System Thinking : พัฒนาตนให้เป็นบุคคลเชิงกลยุทธ์

System Thinking : พัฒนาตนให้เป็นบุคคลเชิงกลยุทธ์
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

บุคคลเชิงกลยุทธ์ต้องมองบริบท (Context Thinking)

คนแต่ละคนมีสภาพแวดล้อมต่างกัน องค์ประกอบและแนวคิดพื้นฐานย่อมต่างกัน เพราะมีประสบการณ์ที่ต่าง การคิดก็ต่างกัน ซึ่งบางคนอาจจะคิดทางบวก อาจจะเป็นเพราะเขาอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี หรือ มีพื้นฐานที่ดี บังคับตนเองให้ออกมาจากสิ่งที่ไม่ดีหรือสร้างแนวความคิดที่ต่อต้านกับสิ่งเลวร้ายที่ประสบพบเจอ

แต่บางคนก็อาจจะคิดทางลบ เขาอาจจะมีประสบการณ์ที่เลวร้ายในอดีต อาจจะโดยความโหดร้ายของสังคมทำร้าย และ เลือกแนวทางในการคิดที่เลวร้ายตาม ๆ ไปกับสิ่งแวดล้อม เพื่อจะได้อยู่รอดในสังคม โดยการทำร้ายคนอื่นเพิ่มมากขึ้น หรือ อย่างน้อยก็มองคนอื่นในแง่ไม่มีเป็นส่วนใหญ่

ทั้งนี้ แนวคิดเชิงบวกยังนำมาใช้ได้กับแนวคิดเชิงบริบท การส่งผ่านความคิด มาทางสื่อไม่ว่าจะชนิดใด มันจะส่งผ่านแนวคิด ว่าคนนั้นมีลักษณะเป็นเช่นใดมาด้วย บุคคลเชิงกลยุทธ์จะนำวิเคราะห์แนวคิดของแต่ละคนเพื่อใช้ในการบริหารจัดการคน ๆ นั้น เช่น การติดต่อ หรือ แม้แต่การวางแผน ให้สอดคล้อง เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดของตนเองและองค์กร หรือ อย่างน้อยก็จะเข้าใจแนวคิดของคน ๆ นั้นว่าเป็นเช่นใด ซึ่งอาจจะนำมาใช้ในอนาคตก็อาจจะเป็นไปได้

บุคคลเชิงกลยุทธ์จะต้องมีแนวคิดอย่างเป็นระบบ (System Thinking)

มีเรื่องมากมาย มีปัญหามากมายขององค์กร และ การบริหารจัดการ ดังนั้น ความคิดอย่างเป็นระบบจึงมีผลอย่างมากกับการทำให้งานในองค์กรบรรลุวัตถุ ประสงค์ และ ดำเนินไปอย่างไม่ติดขัด โดยใช้ข้อมูลข่าวสาร สาระสำคัญ และ เวลา เป็นตัวกำหนดความเป็นไปของความสัมพันธ์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม สู่เป้าหมายที่กำหนดไว้

  • ข้อมูลที่ไม่ได้เก็บรวบรวมไว้ มันก็จะกลายเป็นข้อมูลที่ไร้ค่า
  • ข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้ แต่ไม่ได้นำมาทำประโยชน์อันได้ ก็เป็นข้อมูลขยะ
  • ข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้ เพื่อนำมาวิเคราะห์หาผลที่เกิดขึ้น คือ ฐานข้อมูล
  • ข้อมูลที่วิเคราะห์แล้ว เพื่อนำมาใช้ในการชี้นำทาง คือ ขุมทรัพย์

บุคคลเชิงกลยุทธ์จึงต้องเข้าใจถึงการใช้ข้อมูล และ คิดที่จะใช้ข้อมูลเหล่านั้น หรือ ดำเนินการต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ โดยคำนึงถืงเงื่อนไขของเวลา สถานที่ สิ่งแวดล้อม เพื่อคิดระบบให้สอดคล้องกันไป หรือ แม้แต่การวิเคราะห์ก็ต้องใช้เงื่อนไขทางด้านเวลา ข้อมูล และ บริบท ในเรื่องต่าง ๆ เพื่อชี้ให้เห็นถึงแนวทาง หรือ วิธีการที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ หรือ อาจจะพูดอีกแนวหนึ่งคือ บุคคลเชิงกลยุทธ์ต้องเป็นผู้หาขุมทรัพย์ให้กับองค์กร และ หาขุมทรัพย์ให้กับตนเอง ไม่ใช่รอให้เกิดขุมทรัพย์ขึ้นมา ดังนั้น การขวนขวายต่าง ๆ จึงขึ้นอยู่กับความคิดของบุคคลเชิงกลยุทธ์นั้น ๆ

สมมติว่าเจอหัวหน้างานที่มักจะตัดสินใจเอาแต่ความคิดตนเองเป็นหลัก ก็ต้องมองให้ออกถึงแนวทางที่เขาจะนำมาใช้ คนเหล่านี้เชื่อมั่นในตนเองสูง ใช้ประสบการณ์และความเข้าใจของตนเองเป็นหลัก แต่ขาดการนำเอาข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางใหม่ ๆ หรือ หาทิศทางที่ถูกต้องขององค์กร ดังนั้น บุคคลเชิงกลยุทธ์ที่ดี จะนำเอาข้อมูลที่มีมาวิเคราะห์ และนำเสนอเหมือนกับเป็นความคิดของหัวหน้างาน แต่ออกมาจากความคิดจากการวิเคราะห์ ทำให้เหมือนเจ้านายเป็นคนคิด เพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จ แต่ถ้าเจอบุคคลเชิงกลยุทธ์ที่แข็งกร้าว ก็จะเอาข้อมูลที่วิเคราะห์มาหักล้างกับเจ้านาย ซึ่งเจอเจ้านายที่ไม่ยอมรับฟังเชื่อมั่นในตนเองมากไป อาจจะไม่ยอมรับ หรือ เสียหน้าทั้งนี้ผลร้ายก็จะตามมาถึงตัวของบุคคลเชิงกลยุทธ์เอง

บุคคลเชิงกลยุทธ์ บุคคลเชิงกลยุทธ์ที่พึงปรารถนา จะมองเรื่องผลงานก็ต้องมีความสำเร็จของตนก็ต้องมี แต่สิ่งเหล่านี้สำคัญน้อยกว่าความสำเร็จขององค์กร หรือ ความสำเร็จของทีมงาน ดังนั้น บุคคลเชิงกลยุทธ์ที่มีนิสัยชอบทำงานเป็นทีม ในทีมจะทำงานไปพร้อม ๆ กับการปรับเปลี่ยนสิ่งต่าง ๆ ให้ดีขึ้น แต่บุคคลที่แสดงแต่ผลงานของตน หรือ เอางานของลูกน้องไปเป็นของตน หรือ เสนอว่าเป็นแนวคิดของตน ย่อมกลายเป็นบุคคลเชิงกลยุทธ์ที่ไม่พึงปรารถนาไป...

ที่มา : http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=wbj&group=9

More from this category: การพัฒนาด้านอาชีพ

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่าผู้สมัครค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอะไรใน Jobsdb? สำรวจคำค้นหาที่ได้รับความนิยมเพื่ออัพเดทเทรนด์ใหม่เสมอ

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
ท่านได้ยอมรับคำประกาศเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล และนโยบายความเป็นส่วนตัวเพื่อให้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน หากท่านมีอายุต่ำกว่า 20 ปี ท่านได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง เพื่อยินยอมให้ Jobsdb และบริษัทในเครือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ท่านสามารถยกเลิกได้ทุกเวลา