยังรวมไปถึงการสร้างความสัมพันธ์กับคนในทีมของคุณเองด้วย คุณควรทำความรู้จักลูกทีมให้ดี ทั้งในเวลางานและนอกเวลางาน อาจจะมีการนัดกันสังสรรค์นอกเวลางาน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน จนก่อเกิดให้ความสนิทชิดเชื้อ ซึ่งเรื่องเหล่านี้จะช่วยส่งผลให้การทำงานไหลลื่นมากขึ้น หากทุกคนในทีมมีความสนิทสนมกัน

2. ทักษะด้านการบริหารคน

เมื่อสร้างความสนิทสนมกันในทีมได้ระดับหนึ่งแล้ว จุดนี้นี่แหละที่ช่วยส่งผลให้คุณมีทักษะในการด้านบริหารคนตามมาด้วย เพราะหลายคนเคยกล่าวไว้ว่าบางทีเมื่อเราเจองานหนักๆ ก็ยังรับมือไว้ แต่เรื่องคนนี่แหละ ที่น่าเหนื่อยใจมากคน ดังนั้นทักษะด้านการบริหารคน จึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เช่นกัน เพราะหากลูกทีมเกิดความเชื่อมั่นในตัวคุณแล้ว พวกเขาก็จะนับถือในตัวคุณและพร้อมสู้กับงานหนักไปด้วยกัน

อีกทั้งคุณยังควรบาลานซ์ความใจดีและความเข้มงวดให้เหมาะสม เพราะหากคุณเข้มงวดกับลูกทีมมากเกินไป อาจทำให้พวกเขาไม่สบายใจจนอึดอัด ก่อเกิดเป็นความเครียด ส่งผลให้งานออกมาไม่มีประสิทธิภาพ และพาลเกิดอคติในตัวคุณ แต่ในทางกลับกัน หากคุณใจดีเกินไป พวกเขาก็อาจได้ใจ อยากทำอะไรตามใจก็ได้ เพราะเห็นว่าคุณไม่ดุหรือไม่ว่ากล่าวอะไร ดังนั้นคุณจะบริหารเรื่องนี้ให้เหมาะสมเช่นกัน

3. ทักษะการจัดการ

ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้จัดการ ก็บอกตรงตัวตามชื่อตำแหน่งอยู่แล้ว ว่าคุณต้องเต็มเปี่ยมไปด้วยทักษะด้านจัดการ เพราะผู้จัดการ หมายถึง คนที่สามารถจัดการบริหารให้ทีมของตัวเองส่งงานออกมาได้อย่างตรงเวลาและมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการจัดการด้านการมอบหมายงานแก่ลูกน้อง ก็ควรดูอย่างเหมาะสมว่าใครถนัดงานด้านใด ใครมีทักษะที่เหมาะกับงานลักษณะไหน

ซึ่งการมอบหมายงานนี้ต้องวิเคราะห์อย่างถี่ถ้วน ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระของคุณ คุณต้องแน่ใจว่าลูกทีมสามารถทำงานนั้นได้อย่างดี ไม่ใช่กลายเป็นเพิ่มภาระให้คุณในภายหลัง นอกจากนี้ยังรวมไปการจัดการในงานของตัวคุณเองด้วย ที่ต้องบริหารให้ดีเช่นกัน เพราะแน่นอนว่าหน้าที่ความรับผิดชอบต้องเพิ่มขึ้นมาเท่าตัวอยู่แล้ว

4. ทักษะการวางแผน

การก้าวขึ้นเป็นผู้จัดการควรเป็นคนที่วิสัยทัศน์ที่กว้างไกล สามารถมองภาพใหญ่ให้ทีมได้ ว่าจะนำไปพาทีมก้าวไปสู่จุดใด รวมไปถึงการโฟกัสเรื่องต่างๆ ว่าทีมของคุณต้องทำอะไร ใครจะรับผิดชอบในส่วนไหน อีกทั้งการวางแผนถึงอนาคตของทีม ก็เป็นเรื่องที่ต้องคำนึงไม่แพ้กัน หากมีจุดอ่อนที่ค้นพบ ก็ควรวางแผนในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาจุดนั้นให้ดีขึ้น

5. ทักษะการบริหารเวลา

คุณควรศึกษาเรื่องการจัดลำดับความสำคัญและการบริหารเวลาให้ดีด้วย เพราะแน่นอนว่าคุณคือศูนย์กลางของทีม ลำดับแรกคืองานจะต้องหลั่งไหลมาที่คุณก่อน ตามด้วยการกระจายงานให้ลูกทีมเป็นลำดับต่อไป ส่วนใหญ่งานจะถูกแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ สำคัญและเร่งด่วน, สำคัญแต่ไม่เร่งด่วน, ไม่สำคัญแต่เร่งด่วน และไม่สำคัญและไม่เร่งด่วน

