Key Takeaway
หลายบริษัทควรสร้าง Growth Mindset ให้กับพนักงาน โดยย้ำว่าการตั้งเป้าหมายที่ยากสามารถทำได้ และการทำงานผิดพลาดเป็นเรื่องปกติ ตราบใดที่เราพยายามหาวิธีแก้ไข บทความนี้จะพาไปสร้าง Growth Mindset ด้วยการทำความรู้จัก OKR หรือ Objective and Key Results คืออะไร ต่างกับ KPI อย่างไร พร้อมตัวอย่างการเขียน OKR ให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องทั้งในระดับองค์กรและพนักงาน
OKR (Objectives and Key Results) คือระบบการตั้งเป้าหมายและวัดผลที่มีประสิทธิภาพ เพื่อกำหนดทิศทางและผลักดันความสำเร็จในองค์กร มีส่วนช่วยให้ทุกคนในองค์กรเข้าใจเป้าหมายร่วมกัน กระตุ้นการคิดนอกกรอบ เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและการสื่อสาร มี Flexible Working รวมถึงส่งเสริมการเติบโตและการพัฒนาขององค์กรด้วย
โดยมีองค์ประกอบหลักคือ Objectives (O) เป้าหมายหลักที่องค์กรหรือทีมต้องการบรรลุ มักเป็นเป้าหมายที่ท้าทายและสร้างแรงบันดาลใจ สำหรับการตอบคำถาม ‘เราต้องการทำอะไรให้สำเร็จ? (What)’ และอีกส่วนประกอบ Key Results (KR) ตัวชี้วัดที่ใช้วัดความก้าวหน้าสู่เป้าหมายหลัก เป็นตัวเลขที่วัดได้และมีกำหนดเวลาชัดเจน โดยตอบคำถาม ‘เราจะรู้ได้อย่างไรว่าบรรลุเป้าหมายแล้ว? (How)’
การตั้ง Objectives และ Key Results ที่ดี จะช่วยให้องค์กรมีทิศทางที่ชัดเจน กระตุ้นการทำงาน และวัดความสำเร็จได้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น
O (Objective) หรือเป้าหมายหลัก เป็นการกำหนดเป้าหมายขององค์กร (What) ในระบบ OKR โดยมีหลักการตั้ง Objective ให้มีประสิทธิภาพ ดังนี้
K (Key Results) คือตัวชี้วัดความก้าวหน้าสู่ Objective แต่ละข้อ โดยเป็นตัววัดเชิงปริมาณ ที่มีเป้าหมายชัดเจน เช่น กำหนดเวลา ตัวเลขเป้าหมาย หรือการกระทำที่เฉพาะเจาะจง โดยหลักการตั้ง Key Results ที่มีประสิทธิภาพ มีดังนี้
การเขียน OKR ที่มีประสิทธิภาพ ควรมีความสอดคล้องจากระดับองค์กรสู่ระดับพนักงาน และภายในทีมเดียวกัน เมื่อต่างคนมีเป้าหมายต่างกันก็เปิดโอกาสให้มีการพูดคุยและตัดสินใจร่วมกัน ให้ทุกคนเข้าใจเป้าหมายและมีความเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์องค์กร
Objective: สร้างแพลตฟอร์มบริหารการเงินอันดับ 1 ของประเทศไทย
Objective: มีผู้ใช้งาน (Active User) มากกว่า 2,000,000 รายใน 2 ปี
การกระจาย OKR ระดับทีมย่อยจะนำ KR ของระดับฝ่ายมาตั้งเป็น Objective ของทีม จากนั้นสร้าง Key Results ที่สอดคล้องและวัดผลได้ เพื่อสร้างความโปร่งใสในองค์กร กระตุ้นแรงจูงใจเชิงบวก ทำให้ทุกฝ่ายมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน และช่วยให้ผู้นำสามารถผลักดันองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การวัดผลแบบ KPI นั้นแตกต่างจากการวัดแบบ OKR อย่างสิ้นเชิง แต่การเลือกใช้ควรขึ้นอยู่กับเป้าหมายหลักของแต่ละองค์กรด้วย แล้ว OKR ต่างกับ KPI อย่างไร ไปดูกัน!
