หลาย ๆ คนอาจจะเคยสงสัยว่าทำไมการลาออกจะต้องแจ้งล่วงหน้า 30 วัน ทำไมการแจ้งออกแล้วเราไม่สามารถที่จะเดินออกบริษัทหรือที่ทำงานได้ในทันที ที่สำคัญมันจำเป็นไหมที่เราจะต้องแจ้งล่วงหน้านานดับเดือนแบบนี้ วันนี้เรามาหาคำตอบกัน
แจ้งลาออกล่วงหน้า
ก่อนอื่นเราจะต้องมาดูกันก่อนว่า ลาออกหากไม่แจ้งล่วงหน้าจะเป็นไรไหม คำตอบคือ อ้างอิงจากโพสต์ Anti-Fake News Center Thailand เกี่ยวกับข่าวบิดเบือน “ลาออกจากงาน ไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า 30 วัน สามารถออกจากงานได้ทันที” เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2565
ทางกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ได้ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวและชี้แจงว่า ตามมาตรา 17 พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ลูกจ้างลาออกต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ถ้าไม่บอกกล่าวก่อน หรือออกไปทันที แม้ไม่ต้องรอให้นายจ้างอนุมัติ การลาออกก็ตาม หากเกิดความเสียหาย นายจ้างสามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายจากลูกจ้างได้ และหากไม่เกิดความเสียหาย หรือนายจ้างพิสูจน์ไม่ได้ว่าเสียหายอย่างไร ศาลก็เพียงแต่ยกฟ้องเท่านั้น
โดยตามฎีกาที่ 10614/2558 เรื่อง ลูกจ้างลาออกจากงานไม่ถูกต้อง เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสอง และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 อันเป็นเหตุให้นายจ้างมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้แต่การกำหนดจำนวนค่าเสียหาย เป็นดุลพินิจของศาล ทั้งนี้โพสต์ดังกล่าว ไม่ตรงกับข้อกฎหมายส่งเสริมให้ลูกจ้างทำการลาออกไม่ถูกต้องตามระเบียบ สัญญา และตามข้อกฎหมาย แม้ไม่มีโทษทางอาญาแต่ก็อาจนำมาซึ่งปัญหาแรงงาน ปัญหาการฟ้องร้องกันไปมาได้
สรุปคือมาตรา 17 พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้าง โดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้า แต่กรณีที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาลูกจ้างต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบขององค์กรนั้น ๆ
เรื่องนี้หากจะให้เข้าใจง่าย ๆ คือ หากเรายื่นใบลาออกแล้ว เราจะต้องทำตามกฎขององค์กรที่เราสมัคร โดยปกติแล้ว ในสัญญาจ้างงานจะระบุระยะเวลาที่เราจะต้องแจ้งล่วงหน้าก่อนลาออก โดยปกติคือ 30 วัน ซึ่งหากเราลาออกโดยที่ไม่แจ้งล่วงหน้า ถ้าเกิดปัญหาขึ้นมา นายจ้างมีสิทธิที่จะฟ้องร้องเพื่อเรียกค่าเสียหายจากเราได้
โดยปกติแล้วในการทำงานบริษัทต่าง ๆ หากว่ามีการแจ้งลาออกนั้น ฝ่ายทรัพยากรบุคคลรวมไปถึงหัวหน้าทีม อาจจะต้องใช้เวลาในการหาคนมาทดแทนตำแหน่งที่ลาออก ซึ่งอาจจะต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร โดยแต่ละตำแหน่งอาจจะต้องแจ้งล่วงหน้าไม่เหมือนกันตามสัญญาที่ระบุ โดยหากว่าตำแหน่งสูง บางองค์กรอาจจะต้องให้แจ้งล่วงหน้านานถึง 90 วันเลยทีเดียว
นอกจากนี้ยังเป็นระยะเวลาในการที่เราจะถ่ายงานให้กับเพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ ได้ทำ ซึ่งหากเราออกไปเลย โดยที่ไม่แจ้งล่วงหน้าอาจจะนำมาซึ่งความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ทำให้เราอาจจะติด Black list ในบริษัท มิหนำซ้ำ เรื่องเหล่านี้อาจจะเข้าไปถึงหูของฝ่ายบุคคลในบริษัทอื่น ทำให้เราหางานได้ยากขึ้นในอนาคตอีกต่างหาก
สำหรับพนักงานที่ทำงานภายใต้สัญญาจ้างชั่วคราวหรือที่คนไทยนิยมเรียกว่าพนักงานสัญญาจ้าง (Contract) อาจจะมีเงื่อนไขในการลาออกไม่เหมือนกับพนักงานประจำ (Permanent) ที่เราสามารถที่จะลาออกเมื่อไหร่ก็ได้ โดยระยะเวลาในการล่วงหน้าแจ้งเพื่อที่จะลาออกนั้น ขึ้นอยู่กับกฎของบริษัทเช่นเดียวกับพนักงานประจำ แต่หากการลาออกก่อนที่สัญญาจ้างจะหมดลงนั้น อาจจะต้องมีการชดใช้ค่าเสียหายที่มีการระบุในสัญญา เนื่องจากไม่สามารถที่จะทำงานได้ตามระยะเวลาที่ได้ตกลงกันไว้
สำหรับวิธีการลาออกแม้ว่าการพูดปากเปล่ากับนายจ้าง จะถือว่าการลาออกสมบรูณ์แล้ว แต่หากจะให้ดีควรมีการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร เนื่องจากการทำวิธีนี้จะทำให้การลาออกของเราสมบรูณ์ยิ่งขึ้น และยังสามารถทำได้ทันที แม้ว่านายจ้างจะไม่อยู่
โดยหลังจากที่เรายื่นใบลาออกแล้ว อย่าลืมว่าสวัสดิการของเราที่มีจะหายไปด้วย ทำให้เราอาจจะต้องคิดให้ดีว่าหากเราว่า สวัสดิการของบริษัทในที่เก่ายังจำเป็นกับชีวิตของเรา แต่หากเราลาออกแล้วว่างงานอาจจะขอรับเงินทดแทนกรณีว่างงานจากประกันสังคมได้
ที่สำคัญเราควรที่จะจัดการงานต่าง ๆ ให้เรียบร้อยก่อนที่จะออกจากที่ทำงานเก่า เพื่อที่จะป้องกันผลเสียที่จะตามมาในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเสียหายที่เกิดขึ้นในความรับผิดชอบของเรา
จำเป็นไหมต้องแจ้งลาออกล่วงหน้า 30 วัน คำตอบคือ อาจจะต้องดูตามสัญญาจ้างงานที่ระบุไว้ หากสัญญาระบุว่าสามารถลาออกได้เลย ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องแจ้งออกล่วงหน้า แต่หากสัญญาระบุว่าต้องแจ้งล่วงหน้า ก็ควรแจ้ง เพราะนอกจากจะเป็นการรักษาผลประโยชน์ของตัวคุณแล้ว ยังเป็นผลประโยชน์ของบริษัทอีกด้วย
ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android
เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%81-%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%8a%e0%b8%b5%e0%b8%9e/
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b8%97%e0%b8%b3%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b8%84%e0%b8%99%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%88%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99/
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%95%e0%b8%b8%e0%b8%9c%e0%b8%a5%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%9e%e0%b8%99%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%94%e0%b8%b5-%e0%b9%86-%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%81/