New Product Development 8 ขั้นตอนออกสินค้าใหม่ให้ติดตลาด

New Product Development 8 ขั้นตอนออกสินค้าใหม่ให้ติดตลาด
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

หากต้องการขายของสักอย่างหนึ่งในตอนนี้ ต้องคิดแล้วคิดอีกว่าจะขายอะไรดี ด้วยความที่โลกอินเทอร์เน็ตทำให้การเข้าถึงสินค้าเป็นไปได้ง่าย ใคร ๆ ก็ขายของได้ ไม่ว่าจะเป็นรายเล็กรายใหญ่ การจะออกโปรดักต์ให้โดนใจลูกค้า ทำยังไงให้สินค้าใหม่ ติดตลาด จึงเป็นเรื่องที่ทั้งนักการตลาด เจ้าของกิจการ และแผนก R&D ต้องคิดหนัก แต่ไม่ต้องกังวลไป มีเครื่องมือทางการตลาดที่จะทำให้การออกสินค้าใหม่ให้ติดตลาดไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ถ้ารู้จัก New Product Development

New Product Development 8 ขั้นตอนออกสินค้าใหม่ให้ติดตลาด

New Product Development หรือ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่คือ กระบวนการคิด ค้นคว้า ออกแบบ และแก้ไขปรับปรุงสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ให้ออกมาตรงกับความต้องการของตลาดผู้บริโภค โดยอาจเป็นการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน (Innovation) หรือเป็นการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้วให้แปลกใหม่หรือตอบโจทย์มากกว่าเดิม (Modified) หรือจะเป็นการทำสินค้าใหม่ของบริษัทที่มีต้นแบบสินค้ามาจากบริษัทอื่นหรือสินค้าเดิมที่มีในตลาดมาอยู่แล้ว (Me-too) แนวคิดการทำ New Product Development เป็นแนวคิดของ Gary Armstrong และ Philip T. Kotler กูรูด้านการตลาด ผู้แต่งหนังสือ Marketing: An Introduction ที่ถูกตีพิมพ์แล้วหลายครั้ง โดยสามารถทำผ่าน 8 ขั้นตอน ดังนี้

  1. รวบรวมไอเดียและวิเคราะห์ข้อมูล (Idea Generation)

ถ้ามีไอเดียสินค้าใหม่แล้ว ให้เริ่มขั้นตอนแรกด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลของไอเดียที่มีอยู่ในมือก่อน เริ่มจากวิเคราะห์ข้อมูลตามหลัก SWOT จะทำให้รู้ข้อดีข้อเสียของสินค้าหรือบริการที่เราอยากจะขาย จากนั้นให้วิเคราะห์ข้อมูลการทำผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่ต้องใช้ ความสามารถของบริษัท ต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นมีส่วนไหนบ้าง แล้วไปต่อที่การวิเคราะห์ข้อมูลโดยรอบ เช่น ข้อมูลทางการตลาด แนวโน้มความต้องการและการเติบโตของตลาด ข้อมูลคู่แข่ง แนวโน้มการคืนทุน โดยเราสามารถวางแผนงานไว้หลาย ๆ แบบได้ เพื่อตอบรับกับความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น

  1. คัดเลือกและคัดกรองไอเดีย (Idea Screening)

เมื่อรวบรวมข้อมูลของไอเดียการทำสินค้าใหม่ทั้งหมดแล้ว ก็ถึงขั้นตอนการคัดเลือกว่าสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ไหนจะได้ไปต่อ โดยควรกำหนดกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนเพื่อใช้ประเมินและคัดกรองไอเดีย เช่น ความเป็นไปได้ในการผลิต ส่วนแบ่งการตลาด ตอบโจทย์ผู้บริโภคแค่ไหน รวมไปถึงความคาดหวังของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์​เพื่อให้ได้ไอเดียของผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ดีที่สุดมาพัฒนาต่อยอดและทำขายจริง

  1. พัฒนาและทดลองแนวคิดของผลิตภัณฑ์ (Concept Development and Testing)

เมื่อได้ไอเดียที่ดีที่สุดมาแล้ว ให้ลองนำไอเดียนั้นมาทดสอบกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย อาจเป็นการทำ Marketing research กับกลุ่มเป้าหมายโดยตรงเพื่อให้ได้ข้อมูล Insight เกี่ยวกับความรู้สึกของลูกค้าหรือผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ หรือความเข้าใจในผลิตภัณฑ์​ความต้องการที่ลูกค้ามีให้กับสินค้าหรือบริการที่เราอยากจะผลิตขายมีมาแค่ไหน

  1. พัฒนากลยุทธ์การตลาด (Marketing Strategy Development)