แล้วเราจะนำหลัก OKR มาใช้ในองค์กรอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด? มาดูการนำหลัก FAAST มาใช้ในการพัฒนาองค์กรให้ประสบความสำเร็จกัน
โฟกัสที่คุณภาพ ไม่ใช่ปริมาณ เน้นเป้าหมายที่สำคัญ และส่งผลต่อธุรกิจมากที่สุด ไม่จำเป็นต้องมีเป้าหมายจำนวนมาก แต่ต้องมีความหมายและท้าทาย ในองค์กรส่วนใหญ่จะใช้ Objectives ประมาณ 3-5 ข้อ และ Key Results อีก 3-5 ข้อ เพื่อช่วยให้ทีมโฟกัสได้ดีขึ้น ลดความซับซ้อนในการติดตามและประเมินผล รวมถึงเพิ่มโอกาสในการบรรลุเป้าหมายที่สำคัญจริงๆ
ควรสร้าง Alignment ให้ทั่วทั้งองค์กร เพราะเป็นกระบวนการสำคัญ ที่ช่วยขับเคลื่อนองค์กรไปในทิศทางเดียวกัน ควรมีความสอดคล้องกันในแนวตั้ง (Vertical Alignment) เพื่อกระจาย OKR จากระดับบริหารสู่ระดับปฏิบัติการ พร้อมรับฟังและนำข้อมูลจากระดับปฏิบัติการมาปรับ OKR รวมถึงมีความสอดคล้องในแนวนอน (Horizontal Alignment) เพื่อประสานงานระหว่างแผนกต่างๆ สร้างความร่วมมือ และลดการทำงานซ้ำซ้อน
การจะเกิด Alignment ได้ องค์กรต้องมีความโปร่งใส (Transparency) พร้อมเปิดเผย OKR ในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับ CEO ไปจนถึงระดับพนักงาน เพื่อทำให้ทุกคนเห็นว่าแต่ละส่วนกำลังโฟกัสกับอะไรอยู่
ในยุคแห่งความไม่แน่นอนของตลาด ความต้องการของลูกค้าเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงยากที่จะคาดเดาว่าอะไรจะตอบโจทย์ลูกค้าในระยะยาว แนวคิดการทำงานแบบใหม่ (New Ways of Working) เช่น Agile และ OKR จึงมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้ และการพัฒนาอย่างรวดเร็ว
ตัวอย่างเช่น การทำ OKR แบบรอบสั้น ที่กำหนดรอบเวลา 3-4 เดือน นำข้อมูลจาก OKR Check-in มาวิเคราะห์ แล้วปรับเปลี่ยนแผนงานอย่างรวดเร็วตามผลลัพธ์ที่ได้ เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดได้เร็วขึ้น
การตั้งเป้าหมายที่ท้าทาย เป็นหัวใจสำคัญของระบบ OKR โดยเน้นให้องค์กร และพนักงานกล้าคิด กล้าทำในสิ่งที่ยากขึ้น เช่น การตั้งเป้าหมายแบบ 10x ความยากของเป้าหมายมีผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพการทำงาน โดยเป้าหมายที่ท้าทายจะช่วยดึงศักยภาพของพนักงานออกมาได้มากกว่าเป้าหมายที่ง่ายเกินไป
ตัวอย่างเช่น หากเป้าหมายที่ทำได้แน่นอนคือ 5 การตั้งเป้าหมายแบบ OKR อาจกำหนดไว้ที่ 10 เพื่อสร้างความท้าทาย แม้ว่าผลลัพธ์สุดท้ายอาจทำได้เพียง 8 ซึ่งไม่ถึง 100% แต่ก็ยังดีกว่าการตั้งเป้าหมายที่ 5 และทำได้เพียง 5 เท่านั้น องค์กรย่อมต้องการพนักงานที่พร้อมรับความท้าทาย และพยายามทำให้ได้มากกว่าเป้าหมายปกติ
การติดตามผลเป็นขั้นตอนสำคัญหลังจากกำหนด OKR โดยองค์กรควรดำเนินการ Check-in และทบทวน OKR อย่างสม่ำเสมอในทุกรอบการประเมิน เพื่อช่วยให้องค์กรสามารถประเมินความก้าวหน้า วิเคราะห์ผลลัพธ์ และปรับแต่ง OKR ให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การติดตามอย่างใกล้ชิด ไม่เพียงแต่ช่วยให้องค์กรรักษาทิศทางที่ถูกต้องเท่านั้น แต่ยังทำให้เกิดการปรับตัวอย่างรวดเร็วต่อการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ส่งผลให้การดำเนินงานมีความยืดหยุ่น และตอบสนองต่อความท้าทายได้ดียิ่งขึ้น ทำให้องค์กรสามารถขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ถอดความสำเร็จแบรนด์ดัง! มาดูตัวอย่างองค์กร ที่ได้นำหลัก OKR มาใช้ได้อย่างชาญฉลาดและมีประสิทธิภาพสูงสุด
