คู่มือวิเคราะห์ 5 Forces Model สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่ในยุคดิจิทัล

คู่มือวิเคราะห์ 5 Forces Model สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่ในยุคดิจิทัล
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 23 September, 2024
Share

Key Takeaway

  • 5 Forces Model คือ แนวการวิเคราะห์เชิงธุรกิจที่ทำการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อธุรกิจ
  • การสร้างกลยุทธ์ที่ดีและแม่นยำเพื่อการดำเนินธุรกิจสามารถทำการวิเคราะห์ได้ด้วยแนวคิดอย่าง 5 Forces Model 
  • 5 Forces Model เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ดีที่จะทำให้มองเห็นถึงความเสี่ยง และภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการดำเนินธุรกิจ และยังมีประโยชน์มากมายต่อการดำเนินธุรกิจ 
  • การเล็งเห็นถึงจุดแข็งและจุดอ่อนทางธุรกิจสามารถทำการวิเคราะห์และประเมินเพื่อการปรับปรุงและแก้ไขได้ผ่านแนวคิด 5 Forces Model 

ปัจจุบันการประกอบธุรกิจนอกจากจะมุ่งเน้นที่ตัวพื้นฐานของการประกอบธุรกิจแล้ว การหันมาให้ความสนใจต่อธุรกิจแบบดิจิตอลก็สำคัญมากเช่นกัน มาเรียนรู้วิธีใช้ 5 Forces Model เพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ประกอบการมือใหม่ที่ต้องการเรียนรู้และเข้าใจปัจจัยที่ส่งผลจนนำไปสู่ความสำเร็จต่อธุรกิจในยุคดิจิตอล ไปทำความรู้จัก 5 Forces Model ให้มากขึ้นได้ในบทความนี้

5 Forces Model พลังขับเคลื่อนที่กำหนดกลยุทธ์ธุรกิจ

5 Forces Model พลังขับเคลื่อนที่กำหนดกลยุทธ์ธุรกิจ

Michael E. Porter ศาสตราจารย์จาก Harvard Business School ผู้ที่คิดค้นทฤษฎี Five Forces Model ซึ่งเป็นแนวความคิดที่ได้กล่าวถึงปัจจัย 5 อย่างที่เป็นแรงกดดันส่งผลกระทบต่อการแข่งขันของตลาดในแต่ละอุตสาหกรรม ซึ่งปัจจัยต่างๆ นี้เองจะทำให้วิเคราะห์ได้ว่าอุตสาหกรรมนั้นๆ มีการแข่งขันแบบใด การแข่งขันสูงหรือไม่ อีกทั้ง 5 Forces Model ยังช่วยวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนของแต่ละอุตสาหกรรมได้เช่นกัน เพื่อให้การทำธุรกิจสามารถคาดการณ์และวิเคราะห์เพื่อการวางแผนกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจได้เป็นอย่างดี 

5 Forces Model ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

5 Forces Model ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

ปัจจัยทั้ง 5 อย่างของ 5 Forces Model ที่ส่งผลต่อสภาพแวดล้อมทางธุรกิจมีอะไรบ้างนั้น ไปดูกันได้เลย 

1. อำนาจต่อรองของผู้ซื้อ (Bargaining Power of Customers)

ลูกค้าเป็นตัวแปรที่สำคัญมากๆ ที่จะชี้ว่าธุรกิจจะยังดำเนินต่อได้หรือไม่ อำนาจการต่อรองของลูกค้าจึงมีผลไม่น้อย ดังนั้น ธุรกิจจึงต้องสำรวจความต้องการของกลุ่มลูกค้าหรือเอาใจลูกค้าโดยการลด แลก แจก แถม หรือจัดโปรโมชันที่น่าสนใจ เพื่อที่กลุ่มลูกค้าจะยังคงยึดมั่นต่อสินค้าไม่หนีหายไปซื้อผลิตภัณฑ์จากผู้ค้ารายอื่น โดยสิ่งที่ส่งผลต่ออำนาจการต่อรองของผู้ซื้อ ได้แก่ 

  • ผู้ซื้อคือผู้ซื้อรายใหญ่ ซื้อสินค้าในปริมาณมากๆ 
  • ผู้ซื้อเป็นผู้ซื้อที่มีคุณภาพและศักยภาพสูง และอาจมีแนวโน้มว่าจะกลายมาเป็นผู้ทำธุรกิจและจัดจำหน่ายเอง
  • การมีผู้ขายเป็นจำนวนมาก ย่อมทำให้ผู้ซื้อมีตัวเลือกมากยิ่งขึ้นและมีอำนาจในการต่อรองมากขึ้นเช่นกัน 
  • มีสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ และการให้บริการอื่นๆ ที่สามารถเข้ามาแทนที่ได้ 
  • ต้นทุนการเปลี่ยนแปลงผู้ขายมีต่ำ 

