14 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อประยุกต์ใช้ในการทำงาน

14 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อประยุกต์ใช้ในการทำงาน
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 30 August, 2024
Share

Key Takeaway

  • จิตวิทยาศาสตร์ คือคุณลักษณะหรือนิสัยของบุคคล เกิดจากการศึกษาหาความรู้ โดยใช้วิธีการที่เกี่ยวข้องกับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาปรับใช้กับการเรียนรู้
  • สามารถนำทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทั้ง 14 ทักษะ ไปประยุกต์กับการทำงาน เพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทำให้เห็นภาพรวมและทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์ได้เป็นอย่างดี
  • หากใครที่มีทักษะใดทักษะหนึ่งในกระบวนทางวิทยาศาสตร์ แต่ไม่รู้ว่าตนเองเหมาะกับการทำงานประเภทไหนดี ก็ช่วยให้เห็นว่าตนเองเหมาะกับการทำงานแบบไหนได้ง่ายขึ้น

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นวิธีหาความรู้ที่มีระบบ และประสิทธิภาพ เมื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน จะช่วยพัฒนาการทำงานได้ และยังเพิ่มโอกาสเติบโตในหน้าที่การงานได้อีกด้วย บทความนี้จะมาอธิบายว่าทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทั้ง 14 ทักษะมีอะไรบ้าง นำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างไร ไปดูกัน!

จิตวิทยาศาสตร์ เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างไร?

จิตวิทยาศาสตร์ เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างไร?

จิตวิทยาศาสตร์ หรือ เจตคติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific minds) คือ คุณลักษณะหรือนิสัยของบุคคล ที่เกิดจากการศึกษาหาความรู้ โดยใช้วิธีการที่เกี่ยวข้องกับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 14 ข้อ มาปรับใช้กับการเรียนรู้ อีกทั้งวิธีนี้ส่งผลดีต่อการทำงานด้วยเช่นกัน เพราะช่วยให้คิดและทำงานได้อย่างเป็นระบบ มีการวางแผนการทำงานเป็นขั้นตอน ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

14 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กับการทำงาน

การใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์กับการทำงาน ถือเป็นหัวใจสำคัญในการกำหนดจุดมุ่งหมายการทำงาน เพื่อให้งานมีประสิทธิภาพ โดยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แบ่งได้เป็น 14 ทักษะ ดังนี้

1. ทักษะการสังเกต (Observation)

ทักษะการสังเกต คือหนึ่งในกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ โดยมีวิธีการสังเกตง่ายๆ คือ การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งในร่างกาย หรือใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้นและผิวสัมผัส เพื่อค้นหาข้อมูล ค้นหารายละเอียดต่างๆ จากเหตุการณ์ นำมาใช้ในการสรุปผล โดยไม่ใช้ความคิดเห็นของผู้สังเกต เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตรงตามความต้องการ

อีกทั้ง ทักษะการสังเกตเป็นทักษะพื้นฐานที่ช่วยให้วิเคราะห์สิ่งต่างๆ ได้แม่นยำมากขึ้น โดยคนที่มีทักษะแบบนี้เหมาะกับการทำงานที่ต้องมีความละเอียดถี่ถ้วน งานที่ต้องใช้การสังเกตเป็นหลัก เช่น นักวิทยาศาสตร์ แพทย์ พยาบาล ครู

2. ทักษะการจำแนก (Classification)

ทักษะการจำแนก คือทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดกลุ่ม จัดประเภทสิ่งต่างๆ รวมถึงการเรียงลำดับวัตถุสิ่งของ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นออกเป็นหมวดหมู่ โดยใช้เกณฑ์ความเหมือน ความแตกต่าง หรือความเกี่ยวข้องกัน นำมาแบ่งกลุ่มข้อมูลต่างๆ ให้ชัดเจน 

ทักษะการจำแนก ช่วยให้การทำงานเป็นระบบ สามารถจัดลำดับความสำคัญของการทำงานได้อย่างดี คนที่มีทักษะแบบนี้เหมาะกับการทำงานที่เน้นการจัดการเป็นหลัก ทำงานแบบมีขั้นตอน เช่น นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์นักสถิติ พนักงานธุรการ

3. ทักษะการวัด (Measurement)

3. ทักษะการวัด (Measurement)

ความสามารถทางกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ในการเลือกเครื่องมือเพื่อวัดค่าปริมาณ หรือค่าของสิ่งต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม รวมถึงสามารถระบุค่าที่ได้จากการวัดออกมาเป็นหน่วยตัวเลขได้อย่างละเอียด รวดเร็ว แม่นยำ และได้ค่าถูกต้อง หรือใกล้เคียงกับความเป็นจริง

