เจาะลึกทุกข้อสงสัย! คณะเภสัชศาสตร์ ต้องเรียนกี่ปี จบมาทำงานอะไร

เจาะลึกทุกข้อสงสัย! คณะเภสัชศาสตร์ ต้องเรียนกี่ปี จบมาทำงานอะไร
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 05 September, 2024
Share

Key Takeaway

  • คณะเภสัชศาสตร์ คือคณะที่มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตเภสัชกรที่มีความรู้ความสามารถรอบด้าน ทั้งในด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐาน กายวิภาคศาสตร์ รวมถึงความรู้เฉพาะทางด้านเภสัชศาสตร์
  • คณะเภสัชศาสตร์เรียน 6 ปี โดยจะได้เรียนตั้งแต่พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ทั่วไป วิชาเฉพาะทางเภสัชศาสตร์ การปฏิบัติและการวิเคราะห์ การประยุกต์ใช้ความรู้ในสถานการณ์จริง และการฝึกงาน
  • คณะเภสัชศาสตร์จะได้ฝึกงานตอนปีที่ 5 และ 6 โดย ปี 5 จะฝึกฝึกงานในสถานประกอบการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับยา และปี 6 จะได้เรียนการฝึกงานเต็มเวลาในโรงพยาบาลหรือสถานประกอบการเพื่อเตรียมความพร้อมในการทำงานจริง
  • สำหรับผู้ที่สนใจหางานเภสัชกร JobsDB เป็นเว็บไซต์รวมงานจากบริษัทชั้นนำต่างๆ เป็นแพลตฟอร์มหางานแบบครบวงจร มีงานหลากหลาย และบริการที่ดีในด้านการค้นหางานที่ตรงกับความต้องการ

เภสัชกร เป็นหนึ่งในหลายอาชีพที่ทุกคนต่างใฝ่ฝัน เพราะได้ทำงานที่มั่นคง และได้ช่วยเหลือผู้คนในเวลาเดียวกัน ซึ่งสำหรับใครก็ตามที่กำลังอยากเรียนต่อคณะเภสัชศาสตร์ บทความนี้จะพามาทำความรู้จักกับคณะเภสัชศาสตร์แบบเจาะลึกกันว่าต้องเรียนเกี่ยวกับอะไร มีสาขาวิชาอะไรให้เลือกเรียนบ้าง เรียนกี่ปีถึงจะจบ และจบมาสามารถทำงานอะไรได้บ้าง พร้อมเงินเดือนเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณเท่าไร ไปดูกันได้เลย!

ทำความรู้จัก คณะเภสัชศาสตร์ คืออะไร

ทำความรู้จัก คณะเภสัชศาสตร์ คืออะไร

คณะเภสัชศาสตร์ คือคณะที่มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตเภสัชกรที่มีความรู้ความสามารถรอบด้าน ทั้งในด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เช่น เคมี ชีววิทยา และกายวิภาคศาสตร์ รวมถึงความรู้เฉพาะทางด้านเภสัชศาสตร์ เช่น เภสัชวิทยา เภสัชเคมี และเภสัชกรรมคลินิก การพัฒนายา การผลิตยา และการใช้ยาอย่างมีประสิทธิภาพ มีจุดมุ่งหมายการเรียนการสอนเพื่อสร้างเภสัชกรที่มีคุณภาพสูง มีความรู้ความสามารถในด้านยาเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานด้านการดูแลสุขภาพของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย

คณะเภสัชศาสตร์ เรียนอะไรบ้าง

คณะเภสัชศาสตร์ เรียนอะไรบ้าง

หลานคนอาจจะยังสงสัยว่าคณะเภสัชศาสตร์เรียนกี่ปี แต่ละชั้นปีเรียนอะไรกันบ้าง ซึ่งการเรียนในคณะเภสัชศาสตร์แบ่งออกเป็น 6 ปี โดยแต่ละปีมีเนื้อหาที่แตกต่างกัน ดังนี้

  • คณะเภสัชศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 : เรียนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ทั่วไป เช่น เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ และคณิตศาสตร์ รวมถึงวิชาพื้นฐานทางเภสัชศาสตร์
  • คณะเภสัชศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 : เรียนเกี่ยวกับวิชาเฉพาะทางเภสัชศาสตร์ เช่น เภสัชเคมี เภสัชวิทยา เภสัชเวท และเภสัชสาธารณสุข เป็นต้น
  • คณะเภสัชศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 : เรียนวิชาที่เน้นการปฏิบัติและการวิเคราะห์ เช่น เภสัชวิเคราะห์ เภสัชกรรมคลินิก เทคโนโลยีเภสัชกรรม เป็นต้น
  • คณะเภสัชศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 : เรียนการประยุกต์ใช้ความรู้ในสถานการณ์จริง เช่น การฝึกงานในโรงพยาบาล การวิเคราะห์และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยา เป็นต้น
  • คณะเภสัชศาสตร์ ชั้นปีที่ 5 : เรียนการประยุกต์ใช้ความรู้ในสถานการณ์จริงเพิ่มเติม การฝึกงานในสถานประกอบการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับยา
  • คณะเภสัชศาสตร์ ชั้นปีที่ 6 : เรียนการฝึกงานเต็มเวลาในโรงพยาบาลหรือสถานประกอบการเพื่อเตรียมความพร้อมในการทำงานจริง
คณะเภสัชศาสตร์แต่ละสาขา แตกต่างกันอย่างไร

คณะเภสัชศาสตร์แต่ละสาขา แตกต่างกันอย่างไร

การเรียนคณะเภสัชศาสตร์มีหลายสาขาวิชา ซึ่งแต่ละสาขามีเนื้อหาการเรียนการสอนที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

1. คณะเภสัชศาสตร์ สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิกและเภสัชกรรมโรงพยาบาล

สาขาเภสัชศาสตร์ที่เรียนเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาและคำแนะนำในการใช้ยาแก่ผู้ป่วยในโรงพยาบาล การวิเคราะห์ผลกระทบของยา และการประยุกต์ใช้ยาในคลินิก การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาลโดยตรง เช่น การจัดการยาให้ผู้ป่วย การให้คำแนะนำเกี่ยวกับยาแก่แพทย์ พยาบาล และผู้ป่วย การติดตามผลการรักษาด้วยยา การทำการวิจัยทางคลินิกเกี่ยวกับยา และการบริหารจัดการระบบยาในโรงพยาบาล

2. คณะเภสัชศาสตร์ สาขาวิชาเภสัชสาธารณสุข

สาขาเภสัชศาสตร์ที่เรียนเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และควบคุมโรคในระดับชุมชน เช่น การรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับยา การวางแผนและดำเนินโครงการสุขภาพ การวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพ และการประเมินผลโครงการ การพัฒนานโยบายสุขภาพ และการจัดการระบบการใช้ยาในระดับสาธารณสุข

3. คณะเภสัชศาสตร์ สาขาวิชาเภสัชเวท

สาขาเภสัชศาสตร์ที่เรียนเกี่ยวกับการใช้ยาจากพืชและสมุนไพร การผลิตและการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์สมุนไพร การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสมุนไพรและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ เพื่อนำมาพัฒนายาใหม่ หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร รวมถึงการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสมุนไพร และการวิเคราะห์หาสารสำคัญในสมุนไพร

4. คณะเภสัชศาสตร์ สาขาวิชาเภสัชเคมี

สาขาเภสัชศาสตร์ที่เรียนเกี่ยวกับการสังเคราะห์และการวิเคราะห์โครงสร้างเคมีของยา การพัฒนาสารเคมีที่มีคุณสมบัติเป็นยา การสังเคราะห์ยา การวิเคราะห์โครงสร้างของยา การศึกษาความคงตัวของยา และการพัฒนาวิธีการวิเคราะห์ยา เพื่อใช้ในการควบคุมคุณภาพยา

5. คณะเภสัชศาสตร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม

สาขาเภสัชศาสตร์ที่เรียนเกี่ยวกับการพัฒนาและการผลิตผลิตภัณฑ์ยาด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย การควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ยา การผลิตยาในระดับอุตสาหกรรม การออกแบบกระบวนการผลิตยา และการพัฒนารูปแบบยาใหม่ๆ

