Blockchain คืออะไร? ทำไมถึงเป็นเทคโนโลยีที่ที่น่าจับตามองในยุคนี้

Blockchain คืออะไร? ทำไมถึงเป็นเทคโนโลยีที่ที่น่าจับตามองในยุคนี้
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 21 March, 2025
Share

Key Takeaway

  • Blockchain คือเทคโนโลยีการบันทึกข้อมูลแบบกระจายศูนย์ (Decentralized Ledger) ที่ช่วยให้ข้อมูลมีความปลอดภัยและโปร่งใสลดการพึ่งพาคนกลางในการทำธุรกรรม
  • บล็อกเชนในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การเงิน (Cryptocurrency) โลจิสติกส์ (ติดตามสินค้า) สาธารณสุข (บันทึกเวชระเบียน) และภาครัฐ (ระบบยืนยันตัวตน)
  • โครงสร้างบล็อกเชนคือข้อมูลถูกจัดเก็บเป็นบล็อกและเชื่อมต่อกันเป็นโซ่ ทุกบล็อกมีรหัสแฮชที่เชื่อมโยงกับบล็อกก่อนหน้าทำให้ข้อมูลไม่สามารถแก้ไขย้อนหลังได้โดยง่าย
  • ข้อดีของบล็อกเชนคือมีความปลอดภัยสูง ช่วยให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยตรวจสอบข้อมูลได้รวดเร็วขึ้นและมีความน่าเชื่อถือ

การทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Blockchain กลายเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเพราะเป็นเทคโนโลยีพื้นฐานที่อยู่เบื้องหลังนวัตกรรมใหม่ๆ ในหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นการเงิน โลจิสติกส์ สุขภาพ หรือภาครัฐ บล็อกเชนช่วยเพิ่มความโปร่งใส ความปลอดภัย และลดต้นทุนในการทำธุรกรรม วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ Blockchain ว่ามันคืออะไรและทำงานอย่างไร

เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) คืออะไร? และทำงานอย่างไร

เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) คืออะไร? และทำงานอย่างไร

ความหมายของบล็อกเชน (Blockchain) คือเทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกและจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ (Decentralized Ledger) ซึ่งหมายความว่าข้อมูลไม่ได้ถูกควบคุมโดยหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเพียงลำพัง บล็อกเชนคือระบบที่เชื่อมโยงข้อมูลเป็นลำดับของ "บล็อก" แต่ละบล็อกจะมีข้อมูลธุรกรรมที่ได้รับการเข้ารหัสและเชื่อมโยงกันเป็นโซ่ทำให้แก้ไขข้อมูลย้อนหลังได้ยาก 

เทคโนโลยีบล็อกเชนคือนวัตกรรมที่ถูกพัฒนาขึ้นครั้งแรกในปี 2008 ความเป็นมาของ Blockchain เริ่มต้นจากการเป็นเทคโนโลยีสำหรับเงินดิจิทัลโดย Satoshi Nakamoto เพื่อรองรับการทำงานของ Bitcoin และต่อมาถูกนำไปประยุกต์ใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม

ทำไม Blockchain ถึงสำคัญ

Blockchain กลายเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญในยุคปัจจุบันเพราะมันช่วยแก้ปัญหาหลายด้านที่เกิดขึ้นในระบบเดิมๆ โดยเฉพาะในเรื่องของความปลอดภัยและความโปร่งใสในการทำธุรกรรมต่างๆ เนื่องจากข้อมูลในระบบบล็อกเชนถูกจัดเก็บแบบกระจายศูนย์ไม่มีการควบคุมจากหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ทำให้ป้องกันการปลอมแปลงข้อมูลและลดความเสี่ยงจากการโจมตีทางไซเบอร์ 

นอกจากนี้ Blockchain คือตัวช่วยให้การทำธุรกรรมต่างๆ มีความรวดเร็วและลดต้นทุนเนื่องจากไม่ต้องพึ่งพาคนกลางหรือหน่วยงานตรวจสอบในแต่ละขั้นตอน อีกทั้งยังสามารถนำไปใช้ในหลายอุตสาหกรรม เช่น การเงิน โลจิสติกส์ สุขภาพ และภาครัฐ ทำให้เป็นเทคโนโลยีที่มีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานในทุกภาคส่วนได้อย่างมหาศาล

