องค์กรหลาย ๆ องค์ต่างมักจะประสบปัญหา เมื่อต้องการที่ปรึกษาจากภายนอกให้เข้ามาช่วยพัฒนาหรือกอบกู้วิกฤติขององค์กร เช่น ไม่รู้ว่าจะหาที่ปรึกษาได้จากที่ไหน ราคาค่าบริการเท่าไหร่จึงจะเหมาะสม เป็นต้น คำถามเหล่านี้เป็นคำถามที่อยู่คู่กับสังคมในบ้านเรา อย่างไรก็ตาม เพื่อให้องค์กรต่าง ๆ สามารถเลือกที่ปรึกษาและบริหารที่ปรึกษาให้คุ้มค่ากับการลงทุนมากที่สุด เราจึงขอแนะนำทางเลือก ดังต่อไปนี้
1. องค์กรกลางทางด้านที่ปรึกษา
องค์กรที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลายของผู้ให้บริการให้คำปรึกษาอาจจะเป็นสมาคมที่ปรึกษา หรือเว็บไซต์ที่รวบรวมให้คำปรึกษาเพื่อป้องกัน การเสียเวลาในการหารายชื่อผู้ให้บริการเป็นที่ปรึกษา
2. การรวมกลุ่มเพื่อว่าจ้างที่ปรึกษา
องค์กรต่าง ๆ ควรจะรวมตัวกันเพื่อสร้างอำนาจต่อรองกับผู้ให้บริการที่ปรึกษา เพราะถ้าแต่ละองค์กรติดต่อเองอำนาจการต่อรองจะน้อยกว่า และบางครั้งอาจจะเสียรู้ผู้ให้คำปรึกษาบางรายไปก็ได้ ดังนั้น องค์กรที่มีความสัมพันธ์กันในรูปแบบต่างๆ เช่น ชมรม สมาคม กลุ่ม หรือแม้กระทั่งกิจการที่อยู่พื้นที่เดียวกัน ก็น่าจะรวมตัวกัน เพราะถ้าสามารถรวมกลุ่มกันได้ จะสามารถคัดเลือกผู้ให้บริการด้านการ ให้คำปรึกษาได้ดีกว่าเจรจาต่อรองในนามของกลุ่ม แต่เมื่อลงไปดำเนินการจริงก็เป็นเรื่องของแต่ละกิจการไป
3. ส่งเสริมอาชีพทีปรึกษามือใหม่
ถ้ามีเวทีสำหรับที่ปรึกษามือใหม่ คงจะเป็นเรื่องที่น่ายินดี เพราะเป็นการสร้างทางเลือกให้กับองค์กรที่ไม่มีกำลังทรัพย์เพียงพอที่จะว่าจ้าง ที่ปรึกษาระดับแพงๆ ได้ จุดนี้น่าจะได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ เพราะเป็นการพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันทั้งอาชีพผู้ให้คำปรึกษาเอง และองค์กรขนาดกลางขนาดย่อมไปในเวลาเดียวกัน เพราะถ้ามีแต่ที่ปรึกษาระดับแพงๆ องค์กรเล็กๆ ก็ยังห่างไกลจากองค์กรใหญ่ ๆ ที่มี ทุนว่าจ้างเยอะและสามารถปรึกษาในทุก ๆ ด้านได้
4. ส่งเสริมอาชีพที่ปรึกษาอิสระ
โดยทั่วไปแล้ว คนที่ทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือนอย่างเราๆ พอถึงจุด ๆ หนึ่ง พวกเขาก็อยากจะมีกิจการเป็นของตัวเอง ซึ่งส่วนใหญ่มักจะ ออกไปทำกิจการที่ไม่ค่อยเกี่ยวข้องกับงานที่ทำในองค์กร ซึ่งจุดนี้ทำให้ประเทศของเราเสียโอกาสที่จะนำเอาความรู้จากประสบการณการ ทำงานของคนที่เคยเป็นพนักงานเงินเดือนมาก่อนมาใช้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ ดังนั้น รัฐบาลน่าจะดึงเอาศักยภาพ และประสบการณ์ทำงานเหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการแข่งขันขององค์กร อย่างไรก็ตาม การมีที่ปรึกษาอิสระจะช่วยให้เกิด ผลดีหลายอย่าง เช่น ที่ปรึกษาอิสระสามารถประกอบอาชีพอื่นควบคู่ไปกับงานที่ปรึกษา เขาก็จะไม่ต้องเครียดกับงานใดงานหนึ่ง มากจนเกินไป ทั้งนี้ องค์กรต่าง ๆ ก็จะมีทางเลือกในการใช้บริการที่ปรึกษาได้มากขึ้น
5. โครงการแลกเปลี่ยนบุคลากรเพื่อการให้คำปรึกษา
องค์กรทุกองค์กรมีบุคลากรที่มีความชำนาญในเรื่องต่าง ๆ อยู่มากมาย เพียงแต่การยอมรับในองค์กรมีน้อย หรืองานในองค์กรได้ พัฒนาไปมากแล้ว คนเหล่านี้ก็จะมีความสามารถเหลืออยู่ยังใช้ได้ไม่เต็มที่ ซึ่งน่าจะมีโครงการแลกเปลี่ยนบุคลากรเพื่อให้คำปรึกษา ซึ่งกันและกันได้ เช่น องค์กรหนึ่งมีบุคลากรเก่งๆ ทางด้านไอที ในขณะที่อีกองค์กรหนึ่งซึ่งมีขนาดเล็กกว่าไม่มีบุคลากรในด้านนี้ อาจจะมีบุคลากรเก่ง ๆ ในเรื่องอื่น ๆ ซึ่งองค์กรแรกไม่มี เป็นต้น ดังนั้น แนวทางนี้นอกจากจะประหยัดค่าใช้จ่ายได้แล้ว ยังสามารถ สร้างความภูมิใจให้กับบุคลากรที่มีความสามารถได้อีกทางหนึ่งด้วย
สุดท้ายนี้ กลยุทธ์ในการบริหารอาชีพที่ปรึกษาให้คุ้มค่าการลงทุนนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการต้องรวมตัวกันเพื่อสรรหา คัดเลือก ผู้ให้บริการที่ปรึกษาที่มีคุณภาพ ในขณะเดียวกันภาครัฐควรจะส่งเสริม และสนับสนุนให้องค์กรต่างๆ พัฒนาศักยภาพทางการ แข่งขันผ่านการใช้บริการของที่ปรึกษาในรูปแบบต่างๆไม่ว่าจะเป็นที่ปรึกษามือใหม่หรือที่ปรึกษาอิสระ ซึ่งกลยุทธ์นี้จะช่วยให้องค์กรต่าง ๆ สามารถฟื้นสถานการณ์จากผู้เอาเปรียบได้
ที่มา : www.hrcenter.co.th