Key Takeaway
ในปัจจุบัน ที่มีการแข่งขันกันสูงในทางธุรกิจ การมีแผนธุรกิจที่ชัดเจน และมีประสิทธิภาพ เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่สามารถละเลยได้ Business Model Canvas จึงกลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือ ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผน และจัดการธุรกิจของตัวเองได้อย่างมีระบบ และรอบคอบ
มีการแบ่งแผนธุรกิจออกเป็นส่วนประกอบต่างๆ ที่เข้าใจง่าย ทำให้ผู้ประกอบการสามารถมองเห็นภาพรวมของธุรกิจ และสามารถตัดสินใจในเชิงกลยุทธ์ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว แต่ Business Model Canvas คืออะไร มีองค์ประกอบอะไรบ้าง ช่วยให้ผู้ประกอบการทำงานง่ายขึ้นอย่างไร ไปดูกัน!
Business Model Canvas หรือที่รู้จักในชื่อ โมเดลธุรกิจ คือเครื่องมือเชิงกลยุทธ์ ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการ และธุรกิจ สามารถวิเคราะห์ ถ่ายทอดวิธีการดำเนินงานของธุรกิจได้อย่างครอบคลุมภายในองค์กร
โมเดลนี้ถูกพัฒนาโดย Alexander Osterwalder และ Yves Pigneur และในปัจจุบันกลายเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางสำหรับการใช้งานในหลากหลายองค์กร ไม่ว่าจะเป็น Start-Up ขนาดเล็ก หรือธุรกิจขนาดใหญ่ เพื่อการวางแผน และจัดการธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ
Business Model Canvas เป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์ที่ได้รับความนิยมในการวางแผน และบริหารจัดการธุรกิจ โดยจะมี 9 องค์ประกอบหลัก ที่ทำให้เกิดเป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์นี้ ดังนี้
เริ่มต้นกับองค์ประกอบแรกของ Business Model Canvas คือ ต้นทุน หรือรายจ่าย ทั้งที่เป็นรายจ่ายคงที่ และไม่คงที่ ซึ่งมีความสำคัญในการบริหารจัดการธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ ค่าใช้จ่ายคงที่ ได้แก่ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่าสำนักงาน หรือค่าใช้จ่ายที่ไม่เปลี่ยนแปลงตามระดับการผลิต หรือยอดขาย
ในขณะที่ค่าใช้จ่ายไม่คงที่ จะรวมถึงค่าวัตถุดิบ ค่าแรงงานที่เปลี่ยนแปลงตามปริมาณการผลิต และค่าใช้จ่ายด้านการตลาด ที่อาจปรับเพิ่ม หรือลดลงตามกลยุทธ์การส่งเสริมการขาย
องค์ประกอบที่สองของ Business Model Canvas คือทรัพยากรหลัก รวมถึงการลงทุนทางการเงิน เทคโนโลยีที่ใช้ และทรัพยากรบุคคล ซึ่งธุรกิจต้องทราบว่าองค์ประกอบเหล่านี้ เพียงพอ และเหมาะสมต่อการดำเนินธุรกิจหรือไม่ การมีทรัพยากรหลักที่เหมาะสม จะช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
กิจกรรมหลัก คือการระบุงานหลักที่ธุรกิจต้องทำ เพื่อดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ การพิจารณาว่างานหลักของธุรกิจคืออะไร และเปรียบเทียบกับคู่แข่ง จะช่วยให้เห็นว่าธุรกิจสามารถสร้างกิจกรรม หรือโซลูชันใหม่ๆ ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างไรบ้าง การมุ่งเน้นในกิจกรรมหลักเหล่านี้ ทำให้ธุรกิจสามารถสร้างความแตกต่าง และมูลค่าเพิ่มให้กับลูกค้าได้อย่างชัดเจน
หุ้นส่วนทางธุรกิจ อาจรวมถึงบุคคล หรือองค์กร ที่สามารถช่วยเสริมสร้าง และเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจได้ เช่น ซัพพลายเออร์ที่จัดหาวัตถุดิบสำคัญ พันธมิตรที่ร่วมมือด้านการตลาด หรือบริษัทที่ให้บริการเทคโนโลยี และนวัตกรรม การเลือกหุ้นส่วนที่เหมาะสม จะช่วยเพิ่มศักยภาพ สนับสนุนให้ธุรกิจเติบโตอย่างมั่นคง และยั่งยืน
อีกหนึ่งองค์ประกอบของ Business Model Canvas คือธุรกิจต้องมั่นใจ และตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณค่าของสินค้า หรือบริการที่มอบให้ลูกค้านั้น สามารถตอบสนองความต้องการ หรือแก้ไขปัญหาของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างแท้จริง