6. คณะเภสัชศาสตร์ สาขาวิชาเภสัชวิเคราะห์

สาขาเภสัชศาสตร์ที่เรียนเกี่ยวกับการวิเคราะห์และการตรวจสอบคุณภาพของยาและผลิตภัณฑ์ยา การใช้เทคนิคทางเคมีและชีวภาพในการวิเคราะห์ การวิเคราะห์สารเคมีในยา วัตถุดิบ และผลิตภัณฑ์สุขภาพ เพื่อตรวจสอบความบริสุทธิ์ ความเข้มข้น และการปนเปื้อนของสารต่าง ๆ

7. คณะเภสัชศาสตร์ สาขาวิชาการบริหารเภสัชกิจ

สาขาเภสัชศาสตร์ที่เรียนเกี่ยวกับการจัดการและการบริหารธุรกิจยา การวางแผนและการจัดการโครงการที่เกี่ยวข้องกับยา การบริหารจัดการในองค์กรเภสัชกรรม เช่น การวางแผน การจัดซื้อจัดจ้าง การตลาดยา การบริหารบุคลากร และการบริหารงบประมาณ

8. คณะเภสัชศาสตร์ เภสัชวิทยา

สาขาเภสัชศาสตร์ที่เรียนเกี่ยวกับผลกระทบของยาและสารเคมีต่อร่างกายมนุษย์ การศึกษาผลกระทบที่มีต่อระบบต่างๆ ในร่างกาย กลไกการออกฤทธิ์ของยา ผลข้างเคียงของยา และปฏิกิริยาของยาต่อร่างกาย เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนายาใหม่ และปรับปรุงการใช้ยาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

9. คณะเภสัชศาสตร์ ชีวเภสัชศาสตร์

สาขาเภสัชศาสตร์ที่เรียนเกี่ยวกับการศึกษาและการวิจัยเกี่ยวกับชีววิทยาและชีวเคมีของยาและระบบการใช้ยา การศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างยาและร่างกายในระดับโมเลกุลและเซลล์ เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนายาที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากขึ้น

10. คณะเภสัชศาสตร์ สาขาวิชานิติเภสัชศาสตร์ 

สาขาเภสัชศาสตร์ที่เรียนเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับยาและผลิตภัณฑ์ยา กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับยา เช่น กฎหมายยา กฎหมายอาหารและยา และกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้เภสัชกรสามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

11. คณะเภสัชศาสตร์ พิษวิทยา  

สาขาเภสัชศาสตร์ที่เรียนเกี่ยวกับการศึกษาพิษของยาและสารเคมีต่างๆ การวิเคราะห์และการประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาและสารเคมี ผลกระทบของสารพิษต่อร่างกาย กลไกการเกิดพิษ และการรักษาผู้ป่วยที่ได้รับพิษ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาหรือสารเคมีที่ไม่เหมาะสม

คณะเภสัชศาสตร์ มีที่ไหนบ้าง?

คณะเภสัชศาสตร์ มีที่ไหนบ้าง?

ปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยหลายแห่งในประเทศไทยที่เปิดสอนหลักสูตรเภสัชศาสตร์ แต่ละแห่งจะมีจุดเด่นและความเชี่ยวชาญที่แตกต่างกันไป แล้วคณะเภสัชศาสตร์มีที่ไหนบ้าง ซึ่งมีอยู่ด้วยกันดังต่อไปนี้

  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยมหิดล
  • มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • มหาวิทยาลัยบูรพา
  • มหาวิทยาลัยพะเยา
  • มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • มหาวิทยาลัยชินวัตร
  • มหาวิทยาลัยพายัพ
  • มหาวิทยาลัยรังสิต
  • มหาวิทยาลัยสยาม
  • มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
 คณะเภสัชศาสตร์ เรียนจบไปทำงานอะไร?

คณะเภสัชศาสตร์ เรียนจบไปทำงานอะไร?

