“เอาน่า เดี๋ยวมันก็ผ่านไป อย่างน้อยเราก็ยังมีงานให้ทำอยู่ ดีกว่าคนที่ตกงานเป็นไหน ๆ” คำพูดปลอบประโลมใจตัวเองของมนุษย์เงินเดือน ยามเจออุปสรรค หรือปัญหาระหว่างการทำงาน มองเผิน ๆ ก็ดูเป็นการมองโลกในแง่บวก และเป็นคำพูดที่ให้กำลังใจตัวเองได้เป็นอย่างดี แต่หากต้องปลอบประโลมใจตัวเองแบบนี้บ่อย ๆ คุณอาจกำลังเข้าข่าย Toxic Positivity คิดบวกจนเป็นพิษ
ลอร่า กัลลาเกอร์ นักจิตวิทยาจากสถาบัน Gallaher Edge ได้กล่าวถึงอาการของ Toxic Positivity หรือคิดบวกจนเป็นพิษ ไว้ว่า คือการพยายามระงับอารมณ์หรือความคิดในแง่ลบของตัวเองเอาไว้ สะกดไว้ภายใต้การมองทุกอย่างในแง่บวก หากความคิดบวกจนเป็นพิษเกิดขึ้นในที่ทำงาน อาจสร้างปัญหาจนกลายเป็น วัฒนธรรมองค์กร พนักงานไม่กล้าแสดงความรู้สึกที่แท้จริงออกมา จนนำไปสู่การตำหนิ และบ่นให้เพื่อนร่วมงานฟังแทน มาดู 5 สถานการณ์ Toxic Positivity คิดบวกจนเป็นพิษ ที่พบบ่อยในที่ทำงาน
เพื่อนร่วมงานบอกให้มองบวกแม้เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับกฎหมาย
เมื่อเราเล่าเรื่องที่กำลังมีปัญหาเกี่ยวข้องกับกฎหมาย แต่ เพื่อนร่วมงาน กลับบอกให้เรามองโลกในแง่บวก นั่นถือเป็น Toxic Positivity ยกตัวอย่างเช่น มีเพื่อนร่วมงานคนหนึ่งมาเล่าความกังวลใจที่ต้องไล่พนักงานในทีมออกเพราะทำงานผิดพลาด แต่คุณกลับบอกเพื่อนว่า “ไม่เห็นเป็นไรเลย ให้มองในแง่บวกแทน” วิธีการตอบที่ดีที่สุด คือ คุณควรให้เพื่อนได้ระบายความรู้สึกออกมา แล้วเราเป็นผู้รับฟังแทน
หัวหน้าที่พร่ำบอกว่า “ทุกอย่างเป็นปกติ” ทั้งที่อนาคตของบริษัทสั่นคลอน
เมื่อสถานการณ์บริษัทเริ่มมีความไม่มั่นคง มีการปลดพนักงานออก อาจทำให้พนักงานเริ่มมีความรู้สึกไม่แน่นอนในการทำงาน หากเป็น หัวหน้า ประเภทมองบวกจนเป็นพิษ มักจะบอกกับลูกทีมว่า “ไม่มีอะไรต้องเป็นห่วง ทุกอย่างยังเป็นปกติ” สิ่งนี้จะสร้างความคลาดเคลื่อนให้กับลูกทีม และทำให้เสียโอกาสในการหาลู่ทางขยับขยายงานหากสถานการณ์เลวร้ายลง ฉะนั้นหัวหน้างานควรแสดงความโปร่งใสและจริงใจกับลูกทีม เช่นให้คำแนะนำว่า “อย่าเพิ่งสิ้นหวังกับสถานการณ์ของบริษัท แต่ลองเตรียมแผนสำรองไว้บ้าง” หรือ “ถ้ามีโอกาสก็ อัปเดตเรซูเม่ ไว้ก็ดี หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดกระทันหัน”
นายจ้างไม่รายงายสถานการณ์ COVID-19 ปีที่ผ่านมา