นี่หมายความว่า ธุรกิจควรศึกษา และทำความเข้าใจถึงความต้องการ หรือปัญหาที่ลูกค้าเผชิญอยู่ เพื่อให้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือบริการ ที่มีคุณสมบัติตรงตามความคาดหวัง และความต้องการของลูกค้า การมีข้อมูล หรือข้อเสนอที่ตอบโจทย์จริงๆ จะช่วยให้ธุรกิจสามารถสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้อย่างยั่งยืนนั่นเอง
กลยุทธ์ทางการเงินของธุรกิจ Start-Up มีหลากหลายรูปแบบ ดังนั้น ธุรกิจจึงต้องพิจารณาให้ชัดเจนว่าเราจะสร้างรายได้ด้วยวิธีการไหน เช่น ผ่านส่วนแบ่งจากการขายสินค้า และบริการ ค่าบริการสมาชิก หรือค่าโฆษณา เป็นต้น การเลือกกลยุทธ์ทางการเงินที่เหมาะสม จะช่วยให้ธุรกิจสามารถวางแผน และดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
องค์ประกอบต่อมาของ Business Model Canvas คือธุรกิจต้องระบุกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน โดยการวิเคราะห์ และเจาะลึกถึงลักษณะเฉพาะ หรือความต้องการที่แท้จริงของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เช่น อายุ เพศ รายได้ พฤติกรรมการซื้อ และความสนใจ
เพื่อให้สามารถออกแบบกลยุทธ์การตลาด และนำเสนอคุณค่าของสินค้าได้ตรงตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ซึ่งจะส่งผลให้การตลาด และการขายมีประสิทธิภาพสูงขึ้น เพิ่มโอกาสในการสร้างความพึงพอใจ หรือความภักดีจากลูกค้านั่นเอง
ธุรกิจต้องวิเคราะห์อย่างละเอียด เพื่อระบุช่องทางการสื่อสาร และช่องทางการส่งมอบสินค้าที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับกลุ่มเป้าหมาย การเลือกช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสม จะช่วยให้ธุรกิจสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การใช้โซเชียลมีเดีย อีเมล หรือการตลาดผ่านสื่อออนไลน์ต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็ขึ้นอยู่กับความชอบ และพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายนั่นเอง
สุดท้ายองค์ประกอบของ Business Model Canvas คือความสัมพันธ์กับลูกค้า ซึ่งธุรกิจสามารถสร้าง และรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าได้หลายวิธี เพื่อให้ลูกค้าใช้สินค้า หรือบริการอย่างต่อเนื่อง และแนะนำให้ผู้อื่นรู้จัก
การสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าเป็นปัจจัยสำคัญ เช่น การให้บริการลูกค้าอย่างมีคุณภาพ การจัดโปรโมชัน หรือข้อเสนอพิเศษ เพื่อรักษาลูกค้าเดิม ซึ่งการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี และยั่งยืนกับลูกค้า ไม่เพียงแค่ทำให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการอีก แต่ยังส่งผลให้ลูกค้าแนะนำธุรกิจให้กับผู้อื่น ซึ่งจะช่วยขยายฐานลูกค้า และสร้างโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
จุดเด่นของ Business Model Canvas ในการเป็นโมเดลธุรกิจ มีดังนี้
การตรวจสอบ และการประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ
ประโยชน์ของ business model canvas มีดังนี้
Business Model และ Business Plan เป็นเครื่องมือที่มีบทบาทสำคัญในธุรกิจ แต่มีความแตกต่างกันในแง่ของการใช้งาน และรายละเอียด
Business Model คือกรอบการทำงาน ที่แสดงถึงวิธีที่ธุรกิจสร้าง และสร้างคุณค่าให้กับลูกค้า รวมถึงวิธีการสร้างรายได้จากการเสนอสินค้า หรือบริการ โดยมุ่งเน้นที่องค์ประกอบหลัก เช่น กลุ่มลูกค้า รายได้ และต้นทุน ซึ่งช่วยให้เห็นภาพรวมของธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว และเข้าใจง่าย