ทักษะการวัด ช่วยให้เปรียบเทียบหรือแปลงหน่วยปริมาณ หน่วยระยะทางได้อย่างแม่นยำ อีกทั้งสามารถประยุกต์วิธีการหาค่าต่างๆ โดยที่ไม่ต้องใช้เครื่องมืออีกด้วย โดยคนที่มีทักษะแบบนี้เหมาะกับการทำงานที่ต้องใช้ความแม่นยำ ความรอบคอบ และเป็นงานที่ต้องใส่ใจรายละเอียด เช่น วิศวกร นักคณิตศาสตร์ นักบัญชี พนักงานธนาคาร

4. ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปซกับสเปซ และสเปซกับเวลา (Space/Space Relationship and Space/Time Relationship)

คำว่า สเปซ (Space) หมายถึง ที่ว่างของวัตถุนั้นๆ โดยมีรูปร่างและลักษณะเช่นเดียวกับวัตถุหลัก ซึ่งสเปซของวัตถุ จะมีด้วยกันทั้งหมด 3 มิติ คือ กว้าง ยาว สูงหรือหนาของวัตถุ จึงทำให้ทักษะนี้เป็นหนึ่งในทักษะของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ที่สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ คือ

  • การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปซกับสเปซ หมายถึง การหาความสัมพันธ์ของตำแหน่งวัตถุหนึ่งกับอีกวัตถุหนึ่ง ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 มิติ กับ 3 มิติ
  • การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปซกับเวลา หมายถึง การหาความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนตำแหน่ง เปลี่ยนมิติของวัตถุ กับเวลาที่เปลี่ยนไป

ทักษะการหาความสัมพันธ์นี้ ช่วยให้สังเกตถึงการเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง หรือรูปร่างของวัตถุจากการเคลื่อนที่ หรือการหมุน ในมุมมองที่ต่างกัน คนที่มีทักษะแบบนี้เหมาะกับการทำงานที่ใช้การสังเกต จดจำรายละเอียดได้ดี มีความคิดสร้างสรรค์ งานที่ต้องใช้จินตนาการ เช่น สถาปนิก มัณฑนากร ศิลปิน ครูสอนศิลปะ

5. ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล (Organizing Data and Communication)

5. ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล (Organizing Data and Communication)

ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล คือกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่นำข้อมูล ที่ได้จากการรวบรวมด้วยวิธีต่างๆ เช่น การสังเกต การวัดค่าหาปริมาณ หรือการทดลองในรูปแบบต่างๆ มาเรียบเรียงใหม่ด้วยการ จัดกลุ่มประเภท การเรียงลำดับข้อมูล หรือคำนวณ และนำเสนอในรูปแบบที่เข้าใจง่าย เช่น กราฟ ตาราง แผนภูมิ แผนภาพ ไดอะแกรม หรือการเขียนบรรยาย ตามความเหมาะสม

โดยทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล เป็นทักษะที่ช่วยให้จัดการความคิดให้เป็นระบบ เปลี่ยนจากเรื่องเข้าใจยากให้เป็นเรื่องเข้าใจง่าย ทำให้คนอื่นมองเห็นภาพหรือสิ่งที่ต้องการเสนอได้ชัดเจน สำหรับทักษะแบบนี้จึงเหมาะกับการทำงานที่ต้องใช้ความคิดในการวิเคราะห์ หรือการทำงานที่ต้องนำเสนองานให้ออกมาน่าสนใจ เช่น ผู้ออกแบบงานนิทรรศการ ผู้กำกับฝ่ายศิลป์ โปรดิวเซอร์

6. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล (Inferring)

ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล คือทักษะหรือความสามารถในกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับอธิบายข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การวัดค่า หรือการทดลอง ด้วยการใช้ความคิดเห็น ความรู้ หรือประสบการณ์เดิมที่มีอยู่ มาเป็นตัวช่วยในการลงความเห็น

ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล ช่วยให้อธิบายถึงสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีเหตุผล พร้อมทั้งสามารถนำประสบการณ์เดิมที่มีอยู่ นำมาช่วยในการตัดสินใจได้อีกทางหนึ่ง โดยส่วนมากคนที่มีทักษะแบบนี้ มักจะเหมาะกับการทำงานในรูปแบบการให้คำปรึกษา การเป็นที่ปรึกษาในด้านต่างๆ เช่น จิตแพทย์ ผู้ให้คำปรึกษา นักกิจกรรมบำบัด

7. ทักษะการพยากรณ์ (Prediction)

ทักษะการพยากรณ์ คือการทำนายภายในขอบเขตข้อมูล หรือภายนอกขอบเขตข้อมูล การคาดคะเนผลลัพธ์ การสรุปคำตอบของปรากฏการณ์ หรือสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า โดยอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างการสังเกต ทฤษฎี หลักการ รวมถึงสิ่งที่เคยเกิดขึ้นซ้ำๆ มาช่วยคาดการณ์และสรุปผลถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น

