Micro Management บริหารงานอย่างไรให้ได้ใจลูกน้อง เปลี่ยนงานพังเป็นงานปัง

Micro Management บริหารงานอย่างไรให้ได้ใจลูกน้อง เปลี่ยนงานพังเป็นงานปัง
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

Micro management

เรื่องราวของการบริหารคนหรือการบริหารทีมในที่ทำงานนั้น บอกเลยว่าไม่ใช่เรื่องที่ง่าย เพราะนอกจากการต้องบริหารจัดการงานให้เป็นไปตามเป้าหมายแล้ว ยังมีเรื่องของการบริหารคนในทีมเข้ามาร่วมด้วย แล้วยิ่งตอนนี้ที่ Gen Z ได้เริ่มก้าวเข้าสู่ชีวิตการทำงานกันอย่างเต็มตัวแล้ว ก็ยิ่งถือเป็นการสร้างความท้าทายให้แก่หัวหน้าเป็นอย่างมาก เพราะคนในแต่ละ Gen ก็ย่อมต้องมีความคิดที่แตกต่างกันไปตามช่วงวัย ดังนั้นหัวหน้าทีมในยุค 2022 จึงต้องเป็นคนที่สตรองในระดับหนึ่ง ต้องการมีเรียนรู้วิธีบริหารงานอย่างไร ถึงจะได้ครองใจลูกน้องได้อยู่หมัด รวมไปถึงการสร้างบาลานซ์ระหว่าง Micro Management กับ Macro Management ให้ดีอีกด้วย

ทำความรู้จัก Micro Management

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ Micro Management หรือ การบริหารงานแบบจุลภาค กันก่อน ซึ่งคือรูปแบบการบริหารที่หัวหน้าลงมาดูแลทุกดีเทลของทีมอย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของผลงาน รวมไปถึงวิธีการทำงานของลูกน้องในทีมแต่ละคน เผลอๆ อาจลามไปถึงเรื่องส่วนตัวก็เป็นได้ จนใกล้เคียงกับการคำว่าจ้องจับผิด จริงอยู่ที่ว่าการเอาใส่ใจลูกน้องในทีมทุกคน หากมองเผินๆ ก็ถือเป็นสิ่งที่ดี แต่จริงๆ แล้วก็ถือเป็นดาบสองคม เพราะอาจสร้างบรรยากาศความอึดอัดให้เกิดขึ้นในทีมได้ ทำให้ลูกน้องรู้สึกว่าตัวเองไม่ได้รับความไว้วางใจ และรู้สึกว่าตัวเองถูกจำกัดอยู่แต่ในกรอบ

อีกทั้งการที่องค์กรมีเรื่องราว Micro Management มากเกินไป อาจทำให้หัวหน้าโฟกัสไปที่เรื่องราวยิบย่อยมากกว่าการชื่นชนยินดีในความสำเร็จหรือให้คำแนะนำแก่ลูกทีม ซึ่งจริงๆ หน้าที่ของหัวหน้าโดยทั่วไปก็คือการกำหนดเดดไลน์ของงาน ตรวจสอบความถูกต้องและความผิดพลาดของงาน การดูแลภาพรวมของทีม เป็นต้น แต่หากหน้าที่เหล่านี้มีการใส่การบริหารแบบ Micro Management ก็อาจทำให้เกิดความอึดอัดขึ้นในทีมได้

5 สัญญาณที่บอกว่าองค์กรกำลังมี Micro Management

- หัวหน้าไม่สนใจที่จะช่วยเหลือลูกทีม แล้วปล่อยให้ทุกคนเผชิญชะตากรรมกันเอง

- หัวหน้าไม่ได้ให้งานความสำคัญกับงานเท่าที่ควร จนบางครั้งเผลอแสดงความคิดเห็นที่ไม่ตรงประเด็น

- ไม่มีการชื่นชมยินดีจากหัวหน้างานให้ฝ่ายอื่นได้รับรู้ เมื่อมีความสำเร็จของทีมเกิดขึ้น

