Mid-life crisis ปัญหาหนักใจของวัยกลางคน เบื่องาน หมดไฟ หมด passion ในการทำงาน

Mid-life crisis ปัญหาหนักใจของวัยกลางคน เบื่องาน หมดไฟ หมด passion ในการทำงาน
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

ในวัยทำงาน ใครเคยได้ยินหรือคุ้นหูกับคำว่าคำว่า Mid-life crisis กันบ้าง หรือถ้าจะให้เรียกแบบภาษาบ้าน ๆ หน่อย ก็ต้องบอกว่า “วิกฤตวัยกลางคน” ซึ่งถ้าให้เปรียบก็คงเหมือนกันช่วง “วัยรุ่น” ที่เป็นโมเม้นท์ที่ชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง วัยกลางคนนี่ก็เหมือนกัน เป็นช่วงชีวิตอีกช่วงหนึ่ง ที่จะมีการเปลี่ยนผ่านสำคัญเกิดขึ้น ซึ่งถ้ารับมือไม่ดี อาจจะนำไปสู่ปัญหาบานปลายทางด้านสุขภาพจิตได้

Mid-life crisis ปัญหาหนักใจของวัยกลางคน เบื่องาน หมดไฟ หมด passion ในการทำงาน

Mid-life crisis หรือ “วิกฤตวัยกลางคน” คือ ความรู้สึกไม่มีความสุขกับชีวิต มีความกังวล และรู้สึกผิดหวัง หรือรู้สึกไม่ประสบความสำเร็จแบบที่ตั้งใจไว้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอาชีพ การงาน หรือการใช้ชีวิต เบื่องาน หมดไฟในการทำงาน หมด passion บางคนอาจจะมีเรื่องสุขภาพด้วย แต่ส่วนใหญ่แล้วมักเกิดจากความคาดหวังความสำเร็จในหน้าที่การงาน และความสุข ซึ่งภาวะนี้ สามารถเกิดขึ้นได้กับคนในช่วงอายุ 35 – 50 ปี

สาเหตุของภาวะ Mid-life crisis

  • แรงกดดันจากสังคม ที่มีบรรทัดฐานและมายาคติที่ว่า พอถึงวัยนี้ชีวิตควรจะเป็นอย่างไร ต้องประสบความสำเร็จแค่ไหน ต้องก้าวหน้าในอาชีพอย่างไรบ้าง รวมถึงความรับผิดชอบที่มากขึ้น ก็จะสร้างแรงกดดันให้กับคนในช่วงวัยกลางคนได้เหมือนกัน
  • ร่างการเริ่มเสื่อม สุขภาพไม่แข็งแรงเหมือนตอนหนุ่ม ๆ สาว ๆ มีการเปลี่ยนแปลงของร่างการที่ชัดเจน หรือบางคนก็อาจจะอยู่ในภาวะวัยทอง ที่ฮอร์โมนเริ่มไม่ปกติ ทำให้เกิดความรู้สึกหงุดหงิด ฉุนเฉียว อ่อนล้า สิ้นหวัง จนอาจทำให้รู้สึกแย่กับตัวเองมากขึ้นทุกวัน
  • ไม่พอใจกับชีวิตตัวเอง รู้สึกไม่มีความสุขจนต้องดิ้นรนพยายามหาทางมีความสุขให้ได้ จนอาจจะเกิดความรู้สึกท้อ และเหนื่อยหน่ายกับชีวิต
  • อยากได้ความสดใสเหมือนช่วงวัยหนุ่มสาว เพราะชีวิตช่วงวัยกลายคน มันเป็นชีวิตเรียบ ๆ ไม่ค่อยมีเรื่องน่าตื่นเต้น อาจเพราะด้วยภาระหน้าที่ความรับผิดชอบที่ทำให้ขยับตัวได้ยาก จนทำให้ความตื่นเต้นในชีวิตค่อย ๆ ลดลงไป จนรู้สึกไม่พอใจ ชีวิตไม่สนุก สดใส และท้าทายเหมือนสมันที่อายุน้อยกว่านี้
  • สับสนในชีวิต เริ่มตั้งคำถามกับตัวเองว่าชีวิตนี้ต้องการอะไรกันแน่ ที่ผ่านมาเรามีอะไรบ้าง จนทำให้เกิดความรู้สึกแง่ลบกับตัวเอง
  • เสียคนรัก เพื่อน หรือคนในครอบครัว ที่จะเริ่มทยอยเสียชีวิตลง ซึ่งอาจจะเกิดความรู้รับไม่ได้กับการสูญเสีย และเริ่มคิดกับตัวเองว่า ความตายอยู่ใกล้แค่เอื้อม
  • รู้สึกมีความสำคัญน้อยลง ซึ่งอาจเกิดจากการถูกลดบทบาทในที่ทำงาน หรือครอบครัว จนเริ่มเครียดและท้อแท้กับชีวิต