ทักษะพยากรณ์ ช่วยให้เตรียมพร้อม และรับมือกับสถานการณ์ได้อย่างแม่นยำ เหมาะกับการทำงานที่ต้องสังเกต วิเคราะห์ คาดการณ์อยู่เสมอ เช่น นักอุตุนิยมวิทยา นักเศรษฐศาสตร์ นักวิเคราะห์ข้อมูล

8. ทักษะการตั้งสมมติฐาน (Formulating Hypothesis)

การตั้งสมมติฐานในกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ การสมมติ การคาดเดาผลลัพธ์ที่น่าจะเป็นไปได้หรือผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตาม หลักในการตั้งสมมติฐานจะอาศัยการสังเกต ประสบการณ์ หรือความรู้เดิม มาเป็นตัวกำหนดก่อนทำการทดลองเพื่อหาผลลัพธ์

ทักษะสมมติฐานช่วยให้เห็นถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ทำให้เราสามารถรับมือกับปัญหาได้โดยง่าย โดยรวมแล้วจึงเหมาะกับการทำงานหรือคนที่ชอบหาวิธีใหม่ๆ ในการแก้ไขปัญหา มีไหวพริบ และมีไอเดียใหม่ๆ อยู่เสมอ เช่น นักวิทยาศาสตร์ ผู้ช่วยออกแบบการทดลองทางวิทยาศาสตร์

9. ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Defining Operationally)

9. ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Defining Operationally)

ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ คือการกำหนดคำ ความหมายและขอบเขต กำหนดตัวแปรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสมมติฐานหรือการทดลองทางกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้เข้าใจตรงกัน ต้องเป็นสิ่งที่สังเกตหรือวัดได้ เช่น การวัดหรือการทดลอง พร้อมอธิบายถึงสิ่งที่สังเกตให้ชัดเจน ใช้ภาษาเข้าใจง่าย

ดังนั้น ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการจึงช่วยเรื่องการสื่อสารให้เข้าใจความหมายตรงกันทั้งสองฝ่าย สามารถอธิบาย และแยกแยะความแตกต่างของคำจำกัดความเชิงปฏิบัติการและคำอธิบายทั่วไปได้ ทำให้คนที่มีทักษะแบบนี้เหมาะกับการทำงานเกี่ยวกับระบบการจัดการ การอบรมและการวางแผน เช่น นักวิชาการ นักวิจัย นักลงทุน 

10. ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร (Identifying and Controlling Variables)

ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร เป็นทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นสูงเกี่ยวกับการกำหนดตัวแปรต่างๆ ตั้งแต่ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุม เพื่อให้สอดคล้องกับสมมติฐาน หากไม่มีการควบคุมตัวแปรให้เหมือนกัน ก็อาจทำให้ผลการทดลองคลาดเคลื่อนได้ โดยทักษะนี้ช่วยควบคุมคำตอบหรือผลลัพธ์เป็นไปตามต้องการ เหมาะกับการทำงานทดลอง งานที่ต้องหาคำตอบของผลลัพธ์ เช่น นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย นักทดลอง

11. ทักษะการทดลอง (Experimenting)

11. ทักษะการทดลอง (Experimenting)

ทักษะการทดลองจริงตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อหาคำตอบตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ โดยการทดลองแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

  • การทดลองแบ่งกลุ่มเปรียบเทียบ
  • การทดลองแบ่งไม่มีกลุ่มเปรียบเทียบ
  • การทดลองแบบการลองผิดลองถูก

นอกจากนี้การทดลองประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ การออกแบบการทดลอง การลงมือปฏิบัติ และการบันทึกผล โดยทักษะนี้จะช่วยให้เกิดกระบวนการคิด การเรียนรู้ และหากพบปัญหา ก็จะสามารถแก้ไขได้ตรงจุด สิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อรูปแบบการทำงานที่ต้องใช้ความคิด แก้ไขปัญหา การวิเคราะห์ หรือการทำงานที่มีการวางแผน เช่น ครูวิทยาศาสตร์ นักเคมี นักวิเคราะห์ระบบ

12. ทักษะการตีความหมายข้อมูลและการลงข้อสรุป (Interpreting Data and Conclusion)

ทักษะการตีความหมายข้อมูลและการลงข้อสรุป เป็นทักษะในการอ่านและแปลความหมายข้อมูล หรือการบรรยายข้อมูลที่มีอยู่ จากตาราง กราฟ รูปภาพ แผนภาพ แผนภูมิ รวมถึงข้อมูลในเชิงสถิติ เพื่อนำมาสรุปความสัมพันธ์ของข้อมูลทั้งหมดภายใต้ขอบเขตการทดลองของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และต้องเป็นข้อมูลสรุปที่สื่อความหมายให้คนอื่นเข้าใจตรงกัน

