เรซูเม่และพอร์ตโฟลิโอเปรียบเหมือน first impression เห็นครั้งแรกปุ๊ป ต้องสะดุดตาปั๊ป จนดึงดูดให้ฝ่าย HR หรือหัวหน้าแผนกอยากอ่านทันที โดยเฉพาะอาชีพที่ถนัดสร้าง(สรรค์)ภาพ อย่างกราฟฟิกดีไซน์เนอร์ที่ต้องใช้ความครีเอทีฟและทักษะทางศิลปะ เพราะฉะนั้นผลงานของพวกเขาธรรมดาซะที่ไหนล่ะ ครีเอทกันตั้งแต่ใบสมัครงานเลย แต่แค่ไหนถึงจะเรียกว่าพอดี ไม่มากไม่น้อยจนเกินไป วันนี้เรามีเคล็ดลับจัดทำเรซูเม่และพอร์ตโฟลิโอให้โดดเด่นมาฝากน้องใหม่ที่เพิ่งจบมหาวิทยาลัย แม้จะ จบใหม่ไม่เคยมีประสบการณ์ทำงาน มาก่อน ก็สามารถพรีเซนท์ตัวเองให้น่าสนใจได้ด้วย Resumer Graphic Designer พร้อม Portfolio ในการสมัครงาน
โดยปกติแล้วสายกราฟฟิกจะสร้างเรซูเม่ในโปรแกรม Photoshop หรือ Adobe illustrator แล้วแปลงไฟล์ให้เป็น PDF เพราะสายนี้เค้าถนัดงานออกแบบ จัดวางองค์ประกอบภาพอยู่แล้ว แต่น้องๆ บางคนอาจจะเข้าใจว่าเรามันเด็กอาร์ต ต้องโชว์ของให้สุดๆ ไปเลย แต่ช้าก่อน เก็บไว้โชว์ในส่วนของพอร์ตโฟลิโอจะดีกว่า เพราะ resume ควรดีไซน์ให้อ่านง่าย โดยใช้โทนสีที่สบายตา แต่อาจจะเพิ่มความเก๋ด้วยการเลือกสีแพนโทนของปีนั้นๆ เช่นเดียวกับฟอนต์ตัวอักษรก็ควรเลือกแบบเรียบๆ ขนาดควรอยู่ที่ 14 pt เพื่อให้อ่านง่าย
เป๊ะที่ว่านี้คือถูกต้องทั้งการสะกดคำและเป็นข้อมูลจริงทั้งหมด ไม่โมเมสร้างประวัติเกินจริงเพราะขนาดแค่เรซูเม่คุณยังโกหก แล้วจะมี ความซื่อสัตย์ในการทำงาน ได้อย่างไร นอกจากประวัติส่วนตัวแล้ว รูปภาพก็สำคัญ เชื่อว่าหลายคนรู้ดีว่าควรเลือกรูปที่สุภาพ แต่สิ่งที่คนพลาดคือเลือกรูปที่แต่งสวยหล่อเกินจริง ยิ่งโปรแกรมโฟโต้ช้อปนี่งานถนัดเค้าเลย แต่ควรใช้กับงานมากกว่านะจ๊ะ ดังนั้นควรเลือกรูปสุภาพดูดี ใกล้เคียงกับตัวจริงและไม่ใช่รูปเก่าเก็บหลายปีมาแล้ว
หางานได้ง่ายกว่าเดิมผ่าน application บนมือถือจากjobsDBทั้ง iOS และ Android โหลดเลย
อาจดูเป็นเรื่องเล็ก แต่จริงๆ ชื่ออีเมลนั้นสำคัญกว่าที่เราคิด เพราะส่งผลต่อความน่าเชื่อถือ ยกตัวอย่างง่ายๆ ทำไมบางบริษัทต้องให้พนักงานตั้งชื่ออีเมลโดยมีชื่อบริษัทต่อท้าย ก็เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือเมื่อติดต่อลูกค้าและเป็นหลักฐานว่าเราเป็นพนักงานที่บริษัทแห่งนี้จริงๆ หากเราระบุอีเมลติดต่อในเรซูเม่ที่ใช้ชื่อเป็นกันเองจนเกินไปย่อมกระทบต่อภาพลักษณ์ได้ เช่น [email protected], [email protected] ในสายตาคนจ้างงานอาจจะสงสัยในตัวเรา และไม่มั่นใจว่าพร้อมเข้าสู่วัยทำงานจริงๆ หรือยัง (อ่านเลย ชื่ออีเมลล์แบบไหนที่ HR เห็นแล้วเครียด )
เลือกผลงานหรือกิจกรรมเด่นๆ ที่ภูมิใจในระหว่างเรียน รวมไปถึงประวัติการฝึกงาน โดยไม่ลืมเขียนคำ อธิบายสั้นๆ ว่าได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่อะไรบ้าง เพราะหลายคนเขียนแค่หัวข้อ แต่ไม่บอกรายละเอียดเลย นอกจากทำให้ไม่น่าสนใจแล้ว คนที่อ่านเรซูเม่ก็ไม่รู้ว่าเรามีความสามารถอะไรบ้าง