เมื่อสำเร็จการศึกษาจากคณะเภสัชศาสตร์ นักศึกษาสามารถเลือกทำงานในหลายสายอาชีพที่เกี่ยวข้องกับยา โดยสามารถทำงานในสถานที่ต่างๆ และมีเงินเดือนเริ่มต้นที่แตกต่างกันไป ซึ่งรับรองว่าคุ้มค่าเทอมเภสัชศาสตร์แน่นอน

  • เภสัชกรในโรงพยาบาล ที่ทำงานในโรงพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชน โดยมีเงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 30,000 - 50,000 บาทต่อเดือน
  • เภสัชกรคลินิก ที่ทำงานในคลินิกหรือศูนย์สุขภาพ โดยมีเงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 25,000 - 45,000 บาทต่อเดือน
  • เภสัชกรในร้านขายยา ที่ทำงานในร้านขายยาทั่วไปหรือร้านขายยาในห้างสรรพสินค้า โดยมีเงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 25,000 - 40,000 บาทต่อเดือน
  • ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ยา ที่ทำงานในบริษัทผลิตยาและเครื่องมือแพทย์ โดยมีเงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 35,000 - 60,000 บาทต่อเดือน
  • นักวิจัยและพัฒนาในอุตสาหกรรมยา ที่ทำงานในห้องปฏิบัติการวิจัยและพัฒนายา โดยมีเงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 30,000 - 55,000 บาทต่อเดือน
  • เจ้าหน้าที่ฝ่ายควบคุมคุณภาพยา ที่ทำงานในบริษัทผลิตยา หรือโรงงานผลิตยา โดยมีเงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 30,000 - 50,000 บาทต่อเดือน
  • อาจารย์และนักวิจัยในสถาบันการศึกษา ที่ทำงานในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้อง โดยมีเงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 25,000 - 50,000 บาทต่อเดือน
  • เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับยา ที่ทำงานในหน่วยงานต่างๆ เช่น องค์การอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข โดยมีเงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 25,000 - 45,000 บาทต่อเดือน
  • ที่ปรึกษาทางด้านเภสัชศาสตร์ ที่ทำงานในบริษัทที่ปรึกษาหรือเป็นที่ปรึกษาอิสระ โดยมีเงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 35,000 - 60,000 บาทต่อเดือน
  • ผู้บริหารและผู้จัดการในธุรกิจยา ที่ทำงานในบริษัทผลิตและจำหน่ายยา โดยมีเงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 40,000 - 70,000 บาทต่อเดือน

สรุป 

การเรียนคณะเภสัชศาสตร์ต้องใช้เวลาเรียนประมาณ 6 ปี โดยมีเนื้อหาการเรียนการสอนที่หลากหลายและครอบคลุมทุกด้านของยา หลังจากสำเร็จการศึกษา นักศึกษาสามารถทำงานในหลายสายอาชีพที่เกี่ยวข้องกับยา และมีโอกาสก้าวหน้าในสายอาชีพอย่างมาก สำหรับผู้ที่สนใจหางานเภสัชกร JobsDB เป็นเว็บไซต์รวมงานจากบริษัทชั้นนำต่างๆ เป็นแพลตฟอร์มหางานแบบครบวงจร ซึ่งเป็นตัวเลือกที่ยอดเยี่ยมที่มีงานหลากหลาย และบริการที่ดีในด้านการค้นหางานที่ตรงกับความต้องการ มีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

More from this category: งานแรก

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่าผู้สมัครค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอะไรใน Jobsdb? สำรวจคำค้นหาที่ได้รับความนิยมเพื่ออัพเดทเทรนด์ใหม่เสมอ

สำรวจหัวข้อที่เกี่ยวข้อง

เลือกสิ่งที่สนใจเพื่อเรียกดูอาชีพที่เกี่ยวข้อง

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
ท่านได้ยอมรับคำประกาศเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล และนโยบายความเป็นส่วนตัวเพื่อให้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน หากท่านมีอายุต่ำกว่า 20 ปี ท่านได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง เพื่อยินยอมให้ Jobsdb และบริษัทในเครือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ท่านสามารถยกเลิกได้ทุกเวลา