สลิปเครดิตใช้หักภาษีได้หรือไม่

สลิปเครดิตใช้หักภาษีได้หรือไม่
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

ทุกวันนี้บัตรเครดิตได้กระจายสู่มือผู้บริโภคค่อนข้างมากหลายล้านใบ ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่ที่มีงานทำ มีรายได้ประจำในประเทศไทยของเราจึงถือบัตรเครดิตเกือบทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบธุรกิจ ดังนั้นบัตรเครดิตต่างๆ ได้ออกรายการส่งเสริมการขายให้ผู้ประกอบธุรกิจถือบัตรเครดิตเกือบทุกคน

สลิปเครดิต

ถือบัตรมากขึ้นเช่น ค่าธรรมเนียมรายปีฟรี ค่าธรรมเนียมแรกเข้าฟรี สะสมแต้มจากการใช้บัตรเครดิต ทำให้บางคนถือบัตรเครดิต 3 -5 ใบที่ออกโดยสถาบันการเงิน และไม่ใช่สถาบันการเงิน (NON –BANK) เนื่องจากการออกบัตรเครดิตกำหนดรายได้ขั้นต่ำ 15,000 บาท ทำให้บางรายมีบัตรเครดิตหลายใบ แต่บริหารไม่เป็นก่อหนี้ยืมสินจากบัตรเครดิตเป็นจำนวนมาก ผลสุดท้ายก็ต้องถูกฟ้องร้องหนี้ที่ก่อจากบัตรเครดิตเกินตัว การใช้บัตรเครดิตจะมีผู้เกี่ยวข้องอยู่ 3 ฝ่ายคือ

  1. “ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิต” หมายถึง ผู้ประกอบการที่ออกบัตรเครดิตให้แก่ผู้ถือบัตร เพื่อใช้ชำระราคาสินค้า ค่าบริการ หรือเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ จากบัตรเครดิต โดยผู้ประกอบการจะเป็นผู้ชำระราคาสินค้า หรือค่าบริการให้แก่ผู้รับบัตรแทนผู้ถือบัตรก่อน ทั้งนี้ ผู้ถือบัตรต้องชำระค่าธรรมเนียม ค่าบริการ ดอกเบี้ย หรือค่าตอบแทนจากการใช้ประโยชน์ในบัตรเครดิตนั้น
  2. “ผู้ถือบัตร” หมายถึง บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลซึ่งได้รับการออกบัตรเครดิต เพื่อใช้ชำระราคาสินค้าหรือค่าบริการให้แก่ผู้รับบัตร หรือเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ จากบัตรเครดิต นอกจากนี้ให้หมายความรวมถึง ผู้ที่ได้รับการออกบัตรเครดิตประเภทบัตรเสริมด้วย
  3. “ผู้รับบัตร” หมายถึง ผู้ประกอบกิจการขายสินค้า หรือให้บริการซึ่งตกลงรับชำระราคาสินค้าหรือค่าบริการด้วยบัตรเครดิตจากผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิต

อย่างไรก็ตาม การถือบัตรเครดิต 1 ใบ “ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิต” จะรับประโยชน์หรือรายได้จาก “ผู้ถือบัตร” หรือ “ผู้รับบัตร” มากมายหลายประการด้วยกัน เช่น

  • ค่าธรรมเนียมการเข้าเป็นสมาชิกบัตรเครดิตของผู้ถือบัตร เช่น ค่าธรรมเนียมแรกเข้า (Membership Fee) ค่าธรรมเนียมรายปี (Annual Fee) ค่าทำบัตรใหม่
  • ค่าธรรมเนียมการขอเอกสารเกี่ยวกับบัตรเครดิต
  • ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายใดๆ ในการให้บริการเบิกถอนเงินสดผ่านบัตรเครดิตที่เรียกเก็บจากผู้ถือบัตรได้ไม่เกินอัตราที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ไม่ว่าการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายจะเรียกชื่ออย่างใดก็ตาม เช่น Cash advance fee ATM service fee (สำหรับบัตรเครดิต) Transaction fee ค่าธรรมเนียมการเบิกถอนเงินสดล่วงหน้าของผู้ถือบัตรไทยในต่างประเทศ
  • ค่าบริการใช้เครื่องรูดบัตรที่เรียกเก็บจากผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตรายอื่น
  • ส่วนลด (Discount revenue) ที่ได้รับร้านค้าสมาชิกในประเทศและต่างประเทศ
  • ค่าตอบแทนที่ได้รับจากผู้รับบัตร เนื่องจากการจัดรายส่งเสริมการขายร่วมกัน
  • ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการติดตามทวงถามการชำระหนี้จากบัตรเครดิตที่เรียกเก็บจากผู้ถือบัตร
  • ค่าธรรมเนียมการชำระเงินจากบัตรเครดิตเรียกเก็บจากผู้ถือบัตร
  • ส่วนแบ่งรายได้จากการใช้บัตรเครดิต (Billing credit)

หากผู้ใช้บัตรเครดิตเป็นบุคคลธรรมดาหรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เมื่อมีการใช้บัตรเครดิตในแต่ละครั้งจะได้รับหลักฐานการใช้บัตรเครดิตกับร้านค้าต่างๆ เป็นสลิปบัตรเครดิต (Slip) จะนำสลิปบัตรเครดิตเป็นหลักฐานการจ่ายเงินเพื่อประโยชน์ในการเสียภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ได้

เนื่องจาก สลิปบัตรเครดิตไม่ใช่หลักฐานการจ่ายเงินตามประมวลรัษฎากร ดังนั้น หากมีการใช้บัตรเครดิตเกิดขึ้น และต้องการหลักฐานประกอบการบันทึกบัญชีและคำนวณภาษีอากรจะต้องขอหลักฐานการจ่ายเงิน เช่น บิลเงินสด ใบเสร็จรับเงิน หรืใบกำกับภาษี ซึ่งหลักฐานดังกล่าวถือเป็นรายจ่ายของกิจการได้ และเอกสารดังกล่าวต้องระบุผู้จ่ายเงินในนามของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลพร้อมที่อยู่ตามที่จดทะเบียนไว้กับสรรพากร

ที่มา : www.manager.co.th

More from this category: เรื่องเล่าธุรกิจ

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่าผู้สมัครค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอะไรใน Jobsdb? สำรวจคำค้นหาที่ได้รับความนิยมเพื่ออัพเดทเทรนด์ใหม่เสมอ

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
ท่านได้ยอมรับคำประกาศเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล และนโยบายความเป็นส่วนตัวเพื่อให้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน หากท่านมีอายุต่ำกว่า 20 ปี ท่านได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง เพื่อยินยอมให้ Jobsdb และบริษัทในเครือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ท่านสามารถยกเลิกได้ทุกเวลา