โดยคนเป็นผู้จัดการควรเน้นงานที่สำคัญและเร่งด่วนเป็นลำดับแรก ตามด้วยการทำงานสำคัญที่ไม่เร่งด่วนเป็นลำดับที่ 2 ส่วนงานที่ไม่สำคัญแต่เร่งด่วน ก็สามารถกระจายให้ลูกทีมทำได้ ปิดท้ายด้วยงานที่ไม่สำคัญและไม่เร่งด่วน ให้นำมาพิจารณาเป็นลำดับสุดท้ายว่าควรทำดีไหมหรือควรทำตอนไหน

6. ทักษะการแก้ปัญหา

ทักษะข้อนี้ถือเป็นอีกหนึ่งทักษะปราบเซียนเลยก็ว่าได้ เพราะปัญหาย่อมดาหน้าเข้ามาให้ผู้จัดการอย่างคุณคอยแก้ไขตลอดอยู่แล้ว หากคุณขาดทักษะข้อนี้ไป อาจก่อให้เกิดความเครียดขึ้นได้ ดังนั้นคุณควรจะต้องใช้สติอย่างยิ่งในการแก้ไขแต่ละปัญหา ใช้ความคิดในการแก้มันอย่างดีที่สุด เพื่อช่วยให้ทีมของคุณทำงานได้อย่างราบรื่นและมีคุณภาพมากที่สุด

โดยการใช้วิธีคิดเชิงสร้างสรรค์นี่แหละที่จะเป็นตัวช่วยในการแก้ปัญหาของคุณได้ โดยคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดกับทีมของคุณให้มากที่สุด รวมไปถึงการยึดเป้าหมายในการทำเพื่อบริษัทเป็นหลัก นอกจากนี้ยังควรมีการเตรียมความพร้อมในการรับมือปัญหาที่ยังไม่เกิดขึ้นอีกด้วย ก่อนที่ปัญหาจะเกิดขึ้นจริง ก็อาจมีส่วนช่วยลดปัญหาในอนาคตได้

7. ทักษะด้านการตัดสินใจ

การเป็นผู้จัดการที่ดีย่อมต้องเป็นคนที่สามารถตัดสินใจในทุกเรื่องได้ และต้องมีความเด็ดขาดในการตัดสินใจ หากคุณเป็นที่ลังเลและไม่กล้าตัดสินใจอะไรแล้วล่ะก็ ย่อมส่งผลต่อตัวคุณและทีมอย่างแน่นอน ดังนั้นจึงควรคิดวิเคราะห์ให้ถี่ถ้วนผสานความรวดเร็ว แล้วตัดสินใจลงไปให้เด็ดขาดเลย รวมถึงคุณยังควรมีแพลนบีเสมอ เพื่อรองรับผลที่จะตามมา หากการตัดสินใจครั้งนั้นไม่ไปอย่างที่คุณคิด

8. ทักษะการให้คำแนะนำ

แน่นอนว่าการเป็นผู้จัดการก็เปรียบเสมือนการเป็นเมนเทอร์ให้ลูกทีมนั่นเอง หากมีจุดไหนที่คุณต้องตำหนิลูกทีม ก็ควรให้คำแนะนำอย่างมีเหตุผล ไม่ควรใช้อารมณ์อย่างเด็ดขาด เพราะนั่นอาจทำให้ลูกทีมเครียด จนส่งผลให้เขาลาออกไปหางานใหม่ได้ ส่วนเรื่องการชมก็เป็นสิ่งที่ควรทำ หากผลงานของเป็นพวกเขาออกมาเป็นที่น่าพอใจ เพราะทุกคนก็ย่อมต้องการกำลังใจจากการเหน็ดเหนื่อยในการทำงานแทบทั้งสิ้น

นอกจากคำแนะนำเรื่องงานแล้ว ยังรวมไปถึงเรื่องอื่นๆ อีกด้วย เพราะนั่นก็มีส่วนช่วยสร้างความสัมพันธ์ในทีมของคุณให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น

9. ทักษะการเจรจา

คุณถือเป็นตัวแทนของทีม ดังนั้นหากมีงานที่ต้องติดต่อทีมอื่นหรือการดีลงานกับลูกค้า คุณจะต้องรับหน้าที่นั้นเป็นเพราะเป็นผู้จัดการ ทักษะการเจรจาจึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเรียนรู้ เจรจากับคนนอกทีมอย่างไร เพื่อให้ทีมของคุณได้รับผลกระทบน้อยที่สุด

