กองทุนรวมที่มีการลงทุนในหรือมีไว้เฉพาะตราสารแห่งหนี้เงินฝากหรือหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น หรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นตามที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนดหรือให้ความเห็นชอบ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะดำรงพอร์ตโฟลิโอดูเรชันของกองทุนรวมในขณะใดขณะหนึ่งไม่เกิน 1 ปี
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (retirement mutual fund หรือ RMF) กองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการออมระยะยาวเพื่อการการเลี้ยงชีพของผู้ถือหน่วยลงทุน โดยผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถนำเงินที่จ่ายเข้ากองทุนรวมไปหักค่าลดหย่อนในการคำนวณ ภาษีเงินได้ตามจำนวนที่กรมสรรพากรกำหนด
กองทุนรวมตราสารแห่งทุน (equity fund) กองทุนรวมที่มีวัตถุประสงค์ที่จะลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งทุนโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า ร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ซึ่งตราสารแห่งทุนหมายความถึงหุ้นสามัญของ บริษัทต่าง ๆ หุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และใบสำคัญแสดงสิทธิที่ จะซื้อหุ้น เป็นต้น
กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ (general fixed income fund) กองทุนรวมที่นำเงินไปลงทุนในตราสารแห่งหนี้ เช่น พันธบัตร ตั๋วเงินคลัง บัตรเงินฝาก ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงิน หุ้นกู้ เป็นต้น โดยจะไม่ลงทุนในหุ้นหรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น
กองทุนรวมผสม (balanced fund) กองทุนรวมที่มีวัตถุประสงค์ที่จะดำรงอัตราส่วนการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งทุนในขณะใด ขณะหนึ่ง ไม่เกินร้อยละ 65 และไม่น้อยกว่าร้อยละ 35 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ดังนั้น กองทุนรวมผสมจะลงทุนทั้งในตราสารแห่งทุนและตราสารแห่งหนี้
กองทุนรวมเฉพาะเจาะจง กองทุนรวมที่มีวัตถุประสงค์การลงทุนประเภทต่าง ๆ เช่น กองทุนรวมตราสารแห่งทุน กองทุนรวม ตราสารแห่งหนี้ หรือกองทุนรวมผสม แต่มีการกระจายการลงทุนน้อยกว่ากองทุนรวมทั่วไป เนื่องจาก จะไม่ดำรงอัตราส่วนการลงทุนตามที่สำนักงานประกาศกำหนด ดังนั้นผู้ลงทุนควรศึกษานโยบายการลงทุน ก่อนตัดสินใจลงทุน
กองทุนรวมที่มีทุนมาจากต่างประเทศ กองทุนรวมที่เสนอขายหน่วยลงทุนทั้งหมดแก่บุคคลซึ่งไม่มีภูมิลำเนาในประเทศไทย และรับชำระเงินค่า หน่วยลงทุนด้วยเงินที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ
การสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน การขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหนึ่งเพื่อซื้อหน่วยลงทุนของอีกกองทุนรวมหนึ่งที่อยู่ภายใต้บริษัท จัดการเดียวกัน ในการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนอาจไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมหรือเสียค่าธรรมเนียมในอัตราที่ ถูกกว่าการขายคืนหน่วยลงทุน
การซื้อขายรายใหญ่ (big lot) การซื้อขายหลักทรัพย์ใดหลักทรัพย์หนึ่ง (อาจเป็นหุ้นหรือตราสารหนี้ก็ได้) จำนวนเดียวโดยไม่แบ่งย่อย และมีปริมาณหรือมูลค่าการซื้อขายเท่ากับ หรือสูงกว่าปริมาณหรือมูลค่าที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด ปัจจุบัน ตลาดหลักทรัพย์กำหนดว่า การซื้อขายคราวละตั้งแต่ 1 ล้านหุ้น หรือมูลค่า 3 ล้านบาทขึ้นไป ถือเป็นการ ซื้อขายรายใหญ่ (big lot) ตลาดหลักทรัพย์จัด big-lot board (กระดานซื้อขายรายใหญ่) ไว้รอง รับการซื้อขายเช่นนี้
การชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ (clearing and settlement)กระบวนการที่บริษัทสมาชิกผู้ซื้อชำระราคาหลักทรัพย์และรับมอบหลักทรัพย์ที่ซื้อจากบริษัทศูนย์รับ ฝากหลักทรัพย์ และบริษัทสมาชิกศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ซึ่งต้องกระทำในวันทำการที่ 3 ภายหลัง วันตกลงซื้อขายหลักทรัพย์การชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ดังกล่าวกระทำกันโดยใช้ยอดสุทธิซื้อ และยอดสุทธิขายของแต่ละบริษัทสมาชิก
การเพิกถอนหลักทรัพย์จดทะเบียน (delisting) การที่ตลาดหลักทรัพย์ถอนสภาพการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนของหลักทรัพย์ใด ๆ หลักทรัพย์ จดทะเบียนที่ถูกเพิกถอนแล้ว จะไม่ได้รับอนุญาตให้มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่อไป ในการเพิกถอนหลักทรัพย์นั้นอาจเป็นเพราะบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ดังกล่าวขอถอนหลักทรัพย์ ของตนออกจากการเป็นหลักทรัพย์ จดทะเบียนโดยสมัครใจ (ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบจาก ที่ประชุมผู้ถือหุ้นด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนหุ้น ที่ออกจำหน่ายทั้งหมด และต้องไม่มีผู้ถือหุ้นคัดค้านการของเพิกถอนเกินกว่า 10% ของจำนวนหุ้นที่ออกจำหน่ายทั้งหมด) หรือตลาดหลักทรัพย์สั่งให้เพิกถอนหลักทรัพย์จดทะเบียนเมื่อพบว่าบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ดังกล่าว ได้กระทำผิดข้อตกลงการ จดทะเบียนหลักทรัพย์ (listing agreement) อย่างร้ายแรง หรือในกรณีที่ฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัท ผู้ออกหลักทรัพย์ตกต่ำลง
จนอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อผู้ลงทุน สำหรับกรณีที่บริษัทจดทะเบียนมีปัญหา ด้านฐานะการเงินหรือ ผลการดำเนินงาน ตลาดหลักทรัพย์จะไม่เพิกถอนหลักทรัพย์ ของบริษัทดังกล่าวโดยทันที แต่จะจัดให้หลักทรัพย์ดังกล่าวเข้าอยู่ในกลุ่มหลักทรัพย์ที่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน และประกาศ ให้ผู้ลงทุนได้ทราบทั่วกัน ซึ่งบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์จะต้องจัดทำแผนปรับปรุงแก้ไข เพื่อขอความเห็นชอบจากที่ประชุม ผู้ถือหุ้นก่อนเสนอต่อตลาดหลักทรัพย์ เพื่อเปิดเผยข้อมูล หากบริษัทสามารถแก้ไขปัญหาได้ตามแผน หลักทรัพย์ของบริษัท ดังกล่าวก็จะพ้นจากการ เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอน แต่ถ้าบริษัทไม่อาจแก้ไขได้ตามแผนและตลาดหลักทรัพย์เห็นว่าจะก่อให้ เกิดความเสียหายร้ายแรง ตลาดหลักทรัพย์จะเพิกถอนหลักทรัพย์ดังกล่าว
การตรวจสอบวิเคราะห์สถานะ (due diligence) การตรวจสอบและประเมินทรัพย์สินตลอดจนหนี้สินของบริษัทว่ามีมูลค่าถูกต้องครบถ้วน ตามบัญชีและมีอยู่จริง ซึ่งในการ ตรวจสอบและประเมินมูลค่าดังกล่าว ผู้กระทำได้ใช้ความระมัดระวังเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพอย่างเพียงพอวิธีการนี้มักจะใช้ใน กรณีซื้อขายหรือเลิกกิจการ
กระดานต่างประเทศ (foreign board) เป็นส่วนของระบบซื้อขาย ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ASSET) ที่ใช้รองรับการซื้อขายหลักทรัพย์ระหว่าง ผู้ลงทุน ชาวต่างประเทศด้วยกัน ทั้งนี้หลักทรัพย์ที่มาขายผ่านกระดานต่างประเทศจะต้อง เป็นหลักทรัพย์ที่มีชื่อชาวต่างประเทศเป็นเจ้าของ การที่ตลาดหลักทรัพย์จัดให้มี foreign board ขึ้นมา
