Key Takeaway
มนุษย์ทุกคนต่างที่มา ร้อยพ่อพันแม่ จึงทำให้ประเภทของคนในองค์กรมีหลากหลาย บางครั้งจึงส่งผลให้เกิดการเมืองในองค์กร ที่มีการแบ่งพักแบ่งพวกกัน
สภาพแวดล้อมภายในที่ทำงานเป็นปัจจัยหลักๆ เลยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน การที่องค์กรจะเติบโตและประสบความสำเร็จ จำเป็นต้องปรับปรุงสภาพการทำงานให้ดี เพื่อให้พนักงานรู้สึกผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจ แม้งานจะท้าทายมากแค่ไหน บทความนี้จะพาไปดูว่า กิจกรรม 5 ส คืออะไร มีอะไรบ้าง มีประโยชน์อย่างไร หากนำมาปรับใช้ภายในองค์กร
5 ส (5S) หรือ กิจกรรม 5 ส คือเครื่องมือสำคัญในการจัดระเบียบ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พื้นที่ในบริษัท หรือองค์กร เน้นการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่เหมาะสม ซึ่งส่งผลให้ระบบการทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ในองค์กรด้วย โดยมีรากฐานมาจากแนวคิดของญี่ปุ่น ซึ่งประกอบไปด้วย สะสาง (Seiri) สะดวก (Seiton) สะอาด (Seisou) สร้างมาตรฐาน (Seiketsu) และสร้างวินัย (Shitsuke)
แม้ว่าแนวคิดนี้จะเริ่มต้นในอุตสาหกรรมการผลิต การก่อสร้าง และโรงพยาบาล แต่ปัจจุบันได้มีการแพร่หลายไปยังอุตสาหกรรมภายในองค์กรอื่นๆ ด้วย
หลักการ 5 ส ประกอบไปด้วย 5 องค์ประกอบหลัก ดังนี้
‘Seiri’ หรือ ‘สะสาง’ คือการจัดระเบียบเป็นกระบวนการสำคัญ โดยมีการแบ่งแยกสิ่งของออกเป็นหมวดหมู่ตามความสำคัญและความถี่ในการใช้งาน คัดแยกของที่จำเป็นและใช้บ่อยออกจากสิ่งที่ไม่จำเป็นหรือไม่สำคัญ วิธีการนี้เน้นการจัดลำดับความสำคัญเป็นสามระดับ คือ ต่ำ ปานกลาง และสูง ซึ่งช่วยให้การแยกแยะทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้การค้นหาสิ่งของเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
ตัวอย่างเช่น การกำจัดสิ่งของที่ไม่จำเป็นในโรงงานที่ผลิตสินค้าจำนวนมาก การสะสางช่วยลดปัญหาการสะสมของขยะซึ่งอาจนำไปสู่ความยากลำบากในการค้นหาสิ่งของและเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ นอกจากนี้การทำบัญชีรายการสินค้าคงคลังโดยละเอียด รวมถึงการตรวจสอบสิ่งของที่ไม่ได้ใช้งานเป็นประจำทุกเดือน ยังช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการโดยรวมให้ดียิ่งขึ้นได้ด้วย
‘Seiton’ หรือ ‘สะดวก’ คือหลักการจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบและง่ายต่อการใช้งาน โดยเน้นการวางสิ่งของจำเป็นในตำแหน่งที่เหมาะสมและหยิบใช้ได้สะดวก วิธีการนี้รวมถึงการใช้ป้ายชื่อและแท็กสีเพื่อระบุตำแหน่ง การจัดวางตามน้ำหนัก เช่น วางของหนักไว้ด้านล่าง และการกำหนด ‘ที่วางประจำ’ สำหรับอุปกรณ์ใหม่ควรเลือกตำแหน่งควรคำนึงถึงความเหมาะสมกับผู้ใช้และความถี่ในการใช้งาน
นอกจากนี้ยังแนะนำให้ใช้ระบบป้าย ‘กำลังใช้งาน’ สำหรับเครื่องมือที่มีผู้ใช้หลายคน เพื่อให้การสื่อสารระหว่างพนักงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งหมดนี้จะช่วยเพิ่มความรวดเร็วและความราบรื่นในการทำงานมากขึ้น
‘Seisou’ หรือ ‘สะอาด’ เป็นหลักการที่เน้นการทำความสะอาดและบำรุงรักษาสถานที่ทำงานอย่างสม่ำเสมอ โดยเน้นการกำจัดสิ่งสกปรกและอันตราย เช่น น้ำมันรั่ว เศษโลหะ หรือสายไฟหลวม การรักษาความสะอาดไม่เพียงแต่สร้างสภาพแวดล้อมที่น่าทำงาน แต่ยังช่วยให้สังเกตความผิดปกติของอุปกรณ์ได้ง่ายขึ้น ลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ และป้องกันปัญหาอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้อีกด้วย
การกำหนดผู้รับผิดชอบในการทำความสะอาดประจำวัน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการรักษาความสะอาด และส่งเสริมให้การทำความสะอาดกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กรได้
‘Seiketsu’ หรือ ‘สร้างมาตรฐาน’ คือการสร้างมาตรฐานสุขลักษณะในที่ทำงาน ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย พนักงานควรมีส่วนร่วมในการหารือและตัดสินใจเกี่ยวกับมาตรฐานการดูแลรักษาสถานที่ทำงาน เครื่องจักร และพื้นที่ส่วนกลาง การกำหนดมาตรฐานร่วมกันนี้ควรครอบคลุมทั้งองค์กร และต้องมีการทดสอบ หรือตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ
มีการปรึกษาหารือเพื่อกำหนดมาตรฐานสุขลักษณะที่พนักงานทุกคนยอมรับร่วมกัน จะช่วยให้ทุกคนสามารถปฏิบัติตามและรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่องนั่นเอง นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้เกิดความรับผิดชอบร่วมกันในองค์กร
การนำหลักการ 5 ส มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ต้องถือเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตและวินัยส่วนตัวของพนักงานทุกคน โดย ‘Shitsuke’ หรือ ‘สร้างวินัย’ เป็นขั้นตอนสุดท้าย ที่เน้นการปฏิบัติตามหลักการ 4 ส แรกจนเป็นนิสัย ซึ่งรวมถึงการปฏิบัติตามขั้นตอนการทำงานอย่างเคร่งครัด การรักษาความตรงต่อเวลา และการมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่
การสร้างสภาพแวดล้อมที่สะอาดและเป็นระเบียบในที่ทำงาน เป็นความรับผิดชอบร่วมกันของทุกคน ดังนั้น บริษัทควรส่งเสริมให้พนักงานตระหนักถึงความสำคัญของ 5 ส ผ่านการจัดกิจกรรมที่ช่วยปลูกฝังจิตสำนึกต่อส่วนรวม เพื่อให้การปฏิบัติตามหลักการ 5 ส กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กรอย่างยั่งยืน
แล้วหลัก 5 ส มีประโยชน์อย่างไร หากนำมาปรับใช้ภายในบริษัทหรือองค์กร ไปดูกัน!
ต่อไปเรามาปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อสร้างองค์กรในฝัน ให้การทำงานของพนักงานทุกคนมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยการวางแผนและดำเนินการอย่างรอบคอบในทุกขั้นตอน ดังนี้
สุดท้ายนี้เราจะเพิ่มประสิทธิภาพในการนำหลัก 5 ส มาประกอบใช้ภายในบริษัทหรือองค์กรเพื่อความยั่งยืนได้อย่างไร ไปดูกัน!
การนำหลักการ 5 ส มาใช้อย่างต่อเนื่องจะสำเร็จก็ต่อเมื่อทุกคนในองค์กรได้มีส่วนร่วมอย่างจริงจัง โดยความรับผิดชอบร่วมกันของทุกคนที่ต้องทำด้วยความเชื่อมั่นและตั้งใจ ไม่ใช่เพียงแค่ทำครั้งเดียวหรือทำเพราะถูกสั่งให้ทำ เมื่อมีความร่วมมือกันแล้วการสร้างวินัยก็จะเป็นเรื่องง่าย ซึ่งการทำสิ่งนี้จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนและเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่งมากขึ้นในระยะยาว
การส่งเสริมการแข่งขันเป็นกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพในการกระตุ้นการมีส่วนร่วมในกิจกรรม 5 ส การจัดการประกวดประจำปีเป็นวิธีที่หลายบริษัทนิยมใช้ เพื่อสร้างความท้าทายและความตื่นเต้นให้กับพนักงาน
การแข่งขันไม่เพียงแต่กระตุ้นให้พนักงานปฏิบัติตามหลักการ 5 ส อย่างจริงจังเท่านั้น แต่ยังช่วยสร้างบรรยากาศของการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงานอีกด้วย
การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเป็นกุญแจสำคัญสู่ความยั่งยืนในการนำหลักการ 5 ส มาใช้ในองค์กรผ่านการประยุกต์ใช้วงจร PDCA (Plan – Do – Check – Action) ร่วมกับหลักการ 5 ส เป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาอย่างเป็นระบบ ซึ่งช่วยให้องค์กรสามารถวางแผน ดำเนินการ ตรวจสอบ และปรับปรุงกระบวนการอย่างสม่ำเสมอ วิธีนี้ส่งผลให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน นำไปสู่การเติบโตอย่างมั่นคงขององค์กรในระยะยาว
5 ส คือเครื่องมือในการจัดระเบียบและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พื้นที่ในองค์กร เน้นการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีขึ้น ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นและแก้ปัญหาในองค์กร หลักการ 5 ส ประกอบไปด้วย สะสาง (Seiri) สะดวก (Seiton) สะอาด (Seisou) สร้างมาตรฐาน (Seiketsu) และสร้างวินัย (Shitsuke)
การนำหลักการ 5 ส มาปรับใช้ในองค์กร ช่วยให้พนักงานทำงานได้รวดเร็วและราบรื่นขึ้น เพิ่มความร่วมมือกันในทีม พนักงานมีระเบียบมากขึ้น ลดข้อผิดพลาดได้ และจัดระเบียบที่ทำงาน ช่วยลดต้นทุนขององค์กรแต่เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
หาองค์กรที่จะช่วยให้การทำงานของคุณมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืนได้ที่ Jobsdb ด้วยฟีเจอร์เด่น ที่จะช่วยให้หางานได้ตามพื้นที่ที่ต้องการ ตำแหน่งงานที่ชอบ และเงินเดือนที่ใช่ ใช้งานง่าย หางานได้ในไม่กี่คลิก!