ความสัมพันธ์ของ Blockchain และ Cryptocurrency

Blockchain มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับสกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency) เพราะเป็นเทคโนโลยีพื้นฐานที่ทำให้การทำธุรกรรมของสกุลเงินดิจิทัลสามารถเกิดขึ้นได้อย่างปลอดภัยและโปร่งใส ในช่วงปี 2020 ที่ผ่านมาสกุลเงินดิจิทัล เช่น Bitcoin และ Ethereum ได้รับความสนใจจากนักลงทุนและมีราคาปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะจากการที่ค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวและการเข้ามาลงทุนจากนักลงทุนสถาบัน ซึ่งส่งผลให้เกิดการขยายตัวของตลาดดิจิทัลอย่างรวดเร็ว

สิ่งที่เชื่อมโยง Blockchain กับสกุลเงินดิจิทัลคือการใช้ระบบการบันทึกข้อมูลที่ไม่พึ่งพาศูนย์กลางใด โดยข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมจะถูกกระจายไปยังเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ต่างๆ ทำให้ข้อมูลทั้งหมดมีความเชื่อมโยงกันและไม่สามารถถูกเปลี่ยนแปลงได้ง่าย การใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนคือช่วยให้การจัดเก็บข้อมูลของสกุลเงินดิจิทัลมีความปลอดภัยสูงโดยไม่สามารถปลอมแปลงการทำธุรกรรมได้ 

นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความโปร่งใสในการติดตามประวัติการโอนและจำนวนเงินที่มีการเคลื่อนไหวในระบบ ทำให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบข้อมูลได้อย่างชัดเจนและเชื่อถือได้

บล็อกเชนในอุตสาหกรรมต่างๆ

บล็อกเชนในอุตสาหกรรมต่างๆ

บล็อกเชนไม่ได้จำกัดการใช้งานแค่ในวงการสกุลเงินดิจิทัลแต่ยังถูกนำไปใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มความโปร่งใส ความปลอดภัย และประสิทธิภาพในการทำงาน มาดูกันว่าบล็อกเชนคือตัวช่วยที่จะถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมไหนบ้าง

บริษัทพลังงาน

ในอุตสาหกรรมพลังงาน Blockchain คือเครื่องมือที่ช่วยในการติดตามและจัดการกระบวนการซื้อขายพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถใช้เพื่อแลกเปลี่ยนพลังงานระหว่างผู้ผลิตและผู้ใช้ได้โดยตรงผ่านแพลตฟอร์มที่ไม่ต้องพึ่งพาตัวกลาง เช่น การซื้อขายพลังงานจากแสงอาทิตย์ หรือพลังงานลม ทำให้กระบวนการนี้รวดเร็วขึ้นและมีต้นทุนต่ำลง เทคโนโลยีบล็อกเชนคือระบบที่ช่วยให้การทำธุรกรรมพลังงานมีความปลอดภัยและโปร่งใสมากยิ่งขึ้น

ธนาคารและตลาดหลักทรัพย์

ในวงการงานธนาคารและตลาดหลักทรัพย์ Blockchain คือเทคโนโลยีที่ช่วยให้การโอนเงินและการซื้อขายหลักทรัพย์ดำเนินไปอย่างรวดเร็วและปลอดภัย โดยลดขั้นตอนการทำธุรกรรมที่ซับซ้อนและไม่ต้องผ่านตัวกลาง ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและเพิ่มความโปร่งใสในการทำธุรกรรม 

การใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนคือตัวช่วยให้การทำงานในตลาดหลักทรัพย์มีความปลอดภัยจากการปลอมแปลงข้อมูลและป้องกันการโจรกรรมข้อมูลในธุรกรรมต่างๆ

ทางการแพทย์

เทคโนโลยีทางการแพทย์เริ่มนำบล็อกเชนมาช่วยในการจัดเก็บข้อมูลของผู้ป่วย เช่น บันทึกประวัติการรักษา เวชระเบียน หรือข้อมูลทางการแพทย์ที่สำคัญ บล็อกเชนคือตัวช่วยให้ข้อมูลเหล่านี้ปลอดภัยจากการถูกปลอมแปลงและสามารถเข้าถึงได้จากสถานพยาบาลต่างๆ อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ การใช้บล็อกเชนในการจัดการข้อมูลทางการแพทย์จึงช่วยให้การดูแลรักษาผู้ป่วยมีความถูกต้องและทันเวลา