ทักษะการตีความหมายข้อมูลและการลงข้อสรุป เป็นประโยชน์ต่อกระบวนความคิด ให้คิดอย่างมีหลักการ เหตุผล และช่วยเปลี่ยนระบบความคิดที่ซับซ้อนให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น นำไปสู่รูปแบบการทำงานที่ต้องใช้การสื่อสารเป็นหลัก งานที่ต้องกระตือรือร้นสูง ใช้ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้ได้งานที่มีประสิทธิภาพ เช่น เจ้าหน้าที่การตลาด นักวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด นักวิเคราะห์สินเชื่อ

13. ทักษะการคำนวณ (Using Numbers)

13. ทักษะการคำนวณ (Using Numbers) 

ทักษะการคำนวณ เป็นทักษะที่นำจำนวนตัวเลขที่นับได้ ตัวเลขจากการสังเกต การวัดค่า การทดลองจากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หรือตัวเลขจากแหล่งอื่น มาคำนวณด้วยสูตรคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร หรือหาค่าเฉลี่ย และนำเอาค่าที่ได้จากการคำนวณมาสรุป เพื่อใช้ในการสื่อความหมายให้เข้าใจ 

ทักษะคำนวณนี้ ช่วยให้หาผลลัพธ์การคำนวณได้ถูกต้อง แม่นยำ ช่วยวิเคราะห์และแก้ปัญหาจากตัวแปรของข้อมูล คนที่มีทักษะแบบนี้ มักจะเหมาะกับการทำงานที่ต้องใช้การคำนวณเป็นหลัก หรือใช้การวิเคราะห์ประเมินผล เช่น พนักงานบัญชี วิศวกร สถาปนิก นักคณิตศาสตร์ประกันภัย

14. การสร้างแบบจำลอง (Modeling Construction) 

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ข้อสุดท้าย คือ การสร้างแบบจำลอง เป็นการสร้างและการนำเสนอแนวความคิดในรูปแบบจำลองต่างๆ เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจ เช่น ภาพเคลื่อนไหว สิ่งประดิษฐ์ สถานการณ์จำลอง เป็นต้น

การสร้างแบบจำลอง เป็นประโยชน์ที่ช่วยส่งเสริมความเข้าใจ สามารถต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ได้ โดยคนที่มีทักษะแบบนี้เหมาะกับการทำงานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ มีจินตนาการสูง ชอบคิดหรือทำสิ่งใหม่ๆ เช่น ผู้กำกับฝ่ายศิลป์ นักออกแบบแฟชั่น ดีไซเนอร์ ช่างแต่งหน้า

สรุป

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นทักษะที่มีประโยชน์ในด้านของกระบวนการคิด จัดระเบียบความคิดให้เป็นลำดับขั้นตอน การแสวงหาความรู้ที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือ ตลอดจนการแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างมีระบบ โดยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน ตั้งแต่การวางแผนการทำงาน การลงมือทำ จนถึงขั้นตอนสรุปผลการทำงานเพื่อให้ได้ผลสำเร็จตรงตามจุดประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับคนที่กำลังมองที่ใช่ งานที่เหมาะกับตัวคุณรวบรวมทุกสายงานไว้อย่างครอบคลุม ไม่ว่ามีความฝันที่อยากทำอาชีพอะไร อยากทำงานแบบไหน หรือกำลังเปลี่ยนสายงาน ที่นี่ได้รวมตำแหน่งงานคุณภาพจากบริษัทชั้นนำทั่วประเทศ พร้อมเปรียบเทียบเงินเดือน เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ เว็บไซต์ยังใช้งานง่ายเพียงแค่ระบุประเภทงาน สถานที่ทำงาน รวมถึงเงินเดือนที่ต้องการ เพียงระบุไม่กี่ขั้นตอนก็ช่วยให้คุณได้งานที่ตรงตามต้องการแล้วหางาน JobsDB

More from this category: การพัฒนาด้านอาชีพ

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่าผู้สมัครค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอะไรใน Jobsdb? สำรวจคำค้นหาที่ได้รับความนิยมเพื่ออัพเดทเทรนด์ใหม่เสมอ

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
ท่านได้ยอมรับคำประกาศเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล และนโยบายความเป็นส่วนตัวเพื่อให้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน หากท่านมีอายุต่ำกว่า 20 ปี ท่านได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง เพื่อยินยอมให้ Jobsdb และบริษัทในเครือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ท่านสามารถยกเลิกได้ทุกเวลา