Empathy : ทักษะความเห็นใจผู้อื่น แนวคิดเสริมจุดแข็งให้องค์กร

Empathy : ทักษะความเห็นใจผู้อื่น แนวคิดเสริมจุดแข็งให้องค์กร
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

ทำไม Empathy ถึงเป็นทักษะที่หลาย ๆ องค์กรหันมาให้ความสนใจมากขึ้นในช่วงหลัง?

แน่นอนว่าการที่คุณมีสกิลการทำงานที่แข็งแกร่ง เปี่ยมไปด้วยภาวะผู้นำที่เด็ดขาด รวมไปถึงการตัดสินใจแก้ปัญหาต่าง ๆ อย่างเฉียบคม ย่อมเป็นสิ่งที่ดีและช่วยเสริมสร้างโปรไฟล์และองค์กรของคุณให้โดดเด่นกว่าใคร ทว่าทักษะเรื่องการทำงานที่เข้มข้นอย่างเดียวนั้น ไม่เพียงพอต่อการพาองค์กรให้อยู่รอดได้ในปัจจุบัน การแสดงซึ่งความเห็นอกเห็นใจ มีเอ็มพาตี้ ต่อกัน เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญของการ “ดูแลหัวใจ” ของคนในองค์กรให้พร้อมเติบโตและพร้อมเดินทางไปยังปลายทางที่นำมาซึ่งความสำเร็จร่วมกัน

Empathy : ทักษะความเห็นใจผู้อื่น

ทักษะ Empathy คืออะไร?

สังเกตได้ว่า “เอ็มพาตี้” ถูกหยิบยกและเริ่มเป็นที่พูดถึงมากขึ้นในช่วงหลัง ด้วยความที่มุมมองเรื่องการทำงานของคนหนุ่มสาวในสมัยนี้เปลี่ยนไป ให้ความสำคัญกับ Work Life Balance ที่สมดุล เน้นการทำงานที่ให้ผลตอบแทนทั้งเรื่องเงินและความสุขไปพร้อม ๆ กัน ดังนั้นทักษะ เอ็มพาตี้ อันแสดงถึงความเข้าอกเข้าใจผู้อื่น เห็นใจซึ่งกันและกันในฐานะเพื่อนมนุษย์คนหนึ่ง จึงเป็นสิ่งสำคัญที่องค์กรทั้งหลายพึงมีเพื่อรักษาหัวใจของคนในบริษัท

จริง ๆ แล้ว เอ็มพาตี้ เป็นหนึ่งในทักษะขั้นพื้นฐาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับหัวใจและความรู้สึกล้วน ๆ เพียงคุณลองเปิดใจ เอาใจของเราไปใส่ในหัวใจของอีกคน ว่าหากเราเผชิญเหตุการณ์นั้น ๆ จะรู้สึกอย่างไรหรือเลือกตัดสินใจแบบไหน ยิ่งเราแสดงถึงความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นบ่อยแค่ไหน เช่นเดียวกัน เราก็จะยั้งตัวเองไม่ให้สร้างบาดแผลต่อผู้อื่นได้มากเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการกระทำและคำพูด ทั้งนี้การรับฟังปัญหาด้วยความจริงใจ ก็นับเป็นการแสดงออกถึงเอ็มพาตี้อย่างหนึ่ง เพราะหัวใจหลักของทักษะ เอ็มพาตี้ คือการแสดงให้ทุกคนเข้าใจว่า “คุณไม่ได้อยู่คนเดียวบนโลกใบนี้”

วิธีการสร้าง Empathy เสริมจุดแข็งให้กับองค์กร

คงจะจริงอย่างที่ Brené Brown นักวิจัยชื่อดังชาวอเมริกา ซึ่งเชี่ยวชาญด้านความเป็นผู้นำและความสัมพันธ์ของมนุษย์เป็นพิเศษ กล่าวเอาไว้ว่า เอ็มพาตี้ เป็นสิ่งแปลก ไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน เป็นเพียงนามธรรมกว้าง ๆ จับต้องไม่ได้ ทว่ากลับสั่นคลอนและทรงพลังในด้านความรู้สึกของมนุษย์