แวดวงอสังหาริมทรัพย์

ในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ blockchain คือ เครื่องมือที่สามารถใช้ในการจัดการธุรกรรมการซื้อขายที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ได้อย่างปลอดภัยและโปร่งใส โดยสามารถบันทึกประวัติการเป็นเจ้าของและธุรกรรมการซื้อขายในบล็อกเชน ซึ่งทำให้ทุกฝ่ายสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ง่า และลดปัญหาการปลอมแปลงเอกสารหรือการทำธุรกรรมที่ไม่ถูกต้อง

สื่อและวงการบันเทิง

ในวงการสื่อและบันเทิง Blockchain คือเทคโนโลยีที่ช่วยให้ศิลปินและผู้ผลิตคอนเทนต์สามารถควบคุมลิขสิทธิ์ของผลงานได้ดียิ่งขึ้น โดยการใช้บล็อกเชนในการบันทึกการสร้างสรรค์และการเผยแพร่คอนเทนต์ ช่วยให้ศิลปินสามารถรับรายได้จากผลงานของตัวเองอย่างตรงไปตรงมา และยังช่วยให้การติดตามการเผยแพร่ผลงานมีความโปร่งใสมากขึ้น

ธุรกิจค้าปลีก

ในธุรกิจค้าปลีก Blockchain คือเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้ค้าปลีกสามารถติดตามและตรวจสอบแหล่งที่มาของสินค้าได้จากต้นทางจนถึงมือผู้บริโภค เช่น การตรวจสอบว่าสินค้าแต่ละชิ้นมีการผลิตและจัดส่งจากที่ไหน ซึ่งช่วยให้ผู้บริโภคมั่นใจในคุณภาพของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ และเพิ่มความโปร่งใสในกระบวนการจัดการซัพพลายเชน นอกจากนี้ยังช่วยลดต้นทุนในการดำเนินงานและลดการโกงจากระบบซัพพลายเชน

โครงสร้างและองค์ประกอบของเทคโนโลยีบล็อกเชน

โครงสร้างและองค์ประกอบของเทคโนโลยีบล็อกเชน 

เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) มีองค์ประกอบหลักที่ทำให้สามารถรับประกันความปลอดภัยและความโปร่งใสในการทำธุรกรรมต่างๆ ซึ่งคือระบบเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการทำให้ข้อมูลถูกจัดเก็บและรักษาความสมบูรณ์อย่างมีประสิทธิภาพดังนี้

การจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ (Decentralized Storage)

Blockchain คือระบบที่จัดเก็บข้อมูลในลักษณะกระจายศูนย์ ซึ่งหมายความว่าข้อมูลจะไม่ได้ถูกเก็บไว้ในที่เดียวแต่จะกระจายไปยังหลายๆ โหนด (Nodes) ในเครือข่าย ทำให้ไม่สามารถแก้ไขหรือปลอมแปลงข้อมูลได้โดยง่าย หากมีการพยายามปลอมแปลงข้อมูลในหนึ่งจุด ข้อมูลในโหนดอื่นๆ จะยังคงถูกต้องและสอดคล้องกัน ส่งผลให้การโจมตีหรือการแฮ็กยากขึ้นทำให้ระบบบล็อกเชนมีความปลอดภัยสูงและลดความเสี่ยงจากการถูกแทรกแซง

สัญญาอัจฉริยะ (Smart Contracts)

สัญญาอัจฉริยะคือโปรแกรมที่ทำงานอัตโนมัติเมื่อเงื่อนไขที่ตั้งไว้ในสัญญาถูกต้องตามที่กำหนด โดยไม่ต้องพึ่งพาคนกลางหรือบุคคลใดในการดำเนินการ เทคโนโลยีบล็อกเชนคือตัวช่วยให้การทำธุรกรรมสามารถเกิดขึ้นได้อย่างโปร่งใสและปลอดภัยเนื่องจากสัญญาเหล่านี้จะถูกบันทึกและทำงานบนบล็อกเชนซึ่งไม่สามารถถูกแก้ไขได้ การทำธุรกรรมใดๆ ที่ทำตามเงื่อนไขที่ตั้งไว้จะได้รับการดำเนินการอย่างอัตโนมัติทำให้ลดข้อผิดพลาดและความเสี่ยงจากการถูกทุจริต

การเข้ารหัสคีย์สาธารณะ (Public Key Cryptography)