- เกิดการแทรกแซงการตัดสินใจของคนอื่นโดยหัวหน้าของคุณ

- หัวหน้ามักเก่งในเรื่องการติเตียนลูกน้องเมื่อทำผิด มากกว่าที่จะให้คำแนะนำเพื่อปรับปรุงแก้ไข

ข้อเสียของการบริหารแบบ Micro Management

หากอธิบายแบบง่ายๆ ว่า Micro Management เป็นการสะท้อนความจู้จี้จุกจิกของหัวหน้า แน่นอนว่าก็คงไม่มีลูกน้องคนไหนอยากทำงานกับหัวหน้าที่เป็นแบบนี้แน่นอน และหากหัวหน้าไม่รู้จักปรับตัวเอง ก็อาจส่งผลเสียตามมาแก่ทีมหรือแก่บริษัทได้ เราเลยยกตัวอย่างข้อเสียของ Micro Management มาให้ได้ดูกัน

ทำให้พนักงานเครียดจนไม่อยากมาทำงาน

หากลองมองย้อนกลับกัน เราก็คงอยากทำงานในที่ๆ ทำให้เราอยากตื่นมาทำงานแบบมีความสุขทุกวัน เช่นเดียวกับลูกน้อง พวกเขาก็ต้องคิดแบบนั้นเช่นเดียวกัน และมันจะเกิดความรู้สึกขึ้นไม่ได้เลย หากผู้นำทีมเป็นผู้ที่จู้จี้จุกจิกและหมั่นสร้างความกดดันให้เกิดขึ้นภายในทีมอยู่เสมอ เผลอๆ เมื่อพนักงานสะสมความเครียดจนถึงขีดสุด อาจส่งผลให้เขาทำตัวเป็นปฏิปักษ์หรือต่อต้านกับหัวหน้าทีมได้ สุดท้ายก็ลงเอยที่การยื่นใบลาออก

พนักงานไม่กล้าเสนอความคิดเห็น

การเข้ามีส่วนร่วมในทุกอย่างของหัวหน้า อาจเป็นอุปสรรคต่อการเสนอไอเดีย การกล้าแสดงออก หรือความคิดสร้างสรรค์ของพนักงานได้ เมื่อพวกเขาไม่กล้าก็จะส่งให้ลูกทีมนั่งทำงานไปวันๆ แบบตามหน้าที่ หรืออาจเกิดอาการ Quite Quitting ได้ ทั้งๆ ที่จริงๆ พวกเขาก็อยากมีส่วนร่วมหรือออกความเห็นเช่นเดียวกัน เพื่อโชว์ความสามารถด้านต่างๆ ของตัวเอง แต่หากแสดงออกไปแล้วกลับโดนติเตียนกลับมา ก็คงไม่มีลูกน้องอยากจะทำแบบนั้นซ้ำสอง

ก่อเกิดบรรยากาศแย่ๆ ในทีม

การทำงานในทุกๆ วัน ทั้งงานที่เร่งด่วนหรืองานที่ต้องใช้สมาธิ รวมไปถึงจำนวนที่ถาโถมเข้ามา ก็ล้วนแล้วแต่เป็นการก่อให้เกิดความเครียดแก่พนักงานอยู่แล้ว หากต้องเจอการบริหารของหัวหน้าแบบ Micro Management เข้าสมทบอีก ก็จะยิ่งทำให้พนักงานเครียดกันไปแบบทวีคูณ ส่งผลให้บรรยากาศภายในทีมอึมครึมไปด้วย แทนที่จะการผ่อนคลายกันเป็นระยะ คุยหยอกล้อเล่นกันตามประสา มีการพักระหว่างวันบ้าง แต่กลับกลายเป็นว่าเมื่อลูกน้องถูกจับตามองจากหัวหน้าตลอดเวลา พวกเขาก็คงไม่กล้าที่กระดิกตัวไปไหนแน่นอน

