แม้ปัจจุบันทัศนคติในเรื่องการกีดกันทางเพศหรือ Sexism จะเปลี่ยนไปมาก แต่ก็ยังมีให้พบเห็นได้ในปัจจุบัน ในหลายองค์กร ในหลายประเทศ จากผลการสำรวจ Laws of Attraction จาก JobsDB พบว่า งานในอุตสาหกรรมหนัก ๆ หรืองานเฉพาะทาง สัดส่วนของพนักงานเพศชายจะมีมากกว่าเพศหญิง ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจ ไอที มีอัตราส่วนเพศชาย 60% เพศหญิง 40% ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ มีสัดส่วนเพศชาย 63% เพศหญิง 37% เช่นเดียวกับธุรกิจวิศวกรรม สัดส่วนเพศชาย 59% เพศหญิง 41% แสดงให้เห็นว่าสายอาชีพดังกล่าวยังให้ความสำคัญกับเรื่องเพศ และนี่คือ Sexism ที่ผู้หญิงต้องเจอในที่ทำงาน แต่เราสามารถหาวิธีเอาตัวรอดได้
ซึ่งนอกเหนือจากจากจาก สวัสดิการทั่วไป ที่พนักงานควรได้รับอย่างเท่าเทียมกัน เรื่องของ Sexism ก็ควรมีความเท่าเทียมกันด้วย
กีดกันทางเพศในที่ทำงาน
ข้อมูลจากองค์การสหประชาชาติระบุว่า ปัจจุบัน ผู้หญิงยังได้รับค่าจ้างน้อยกว่าผู้ชาย 23% ในการทำงานแบบเดียวกัน นอกจากนี้ ผู้หญิงยังใช้เวลาทำงานบ้านโดยไม่ได้รับค่าตอบแทน มากกว่าผู้ชายกว่าสองเท่า และในอีกกว่า 100 ประเทศทั่วโลก ยังคงมีกฎหมายที่ห้ามผู้หญิงทำงานบางประเภทอยู่
การกีดกันทางเพศในที่ทำงาน แม้ว่าปัจจุบัน เราจะเห็นว่าผู้หญิงได้รับโอกาส ให้ดำรงตำแหน่งใหญ่ ๆ ในองค์กร หรือเวทีระดับโลกมากมายก็ตาม เช่น นางอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีของเยอรมันนี นางคริสตาลินา จอร์จีวา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของธนาคารโลก แต่พนักงานหญิงในยุโรปกว่า 60% ก็ยังคงถูกกีดกันทางเพศในที่ทำงาน ในลักษณะของการถูกกดดันให้มีข้อผูกพันในเรื่องเพศ เพื่อแลกกับงาน หรือแลกกับการได้โปรโมต เลื่อนขั้น ยังไม่รวมไปถึงการถูกแตะต้องสัมผัสอย่างไม่เหมาะสม เช่น การเข้ามาสัมผัส ลูบคลำ
วิธีการเอาตัวรอด
การเอาตัวรอดให้ได้จาก Sexism ต้องอาศัยความรู้จากองค์กรด้วยส่วนหนึ่ง เพื่อให้พนักงานสามารถรับมือได้ด้วยการกำหนดมาตรการที่เท่าเทียมกัน ดังนี้
1. ควรให้มีพนักงานแต่งกายตามอัตลักษณ์ทางเพศสภาพของบุคคลนั้น ไม่ควรกำหนดแนวปฏิบัติใด ๆ เกี่ยวกับการแต่งกายของพนักงานที่เป็นการเลือกปฏิบัติ และไม่เป็นธรรมต่อพนักงานที่อัตลักษณ์เพศสภาพไม่ตรงเพศโดยกำเนิด
2. มีการจัดแบ่งพื้นที่ที่เหมาะสม ควรมีการแบ่งแยกห้องน้ำชาย ห้องน้ำหญิง ในจำนวนที่เพียงพอกับจำนวนของพนักงาน
3. การประกาศรับ สมัครงาน ขององค์กร สามารถระบุคุณสมบัติเฉพาะด้านวุฒิการศึกษา หรือความสามารถเฉพาะที่สอดคล้องกับลักษณะงานได้ แต่ไม่ควรกำหนดเพศ ยกเว้นลักษณะงานจำเป็นต้องกำหนด
4. ภายในองค์กรไม่ควรมีการใช้วาจาที่เหยียดเพศ เช่น เบี่ยงเบนทางเพศ เพศที่สามผิดปกติ อีแอบ เป็นต้น หรือถ้อยคำว่าเพศหญิง เช่น ชะนี สาวแก่ เป็นต้น คำที่ไม่สมควรใช้กับเพศชาย เช่น แมงดา หน้าตัวเมีย เป็นต้น รวมไปถึงการแสดงกิริยาล้อเลียนทางเพศก็ไม่ควรทำ
5. การโปรโมตหรือเลื่อนตำแหน่งต่าง ๆ ควรส่งเสริมให้คัดสรรหาบุคคลที่เหมาะสมต่อการดำรงตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็นเพศชาย เพศหญิง และเพศที่สามอย่างเท่าเทียมกัน
ไม่ว่าจะเป็นเพศไหน ก็คงไม่มีใครอยากพบเจอกับเหตุการณ์ Sexism ในที่ทำงาน แต่หากเกิดขึ้นแล้วต้องแก้ไข ต้องรับมือให้ได้ และหากองค์กรไม่ยื่นมือเข้ามาดูแลพนักงานอย่างเต็มที่ ก็ควรเปลี่ยนไปอยู่ในองค์กรที่ดูแลพนักงานอย่างจริงใจดีกว่า ค้นหาองค์กรใหม่ในครั้งต่อไป ให้แอปพลิเคชัน JobsDB ช่วยคุณคัดกรององค์กรที่ใช่
ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b8%a1%e0%b8%b5%e0%b8%9b%e0%b8%b1%e0%b8%8d%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b9%80%e0%b8%9e%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%a3%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b8%a1%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99/
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%b5%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%a1%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b9%80%e0%b8%88%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%a2-10-%e0%b9%81%e0%b8%9a%e0%b8%9a/