ประโยค “ดีเกินไป” อันสุดแสนจะคลาสิกที่เราได้ยินกันบ่อย ๆ นั้น ไม่ได้ถูกใช้แค่ในบริบทของความรักในเชิงปฏิเสธ เพื่อบอกว่าใครคนนั้นไม่ใช่อีกต่อไปเท่านั้น ในเรื่องของหน้าที่การงาน การที่คุณดีเกินไปก็เป็นหนึ่งในเหตุผลที่ HR ใช้บอกปัดผู้สัมภาษณ์งานไปหลายคน เมื่อความดีและชั่วโมงบินที่สั่งสมมานั้น กลับกลายมาเป็นจุดอ่อนที่ทำให้องค์กรนั้น ๆ ไม่เลือกคุณให้ไปต่อ เราเองในฐานะผู้สัมภาษณ์งานที่กำลังมองหาโอกาสที่หลากหลายต้องทำอย่างไร
ดีเกินไป… ฟังดูแล้วเป็นเหมือนจะเป็นเรื่องย้อนแย้งอยู่ไม่น้อย คำว่า “ดี” มีคำว่าเกินไปด้วยเหรอ ยิ่งในโลกของการทำงานที่แข่งขันกันอย่างบ้าคลั่ง ผู้สมัครงานหลายคนล้วนแล้วต้องงัดข้อดีออกมาโชว์กันสุดฤทธิ์ ว่าทำอะไรได้บ้าง ผ่านประสบการณ์อะไรมาอย่างโชกโชน ช่ำชองหรือเชี่ยวชาญมากอย่างไร แต่ใครจะคิดว่าว่าสิ่งเหล่านั้นจะกลับมาเป็นหอกทิ่มแทง ทำร้ายตัวคุณเองจนไม่ผ่านการสัมภาษณ์งานเอาได้
หากพิจารณาดูอย่างถี่ถ้วนและไตร่ตรองดูอย่างดีแล้ว คุณจะเข้าใจว่าบางครั้งการที่คุณเองมีความสามารถมากเกินไป หรือ Overqualified ทาง HR อาจทรีตว่านั่นคือ “ข้อเสีย” โดยมองว่า “ข้อดี” ที่คุณมีนั้นมากเกินความต้องการขององค์กร ส่วนจะมีเหตุผลอะไรบ้างนั้นที่ทำให้ทางเอชอาร์มองว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นข้อเสีย JobsDB รวบรวมไว้ให้ด้านล่างแล้ว ไปดูกัน!
ข้อนี้อาจจะเป็นเหตุผลที่ฟังแล้วงง ๆ ไม่ค่อยเมคเซนส์หน่อย แต่ต้องยอมรับว่ายังมีบางองค์กรยังคงเชื่ออะไรแบบนี้อยู่ ด้วยความที่บริษัทส่วนใหญ่รับพนักงานมาแล้ว ก็หวังจะให้อยู่ยาวอย่างน้อย 1-2 ปี เราเองในฐานะลูกจ้างอาจมองว่าการรับพนักงานเข้ามาหนึ่งคนไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร ในทางกลับกันบริษัทต้องเสียค่าใช้จ่ายไปไม่น้อย เสียทั้งต้นทุนเรื่องเงินและเวลาที่ถูกใช้ไป ตั้งแต่ขั้นตอนการรับสมัคร การสอนงาน และกว่าพนักงานจะปรับตัวให้เข้ากับองค์กร กว่าจะทำงานได้เต็มประสิทธิภาพตามที่บริษัทคาดหวังไว้
ดังนั้น การที่รับคนเก่งรอบด้าน หรือดูทรงแล้วจะเก่งเกินไปเข้ามาทำงาน บางองค์กรมองว่านั่นคือ “ความเสี่ยง” อย่างหนึ่ง เสี่ยงที่คน ๆ นั้นจะเปลี่ยนงานได้สูง เพราะด้วยความที่คุณสมบัติรอบด้าน ทำงานที่ไหนก็ได้ ไปที่ไหนใครก็รับ ไม่พอใจก็ลาออกได้เลยโดยไม่ต้องคิดหน้าคิดหลัง ไหนจะต้องระวังบริษัทอื่นมาซื้อตัวไปอีกทั้งหมดนั้นจึงเป็นสาเหตุให้หลาย ๆ บริษัทไม่พร้อมเสี่ยงรับคนที่เก่งเกินไปเข้าทำงานนั่นเอง
ความเก่งและทักษะต่าง ๆ ของคุณอาจจะไม่ตรงกับตัวงาน ว่าง่าย ๆ คือพลังของคุณอาจจะล้นเหลือเกินไป ทั้งความกระตือรือร้น ทะเยอทะยาน มี Passion และต้องการงานที่ท้าทายตลอดเวลา จนดู Overqualified เกินลักษณะเนื้องานที่ต้องรับผิดชอบ ตัวบริษัทเองมักจะรู้ Scope ของงานที่คุณต้องทำได้ครอบคลุมอยู่แล้ว รวมทั้งประเมินได้ว่า Career Growth อาจจะไม่เป็นอย่างที่ผู้สมัครคาดหวังไว้ได้
นั่นจึงเป็นสาเหตุให้ต้องปฏิเสธผู้สมัครที่เก่ง ๆ ไปอย่างน่าเสียดาย คือรับไปแล้วมีโอกาสที่คุณจะลาออกสูง เพราะไม่ได้แสดงศักยภาพอย่างเต็มที่ ทำไปก็ไม่สนุก พาลไม่อยากลุกไปทำงานตอนเช้าเอาง่าย ๆ อย่างไรก็ตามเหตุผลนี้ก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ ดีเสียด้วยซ้ำหากบริษัทแจ้งเหตุผลคุณแบบตรงไปตรงมา จะได้ไม่ต้องเสียเวลากันทั้งสองฝ่าย
