Pain Point หากแปลคำนี้ตรงตัว คือ จุดที่สร้างความเจ็บปวด ซึ่งในโลกธุรกิจ คำว่า Pain Point หมายถึง ปัญหาหรือจุดอ่อนของตัวธุรกิจ นั่นเอง แต่นอกจากจะเป็นประเด็นต่าง ๆ ซึ่งทำให้เสียเปรียบคู่แข่งเป็นอุปสรรคต่อความสามารถในการทำกำไรและการเติบโตของตลาดแล้ว การเลือกใช้คำว่า Pain Point มาอธิบายปัญหาภายในองค์กร ยังสื่อว่าปัญหานั้นเกิดขึ้นซ้ำ ๆ และทำให้เกิดความอึดอัดไม่สบายใจต่อผู้ประกอบการหรือรวมไปถึงลูกจ้างพร้อม ๆ กันด้วย
ผู้ประกอบการมีหน้าที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าในตลาดโดยนำเสนอสินค้าหรือบริการให้ บางธุรกิจเริ่มต้นจากการค้นหา ปัญหาหรือจุดอ่อนของธุรกิจ ที่ส่งผลทำให้ลูกค้าไม่พึงพอใจ แล้วผลิตสิ่งที่สามารถแก้ Pain point ของลูกค้าได้ เพื่อที่จะนำสิ่งนี้ไปเสนอขายให้กับลูกค้าที่กำลังประสบกับปัญหาหรือจุดอ่อนของธุรกิจนี้อยู่ กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มธุรกิจสตาร์ทอัพหรือธุรกิจที่ให้ความสนใจกับเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ จากความสร้างสรรค์
ขณะที่อีกกลุ่มธุรกิจ จะมีลักษณะเป็นพ่อค้าคนกลาง หรือว่าผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค หรือการบริการซึ่งสินค้ามักมีความคล้ายคลึงกับเจ้าอื่น ได้รับการพัฒนามาแล้ว กลุ่มนี้จะคิดว่าต้องขายสินค้าที่มีอย่างไร เพื่อให้ลูกค้าสนใจซื้อสินค้า ซึ่งหลักสำคัญในการบริหารสินค้าที่มีอุปสงค์อยู่แล้ว คือควรเข้าใจปัญหาหรือจุดอ่อนของกลุ่มลูกค้า อันเป็นต้นกำเนิดของสินค้า เพื่อนำเสนอสินค้าอย่างตรงจุด และได้รับการยอมรับจากลูกค้า
ปัญหาหรือจุดอ่อนของลูกค้า มักเป็นต้นกำเนิดสินค้า และยังนำไปสู่การพัฒนาระบบการทำงานที่ทางผู้ประกอบการแต่ละเจ้าจะผลิต ดำเนินธุรกิจและการตลาด ร่วมมือกับคู่ค้า กระทั่งส่งออกสินค้ามาสู่มือผู้รับได้ ในการทำงานของผู้ประกอบการนี้เอง ปัญหาหรือจุดอ่อนของผู้ประกอบการก็เกิดขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้ ในภาพรวมขององค์กร สามารถวิเคราะห์บนโครงสร้างองค์กรหรือการดำเนินงาน แบ่งเป็น 4 ส่วนสำคัญ ทั้งในธุรกิจขนาดใหญ่และรายย่อย คือ บริหารงานบุคคล การตลาด การเงิน และการผลิต
เรามักจะมองเห็นปัญหาหรือจุดอ่อนของคนอื่นได้ดีกว่าการมองหาปัญหาหรือจุดอ่อนของของตัวเอง เนื่องจากสายตาที่เรามองไปยังคนอื่นนั้น เป็นสายตาของ "คนนอก" ที่มองเข้าไป และเป็นการมอง "มุมกว้าง" จึงทำให้เราอาจมองเห็นภาพรวมได้อย่างชัดเจน รวมไปถึงสามารถมองเห็นรายละเอียดบางอย่างที่คนคนนั้นอาจมองไม่เห็นอีกด้วย การจะค้นหาปัญหาหรือจุดอ่อนของเราให้ครบถ้วน ตรงจุดนั้น วิธีหนึ่งที่น่าสนใจคือ"การรับฟังความคิดเห็นจากคนอื่น"ไม่ว่าจะเป็นคนทำงาน ลูกค้า และผู้เกี่ยวข้อง หรือในกรณีของธุรกิจขนาดเล็ก การอ่านความเห็นของลูกค้าก็ทำให้เราตระหนักได้ถึงจุดที่ต้องแก้ไข รวมถึงการที่ผู้ประกอบการเข้าใจกลยุทธ์ธุรกิจของตัวเองด้วย
