หลักการบริหารโดยใช้ วงจร PDCA นั้นเมื่อนำเอาหลักการบัญชีเข้ามาจับก็สามารถช่วยส่งเสริมให้แผนธุรกิจ ดำเนินไปอย่างราบรื่นได้ ประเด็นนี้ได้ถูกกล่าวไว้ในหนังสือ “ร้านไหนกำไรมากกว่ากัน” โดย ฮายาชิ อัทสึมุ ดังนี้
P = Planคือ แผนดำเนินการ กำหนดเป้าหมายแล้ววางแผนกิจกรรม เพื่อให้เป้าหมายนั้นเป็นจริง
สำหรับนักบัญชีคือการกำหนดว่าจะต้องทำอะไรอย่างเป็นรูปธรรม จากนั้นก็แปลงแผนดำเนินการนั้นด้วยวิธีการทางบัญชีบริหารให้เป็นรูปตัวเงิน ซึ่งเรียกว่า งบประมาณประจำปี ส่วนการนำแผนการดำเนินงานของแต่ละเดือนมาแปลงเป็นตัวเงิน ก็จะเรียกว่า งบประมาณประจำเดือน
D = Doคือ ลงมือดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ โดยระหว่างนั้นต้องตรวจสอบด้วยว่าได้ดำเนินการไปในทิศทางที่ตั้งใจหรือไม่ พร้อมกับสื่อสารให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบด้วย
กิจกรรมทางธุรกิจที่ได้ลงมือปฏิบัตินั้น ผลลัพธ์ของการดำเนินการจะสรุปออกมาเป็นรายงานการเงินประจำเดือน ซึ่งมิได้มีเพียงงบดุล งบกำไรขาดทุน หรืองบกระแสเงินสดเท่านั้น ตารางคำนวณต้นทุนหรือตารางควบคุมกำไรก็ล้วนแต่เป็นรายงานงานเงินรายเดือนที่สำคัญ
C = Checkคือ ทำการวิเคราะห์ โดยประเมินผลลัพธ์จากการตรวจวัด เปรียบเทียบผลลัพธ์ต่อเป้าหมาย มีความชัดเจนในประเด็นที่ต้องปรับปรุง
การตรวจสอบโดยวิเคราะห์ความแตกต่าง เปรียบเทียบระหว่างผลลัพธ์การประกอบการกับงบประมาณ หรือต้นทุนมาตรฐาน ทำให้เข้าใจหัวข้อปัญหาที่จะต้องดำเนินการแก้ไขต่อไปอย่างชัดเจน
A = Actionคือ ลงมือแก้ไขปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับมาตรฐานเดิมให้สูงขึ้น
การดำเนินมาตรการตามหัวข้อปัญหาที่จำเป็นต้องดำเนินการแก้ไขซึ่งมีความชัดเจนแล้ว พร้อมกับเป็นจุดเริ่มต้นที่เชื่อมต่อไปยังวงจร PDCA วงจรใหม่ต่อไป โดยอาจพิจารณาแนวทางแก้ไข ดังนี้
ทั้งนี้วงจร PDCA จะต้องหมุนต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด เพื่อผลักดันเป้าหมายให้สูงขึ้นต่อ ๆ ไป บัญชีทางการบริหารนำวงจรนี้มาใช้ประโยชน์ เพื่อให้วงจรการบริหารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ภาพประกอบ : http://leadershipchamps.files.wordpress.com/