แม้ว่าจากการศึกษาจากหลายสำนักจะบอกว่าปัญหาวิกฤตวัยกลางคน ไม่ได้เกิดขึ้นกับคนส่วนใหญ่ แต่ด้วยภาวะสังคมในปัจจุบัน ทำให้คนที่ประสบปัญหาวิกฤตวัยกลางคนมีเยอะขึ้นมาก ซึ่งถ้าไม่สามารถจัดการได้ จะเกิดผลกระทบระยะยาวที่จะนำไปสู่การพัฒนาเป็น “โรคซึมเศร้า” ได้ มาเริ่มสังเกตตัวเองกันดีกว่าว่า เรามีแนวโน้มจะอยู่ในช่วงวิกฤตวัยกลางคนกันหรือเปล่า

สัญญาณเตือนของภาวะ Mid-life crisis

  • รู้สึกเบื่องาน ไม่รู้จะทำงานไปเพื่ออะไร เริ่มตั้งคำถามว่างานที่ทำอยู่ตอบโจทย์ชีวิตจริง ๆ หรือไม่ รู้สึกหมด passion ในการทำงาน อยากเปลี่ยนงาน แต่ก็ไม่รู้จะไปทำอะไรต่อดี
  • ทำงานตามความต้องการขั้นต่ำของบริษัท ทำงานให้เสร็จ ๆ ไป ไม่ได้มีความรู้สึกอยากพัฒนางานที่ตัวเองทำอยู่ให้ดีกว่าเดิม
  • รู้สึกเบื่อหน่าย เหนื่อยล้า ไม่พอใจกับชีวิต รู้สึกว่าทุกอย่างในชีวิตไร้ความหมาย ไม่มีอะไรสามารถทำให้มีความสุขได้
  • สับสนในตัวเอง ไม่รู้ว่าต้องการอะไรในชีวิต ไม่รู้ว่าชีวิตจะเดินต่อไปทางไหนดี
  • รู้สึกไม่ประสบความสำเร็จ รู้สึกว่าชีวิตไม่ได้เป็นตามที่คาดหวังไว้ รู้สึกว่าทำไมอายุขนาดนี้แล้ว ยังไม่ไปไหนเลย คิดถึงความก้าวหน้า และรู้สึกว่าตัวเองไม่ได้ก้าวหน้าไปไหน
  • เปรียบเทียบตัวเองกับคนในรุ่นเดียวกัน หรือพนักงานคนอื่นที่มีอายุน้อยกว่า
  • อยากเทความหน้าที่ความรับผิดชอบที่มีอยู่
  • อยากทำอะไรท้าทาย นอกกรอบ สร้างความตื่นเต้น เช่น การเดตกับคนที่อายุน้อยกว่า ซึ่งในบางคนที่แต่งงานแล้ว อาจจะนำไปสู่ปัญหาครอบครัวได้
  • เริ่มพึ่งพาแอลกอฮอล์ หรือบุหรี่ เพื่อให้ตัวเองรู้สึกสบายใจขึ้น
  • มีพฤติกรรมการนอน หรือการกินที่เปลี่ยนไป ซึ่งนี้เป็นสัญญาณสำคัญที่อาจบอกว่า คุณกำลังก้าวเข้าสู่การเป็นโรคซึมเศร้าอ่อน ๆ แล้ว
  • รู้สึกกังวลกับปัญหาสุขภาพของตัวเอง หรือเกิดความรู้สึกตื่นตูม เมื่อรู้ว่าสุขภาพไม่แข็งแรง แม้ว่าจะเป็นปัญหาไม่ใหญ่ ที่สามารถรักษาได้