เนื่องจากอาชีพกราฟฟิกดีไซนเนอร์ เป็นงานที่ต้องใช้เครื่องไม้เครื่องมือเยอะ ควรระบุไปเลยว่าเราสามารถใช้งานโปรแกรมไหนได้บ้าง พร้อมให้คะแนนความถนัดของตัวเอง อาจบอกสเป็คคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานอยู่เป็นประจำ ซึ่งหากตรงกับสเป็คคอมพิวเตอร์ของบริษัทที่เราสมัครก็เป็นแต้มต่อ เพราะคุ้นชินกับอุปกรณ์อยู่แล้ว สามารถเริ่มงานได้เลย
มาถึงด่านที่สองนั่นก็คือพอร์ตโฟลิโอ ซึ่งถือเป็นหมัดเด็ดของงานสายนี้เลย สามารถชี้ขาดว่าจะได้งานหรือไม่ และยังเป็นพื้นที่ปล่อยของได้มากกว่าเรซูเม่ที่จะเน้นตัวหนังสือเป็นหลัก แล้วเรายังสามารถอัพโหลดพอร์ตโฟลิโอลงบนเว็บไซต์ส่วนตัวให้อ่านสะดวกได้ด้วย
แม้จุดประสงค์หลักของพอร์ตโฟลิโอคือแฟ้มรวมผลงาน แต่เราควรกำหนดคอนเซ็ปต์ในการเล่าเรื่องไปเลยว่าต้องการเล่าแบบไหน เช่น จะเล่าเรื่องด้วยบทกลอน ก็อาจจะคั่นแต่ละหน้าผลงานด้วยบทกลอนที่แต่งเอง ก็จะทำให้ผลงานเราโดดเด่นตั้งแต่หน้าปก ไปจนถึงการเลือกใช้โทนสีและลายเส้นของพอร์ตทั้งเล่มก็จะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
พอร์ตโฟลิโอก็เปรียบได้กับหนังสือหนึ่งเล่มที่ประกอบไปด้วยหน้าปก คำนำ สารบัญ เนื้อเรื่อง อ้างอิง ซึ่งเราสามารถนำมาปรับใช้ได้โดยไม่ต้องเหมือนเป๊ะ แต่การจัดเรียงเนื้อหาต้องมีความต่อเนื่องกัน สามารถใช้โทนสีและลายเส้นช่วยร้อยเรื่องราวให้อยู่ในธีมเดียวกันได้ ไล่เรียงมาตั้งแต่หน้าปก ที่ไม่จำเป็นต้องใช้รูปเป็นทางการแบบเรซูเม่ แต่ขอให้ดูสวยสุภาพ จากนั้นก็เพิ่มส่วนของเรซูเม่ลงไปด้วย ในหน้าสารบัญก็อาจแบ่งพาร์ทตามประเภทของงานไปเลย เช่น งานออกแบบโปสเตอร์ โลโก้ เว็บไซต์ ฯลฯ เพื่อให้ง่ายต่อการอ่าน อาจมีพาร์ทพิเศษเอาไว้รวมรูปภาพกิจกรรมหรือผลงานที่เราอยากนำเสนอ ซึ่งจำนวนหน้าของพอร์ตโฟลิโอที่เหมาะสมควรจะอยู่ที่ 20-30 หน้า
ในกรณีของน้องๆ จบใหม่ที่ยังไม่มีผลงานมากพอ ทางออกง่ายๆ คือลองสร้างผลงานขึ้นมาใหม่ โดยที่เราเป็นคนกำหนดโจทย์เอง เช่น ออกแบบเว็บไซต์ให้กับบริษัทที่จะไปสมัครงาน ออกแบบโปสเตอร์สินค้าที่กำลังได้รับความนิยมในตอนนั้น นี่ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ทำให้เราได้แสดงความสามารถ และยังฝึกคิดไอเดียออกแบบใหม่ๆ ด้วยค่ะ
ถึงแม้เราจะส่งผลงานในรูปแบบดิจิทัล แต่ก็ควรมีฉบับปริ๊นท์รวมเล่มเตรียมไว้เพื่อพรีเซนต์ตอนสัมภาษณ์งานด้วย ผู้สัมภาษณ์จะได้เห็นผลงานได้ชัดเจนขึ้น และเราก็สามารถอธิบายแนวคิดเบื้องหลังการออกแบบได้อย่างเต็มที่ มากกว่าการเขียนอธิบายสั้นๆในพอร์ตฟอลิโอ หรือถ้าใครมีผลงานจริง อย่างโปสเตอร์ หรือออกแบบแพ็คเก็จผลิตภัณฑ์ก็นำมาโชว์ได้เลย การที่ผู้สัมภาษณ์ได้เห็นและสัมผัสของจริงย่อมสร้างความประทับใจมากขึ้นไปอีก
หวังว่าทุกคนจะนำแนวทางนี้ไปปรับใช้เพื่ออัปเดตเรซูเม่และพอร์ตโฟลิโอให้โดดเด้งเตะตานายจ้าง ถ้าอยากรู้รายละเอียดของการจัดทำ เรซูเม่ เพิ่มเติมสามารถคลิกอ่านได้ที่นี่ หรือ สมัครงานกราฟฟิกดีไซน์เนอร์ ที่ jobsDB
#ให้ก้าวแรกของการทำงานกำหนดเส้นทางชีวิตคุณ
#jobsDB
หางานได้ง่ายกว่าเดิมผ่าน application บนมือถือจากjobsDBทั้ง iOS และ Android โหลดเลย