แล้ว Macro Management คืออะไร

อีกหนึ่งรูปแบบวิธีการบริหารที่เรียกได้ว่าอาจจะตรงข้ามกับ Micro Management แบบสุดขั้วเลยก็ว่าได้ เพราะ Macro Management หรือการบริหารแบบมหภาค จะเป็นการบริหารที่ให้ความสำคัญกับภาพรวม โดยเป็นการบริหารที่ได้รับอิทธิพลมาจากต่างประเทศ ซึ่งหัวหน้าที่ใช้วิธีการบริหารสไตล์นี้ มักจะไม่ค่อยเข้าไปก้าวก่ายการทำงานของลูกน้องมากนัก แต่จะพุ่งเป้าไปที่ภาพรวมหรือผลลัพธ์ของการทำงานมากกว่า

อีกทั้งยังมีการให้อิสระแก่ลูกน้องในทีม มอบความไว้ใจในการทำงานอย่างเต็มที่ ปล่อยให้พวกเขาได้ลองคิดตัวเอง ลงมือทำเอง หรือเสนอไอเดียได้อย่างอิสระ รวมไปถึงการให้แก้ปัญหาต่างๆ ด้วยตนเอง โดยหัวหน้าจะมีหน้าที่แค่ออกนโยบาย ตั้งเป้าหมาย วางแนวทางการทำงานเบื้องต้น จากนั้นลูกน้องก็สามารถโซโลได้เองเลย จากนั้นหัวหน้าก็แค่รอดูผลงานตอนท้าย หากมีข้อผิดพลาดก็พร้อมที่จะให้คำแนะนำ แต่จะไม่ลงไปยุ่งในระหว่างการลงมือทำงานเลย

ข้อดีของการบริหารแบบ Macro Management

- ช่วยให้บรรยากาศในทีมปราศจากความเครียดและผ่อนคลายมากขึ้น

- สร้างอิสระในการทำงานให้แก่ลูกน้อง จนก่อให้เกิดไอเดียใหม่ๆ มาแชร์ได้

- ช่วยประหยัดเวลาและพลังในการทำงาน เพราะไม่ต้องมาคอยนั่งรายงานหัวหน้าแบบทุกขั้นตอน

ข้อเสียของการบริหารแบบ Macro Management

- บางครั้งงานที่ออกมาจากลูกน้อง อาจจะแตกต่างกัน เพราะหัวหน้าไม่ได้ติดตามงานแบบใกล้ชิด

- หากเกิดปัญหาขึ้นระหว่างทางขึ้น แล้วหัวหน้าไม่รับรู้ จนปัญหานั้นลามใหญ่โต อาจทำให้แก้ไขยากขึ้น

- อาจทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานหละหลวมขึ้น เพราะขาดการดูแลอย่างใกล้ชิด

แล้วบริหารงานแบบไหนดีกว่ากัน?

อย่างที่กล่าวไปคร่าวๆ แล้วว่าการบริหารงานทั้ง 2 แบบนั้น ก็ย่อมมีทั้งข้อดีและข้อเสียด้วยกันทั้งคู่ ขึ้นอยู่กับผู้บริหารหรือหัวหน้าทีม ที่จะดึงส่วนดีของการบริหารทั้ง 2 แบบมาปรับใช้กับบริหารทีมของตนเองได้อย่างไรบ้าง โดยส่วนดีของ Micro Management ก็คือคอยให้คำแนะนำและสนับสนุนไอเดียของพนักงานอยู่เสมอ แต่ต้องจู้จี้จุกจิกจนเกินไป อีกทั้งยังควรมีประชุมอัปเดตงานกันสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง พร้อมให้คำปรึกษาลูกน้องอยู่เสมอ

ส่วน Macro Management ก็สามารถนำมาใช้ในการคัดสรรพนักงานแต่ละคนให้พวกเขาได้ทำงานที่ตรงกับทักษะของพวกเขา จะได้เป็นการผลิตออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ แถมยังช่วยทำให้พวกเขามีความสุขและสนุกกับงานมากขึ้นด้วย