เนื่องจากหลักทรัพย์ของบางบริษัทได้มีชาวต่างประเทศเข้าลงทุนถือครองจนครบตามเกณฑ์ ระดับที่ให้ชาวต่างชาติถือครองแล้ว แต่ก็ยังมีผู้ลงทุนชาวต่างชาติต้องการลงทุนในหลักทรัพย์ ดังกล่าวอยู่อีก เมื่อสั่งซื้อผ่านกระดานหลัก (main board) แล้วก็จะประสบปัญหาไม่อาจโอนรับหุ้นได้เพราะจะทำให้สัดส่วนการถือครองหุ้นของ ชาวต่างชาติเกินจากเกณฑ์ที่จำกัดไว้ ดังนั้นเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ลง ทุนชาวต่างประเทศตลาดหลักทรัพย์จึงจัดให้มี foreign board ขึ้นมา เพื่อให้ชาวต่างประเทศผู้ซื้อมั่นใจว่าจะสามารถรับโอนหุ้นเป็นของตนได้ เพราะเป็นการ รับโอนจากชาวต่างประเทศด้วยกัน ไม่มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสัดส่วนการถือ ครองหุ้นของชาวต่างประเทศรวมแต่ประการใด วิธีซื้อขายผ่านกระดานต่างประเทศ กระทำได้ 2 วิธี คือ วิธี automatching และวิธี put thorugh แล้วแต่จะเลือกตาม ความเหมาะสม การซื้อขายบนกระดานต่างประเทศ นี้ไม่ว่าจะใช้วิธีซื้อขายแบบใด
ระดับราคาซื้อขายจะเป็นเท่าใดก็ได้ ไม่มีข้อจำกัดเรื่อง floor price กับ ceiling price
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (fundamental analysis)เป็นวิธีการวิเคราะห์หลักทรัพย์แบบหนึ่ง การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานมุ่งจะประเมินมูลค่าของ หลักทรัพย์ในปัจจุบัน โดยพิจารณาถึงผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับและราคาหลักทรัพย์ที่ คาดว่าจะขายได้ในอนาคต ผลจากการวิเคราะห์นี้จะใช้เป็นเกณฑ์ ตัดสินใจคือ จะซื้อหลักทรัพย์นั้นหากพบว่าราคาตลาดของหลักทรัพย์ดังกล่าวต่ำกว่ามูลค่าตามพื้นฐาน ที่คำนวณได้ และจะขายหลักทรัพย์นั้นหากพบว่าราคาตลาดของหลักทรัพย์ดังกล่าวสูงกว่า มูลค่าตามพื้นฐาน ในการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานจะ วิเคราะห์ถึงภาวะเศรษฐกิจ ภาวะการเมือง ภาวะอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง และผลการดำเนินงาน รวมทั้งฐานะทางเงินของบริษัทผู้ออกหุ้น วิธีวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานจะแตกต่างจากการวิเคราะห์ทางเทคนิค (technical analysis) ซึ่งมุ่งวิเคราะห์ลักษณะการเคลื่อนไหว ของราคาหลักทรัพย์ และปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์เป็นสำคัญ เพื่อคาดหมายแนวโน้มของราคาหลักทรัพย์
กรรมการอิสระ (independent director) กรรมการบริษัทจดทะเบียนที่มีความเป็นอิสระจากผู้ถือหุ้นใหญ่หรือกลุ่มของผู้ถือหุ้นใหญ่และ ผู้บริหารของบริษัทนั้น กรรมการอิสระต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด กล่าวคือ ถือหุ้นในบริษัทจดทะเบียนดังกล่าวไม่เกิน 0.05% ต้องไม่เป็นกรรมการที่เป็นผู้บริหาร ไม่เป็นลูกจ้างหรือพนักงาน หรือที่ปรึกษาที่ได้รับผลตอบแทนประจำจากบริษัท สามารถดูแล ประโยชน์ของผู้ถือหุ้นทุกรายให้เท่าเทียมกัน สามารถดูแลไม่ให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ระหว่างบริษัทจดทะเบียนกับผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นใหญ่ หรือบริษัทที่เกี่ยวข้อง ตลาดหลักทรัพย์กำหนดให้บริษัทจดทะเบียนแต่ละแห่งต้องมีกรรมการอิสระไม่น้อยกว่า 2 คน independent director อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า outside director (กรรมการจากภายนอก)
การซื้อขายหลักทรัพย์โดยบุคคลภายใน (insider trading) การที่บุคคลภายในทราบข้อมูลภายในของบริษัทที่ยังไม่ได้มีการเผยแพร่สู่สาธารณชน และใช้ข้อมูลนั้นเพื่อประโยชน์ในการ ซื้อขายหลักทรัพย์ พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 ได้มีข้อกำหนดห้ามมิให้บุคคลภายในใช้ข้อมูลภาย ในเพื่อประโยชน์ในการซื้อขายหลักทรัพย์และกำหนดโทษไว้ด้วย