2. อำนาจต่อรองของผู้ผลิต (Power of Suppliers)

องค์ประกอบต่อมาของ 5 Forces Model  คืออำนาจต่อรองของผู้ผลิต แน่นอนว่าในการจัดผลิตสินค้าวัตถุดิบในการผลิตก็เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเช่นกัน ดังนั้นซัพพลายเออร์ผู้ที่ถือวัตถุดิบในการผลิตจึงมีอำนาจในการต่อรอง ยิ่งหากวัตถุดิบหรือส่วนประกอบในการผลิตบางประเภทขาดตลาด หรือเป็นที่ต้องการอย่างมาก โดยจำนวนที่น้อยและความต้องการที่มากก็อาจทำให้ทุนในการผลิตสูงมากยิ่งขึ้นไม่น้อย โดยปัจจัยในด้านอำนาจการต่อรองของผู้ผลิต มีดังนี้

  • ผู้ซื้อ ซื้อสินค้าในปริมาณน้อย 
  • ผู้ขายวัตถุดิบ หรือซัพพลายเออร์มีแนวโน้มและศักยภาพที่จะขยายธุรกิจ
  • ผู้จำหน่ายวัตถุดิบในการผลิตมีจำนวนที่น้อย
  • ไม่มีสินค้าหรือบริการทดแทน 
  • ต้นทุนในการผลิตและการซื้อวัตถุดิบเพื่อการผลิตมีการเปลี่ยนแปลง

3. ภัยคุกคามจากผู้เข้ามาใหม่ (Threat of New Entrants)

การเข้ามาเพิ่มของผู้ค้าใหม่ หรือธุรกิจใหม่ๆ ส่งผลทำให้ธุรกิจมีคู่แข่งเพิ่ม โดยถ้าหากเราเป็นธุรกิจรายใหญ่ที่มีกำลังการผลิตอยู่แล้ว ไม่ต้องกังวลว่าจะมีภัยคุกคามจากผู้ค้ารายใหม่ แต่ถ้าเราเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือปานกลางการเปิดตัวของผู้ประกอบการใหม่ๆ อาจทำให้ส่วนแบ่งเราน้อยลง ปัจจัยจากการเข้ามาของผู้ประกอบการใหม่ มีดังนี้

  • การประหยัดต่อขนาด หรือสัดส่วนทางเศรษฐกิจที่มีการเปลี่ยนแปลง
  • ความโดดเด่นของผลิตภัณฑ์ สินค้า และบริการ
  • ความต้องการของเงินทุน และต้นทุนในการเปลี่ยนผู้ขาย
  • อุปสรรคต่อการกระจายและจัดจำหน่ายสินค้า
  • นโยบายของรัฐที่ส่งผลต่อผู้ประกอบการ
  • ขอเสียเปรียบทางต้นทุน

4. ภัยคุกคามจากผลิตภัณฑ์ทดแทน (Threat of Substitutes)

สินค้าหรือบริการทดแทนเรียกได้ว่าเป็นภัยคุกคามธุรกิจที่ต้องระวังอย่างยิ่ง เพราะอาจดึงลูกค้าไปได้ ด้วยรูปแบบที่แตกต่างกัน สินค้าที่ดูแปลกใหม่ แต่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคได้ ก็อาจทำให้ลูกค้าหันไปลองหรือสนใจที่จะเข้าไปรับการบริการหรือทดลองผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เช่น การเข้ามาของ airbnb ที่สามารถทดแทนการมีอยู่ของโรงแรมได้ ดังนั้นเจ้าของธุรกิจจะต้องมีการปรับปรุง อัปเดต พัฒนาธุรกิจของตนเองอยู่เสมอๆ โดยปัจจัยที่ส่งผลกระทบมี ดังนี้

  • อัตราด้านความสัมพันธ์ของราคา และการใช้งานของสินค้าทดแทน
  • เทคโนโลยีในการสร้างและการผลิตสินค้าทดแทน ที่ดูใหม่และน่าสนใจ
  • ความสามารถในการสร้างกำไรของกลุ่มสินค้าทดแทนที่เพิ่มมากขึ้น 

5. การแข่งขันภายในอุตสาหกรรม (Industry Rivalry)