10. ทักษะการนำเสนอ

ในบางครั้งผู้จัดการย่อมมีการประชุมข้ามแผนก เพื่อไปนำเสนอผลงานของทีมให้บริษัทหรือทีมผู้บริหารได้รู้ ดังนั้นทักษะการนำเสนอก็ไม่ควรมองข้าม คุณควรรู้ทุกอย่างในทีมของคุณ เพื่อนำไปจัดทำเป็นแบบแผนหรือการนำเสนอแก่ทีมอื่น ทั้งนี้คุณอาจจะต้องทักษะการทำพรีเซนเทชันเข้ามาช่วย เพื่อให้คนอื่นนอกทีมเห็นภาพงานของทีมคุณได้ชัดเจน รวมไปถึงทักษะการนำเสนอด้านการพูด ที่ควรต้องมีความฉะฉานและความน่าเชื่อถือ เพราะการเป็นผู้จัดการถือเป็นพนักงานอีกหนึ่งระดับเลเวลที่ต้องได้รับความไว้วางใจและความน่าเชื่อถืออยู่แล้ว หากคุณขาดความคล่องตัวในการพูด อาจทำให้ภาพลักษณ์ของคุณและทีมเสียหายได้

11. ทักษะการวิเคราะห์

การทำงานที่ดีควรมีการวิเคราะห์ถึงคู่แข่งหรือการวิเคราะห์ตลาดด้วย ควรดูว่าเทรนด์สมัยนี้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง เพื่อนำมาดัดแปลงให้เข้ากับเนื้องานของทีมคุณเอง เพราะการวิเคราะห์ต่อเทรนด์ต่างๆ นั้น ถือเป็นส่วนช่วยที่ดีเลยแหละ ที่จะพัฒนางานรวมไปถึงทักษะของตัวคุณเองและลูกทีมให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

12. ทักษะภาษาอังกฤษ

ปืดท้ายกันที่ทักษะที่หลายคนอาจมองข้าม แต่จริงๆ แล้วถือเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้จัดการไม่แพ้ทักษะอื่นๆ เพราะสมัยนี้ไม่ว่าใครๆ ก็เน้นการสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษกันทั้งนั้น ยิ่งเป็นระดับผู้จัดการขึ้นไปด้วยแล้ว ภาษาอังกฤษยิ่งสำคัญ เริ่มตั้งแต่การสนทนา การอ่าน ไปจนถึงการเขียน เพราะคุณอาจต้องมีโอกาสดีลงานกับลูกค้าชาวต่างชาติก็เป็นได้ ส่วนการเขียนที่สำคัญเพราะว่า สมัยนี้หลายที่มักนิยมใช้ภาษาอังกฤษในการทำสื่อสารทางอีเมล รวมไปถึงการทำพรีเซนเทชันที่นิยมใช้ภาษาอังกฤษกันมากขึ้น สิ่งเหล่านี้ก็ถือเป็นส่วนช่วยให้ทีมคุณดูเป็นมืออาชีพมากขึ้นด้วย

สรุปทักษะที่ควรมีก่อนสมัครงานผู้จัดการ 2022

จริงๆ แล้วการเป็นผู้จัดการนั้นไม่ใช่เรื่องยากแต่อย่างใด เพราะอย่างไรเสียเป้าหมายการทำงานของมนุษย์เงินเดือนทุกคน ก็ย่อมต้องการความเติบโตอยู่แล้ว ในสักวันหนึ่งคุณก็ต้องได้ก้าวขึ้นเป็นผู้จัดการอยู่ดี ดังนั้นการฝึกฝนทักษะต่างๆ เหล่านี้จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ขอเพียงคุณลองเปิดใจ อย่ากดดันตัวเอง อย่าเครียด แล้วความก้าวหน้าที่คุณใฝ่ฝัน ก็จะโดยด้วยกลีบกุหลาบเอง

ส่วนใครที่กำลังมองหางานผู้จัดการดีๆ อยู่ล่ะก็ ทาง JobsDB ก็พร้อมเสิร์ฟงานคุณภาพจากบริษัทชั้นนำมากมายให้คุณได้เลือกสมัครกันเพียบ!

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

JobsDB Mobile App

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b8%9c%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%88%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9d%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%82%e0%b8%b2%e0%b8%a2/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b9%81%e0%b8%95%e0%b8%81%e0%b8%95%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%ab%e0%b8%a7%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%87/

More from this category: สมัครงาน

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่าผู้สมัครค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอะไรใน Jobsdb? สำรวจคำค้นหาที่ได้รับความนิยมเพื่ออัพเดทเทรนด์ใหม่เสมอ

สำรวจหัวข้อที่เกี่ยวข้อง

เลือกสิ่งที่สนใจเพื่อเรียกดูอาชีพที่เกี่ยวข้อง

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
ท่านได้ยอมรับคำประกาศเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล และนโยบายความเป็นส่วนตัวเพื่อให้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน หากท่านมีอายุต่ำกว่า 20 ปี ท่านได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง เพื่อยินยอมให้ Jobsdb และบริษัทในเครือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ท่านสามารถยกเลิกได้ทุกเวลา