กระดานหลัก (main board) เป็นส่วนสำคัญที่สุดของระบบ ASSET ซึ่งเป็นระบบซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย ส่วนที่เป็น main board นี้เป็นส่วนที่ใช้สำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์ จำนวนที่เป็นหน่วยซื้อขาย (board lot) คือ ปริมาณหุ้นที่สั่งซื้อหรือสั่งขายจะต้อง เป็น 1 board lot (1 หน่วยซื้อขาย) หรือมากกว่าโดยเป็นจำนวนที่เป็นทวีคูณของ 1 board lot เช่น 2 , 3, 4…….. board lots เป็นต้น การซื้อขายหลักทรัพย์บน main board ของระบบ ASSET ใช้วิธี automatching (วิธีซื้อขายแบบจับคู่อัตโนมัติ) ให้เกิดการซื้อขาย นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงของ ราคาซื้อขายบน main board จะต้องเป็นไปตามข้อบังคับเรื่อง price spread (ช่วงราคา) รวมถึง ข้อกำหนดเรื่อง ceiling price และ floor price ด้วย
การปั่นหุ้น (manipulation) การซื้อขายหลักทรัพย์ใด ๆ โดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเพื่อสร้างสภาพการซื้อขาย ให้ผิดไปจากภาวะที่เป็นจริงโดยเจตนาให้ผู้อื่นซื้อ หรือขายหลักทรัพย์ด้วยความเข้าใจผิด การกระทำดังกล่าวนี้ถือเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งมีบทกำหนดโทษไว้ด้วย
การควบกิจการ (merger) การที่บริษัทตั้งแต่ 2 บริษัทขึ้นไป รวมกิจการเข้าด้วยกัน โดยผลของการรวมอาจเกิด เป็นบริษัทใหม่ หรือคงเหลือเป็นบริษัทใด บริษัทหนึ่งเพียงบริษัทเดียวก็ได้
การชำระค่าซื้อขายแบบยอดสุทธิ (net settlement) การชำระราคาหลักทรัพย์ในลักษณะที่บริษัทหลักทรัพย์นำค่าซื้อและค่าขายหลัก ทรัพย์ตัวเดียวกันในวันเดียวกันของผู้ลงทุนรายเดียว กันมาหักลบกันเพื่อหายอดสุทธิ และเมื่อถึงวันที่ 3 ซึ่งเป็นวันชำระบัญชีซื้อขายหุ้น ผู้ลงทุนก็เพียงแต่ชำระเงินส่วน ต่างที่มูลค่าซื้อ มากกว่ามูลค่าขายเท่านั้น หากมูลค่าขายมากกว่ามูลค่าซื้อผู้ลงทุนก็ได้ รับเงินในส่วนต่างสุทธิดังกล่าวจากบริษัทหลักทรัพย์ การชำระค่าซื้อขายแบบ ยอดสุทธิช่วยให้ผู้ลงทุนไม่ต้องชำระเงินเต็มจำนวนยอดที่ซื้อ ทุกครั้ง ทำให้ผู้ลงทุนมีสภาพคล่องมากขึ้น
การขายหุ้นแบบเจาะจง (private placement) การที่บริษัทออกหุ้นขายให้แก่ผู้ซื้อรายหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่งโดยเจาะจงโดยที่ผู้ซื้อ รับซื้อไว้เพื่อลงทุน มิใช่รับซื้อมาเพื่อนำออกจัดจำหน่าย การออกหุ้นขายแบบ private placement บริษัทผู้ออกหุ้นไม่ต้องจัดทำข้อมูลให้สำนักงาน คณะกรรมการ ก.ล.ต. พิจารณา แต่วิธี private placement จะต้องเข้าเกณฑ์เงื่อนไขที่กำหนดโดย ก.ล.ต.
การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (privatization) การลดสัดส่วนหุ้นที่ทางการถือครองอยู่ในรัฐวิสาหกิจ โดยนำหุ้นออกขายแก่ภาคเอกชน (อาจจะขายแก่ผู้ประกอบการเอกชนที่มีความ สามารถในธุรกิจของรัฐวิสาหกิจนั้น หรือโดยการกระจายขายให้ประชาชนทั่วไป) เพื่อให้เอกชนมีสิทธิในการควบคุมและบริหารมากขึ้น การดำเนินงานจะได้มีประสิทธิภาพและมีความคล่องตัวเทียบได้กับบริษัทเอกชน
การเสนอขายหลักทรัพย์แก่ประชาชน (public offering) การที่บริษัทนำหลักทรัพย์ของตนออกเสนอขายแก่ประชาชนทั่วไป จุดประสงค์เพื่อระดม เงินทุนไปขยายกิจการและเพื่อกระจายการ ถือครองหลักทรัพย์ให้ประชาชนทั่วไป การเสนอขายหลักทรัพย์แก่ประชาชนจะต้องกระทำผ่านบริษัทหลักทรัพย์ที่รับเป็น ผู้จัดจำหน่าย หลักทรัพย์ (underwriters) จะต้องได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. และต้องจัดทำหนังสือชี้ชวนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้