เมื่อเราเล็งเห็นสัญญาณบางอย่างที่ทำให้การทำงานติดขัด ไม่ราบรื่น และทำให้ลูกค้ารู้สึกไม่ประทับใจ เช่น สินค้าสต็อกไว้ไม่พอส่งให้ลูกค้า หรือทำงานไม่ทันด้วยออร์เดอร์ที่เยอะมาก สิ่งเหล่านี้ที่เกิดขึ้นกับผู้ประกอบการนับเป็นปัญหาหรือจุดอ่อนด้วย
ขั้นตอนการค้นหาปัญหาหรือจุดอ่อน สามารถแบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 4 ด้าน ทั้งบริหารบุคคล การตลาด การเงิน และการผลิต ดังที่กล่าวไปเบื้องต้น โดยสามารถใช้เครื่องมือวิเคราะห์การดำเนินงานขององค์กร และการเติบโตของตลาดหรือผลิตภัณฑ์ ได้หลัก ๆ 2 เครื่องมือ ดังนี้
เครื่องมือนี้ต้องการอาศัยการเก็บข้อมูลภายในองค์กร โดยการวิเคราะห์ตัวผู้ประกอบการเอง ระบบงาน บุคคลที่ทำงาน และตัวสินค้าหรือบริการที่ขายอยู่ ทำการสรุปประเด็นว่ามีจุดแข็งอย่างไรที่ทำให้งานเป็นไปอย่างราบรื่น เช่น ความเชี่ยวชาญของผู้ประกอบการ การมีพันธมิตรที่เข้มแข็งในการจัดส่งสินค้าหรือประชาสัมพันธ์บริการ แพลตฟอร์มที่ใช้ หรือเครดิตที่ได้รับจากคู่ค้า รวมไปถึงฐานลูกค้าซึ่งเกิดการการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง หรือมีพันธมิตรที่ส่งต่อลูกค้ามาให้ จากนั้นก็มองหาปัญหาที่รู้สึกได้ หรือสอบถามทั้งผู้ร่วมงาน และลูกค้า เป็นต้น
ในลำดับต่อไป เป็นการรวบรวมข่าวสารปัจจัยภายนอก ทั้งสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและการพัฒนาของเทคโนโลยี เพื่อดูถึงโอกาสที่ทำให้เพิ่มยอดขาย หรือมีส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มขึ้น มีบางอย่างที่ผู้ประกอบการทำได้ แต่ยังไม่ได้ทำหรือไม่ และสุดท้ายผู้ประกอบการควรพิจารณาถึงสิ่งที่ไม่สามารถทำได้ หรือจะสร้างปัญหาให้กับแผนกลยุทธ์หรือภาคปฏิบัติทำให้สูญเสียโอกาส ผลกำไร หรือว่าส่วนแบ่งในตลาดไป
จุดที่ระบุเป็นจุดอ่อน และอุปสรรค สามารถนำไปสรุปเป็นปัญหาหรือจุดอ่อน และหาวิธีการแก้ไขปัญหาได้ ขณะที่อุปสรรค ทางผู้ประกอบการสามารถหาวิธีการเพื่อบริหารความเสี่ยง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาหรือจุดอ่อนใหม่เพิ่มขึ้นมา
ผู้ประกอบการในช่วงเริ่มต้น อาจมีรูปแบบผลิตภัณฑ์หรือบริการที่จำกัดชนิดเดียวหรือน้อยอย่าง แต่ในระยะยาวอาจจะเพิ่มผลิตภัณฑ์หรือบริการ หรือมุ่งเน้นไปที่การขยายตลาด รวมถึงเติบโตโดยอิงกับผลิตภัณฑ์ที่ต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง หรือขายในตลาดที่แตกต่างไป โดยตลาดในที่นี่ ไม่ใช่แค่แบ่งตามภูมิศาสตร์ แต่ว่าหมายถึงกลุ่มลูกค้าอีกด้วย ยกตัวอย่าง เช่น การขายชุดชั้นใน ถ้าเปลี่ยนจากการขายผู้หญิง มาเปิดตลาดใหม่ในการขายกับลูกค้าเพศชายบ้าง การเปลี่ยนกลุ่มลูกค้าเช่นนี้ก็นับว่ามีการทำตลาดใหม่ด้วยเช่นกัน
การวิเคราะห์โดยใช้ Ansoff จะทำให้เราเข้าใจปัญหาหรือจุดอ่อนที่เกิดจากสินค้าที่มีอยู่แล้ว หรือประเด็นทางการตลาดที่มุ่งเป้าไปที่การพัฒนาสินค้าเพื่อขายให้ลูกค้า หรือพัฒนาการสื่อสารทางการตลาดเพื่อให้เข้าถึงลูกค้าได้อย่างตรงจุด ตอบโจทย์มากยิ่งขึ้น
จากจุดอ่อนหรืออุปสรรคที่พบในการทำธุรกิจ สามารถสรุปแนวทางการแก้ปัญหาใน 4 ส่วนของการทำธุรกิจได้ ดังนี้