ตัวอย่างที่โดดเด่นคือ Apple ที่ไม่ได้เน้นการสื่อสารเพียงแค่คุณสมบัติทางเทคนิคของผลิตภัณฑ์ แต่เน้นที่ ‘Why’ ขององค์กร นั่นคือการสร้างสรรค์สิ่งที่แตกต่างและท้าทาย สะท้อนผ่านสโลแกน ‘Think Different’ แนวคิดนี้ไม่เพียงแต่กำหนดทิศทางการออกแบบผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่ยังสร้างความเชื่อมโยงทางอารมณ์กับลูกค้าที่มีค่านิยมในการคิดต่างและสร้างสรรค์ การเริ่มต้นด้วย ‘Why’ จึงเป็นกลยุทธ์ที่ทรงพลังในการสร้างแบรนด์และวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่ง ซึ่งสามารถสร้างความภักดีทั้งจากพนักงานและลูกค้าในระยะยาว
ขั้นตอนต่อไปคือการทำตามหลัก OKR โดยการกำหนด ‘How’ หรือวิธีการที่จะบรรลุเป้าหมายนั้น โดยเน้นการสร้างความแตกต่างและความได้เปรียบในตลาด เมื่อมีแนวทางชัดเจนแล้ว จึงสามารถก้าวไปสู่การกำหนด ‘What’ ซึ่งคือผลิตภัณฑ์ หรือบริการที่จะนำเสนอสู่ตลาดนั่นเอง
ตัวอย่างการนำหลัก OKR มาใช้
ตัวอย่างการนำหลัก OKR มาใช้ เช่น Objective ของ Google Chrome ที่กำหนดในปี 2008 คือการทำให้ Chrome เป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่ดีที่สุดภายในปี 2010 หรือภายใน 3 ปี
กรณีศึกษา 7-11 แสดงให้เห็นถึงกระบวนการนำ OKR มาใช้ในองค์กรอย่างเป็นระบบ โดยเริ่มจากวิสัยทัศน์ของ 7-11 คือการเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมค้าปลีก ในขณะที่พันธกิจคือมุ่งเน้นการช่วยลูกค้าประหยัดเงินและยกระดับคุณภาพชีวิต นำมาสู่วัตถุประสงค์สูงสุดคือการเป็นผู้นำระดับโลกในอุตสาหกรรมค้าปลีก ซึ่งทำทั้งสองสิ่งนี้ร่วมกัน
ขั้นตอนต่อมาคือการจัดทำ OKR ระดับบริษัท ถ่ายทอดสู่ทีม และผู้บริหารในแต่ละสายงาน โดยยึดหลักการสำคัญคือ การกำหนด Objective ที่เป็นเป้าหมายเชิงคุณภาพ และ Key Results ที่เป็นตัวชี้วัดเชิงปริมาณ
ทั้งนี้ 7-11 ยึดหลักการสำคัญของ OKR คือการจำกัดจำนวน OKR ไม่ให้เกิน 3 ข้อ เน้นความโปร่งใสที่ทุกคนสามารถเห็นได้ สร้างความเชื่อมโยงระหว่าง OKR และจัดตั้ง OKR Ambassador เพื่อส่งเสริม และติดตามการใช้ OKR ในองค์กร การดำเนินการเช่นนี้ช่วยให้ 7-11 สามารถขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นระบบมากขึ้น
OKR คือระบบตั้งเป้าหมายและวัดผลที่ช่วยกำหนดทิศทางองค์กร กระตุ้นการคิดนอกกรอบ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน โดยใช้หลัก Focus, Align, Agile, Stretch และ Track เพื่อตั้งเป้าหมายท้าทายและติดตามผลตามความต้องการของลูกค้า
มาตามหาองค์กรที่ใช้หลัก OKR ได้ง่ายๆ ที่ Jobsdb ด้วยฟีเจอร์ใหม่ที่ช่วยให้ทุกการหางานรวดเร็ว ตรงตามความต้องการมากที่สุด ทั้งทำเลที่ชอบ ตำแหน่งที่ใช่ และเงินเดือนที่ถูกใจได้เลย!