เหตุผลนี้ไม่หยิบยกมาพูดถึงคงไม่ได้ ยิ่งชั่วโมงบินสูง ครบถ้วนด้วยคุณสมบัติทั้ง Hard Skill และ Soft Skill แบบเข้ามาปุ๊บก็พร้อมใช้งานเลย สิ่งที่ตามมาหนีไม่พ้นเรื่องค่าตอบแทน แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าการตั้งเงินเดือนสูงเป็นเรื่องผิดอย่างใด การที่คุณเป็นคนเก่ง มีศักยภาพ การเรียกเงินเดือนแบบเห็นคุณค่าตัวเองคือสิ่งที่ถูกต้อง แต่อีกมุมหนึ่งต้องเข้าใจด้วยว่า บางบริษัทอาจจะไม่ได้มีงบประมาณมากในการจ้างคนขนาดนั้น
ทั้งนี้ HR บางที่อาจจะเลือกเจรจาขอต่อรองเงินเดือน แต่ถ้าดูแล้วจะสู้ไม่ไหว HR บางแห่งก็เลือกปฏิเสธคุณไปแบบง่าย ๆ ภายใต้เหตุผลที่คุณ Overqualified เกินไป คือมีความสามารถมากเกินไปสำหรับงานนี้ อย่างไรก็ตามอยากให้คุณพิจารณาให้รอบด้าน ค่าตอบแทนบางอย่างอาจไม่อยู่ในรูปแบบของเงินเดือนเสมอไป โบนัส สวัสดิการต่าง ๆ หรือที่ทำงานนี้ใกล้บ้านขึ้น (ลดภาระค่าใช้จ่ายเรื่องการเดินทาง ประหยัดเวลา) แต่เงินเดือนอาจจะน้อยลง คุณจะพอรับได้ไหมในเงื่อนไขเหล่านี้
ข้อนี้คือเหตุผลว่าทำไมผู้สมัครงานควรศึกษารายละเอียดของ Job description ให้ดีก่อนยื่นเรซูเม่สมัครไป ถึง HR บางแห่งจะไม่ได้เขียนเรื่องอายุไว้ชัดเจน แต่ด้วยตำแหน่งที่เปิดรับและหน้าที่รับผิดชอบ เราเองในฐานะผู้สมัครก็น่าจะพอเดาช่วงอายุที่ต้องการได้แบบคร่าว ๆ หรือเพื่อความชัวร์ถามเอชอาร์ไปเลย จะได้ไม่ต้องมาเสียเวลา ถ้าใช่ก็ไปต่อ ถ้าไม่ใช่ก็แยกย้าย
บางองค์กรที่หัวสมัยใหม่อาจจะไม่ได้ซีเรียสเรื่องอายุมากนัก แต่ถ้าคุณมีประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญในสายงานนั้น ๆ HR อาจจะไม่ได้ลงอายุไว้ก็เป็นได้ ขณะเดียวกันงานบางสายก็ต้องการคนที่มีวัยวุฒิ เพื่อให้ดูภูมิฐานน่าเชื่อถือ หรือบางตำแหน่งก็อยากได้ First Jobber ความสดใหม่ แนวคิดหัวก้าวหน้ามาพัฒนาองค์กรก็ได้หมด ทางที่ดีคุยกันให้เคลียร์ตั้งแต่แรกจะได้สบายใจกันไปจะดีกว่า
สุดท้ายนี้ไม่อยากให้ผู้สมัครงานทุกท่าน ตีความคำว่า Overqualified ในแง่ลบจนเอามาโทษตัวเองจนเกินไป อยากให้ทุกคนมั่นใจและเชื่อมั่นในศักยภาพของเรา บางอย่างเป็นเรื่องของเงื่อนไข จังหวะเวลาและความต้องการที่ไม่ตรงกัน ระหว่างองค์กรกับตัวคุณเอง ไม่มีใครผิดหรือถูก ขอให้ก้าวเข้าหาโอกาสต่อไปด้วยจิตใจที่เข้มแข็ง
ถ้าพร้อมเดินหน้า Move on หางานใหม่แล้ว อย่าลืมเข้ามาค้นหาตำแหน่งที่ใช่ ในบริษัทที่เห็นคุณค่าและศักยภาพในตัวคุณได้ที่ JobsDB แพลตฟอร์มหางานอันดับหนึ่งในไทย ที่จะทำให้คุณพบกับงานที่ใช่ ในบริษัทที่พร้อมตอบโจทย์ชีวิตคุณ
ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/5-%e0%b8%97%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%a9%e0%b8%b0-%e0%b8%84%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%b3%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%8a%e0%b8%b5%e0%b8%9e/
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b8%9d%e0%b8%b6%e0%b8%81%e0%b8%9d%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%a9%e0%b8%b0%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%97%e0%b8%b3%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99/
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/work-from-home-%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b9%89%e0%b8%a7%e0%b8%99/