ถ้าเราสามารถระบุปัญหาหรือจุดอ่อนขององค์กรได้อย่างชัดเจนและรวดเร็ว จะช่วยให้เราสามารถดำเนินการสืบค้นหาสาเหตุของปัญหาและวิธีการแก้ไขปัญหาได้รวดเร็ว เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน นำสู่ผลประกอบการและกำไรที่ดียิ่งขึ้น รวมไปถึงช่วยให้ทีมงานหรือคนในสถานประกอบการของเรามีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น ไม่ถูกกดดันเรื่องการทำยอด ไม่จำเป็นต้องทำงานนอกเวลาเกินความจำเป็น หรือไม่ต้องเสียเวลามากมายกับการประชุมที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์หรือไม่สามารถนำไปปฏิบัติงานได้จริง
นอกจากนี้ การดำเนินงานหลักของผู้ประกอบการ คือการตอบสนองความต้องการของลูกค้า แม้ปัญหาหรือจุดอ่อนที่แก้ไขในบทความนี้จะเป็นการทำภายในองค์กร แต่ย่อมส่งผลถึงระดับคุณภาพสินค้าและบริการที่ส่งไปถึงลูกค้า หรือมีผลต่อความร่วมมือกับพันธมิตรทางการค้าอื่น เช่น ผู้ขนส่งสินค้า ตัวแทนทางการตลาด หรือผู้ผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์ ได้อีกด้วย
ธุรกิจที่ให้ความสนใจกับปัญหาหรือจุดอ่อน และแก้ไขปัญหาจนประสบความสำเร็จ ได้แก่ บริษัทระดับโลกอย่าง Apple โดย สตีฟ จ็อบ เคยกล่าวไว้ว่า “คุณไม่ควรมองไปที่คู่แข่งแล้วบอกว่าคุณจะทำให้ดีกว่า แต่คุณควรมองไปที่คู่แข่งแล้วประกาศว่าจะสร้างความแตกต่าง” คำพูดนี้แสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ของ Apple ว่า แก่นหลักของธุรกิจไม่ใช่เพียงคุณภาพของสินค้า ซึ่งในตอนนั้นคุณภาพของสินค้าของ Apple ก็ไม่ได้ด้อยไปกว่าคู่แข่ง แต่เราก็ได้เห็นว่าสิ่งที่ทำให้ Apple กลายมาเป็นบริษัทที่ประสบความสำเร็จในปัจจุบัน เพราะ Apple เลือกที่จะสร้างความแตกต่าง และการค้นหา Pain Point เจอว่าคุณภาพไม่ใช่ปัญหา ก็เป็นปัจจัยให้ทุกวันนี้เรามีโทรศัพท์สมาร์ทโฟนจาก Apple และอุปกรณ์มากมายที่มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ IOS นั่นเอง
หากคุณคือคนหนึ่งที่กำลังมองหาเพื่อนร่วมทีมมากความสามารถ มาช่วยกันนำพาบริษัทของคุณไปสู่เป้าหมาย เข้ามาค้นหาคนที่ใช่ได้ที่แอปพลิเคชัน JobsDB
ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/root-cause-analysis/
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/help-desk/
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/chat-bot-%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b9%89%e0%b8%95%e0%b8%ad%e0%b8%9a%e0%b9%82%e0%b8%88%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b9%8c%e0%b8%98%e0%b8%b8%e0%b8%a3%e0%b8%81%e0%b8%b4%e0%b8%88/
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/design-thinking/
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b8%9b%e0%b8%93%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%9b%e0%b8%b5%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b8%a1%e0%b9%88-%e0%b9%81%e0%b8%9a%e0%b8%9a-new-normal/