คู่แข่งที่มีอยู่แล้วในตลาดเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามไป โดยจะต้องศึกษา สำรวจทั้งตลาดและคู่แข่งอยู่เสมอ เพื่อนำกลับมาวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจใหม่ๆ ให้ดึงดูดลูกค้าใหม่และยังคงรักษากลุ่มลูกค้าเดิมไว้ได้ เพื่อลดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจและจะช่วยต่อยอดให้ธุรกิจสามารถดำเนินไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้ โดยปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบ มีดังนี้ 

  • จำนวนคู่แข่งภายในตลาด ยิ่งมีคู่แข่งมากก็อาจทำให้ส่วนแบ่งทางการตลาดลดลง
  • อัตราการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรม
  • ลักษณะ และความพิเศษของผลิตภัณฑ์และบริการของธุรกิจ
  • ต้นทุนในการประกอบกิจการและการผลิตสินค้า
  • กำลัง ความสามารถทางการผลิตทางธุรกิจ
  • อุปสรรคในการดำเนินและการขยายออกไปสู่อุตสาหกรรมอื่นๆ 
  • ความหลากลายของคู่แข่งที่มีศักยภาพ 
ประโยชน์ของ 5 Forces Model

ประโยชน์ของ 5 Forces Model

5 Forces Model สามารถสร้างประโยชน์ให้กับการดำเนินธุรกิจได้ ในหลากหลายแง่มุม ดังนี้

1. ช่วยในการวิเคราะห์เชิงลึก

การวิเคราะห์ตามแนวคิด 5 Forces Model จะทำให้ทราบองค์รวมเรื่องของธุรกิจได้ ทราบว่ามีจุดแข็งหรือจุดอ่อนที่ต้องพัฒนาตรงไหนบ้าง ทำความเข้าใจความสัมพันธ์เชิงธุรกิจระหว่างธุรกิจ ซัพพลายเออร์ ตลอดจนกลุ่มลูกค้า เพื่อทำให้ประเมินข้อมูลและหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในเชิงธุรกิจอื่นๆ ได้ และจะทำให้ธุรกิจยิ่งมีจุดแข็งมากยิ่งขึ้น 

2. ช่วยทำความเข้าใจตลาด

การแข่งขันทางการตลาดเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น 5 Forces Model จะทำให้เรียนรู้และเข้าใจว่าในปัจจุบันตลาดกำลังต้องการอะไรอยู่ ในอนาคตมีแนวโน้มไปในทิศทางใด และหากจะต้องทำการแข่งขันการทางการตลาดควรจะวางแผนอย่างไร นอกจากนี้แล้วยังเป็นการทำความเข้าใจในตัวซัพพลายเออร์เพื่อให้ธุรกิจไม่ถูกกลืนหายไปด้วยธุรกิจอื่นๆ ได้เช่นกัน

3. ช่วยในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์

5 Forces Model เป็นแนวคิดที่จะช่วยในการตัดสินใจเชิงกุลยุทธ ช่วยชี้ให้เห็นถึงช่องทาง แนวทางที่ดีในการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจทางด้านความสัมพันธ์เชิงธุรกิจกับกลุ่มซัพพลายเออร์ กลุ่มลูกค้า หรือทางการตลาด แนวคิดนี้ก็จะช่วยทำให้มองได้อย่างรอบด้านและครอบคลุม 

4. ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจได้

การเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจอาจดูเหมือนเป็นสิ่งที่คาดเดาได้ยาก แต่สามารถคาดการณ์ได้แน่นอน หากนำแนวคิด 5 Forces Model เข้ามาร่วมวิเคราะห์ก็จะช่วยให้เห็นถึงธุรกิจอย่างรอบด้านเพื่อการพัฒนาให้ทันต่อยุคสมัยและความต้องการของตลาด และเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงของสินค้าและผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ผู้คนได้มากยิ่งขึ้น 

5. ช่วยมองหาโอกาส และหลีกเลี่ยงภัยคุกคาม

การเติบโตทางธุรกิจเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการต่างคาดหวัง แต่ระหว่างการดำเนินธุรกิจอาจจะต้องพบเจอกับปัญหา อุปสรรคและภัยคุกคามบางประการได้ แต่การวิเคราะห์ธุรกิจด้วย 5 Forces Model จะทำให้รู้ถึงจุดด้อย พัฒนาจนกลายไปเป็นจุดแข็ง เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในการดำเนินธุรกิจ และเพื่อเป็นการขยายโอกาสให้กับเราได้เช่นกัน 