หากบริษัทชี้แจงในที่ประชุมไม่สมเหตุสมผลว่า “ปีที่ผ่านมา แม้จะเป็นเรื่องยาก แต่พวกเราทำได้ดีมาก ผลประกอบการเราดีเยี่ยม” นั่นถือเป็น Toxic Positivity คิดบวกจนเป็นพิษ เพราะสถานการณ์โควิดเมื่อปีที่ผ่านมา ไม่ปราณีใคร สร้างความสูญเสียและความเสียหาย ให้กับทุกองค์กร และทุกคนในโลก ฉะนั้นการกระตุ้นให้พนักงานยอมรับความจริง และพยายามกันต่อไปให้มากในปี 2021 น่าจะเป็นหนทางที่ดีกว่า
คุณเล่าเหตุการณ์ที่เคยตกงานให้เพื่อนร่วมงานฟัง แต่ได้รับคำตอบว่าให้มองบวก
หากคุณเป็นหนึ่งในอีกหลายล้านคนทั่วโลกที่ตกงานเมื่อปีที่ผ่านมา คุณไม่ได้ตัวคนเดียวค่ะ และไม่ผิดหากคุณจะมีความรู้สึกหัวเสีย โกรธ หงุดหงิดกับโลกใบนี้ และมีคำถามในใจว่า “ทำไมเหตุการณ์นี้ต้องมาเกิดขึ้นกับฉัน” ฉะนั้นหากคุณเล่าให้เพื่อนร่วมงานที่ทำงานใหม่ฟัง แล้วได้รับคำตอบที่ว่า “คุณยังโชคดีกว่าอีกหลายคนนะ” นั่นอาจเป็น Toxic Positivity อย่างหนึ่ง วิธีที่ดีที่สุด คือควรรับฟังเฉย ๆ ไม่ควรตอบหรือให้คำแนะนำใด ๆ
มีการปกปิดความกังวลใจ
จากข่าวใหญ่ที่ตำรวจอเมริกันได้ลงโทษชายผิวดำจนถึงแก่ความตาย ทำให้สถานการณ์การทำงานในต่างประเทศโดยเฉพาะในสำนักงานที่มีพนักงานหลากหลายสีผิว และเชื้อชาติ มีความระส่ำระสาย มีความไม่ไว้วางใจในการทำงานซึ่งกันและกัน หากเป็นประเทศไทย ก็จะเป็นเหตุการณ์การบูลลี่ในที่ทำงาน อันเป็นสาเหตุให้พนักงานหลายคนต้องลาออก สถานการณ์แบบนี้ ถือเป็นภัยอย่างยิ่ง หากองค์กรหรือหัวหน้างาน มองว่าการบูลลี่หรือการเหยียดผิวเป็นเรื่องปกติ นั่นคือ Toxic Positivity และองค์กรนี้ไม่เหมาะสมกับการทำงานแล้วละ
หากเริ่มรู้สึกว่ามีความกดดัน หรือมีความเครียดสะสมเกิดขึ้นในที่ทำงาน อย่าลืมหันไปชาร์จพลังงานให้ตัวเอง หรือหาทางคลายเครียดด้วย เพราะอย่าลืมว่าพลังใจก็สำคัญต่อผลงานของคุณไม่แพ้กัน
หรือถ้าไม่ไหว และเมื่อถึงเวลาต้องเปลี่ยนงาน ให้แอปพลิเคชันหางานคุณภาพจาก JobsDB ช่วยคุณได้ ดาวน์โหลดไว้ในมือถือให้อุ่นใจ
>> อ่านบทความอื่น ๆ เกี่ยวกับการทำงานเพื่อใช้เป็นแรงบันดาลใจได้ ที่นี่
ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/workation%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%97%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%a2%e0%b9%8c%e0%b8%97%e0%b8%b8%e0%b8%81%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%8a%e0%b8%b5%e0%b8%9e/
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/5%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%95%e0%b8%b8burnout%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%9e%e0%b8%99%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99/