แล้ววิธีไหนบ้าง? ที่จะแสดงออกถึงเอ็มพาตี้ที่ดี เรารวมไว้ให้คุณด้านล่างแล้ว

1. Empathy ที่ดีคือ การเข้าใจในมุมมองที่กว้างขึ้น

การยอมรับอย่างเข้าใจว่าโลกนี้เต็มไปด้วยความแตกต่างและหลากหลาย คือสิ่งพื้นฐานของทักษะ เอ็มพาตี้ ที่ดี อย่าพยายามตีกรอบหรือแบ่งแยกคนที่มีความคิดไม่เหมือนเราว่าพวกเขาคือคนแปลก พยายามทำความเข้าใจในมุมมองนั้น ๆ ให้มากที่สุด หรือถ้าท้ายที่สุดแล้วยังไม่เข้าใจ ก็ให้ปล่อยใจและเคารพในความต่างนั้นแทน เพราะก่อนที่คุณจะเห็นอกเห็นใจใคร คุณต้องยอมรับในข้อนี้ให้ได้ก่อนเป็นอย่างแรก เพื่อเป็นบันไดสำคัญในการเริ่มต้นขั้นต่อไป

อย่างไรก็ดีการจะมีมุมมองที่กว้างขึ้นนั้น การเปิดใจสำคัญก็จริง ทว่าการเปิดหูพื่อรับฟังก็ช่วยเปิดโลกของคุณได้ไม่น้อยไปกว่ากัน อย่าลืมว่าทุกวันนี้เต็มไปด้วยคอนเทนต์มากมายให้คุณรับฟังในหลากหลายช่องทาง การเลือกฟังแง่มุม หรือหยิบเอาแง่คิดจาก CEO ที่ประสบความสำเร็จแล้วทั่วโลก ถือเป็นอีกหนึ่งกุญแจสำคัญนำไปสู่ความสำเร็จก็เป็นได้

2. ทำกิจกรรมร่วมกับคนในทีมเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี

ทันทีที่อ่านหัวข้อนี้จบคนที่เป็น Introvert อาจจะไม่สบายใจกับแนวทางนี้นัก จริง ๆ แล้วคำว่าทำกิจกรรม ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นเรื่องยิ่งใหญ่ถึงขั้นไปแฮงค์เอาต์กันนอกรอบในวันหยุด สิ่งเหล่านี้รวมไปถึงการปฏิสัมพันธ์เล็ก ๆ น้อย ๆ ระหว่างวัน ถามคำถามง่าย ๆ ในชีวิตประจำวัน ชวนคุยถึงสภาพดินฟ้าอากาศ การนั่งกินข้าวร่วมกันในช่วงพักกลางวัน เรียกว่ายิ่งคุณใช้เวลาไปกับคนอื่นมากเท่าไร ยิ่งถือเป็นการเปิดโอกาสให้เราได้แสดงถึงเอ็มพาตี้ต่อเพื่อนร่วมงานได้มากยิ่งขึ้น

Tips : ใส่หูฟังให้น้อยลง แล้วฟังหรือชวนเพื่อนร่วมงานคุยบ้างระหว่างวันก็ยิ่งเพิ่มสกิล เอ็มพาตี้ ได้

3. ทักษะ Empathy เริ่มต้นได้จากการสื่อสารที่ดี

การสื่อสารที่ดีในหัวข้อข้างต้น เราขอเน้นเรื่องทักษะการพูดและการฟังเป็นหลัก การจะแสดงออกถึงเอ็มพาตี้ได้นั้น คุณต้องมีความช่ำชองในสองเรื่องเหล่านี้ เพราะการสื่อสารที่ดีจะช่วยให้ผู้พูดเปิดใจและเล่าถึงปัญหาอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งแน่นอนว่าในฐานะผู้ฟังที่มี เอ็มพาตี้ เราย่อมไม่ตัดสินใครจากเรื่องราว หน้าที่ของเราคือรับฟังและใส่หัวใจตัวเองลงไปในเรื่องราวของเขาอย่างเข้าใจ พร้อมแนะวิธีแก้ไขอย่างตรงไปตรงมา