การเข้ารหัสคีย์สาธารณะเป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญของ Blockchain คือตัวช่วยเพิ่มความปลอดภัย โดยการใช้คู่คีย์ในการเข้ารหัสและถอดรหัสข้อมูลคีย์สาธารณะ (Public Key) จะใช้ในการรับข้อมูลหรือทำธุรกรรม ส่วนคีย์ส่วนตัว (Private Key) จะใช้ในการยืนยันตัวตนและการลงลายมือชื่อดิจิทัล

ซึ่งช่วยให้ข้อมูลไม่สามารถถูกปลอมแปลงหรือถูกเข้าถึงโดยบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาต การใช้ระบบการเข้ารหัสนี้ทำให้บล็อกเชนคือระบบที่มีความปลอดภัยสูงและสามารถปกป้องข้อมูลจากการถูกโจรกรรมหรือปลอมแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อดีและข้อเสียของ Blockchain

ข้อดีและข้อเสียของ Blockchain

ก่อนที่จะนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งสำคัญคือการพิจารณา Blockchian ว่ามีข้อดีและข้อเสียอะไรบ้าง เพื่อให้สามารถตัดสินใจได้อย่างเหมาะสมว่าควรใช้ในบริบทใดและจะต้องเตรียมตัวรับมือกับข้อจำกัดอย่างไร

ข้อดีของ Blockchain

บล็อกเชนมีข้อดีหลายประการที่ทำให้เป็นเทคโนโลยีที่น่าสนใจและเหมาะสมกับการใช้งานในหลายอุตสาหกรรมคือ

  • ความปลอดภัยสูง เทคโนโลยีบล็อกเชนคือการเข้ารหัส (Cryptography) เพื่อป้องกันการปลอมแปลงข้อมูล นอกจากนี้ข้อมูลที่ถูกบันทึกในบล็อกเชนไม่สามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงย้อนหลังได้ ทำให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลมีความถูกต้องและปลอดภัยจากการโจมตีทางไซเบอร์
  • ทำงานได้มีประสิทธิภาพขึ้น ระบบบล็อกเชนสามารถลดขั้นตอนที่ซับซ้อนในการทำธุรกรรม เช่น การตรวจสอบเอกสารหรือการโอนเงินระหว่างประเทศโดยไม่ต้องพึ่งพาคนกลาง ทำให้กระบวนการต่างๆ ดำเนินไปได้รวดเร็วขึ้นและลดความล่าช้า
  • ตรวจสอบข้อมูลได้เร็วขึ้น เนื่องจากบล็อกเชนมีระบบบันทึกข้อมูลที่กระจายศูนย์ (Decentralized Ledger) ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลและตรวจสอบความถูกต้องของธุรกรรมได้ทันทีลดโอกาสในการเกิดข้อผิดพลาดหรือการปลอมแปลง
  • มีความน่าเชื่อถือ การที่ข้อมูลในบล็อกเชนไม่สามารถถูกแก้ไขได้ง่ายและทุกธุรกรรมต้องได้รับการยืนยันจากเครือข่ายก่อน ทำให้ระบบมีความโปร่งใสและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นในภาคธุรกิจ การเงิน หรือภาครัฐ

ข้อเสียของ Blockchain

แม้ว่าบล็อกเชนจะมีข้อดีหลายประการแต่ก็มีข้อจำกัดที่ต้องพิจารณาก่อนนำไปใช้งานคือ

  • มีต้นทุนที่สูง การพัฒนาและบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานของบล็อกเชนต้องใช้ทรัพยากรสูง ทั้งในแง่ของฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ นอกจากนี้ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมในบางเครือข่าย เช่น Bitcoin และ Ethereum อาจสูงขึ้นตามจำนวนผู้ใช้งาน
  • เปลี่ยนแปลงข้อมูลไม่ได้ แม้ว่าการไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลย้อนหลังจะเป็นข้อดีด้านความปลอดภัยและความโปร่งใสแต่ก็อาจเป็นข้อเสียในบางกรณี เช่น หากมีการบันทึกข้อมูลผิดพลาดจำเป็นต้องสร้างธุรกรรมใหม่เพื่อแก้ไข ซึ่งอาจทำให้เกิดความยุ่งยากและเพิ่มต้นทุนในการดำเนินการ
  • สิ้นเปลืองพลังงาน ระบบบล็อกเชนบางประเภท เช่น Bitcoin ใช้กระบวนการ Proof of Work (PoW) ซึ่งต้องใช้พลังงานจำนวนมากในการขุดเหรียญและรักษาความปลอดภัยของเครือข่ายทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและมีค่าใช้จ่ายด้านพลังงานสูง
  • ขยายระบบยาก บล็อกเชนบางประเภทอาจประสบปัญหาด้านการรองรับธุรกรรมจำนวนมาก (Scalability) คือโดยเฉพาะในเครือข่ายที่มีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้การทำธุรกรรมล่าช้าลง และอาจต้องมีการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้รองรับการขยายตัวของระบบ