ในทางตรงกันข้าม Business Plan คือเอกสารที่ละเอียด และครอบคลุม ซึ่งอธิบายแผนการดำเนินงานทั้งหมดของธุรกิจ รวมถึงการวิเคราะห์ตลาด แผนการตลาด การวิเคราะห์ทางการเงิน และกลยุทธ์การดำเนินงาน ใช้สำหรับการวางแผนเชิงลึก และการสื่อสารกับนักลงทุน หรือผู้ให้เงินสนับสนุน โดยมีข้อมูลที่ละเอียด เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งทั้งสองเครื่องมือ จะทำงานร่วมกัน เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินการ และบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีระบบ ครบถ้วน และมีคุณภาพมากขึ้น
เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น เรามาดู 2 ตัวอย่างที่ใกล้ตัว ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจว่า Business Model Canvas คือสิ่งที่สามารถนำไปปรับใช้ในสถานการณ์จริงได้อย่างไร โดยจะพาไปสำรวจการประยุกต์ใช้ Business Model Canvas ในธุรกิจขายของออนไลน์ และร้านอาหาร เพื่อแสดงให้เห็นถึงความยืดหยุ่น และประโยชน์ของเครื่องมือนี้ในบริบทที่แตกต่างกัน ดังนี้
องค์ประกอบของ Business Model Canvas | ขายของออนไลน์ | ร้านอาหาร |
ต้นทุนหรือรายจ่าย | การตลาด คอนเทนต์ และเทคโนโลยี | การซื้อวัตถุดิบ ค่าเช่าสถานที่ และค่าแรง |
ทรัพยากรหลัก | เครือข่ายจัดส่งสินค้า และการบริการ | พนักงาน อุปกรณ์ต่างๆ ทั้งสำหรับทำอาหาร และการตกแต่งร้าน |
กิจกรรมหลัก | กระตุ้นให้มีการบริโภคมากขึ้น เพิ่มผู้ซื้อในช่องทางของร้าน และมีการพัฒนาบริการ และสินค้าอยู่เสมอ | ทำอาหาร การควบคุมคุณภาพอาหารให้คงที่ การบริการลูกค้า และการซื้อวัตถุดิบต่างๆ |
พันธมิตรหรือพาร์ทเนอร์ | คลังเก็บสินค้า และการขนส่ง | โรงงาน หรือแหล่งผลิตวัตถุดิบต่างๆ พันธมิตรสำหรับการจัดส่งอาหาร รวมไปจนถึงการโฆษณาผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ |
คุณค่าของสินค้าและบริการ | สินค้าที่ให้เลือกหลากหลาย และให้บริการการจัดส่งที่รวดเร็วทันใจ | อาหารเฉพาะสำหรับคนที่เป็นโรคเฉพาะทาง อย่างอาหารคลีน หรือกลุ่มลูกค้าที่เป็นเบาหวาน รวมไปจนถึงการจัดส่งอาหารที่รวดเร็ว |
รายได้ของธุรกิจ | การขายผ่านช่องทางออนไลน์ | การขายอาหารทั้งภายในร้าน และผ่านทางออนไลน์ รวมไปถึงการจัดเลี้ยงต่างๆ |
กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย | กลุ่มอายุ เพศ อาชีพ และเมือง หรือชนบท รวมไปจนถึงข้อมูลประชากร | คนที่รักสุขภาพ และพนักงานที่มักจะออกมากินอาหารในช่วงเที่ยง |
ช่องทางการสื่อสาร | โซเชียลมีเดีย แอป หรือเว็บไซต์สำหรับซื้อออนไลน์ | การเปิดหน้าร้าน |
ความสัมพันธ์กับลูกค้า | การสมัครสมาชิก การทำโปรโมชันให้ลูกค้า รีวิวจากลูกค้า | การบอกต่อปากต่อปาก |
Business Model Canvas คือเครื่องมือที่ยอดเยี่ยมสำหรับการวางแผน และจัดการโมเดลธุรกิจ แต่การใช้งานเครื่องมือนี้ยังมีข้อควรระวังที่ควรพิจารณา เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
Business Model Canvas เป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์ ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการจัดระเบียบข้อมูลในรูปแบบที่เข้าใจง่าย และครบถ้วน
การใช้ Business Model Canvas ช่วยให้ธุรกิจสามารถเห็นภาพรวมของการดำเนินงานได้อย่างชัดเจน และสามารถสนับสนุนการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ได้อย่างมีข้อมูล ช่วยให้ภาพรวมที่ครอบคลุม ช่วยปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ และนวัตกรรมได้อย่างรวดเร็ว สนับสนุนการสื่อสารภายในองค์กร และเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจ
ใครชอบวางแผนธุรกิจ แล้วอยากทำงานด้านนี้ มาหางานที่เกี่ยวกับด้านนี้ได้ที่ JobsDB ที่มีเครื่องมือการค้นหางานที่ตรงใจ และทำให้คุณได้งานที่ชอบได้อย่างรวดเร็ว แถมยังช่วยให้ได้เปรียบเทียบเงินเดือนได้ตามต้องการอีกด้วย