กลยุทธ์บริหารดาวเด่นของบริษัท

Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

ทุกองค์กรล้วนต้องการ คนดี คนเก่งมาร่วม งาน แต่มักประสบปัญหาในเรื่องการรักษา พนักงาน ดาว เด่นให้อยู่กับองค์กร ทั้งถูกดึงตัวไป เบื่องานที่ไม่ท้าทาย หรือต้องการความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วที่บริษัทไม่อาจตอบสนองได้ทันความต้อง การ จึงเป็นสาเหตุให้พนักงานกลุ่มนี้ มีแนวโน้ม เปลี่ยนงาน บ่อยกว่าพนักงานทั่วไป

หากองค์กรต้องการที่ให้คนกลุ่ม Talent เข้ามาร่วมงาน และอยู่กับองค์กรอย่างยาวนาน องค์กรจะต้องมีการวางแผนในการบริหารพนักงาน กลุ่ม Talent เอาไว้ล่วงหน้าตั้งแต่ กระบวนการสรรหาและคัดเลือกอย่างไรให้ได้คนดี คนเก่ง และเมื่อได้พวกเขามาแล้ว พวกเขาจะต้องได้รับการพัฒนาอย่างไรบ้าง รวมไปถึงสิ่งที่สำคัญนั่นคือ การทำอย่างไรจึงจะรักษาบุคลากรกลุ่มนี้ไว้ให้ได้ มีคำแนะนำดังนี้

1. การสรรหาคนดีคนเก่งทำอย่างไรการสรรหาคนเก่งนั้น นิยมใช้เครื่องมือ 2 อย่าง คือ

  • การวัดผลการปฏิบัติงานในอดีตของพนักงานโดยพิจารณาผลงานย้อนหลังจากแบบฟอร์มการประเมินผลงานโดยเฉลี่ย 2-3 ปี ว่าผลงานที่ผ่านมานั้นเป็นอย่างไร
  • การประเมินศักยภาพของพนักงานพิจารณาจากขีดความสามารถของ ตำแหน่งงาน ในระดับสูงมาใช้เป็นเกณฑ์พิจารณาศักยภาพของ พนักงาน แต่ละคน

นอกจากนี้บางองค์กรอาจใช้ปัจจัยอื่น ๆ เข้ามาประกอบการพิจารณา อาทิ ระยะเวลาในการ ทำงาน กับองค์การ ระดับตำแหน่งงานประเภทงาน ความสามารถในการ ใช้ภาษาอังกฤษ เป็นต้น

2. พนักงานดาวเด่นต้องการอะไร

คนกลุ่มนี้ต้องการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ หัวหน้างานหรือ ผู้บริหาร จึงต้องมีการประเมินหาจุดแข็งและจุดอ่อนของ พนักงาน แต่ง ละคน เพื่อนำข้อมูลมาวางแผน พัฒนาขีดความสามารถของพวกเขาต่อไป ซึ่งสามารถทำได้หลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการส่งไปฝึกอบรม การสอนงาน การฝึกอบรมในขณะทำงาน การให้คำปรึกษาแนะนำ การทำกิจกรรมกลุ่ม การประชุม การดูงานนอกสถานที่ การหมุนเวียนงาน การมอบหมายงานที่ยากหรืองานโครงการ การเพิ่มปริมาณงาน การเป็นแม่แบบ การเป็นวิทยากร การเป็นพี่เลี้ยง การให้โอกาสในการศึกษาต่อ เป็นต้น

นอกจากนี้หัวหน้างานจะต้องตรวจสอบ ติดตาม และประเมินพฤติกรรมของพนักงานดาวเด่นว่ามีการพัฒนาหรือปรับเปลี่ยนไปตามสิ่ง ที่หัวหน้างานต้องการหรือไม่

3. การรักษาพนักงานดาวเด่นทำอย่างไร

ลักษณะของพนักงานดาวเด่นที่ต้องทราบก็คือ พวกเขาสามารถเรียนรู้ได้เร็วและทำงานได้มากกว่าคนปกติ 2-6 เท่า พวกเขาชอบที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่ท้าทายอยู่ตลอดเวลา โดยเฉลี่ยแล้วเพียงแค่ 2 ปีเท่านั้น ที่คนกลุ่มนี้จะเริ่มเบื่องาน หากไม่มี งาน ใหม่ ๆ ที่ท้าทายให้เรียนรู้ โอกาสที่พวกเขาจะออกไปหาแหล่งเรียนรู้ใหม่ ๆ ย่อมมีมากขึ้น

ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของหัวหน้างานที่จะต้อง หาวิธีจูงใจพนักงานดาวเด่นให้รู้สึกสนุกกับการทำงานอย่างต่อเนื่อง เช่น การเลื่อนตำแหน่ง การโอนย้ายตำแหน่ง
เพื่อให้พนักงานได้เรียนรู้และใช้ทักษะที่หลากหลาย รวมถึงการเตรียมความพร้อมในการเป็น ผู้สืบทอดตำแหน่งงาน ของ ผู้บริหาร ด้วย

4. ค่าตอบแทนของดาวเด่นควรเป็นเช่นไร

ค่าตอบแทนเป็นสิ่งสำคัญแต่ไม่ใช่ปัจจัยหลักในการจูงใจพนักงาน และค่าตอบแทนอาจไม่ได้สิ้นสุดที่ตัวเงินเสมอไป ดังนั้น นอกจากการขึ้น เงินเดือน การจ่ายโบนัส การให้เบี้ยขยันแล้วนายจ้างยัง สามารถให้ค่าตอบแทนอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ตัวเงินเพื่อจูงใจพนักงานได้เช่นกัน อาทิ สิทธิพิเศษต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มวันลาพิเศษ หรือรางวัลพิเศษ ที่ไม่ใช่ตัวเงิน

หากองค์กรมีการส่งเสริมพนักงานดาวเด่นอย่าง เป็นระบบ พิจารณาประเมินผลงานอย่างเป็นธรรม และบริหารค่าตอบแทนเหมาะสม เชื่อว่าไม่ยากที่จะมัดใจพนักงาน ให้จงรักภักดีและไม่ตีจากไปไหน


เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
หลากหลายวิธีจูงใจพนักงานด้วย Incentive
โค้ชงานอย่างไร ให้ได้ผลงาน

More from this category: การเป็นผู้นำ

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่าผู้สมัครค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับอะไรใน Jobsdb? สำรวจคำค้นหาที่ได้รับความนิยมเพื่ออัพเดทเทรนด์ใหม่เสมอ

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
ท่านได้ยอมรับคำประกาศเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล และนโยบายความเป็นส่วนตัวเพื่อให้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน หากท่านมีอายุต่ำกว่า 20 ปี ท่านได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง เพื่อยินยอมให้ Jobsdb และบริษัทในเครือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ท่านสามารถยกเลิกได้ทุกเวลา