ทางป้องกันตัวเองจาก Mid-life crisis

  • แยกแยะอารมณ์ช่วงวูบออกจากความต้องการของตัวเองจริง ๆแม้ว่าจะรู้สึกเบื่อหน่ายงานมาก ๆ อาจจะลองกลับมาคิดทบทวนดูให้ดีว่า อะไรที่ทำให้เราเบื่องาน ความตั้งใจแรกที่เข้ามาทำงานนี้ของเราคืออะไร ลองกลับไปคิดถึงช่วงเวลาที่เราประสบความสำเร็จในงาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็ก หรือเรื่องใหญ่ ก็สามารถเป็นเรื่องที่สร้างกำลังใจ ว่าเราสามารถทำงานนี้ได้ดีแล้วก็ได้
  • คิดบวกให้มากพยายามมองหาแง่มุมดี ๆ ในช่วงวัยกลายคน เช่น ถึงชีวิตจะนิ่ง แต่ก็ทำให้รู้สึกมีความมั่นคงมากขึ้น ขอบคุณตัวเองที่พาตัวเองเดินทางผ่านร้อนผ่านหนาวมาจนถึงจุดนี้ได้ ลองหันไปมองคนรอบ ๆ ตัว และรักษาความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด ครอบครัว เพื่อน เพื่อนที่ทำงานให้ดี และมองหาแง่มุมดี ๆ ในชีวิตประจำวัน
  • ปรึกษาคนใกล้ตัวหรือผู้เชี่ยวชาญก็ได้ ลองแชร์เรื่องราวของเราให้คนอื่นฟัง นอกจากจะเป็นการระบายความเครียดแล้ว บางทีเราอาจจะอยู่ในจุดที่ไม่เห็นความเป็นไปที่แท้จริง แต่อาจได้แง่คิด และมุมมองใหม่ ๆ จากคนอื่นก็ได้
  • ลองเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่มีความสนใจเช่น ไปลงเรียนทำอาหาร หรือปลูกต้นไม้ หากิจกรรมสร้างสรรค์อย่างอื่นทำ แบบที่ไม่ต้องกดดันตัวเอง อาจช่วยให้คลายเครียดได้
  • หาเวลาออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพราะมีงานวิจัยมากมายที่บอกว่า การออกกำลังกายนอกจากจะทำให้สุขภาพร่างการแข็งแรงแล้ว ยิ่งช่วงเรื่องจิตใจ เพราะร่างการจะหลั่งสาร “เซโรโทนิน” หรือ สารแห่งความสุข ร่วมถึงยังกระตุ้นการเติบโตของเซลส์สมองอีกด้วย และอย่างลืมพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างการได้พัก จะได้ลึกโอกาสเกิดความเครียดให้น้อยลง

หมั่นดูแลตัวเองให้ดี จัดการกับระบความคิดตัวเองให้ได้ สังเกตตัวเองบ่อย ๆ ว่าเรากำลังมีช่วงเวลาที่ยากลำบาก อย่างภาวะวิกฤตวัยกลางคนอยู๋หรือเปล่า และถ้ามันเกิดขึ้นแล้ว ก็พยายามมีสติให้มาก และให้ระลึกอยู่เสมอว่า การเปลี่ยนแปลงและปัญหา เป็นของคู่กันกับการใช้ชีวิต มีมาเพื่อให้เราได้เรียนรู้บางสิ่งบางอย่าง เพื่อจะได้มีชีวิตที่เติบโตอย่างแข็งแรง

ส่วนใครที่กำลังมองหาความท้าทายใหม่ ๆ อยากสมัครงานใหม่ มาค้นหางานใหม่ของคุณได้ที่ แอปพลิเคชั่น JobsDB แอปหางานที่จะทำให้คุณได้พบกับงานที่ใช่สำหรับตัวคุณ

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

JobsDB Mobile App

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/5-%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%b5%e0%b9%81%e0%b8%81%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3-burnout/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/5%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%b5%e0%b8%81%e0%b8%b3%e0%b8%88%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b8%b0burnout/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/5%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%95%e0%b8%b8burnout%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%9e%e0%b8%99%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99/

More from this category: ความอยู่ดีมีสุขในที่ทำงาน

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่าผู้สมัครค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอะไรใน Jobsdb? สำรวจคำค้นหาที่ได้รับความนิยมเพื่ออัพเดทเทรนด์ใหม่เสมอ

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
ท่านได้ยอมรับคำประกาศเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล และนโยบายความเป็นส่วนตัวเพื่อให้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน หากท่านมีอายุต่ำกว่า 20 ปี ท่านได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง เพื่อยินยอมให้ Jobsdb และบริษัทในเครือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ท่านสามารถยกเลิกได้ทุกเวลา