ยอมรับว่าการเข้ามาของโควิด 19 ส่งผลให้หลาย ๆ อย่างเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะการใช้ชีวิตของผู้คน รวมถึงรูปแบบการทำงานที่มีความคล่องตัวและยืดหยุ่นมากขึ้น หนึ่งในสิ่งที่เห็นได้ชัดเจน คือการทำงานแบบ Work from Anywhere ซึ่งเป็นหนึ่งในรูปแบบของ Remote Working เพราะไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ทำงานได้ จะอยู่บ้าน จะอยู่ทะเล หรืออยู่ร้านกาแฟ ก็สามารถทำงานได้
รูปแบบการทำงานที่มาแรงกลุ่ม คนทำงาน Gen Z ไม่ต้องเข้ามาทำงานในออฟฟิศ อยู่ที่ไหนก็ทำงานได้ตามชื่อเรียก Work from Anywhere เพียงมีสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่ดี อุปกรณ์ที่ครบครัน เข้าร่วมประชุมได้ตรงเวลา รับผิดชอบงานที่มอบหมายได้ทันตามเวลาที่กำหนด สรุปคือ เอาปัจจัยเรื่อง “สถานที่” การทำงานออกไป เน้นผลลัพธ์และประสิทธิภาพที่ได้จากงานเป็นสำคัญ จะทำงานจากที่ไหนก็ได้
ในยุคปัจจุบันที่สถานที่ทำงานสำคัญน้อยลง และองค์กรให้คุณค่ากับผลลัพธ์มากกว่า รวมถึงคนรุ่นใหม่เองต่างก็ให้ความสนใจกับ Work-Life Balance มากขึ้น รวมถึงผู้ที่ทำงานในแต่ละสายงานก็มีความต้องการแตกต่างกัน อย่างงานออกแบบที่ต้องใช้ไอเดียและความคิดสร้างสรรค์ การออกไปอยู่ในสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ อาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดชิ้นงานขึ้นมาได้ ทำให้รูปแบบการทำงาน Work from Anywhere ตอบโจทย์คนกลุ่มนี้ได้มากกว่านั่นเอง
นอกจากความยืนหยุ่นในการทำงานจะมีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานแล้ว องค์กรก็จะได้ประโยชน์จากส่วนนี้เช่นกัน เพราะพนักงานที่ได้ Work from Anywhere สามารถสร้างงานได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ดังนั้นรูปแบบการทำงานนี้จึงควรพัฒนาไปพร้อมกับระบบการทำงานและรูปแบบการประเมินงานที่มีความชัดเจนด้วยเช่นกัน
พูดแบบภาพรวมไปแล้ว ทีนี้มาเจาะให้เห็นข้อข้อดีเสียของการทำงาน Anywhere working กันบ้าง เผื่อองค์กรไหนกำลังตัดสินใจอยู่ มาพิจารณาอย่างเปิดใจไปพร้อมกัน
การทำงานแบบ Work from Anywhere สร้างได้ง่าย ๆ จากสามองค์ประกอบเหล่านี้ หากองค์กรจัดการทุกอย่างให้ชัดเจน ทำให้เป็นระบบตั้งแต่ต้น ก็จะเอื้อให้คนทำงานทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกับพนักงานในองค์กรเป็นลำดับแรก ให้เข้าใจว่าการ Work from Anywhere ช่วยเรื่องอะไร เป็นประโยชน์ต่อพนักงานในด้านไหนบ้าง ทำไมบริษัทถึงเลือกที่จะทำ พร้อมระบุเป้าหมายให้ชัดเจน ว่าการให้อิสระแบบนี้ย่อมแลกมากับความรับผิดชอบที่เหมือนเดิม พร้อมเนื้องานที่เป็นไปตามเป้าหมายและเวลาที่กำหนด
การทำงานแบบ Anywhere working อีกมุมหนึ่ง ก็ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของบริษัทได้เช่นกัน อย่างค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอินเทอร์เน็ต รวมถึงค่าอุปกรณ์ต่าง ๆ ในมุมของพนักงานอาจมีค่าใช้จ่ายบางส่วนเล็กน้อยที่ต้องรับผิดชอบ ซึ่งบางองค์กรอาจมี สวัสดิการ ช่วยเหลือในส่วนนี้ด้วย รวมทั้งสนับสนุนอุปกรณ์การทำงาน อย่างหน้าจอ คีย์บอร์ด เก้าอี้ทำงาน สามารถซื้อแล้วเอามาเบิกได้
การทำงานกันละคนละสถานที่ ระบบการติดต่อสื่อสารจึงเป็นสำคัญ ซึ่งองค์กรจะมีการใช้ซอฟต์แวร์หรือเครื่องมืออื่น ๆ เพื่อให้พนักงานได้ทำงานอย่างราบรื่น ทั้งการสื่อสารภายในและภายนอกองค์กร เช่น ใช้งาน Slack, ประชุมผ่าน Zoom ฯลฯ นอกจากนี้องค์กรบางแห่งอาจมีการตั้งระบบกำหนดเรื่องเวลาในการตอบงาน โดยกำหนดเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม
จริง ๆ แล้วรูปแบบการทำงานทั้งสองแบบนี้ไม่ได้ต่างกันเท่าไรนัก โดย Work from Home ถือการ Work from Anywhere รูปแบบหนึ่ง แต่ถ้าบริษัทไหนเน้น Work from Home อาจหมายถึง การให้ทำงานจากที่บ้าน แต่ต้องพร้อมที่จะเข้าออฟฟิศได้ทุกเวลา ต่างจาก Work from Anywhere ที่การเข้าออฟฟิศจะมีการกำหนดล่วงหน้า เพื่อให้พนักงงานได้เตรียมตัวเอง ทั้งนี้นโยบายดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับองค์กร ลักษณะงาน และวัฒนธรรมการทำงานในทีม
การ Work from Anywhere เหมาะกับสายงานที่เน้นการทำงานแยกชิ้นงานไปทำคนเดียวได้เป็นส่วนใหญ่ อย่างนักเขียน กราฟิก ดีไซเนอร์ นักการตลาด งานไอที UI/UX Designer ฯลฯ เพียงแค่ติดต่อสื่อสารกันสะดวก ประชุมออนไลน์แลกเปลี่ยนความเห็นกันได้ เท่านี้ก็สามารถ Work from Anywhere ได้เช่นกัน
เมื่อคนทำงานนิยมชมชอบรูปแบบการทำงานแบบ Work from Anywhere มากขึ้น ทั้งยังมีแนวโน้มมากขึ้นต่อไปเรื่อย ๆ โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่ใช้ปัจจัยข้อนี้ในการเลือกทำงานกับองค์กร เพราะเล็งเห็นว่าสามารถทำงานออกมาได้ไม่ต่างจากการเข้าทำงานในออฟฟิศ แถมการเดินทางไปทำงานในเมือง ยังส่งผลกระทบในเชิงลบกับการเงิน ความเครียด และสภาพร่างกายอีกด้วย