วิธีการแนะนำผลิตภัณฑ์ให้ผู้บริโภครู้จักก็เป็นอีกสิ่งที่สำคัญ ควรวางกลยุทธ์ทางการตลาดโดยเริ่มจากกำหนดเป้าหมายระยะสั้นในช่วง 2-3 ปีแรกที่เริ่มวางขายสินค้าว่าอยากมียอดขายเท่าไหร่ มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นยังไง สินค้านี้จัดอยู่ในตำแหน่งไหนของตลาด และสินค้านี้ขายให้ใครเป็นหลัก จากนั้นให้พัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดให้รอบด้าน ทั้งทางด้านราคา การจัดจำหน่าย กิจกรรมส่งเสริมการขาย และต่อด้วยการวางแผลระยะยาวโดยพัฒนาต่อยอดจากกลยุทธ์ระยะสั้นที่พอจะทำให้เรามองเห็นทิศทางของตลาดได้ดียิ่งขึ้น

  1. วิเคราะห์ธุรกิจ (Business Analytics)

เก็บข้อมูลขั้นตอนการทำสินค้าอย่างละเอียด อาจทำเป็น Spreadsheet หรือ Excel เพื่อให้เก็บข้อมูลแบบตารางได้อย่างละเอียด ข้อมูลที่ควรบันทึกไว้คือ ระยะเวลาที่ใช้ตั้งแต่ผลิตไปจนตอนเปิดตัววางขาย ยอดขายสินค้าในแต่ละช่วง ผลตอบรับของตลาด ข้อมูลเหล่านี้จะสามารถทำให้เห็นความคืบหน้าของโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงรายละเอียดต้นทุนและกำไร ทั้งที่เป็นเงิน เป็นเวลา และเป็นแรงงานขององค์กรได้ดีขึ้น และช่วยให้สามารถวิเคราะห์ ประเมินผลและตัดสินใจทางธุรกิจได้แม่นยำกว่าเดิม

  1. พัฒนาผลิตภัณฑ์(Product Development)

เมื่อได้ไอเดียผลิตภัณฑ์และแผนงาน รวมถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นโดยละเอียดมาแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะทดลองสร้างผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ออกมาจริง ๆ โดยอาจทำเป็นสินค้าตัวอย่างที่ยังไม่ระบุยี่ห้อก็ได้ จากนั้นก็เก็บ Feedback ที่ได้รับ ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกที่มีต่อสินค้า เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขสินค้าจริงให้ตอบโจทย์ลูกค้ายิ่งขึ้น

  1. ทดสอบตลาด (Market Testing)

เป็นขั้นตอนการนำสินค้าออกทดสอบกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย โดยที่สินค้านั้นจะต้องมีการระบุยี่ห้อ มี Packaging เหมือนกับสินค้าที่จะออกวางขายจริง และมีกิจกรรมทางการตลาดเพื่อส่งเสริมการขายจริงด้วย เพื่อเป็นการทดสอบตลาดและศึกษาว่าผู้บริโภคมีความรู้สึกอย่างไรต่อสินค้า ช่องทางการขายตอบโจทย์เป้าหมายที่วางไว้ไหม และเป็นการหาข้อบกพร่องที่มีอยู่เพื่อเอามาใช้แก้ไขเวลาที่ต้องนำสินค้าออกสู่ตลาดจริง

  1. การดำเนินธุรกิจ (Commercialization)

ขั้นตอนสุดท้ายเป็นการนำผลิตภัณฑ์ สินค้าหรือบริการที่ได้ผ่านการพัฒนาแล้วออกขายในตลาดจริง เก็บข้อมูลทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงข้อมูลของคู่แข่งด้วยว่ามียอดขายเช่นไร สินค้าเรามีส่วนแบ่งจริงในตลาดเท่าไหร่ จำเป็นต้องมีบริการหลังการขายไหม แผนโฆษณาที่คิดมามีผลตอบรับอย่างไร การกระจายสินค้าทำได้ดีหรือไม่ ทั้งหมดนี้ก็เพื่อนำมาวิเคราะห์ปรับปรุงและแก้ไขเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการขายสินค้านั้น ๆ ต่อไป

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

JobsDB Mobile App

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%81-%e0%b8%9b%e0%b8%b1%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b9%81%e0%b8%9a%e0%b8%a3%e0%b8%99%e0%b8%94%e0%b9%8c-%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b9%89%e0%b8%94%e0%b8%b1%e0%b8%87/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b8%9a%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%81%e0%b8%9a%e0%b8%a3%e0%b8%99%e0%b8%94%e0%b9%8c-slow-cooker/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/podcast-%e0%b8%aa%e0%b8%b3%e0%b8%ab%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%84%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%b3%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99/

More from this category: เทรนด์งานยอดฮิตและเงินเดือน

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่าผู้สมัครค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอะไรใน Jobsdb? สำรวจคำค้นหาที่ได้รับความนิยมเพื่ออัพเดทเทรนด์ใหม่เสมอ

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
ท่านได้ยอมรับคำประกาศเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล และนโยบายความเป็นส่วนตัวเพื่อให้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน หากท่านมีอายุต่ำกว่า 20 ปี ท่านได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง เพื่อยินยอมให้ Jobsdb และบริษัทในเครือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ท่านสามารถยกเลิกได้ทุกเวลา