ในกรณีเดียวกัน หากองค์กรไหนได้รับความไว้วางใจ พนักงานเห็นถึง เอ็มพาตี้ ที่ทางบริษัทมีให้ จนกล้าเล่าถึงปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่างทำงาน โดยไม่กังวลถึงผลกระทบที่ตามมา นั่นถือเป็นสัญญาณที่ดีแสดงถึงความเชื่อใจ ซึ่งถ้าทางบริษัทนำเอาสิ่งเหล่านั้นไปพิจารณา วิเคราะห์พร้อมหาทางแก้ไขร่วมกัน ท้ายสุดแล้วผลประโยชน์ดังกล่าวย่อมตกกับองค์กรในระยะยาว

4. ไม่ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางจักรวาล รับฟังทุกความเห็นต่าง

“เอ็มพาตี้” ไม่ได้หมายถึงการเห็นอกเห็นใจอย่างเดียวเท่านั้น ยังรวมไปถึงการรับฟัง “ความเห็นที่ต่างไป” ด้วยความเข้าใจ อย่างในแง่ของทีมที่ทำงานร่วมกัน ขึ้นชื่อว่าทีมแล้วย่อมแสดงถึงกลุ่มคนจำนวนมาก แน่นอนว่าความคิดต้องมีหลากหลายและกระจัดกระจาย การนำความคิดของทุกคนมารวมกันแล้วหาทางออก ถึงจะเป็นการทำงานที่สนุกและมีประสิทธิภาพ หรืออย่างตัวองค์กรเอง การรับฟังฟีดแบคลูกค้า รวมถึงฟังความเห็นของพนักงานด้วยกันเองก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม

ไม่ว่าคุณจะอยู่ในบทบาทมนุษย์เงินเดือนผู้เป็นรากฐานสำคัญขององค์กร หรือนายจ้างผู้กุมทิศทางการบริหาร ทุกวิธีที่แนะนำไปนั้นสามารถนำไปปรับใช้เพิ่มทักษะ เอ็มพาตี้ ของคุณได้ ถึงแม้จุดเริ่มต้นของทักษะดังกล่าวนี้จะเริ่มจาก “คุณ” และ “ฉัน” สุดท้ายหากคุณมีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นเป็นพื้นฐานที่ดีและแข็งแกร่งแล้ว ปลายทางทั้งหมดมันจะพาไปพบกับคำว่า “เรา” ที่สมบูรณ์แบบได้

แล้วเมื่อฝึกฝนสกิล ๆ ต่างจนมั่นใจแล้ว อย่าลืมเปิดโอกาสให้ตัวเองพบกับงานดี ๆ จำนวนมาก ที่ JobsDB แอปพลิเคชันหางานครบวงจร ที่ให้คุณสมัครงานง่าย ๆ ฝากเรซูเมได้แล้ววันนี้!

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android JobsDB Mobile App

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b8%82%e0%b8%ad-%e0%b8%82%e0%b8%b6%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%87%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%99/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/karoshi-syndrome/

More from this category: เทรนด์งานยอดฮิตและเงินเดือน

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่าผู้สมัครค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอะไรใน Jobsdb? สำรวจคำค้นหาที่ได้รับความนิยมเพื่ออัพเดทเทรนด์ใหม่เสมอ

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
ท่านได้ยอมรับคำประกาศเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล และนโยบายความเป็นส่วนตัวเพื่อให้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน หากท่านมีอายุต่ำกว่า 20 ปี ท่านได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง เพื่อยินยอมให้ Jobsdb และบริษัทในเครือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ท่านสามารถยกเลิกได้ทุกเวลา