บริหารทีมอย่างไรให้ได้ใจลูกน้อง

อีกหนึ่งคุณสมบัติที่ดีของการเป็นหัวหน้าที่ดีคือ การเป็นกลางในทุกสถานการณ์ ควรต้องบาลานซ์ทุกเรื่องให้เหมาะสม แล้วจุดนี้นี่แหละที่จะช่วยซื้อใจลูกน้องได้เอง พร้อมทั้งนำข้อดีของ Micro และ Macro Management มาปรับใช้ ผสานเทคนิคดังนี้

ไว้ใจลูกน้อง

เมื่อได้มอบหมายงานชิ้นใดชิ้นหนึ่งให้ลูกน้อง สิ่งที่แรกที่ควรทำคือความไว้ใจ ให้อิสระทั้งเรื่องของไอเดียและวิธีการทำงาน ไม่ควรไปจ้ำจี้หรือกะเกณฑ์ว่าเขาต้องทำตามที่เราบอก จากนั้นก็ค่อยดูผลลัพธ์ที่ออกมา

มองโลกในแง่ดี

แม้สถานการณ์ในที่ทำงานอาจจะเต็มไปด้วยความเครียด แต่หัวหน้าทีมที่ดีคือต้องเป็นคนมองโลกในแง่ดี พยายามสร้างขวัญกำลังใจให้ลูกน้องอยู่เสมอ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้พวกเขาพร้อมที่จะฝ่าฟันปัญหาไปด้วยกัน

เป็นผู้ฟังที่ดี

หากลูกน้องมาขอคำปรึกษาหรืออยากแชร์เรื่องราวต่างๆ ก็ควรรับหน้าที่เป็นผู้ฟังที่ดี เพราะหัวหน้ากลับปิดตัวปิดกั้นไม่ให้ลูกน้องเข้าถึงง่ายๆ หรือบางคนกลับชอบพูดแต่เรื่องของตัวเองมากเกินไป นอกจากเรื่องงานแล้ว ก็ควรรับฟังทุกปัญหาทุกเรื่องของลูกทีมด้วย

เข้าใจลูกทีม

คนที่เหน็ดเหนื่อยจากการทำงานที่หนักหน่วงก็ล้วนแล้วแต่อยากได้กำลังใจทั้งสิ้น เมื่อพวกเขาทำงานสำเร็จ ก็ควรแสดงความยินดีอย่างจริงใจ แต่หากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น ก็ควรแนะนำอย่างมีสติ ไม่ใช้ถ้อยคำที่รุนแรงเกินไป ผสานกับการให้คำแนะนำถึงปัญหา

สรุปการบริหารงานอย่างไรให้ได้ใจลูกน้อง

ทั้งการบริหารงานแบบ Micro Management และ Macro Management ก็มีข้อดีข้อเสียด้วยกันทั้งคู่ ดังนั้นหัวหน้าในยุคนี้ จึงควรบาลานซ์ทั้ง 2 สไตล์ให้เข้ากันได้อย่างพอดี แค่นี้ก็จะช่วยให้บริหารทีมของคุณมีประสิทธิภาพมากขึ้น แถมช่วยซื้อใจให้พวกเขาทำงานอยู่กับคุณไปอีกนานๆ เลยล่ะ

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

JobsDB Mobile App

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b8%9a%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%94-%e0%b8%9c%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%b3/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/stress-management/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/6-%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%a5%e0%b9%87%e0%b8%94%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%aa%e0%b8%b3%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b9%87%e0%b8%88/

More from this category: เทรนด์งานยอดฮิตและเงินเดือน

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่าผู้สมัครค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอะไรใน Jobsdb? สำรวจคำค้นหาที่ได้รับความนิยมเพื่ออัพเดทเทรนด์ใหม่เสมอ

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
ท่านได้ยอมรับคำประกาศเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล และนโยบายความเป็นส่วนตัวเพื่อให้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน หากท่านมีอายุต่ำกว่า 20 ปี ท่านได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง เพื่อยินยอมให้ Jobsdb และบริษัทในเครือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ท่านสามารถยกเลิกได้ทุกเวลา