สรุป

เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) คือระบบการจัดเก็บข้อมูลที่กระจายศูนย์และปลอดภัยทำให้สามารถใช้ในหลายอุตสาหกรรม เช่น การเงิน พลังงาน การแพทย์ และอสังหาริมทรัพย์ โดยช่วยเพิ่มความโปร่งใส ความปลอดภัย และประสิทธิภาพในการทำธุรกรรมต่างๆ การใช้บล็อกเชนยังสามารถลดต้นทุนและลดความเสี่ยงจากการปลอมแปลงข้อมูลได้ในยุคที่เทคโนโลยีเติบโตอย่างรวดเร็ว 

หากคุณสนใจในการสมัครงานหรือหางานกรุงเทพที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีบล็อกเชนและดิจิทัล เช่น งานในธนาคารหรือสตาร์ตอัปด้านเทคโนโลยี สามารถเข้ามาค้นหาตำแหน่งงานที่ตรงกับทักษะและความสนใจของคุณได้ที่ Jobsdb ที่นี่รวบรวมงานหลากหลายประเภทไว้มากมาย

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Blockchain (FAQ) 

หลากหลายคำถามที่หลายคนอาจสงสัยเกี่ยวกับ Blockchain เราได้รวบรวมตัวอย่างคำถามที่พบบ่อยมาให้ไว้ดังนี้

บล็อกเชนช่วยแก้ไขเรื่องความปลอดภัยอย่างไร

บล็อกเชนช่วยเพิ่มความปลอดภัยคือโดยการใช้ระบบการบันทึกข้อมูลแบบกระจายศูนย์ (Decentralized Ledger) ซึ่งทำให้ข้อมูลไม่ถูกควบคุมโดยหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งลดความเสี่ยงจากการถูกแฮ็กหรือแก้ไขข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้เทคโนโลยีบล็อคเชนคือการเข้ารหัส (Cryptography) เพื่อป้องกันการปลอมแปลงข้อมูลและทุกธุรกรรมที่บันทึกจะต้องได้รับการยืนยันจากเครือข่ายก่อนทำให้โปร่งใสและป้องกันปัญหาการทุจริต

Blockchain มีกี่ประเภท

Blockchain สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักคือ

  • Public Blockchain คือบล็อกเชนแบบเปิดที่ทุกคนสามารถเข้าร่วมเครือข่ายได้ เช่น Bitcoin และ Ethereum
  • Private Blockchain คือบล็อกเชนแบบปิดที่ใช้ภายในองค์กรหรือบริษัท เช่น Hyperledger Fabric
  • Consortium Blockchain  คือบล็อกเชนแบบกึ่งปิดที่ถูกควบคุมโดยกลุ่มองค์กร เช่น R3 Corda

ตัวอย่างของ Blockchain ในประเทศไทย

ในประเทศไทยมีการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ในหลายภาคส่วนคือ

  • Thailand Blockchain Service Network (BSN) โครงการของภาครัฐที่ช่วยสนับสนุนการพัฒนาแอปพลิเคชันบล็อกเชน
  • TCT Blockchain แพลตฟอร์มบล็อกเชนของสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย
  • B.VER (By Krungthai Bank) ระบบยืนยันตัวตนด้วยบล็อกเชนของธนาคารกรุงไทย
  • Destiny Token โทเคนเพื่อการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับวงการบันเทิงไทย
  • Bitkub Chain บล็อกเชนจาก Bitkub ที่รองรับการพัฒนาแอปพลิเคชันแบบกระจายศูนย์ (DApps)

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

More from this category: เรื่องเล่าธุรกิจ

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่าผู้สมัครค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอะไรใน Jobsdb? สำรวจคำค้นหาที่ได้รับความนิยมเพื่ออัพเดทเทรนด์ใหม่เสมอ

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
ท่านได้ยอมรับคำประกาศเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล และนโยบายความเป็นส่วนตัวเพื่อให้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน หากท่านมีอายุต่ำกว่า 20 ปี ท่านได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง เพื่อยินยอมให้ Jobsdb และบริษัทในเครือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ท่านสามารถยกเลิกได้ทุกเวลา