ข้อจำกัดของ 5 Forces Model

อย่างไรก็ตามแม้ 5 Forces Model จะเป็นตัวช่วยที่ดีในการวิเคราะห์การดำเนินธุรกิจ แต่ก็มีข้อจำกัดด้วยเช่นกัน ดังนี้ 

  • 5 Forces Model มักเป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อธุรกิจ โดยไม่ได้วิเคราะห์ปัจจัยภายในร่วมด้วย 
  • การวิเคราะห์ตามแนวคิด 5 Forces Model เป็นการวิเคราะห์ และคิดในระยะสั้นๆ เท่านั้น แต่ในโลกของการแข่งขันเชิงธุรกิจนั้นมักมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
ขั้นตอนการนำ 5 Forces Model มาใช้งาน

ขั้นตอนการนำ 5 Forces Model มาใช้งาน

การนำ 5 Forces Model มาปรับใช้เพื่อการวิเคราะห์ทางธุรกิจ สามารถนำมาปรับใช้งานได้ ดังนี้ 

  1. กำหนดและระบุประเภทของธุรกิจให้แน่ชัด ว่าเป็นการดำเนินธุรกิจที่มุ่งเน้นเพื่อการขายในส่วนใด เพื่อที่จะทำให้การวิเคราะห์มีความแม่นยำมากขึ้น
  2. ระบุผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจให้ครบในทุกๆ ส่วน โดยเฉพาะผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหลักๆ ต่อกิจการธุรกิจ และจำแนกความเกี่ยวข้องออกเป็นหมวดหมู่ เพื่อความง่ายต่อการวิเคราะห์
  3. ประเมินจุดแข็ง ว่าธุรกิจหรือองค์กรมีอะไรเป็นจุดแข็ง เพื่อทำให้รู้ว่าสิ่งที่มีอยู่หรือกลยุทธ์ทางธุรกิจมีอะไรดีที่น่านำไปใช้งาน หรืออะไรไม่ดีที่ต้องแก้ไข
  4. วิเคราะห์ภาพรวมของอุตสาหกรรม ประเภทของธุรกิจ เพื่อทำให้รู้ว่าในประเภทของธุรกิจมีอะไรบ้าง ที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินธุรกิจ ซึ่งจะส่งผลต่อการสร้างกำไร
  5. ประเมินการแข่งขันและแรงกดดันในการทำธุรกิจ ประเมินทั้งผลกระทบด้านบวกและด้านลบ และวิเคราะห์เพิ่มเติมถึงการเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มในอนาคต 
  6. ระบุให้แน่ชัดว่ามีปัจจัยใดบ้างที่ควบคุมได้ เพราะทุกๆ ปัจจัยย่อมส่งผลกระทบต่อธุรกิจไม่ด้านบวกก็ด้านลบ เพื่อรับมือ ป้องกันและแก้ไขสิ่งที่อาจส่งผลต่อการแข่งขันเชิงธุรกิจ

สรุป

การนำแนวคิด 5 Forces Model มาปรับใช้ธุรกิจ จะทำให้เห็นถึงปัจจัยต่างๆ ภายนอกที่มีผลต่อธุรกิจ และจะวางแผนในการรับมือ ป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับธุรกิจได้ อีกทั้งจะช่วยให้สร้างกลยุทธ์ที่เหมาะสมต่อธุรกิจจากการวิเคราะห์ได้ถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของธุกิจ เพื่อทำให้สินค้า ผลิตภัณฑ์และการให้บริการเป็นที่ประทับใจและตอบโจทย์ต่อความต้องการของกลุ่มลูกค้าได้มากที่สุด อย่างไรก็ตามการวิเคราะห์ด้วย 5 Forces Model ก็มีข้อจำกัดอยู่เนื่องจากขาดการวิเคราะห์ถึงปัจจัยภายใน ดังนั้นจึงควรศึกษาให้ดีเกี่ยวกับแนววิเคราะห์ 5 Forces Model เพื่อนำมาปรับและประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับธุรกิจของตนเอง 

More from this category: การเป็นผู้นำ

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่าผู้สมัครค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอะไรใน Jobsdb? สำรวจคำค้นหาที่ได้รับความนิยมเพื่ออัพเดทเทรนด์ใหม่เสมอ

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
ท่านได้ยอมรับคำประกาศเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล และนโยบายความเป็นส่วนตัวเพื่อให้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน หากท่านมีอายุต่ำกว่า 20 ปี ท่านได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง เพื่อยินยอมให้ Jobsdb และบริษัทในเครือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ท่านสามารถยกเลิกได้ทุกเวลา